ความแท้จริงของแบรนด์ (Brand Authenticity) ประตูสู่แบรนด์ในใจ

ความแท้จริงของแบรนด์ หรือ Brand Authenticity เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนและยังเป็นส่วนสำคัญในการทำการตลาด เพราะมันจะช่วยให้เกิดความเชื่อใจและเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ (Brand Trust) Link เมื่อแบรนด์มีความแท้จริงแล้วนัันก็จะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสรวมไปถึงการทำในสิ่งที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ง่ายๆครับ ซึ่งมันจะนำไปสู่การสนับสนุนแบรนด์ในท้ายที่สุด ในบทความนี้จะอธิบายให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญของการเป็น Brand Authenticity เพื่อมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัดนั่นเองครับ

What's next?

4 องค์ประกอบสู่ความเป็น Brand Authenticity

ความแท้จริงของแบรนด์ (Brand Authenticity) สามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในจิตใจของลูกค้าและผู้บริโภคได้ และยังสร้างให้เกิดความศรัทธาในตัวแบรนด์ (Brand Faith) จนนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับแบรนด์ ดังนั้นแบรนด์จำเป็นต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) โดยหากเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือ โฟกัสที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ ความเคารพ (Respect) หรือความที่แบรนด์ต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centricity) และความสมจริง (Realness) หรือการสื่อสารสิ่งที่คุณเป็นในแบบที่ลูกค้ารู้สึกและต้องการอย่างแท้จริง มาเป็นแกนหลักให้ได้ก่อนครับ ส่วนองค์ประกอบทั้ง 4 ที่ก่อให้เกิดความแท้จริงของแบรนด์ (Brand Authenticity) นั้นได้แก่

1. ความต่อเนื่อง (Continuity)

เมื่อคุณเริ่มสร้างแบรนด์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของเป้าหมาย (Purpose) วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) Link สู่ คุณค่าของแบรนด์ (Core Values) Link และต่อเนื่องไปยังเรื่องอื่นๆ ลูกค้าก็อยากเห็นสิ่งต่างๆที่คุณสร้างนั้นคงอยู่ได้ในอนาคต ความต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องมีเวลาสร้างแบรนด์เพื่อให้อยู่ได้ในระยะยาว เพราะมันแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นหนักแน่นในการสร้างแบรนด์ของคุณ ทุกๆอย่างต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างให้เกิดการจดจำและประสบการณ์ที่ดีในการพัฒนาไปสู่ความภักดีในตัวแบรนด์ (Brand Loyalty) Link ตัวอย่างเช่น

  1. ความสอดคล้องในการสื่อสารผ่านทุกช่องทางของการสื่อสารการตลาด
  2. การสร้าง Loyalty Program ให้ลูกค้าเจ้าประจำ รวมทั้งดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
  3. การพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการลูกค้าเพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อมั่น
  4. การให้ความสำคัญกับการสร้างรวมถึงปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีอยู่ตลอดเวลา

2. ความน่าเชื่อถือ (Credibility)

ความจริงใจถือเป็นหนึ่งกฎเหล็กสำคัญที่สุดในการสร้างแบรนด์ เพราะมันจะสร้างให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจและความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ของคุณ จนสามารถเชื่อมโยงให้แบรนด์ของคุณและลูกค้ามีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นอย่างแท้จริง นอกจากนั้นความน่าเชื่อถือยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของความโปร่งใสในการทำธุรกิจอีกด้วย ตัวอย่างเช่น

  1. สื่อสารกับลูกค้าอย่างชัดเจนไม่ปิดบังข้อมูลใดๆ
  2. ทุกๆอย่างที่แบรนด์ทำต้องโปร่งใสตรวจสอบได้
  3. รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกรูปแบบ
  4. ฟังความคิดเห็นของลูกค้าและนำมาปรับปรุงแก้ไขในทันที
  5. ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเสมอ

3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)

ความซื่อสัตย์นำไปสู่การสร้างให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งนั่นก็ส่งผลต่อการสร้างรายได้และผลกำไรให้กับธุรกิจ ซื่อสัตย์ที่จะรับผิดชอบหากเกิดเรื่องแย่ๆขึ้นโดยไม่ต้องมานั่งหาข้อแก้ตัวใดๆ และสิ่งสำคัญก็คือการยึดมั่นในคุณค่าของแบรนด์ (Core Values) Link ที่ต้องยึดถือปฏิบัติเป็นแกนหลักอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น

  1. ข้อความที่แบรนด์สื่อสารในทุกๆสื่อและทุกๆช่องทางนั้น ต้องมีความเชื่อมโยงสอดคล้องและสม่ำเสมอ ไม่สื่อสารเกินจริงเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ในการขายสินค้าหรือบริการ
  2. ทุกๆการกระทำผ่านกิจกรรมทางการตลาดต้องโปร่งใส ไม่ทำให้เกิดความลำเอียงหรือการวิจารณ์ว่าไม่ยุติธรรม
  3. ตรวจสอบคุณภาพของสินค้าโดยไม่ปล่อยให้อะไรที่ไม่ดีออกมาสู่มือของลูกค้า

4. เป็นสัญลักษณ์ของบางสิ่ง (Symbolism)

การที่แบรนด์เป็นสัญลักษณ์ของบางสิ่งสามารถเชื่อมโยงลูกค้าผ่านตัวตนที่เป็นอยู่ว่าตัวเองเป็นใคร รวมถึงเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์หรือตัวตนของแบรนด์ (Brand Identity) Link โดยการเชื่อมโยงนั้นเป็นการถ่ายทอดเชิงอารมณ์ที่เชื่อมโยงไปถึงคุณค่าและความเชื่อ (Values & Belief) ทำให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่มันยิ่งใหญ่กว่า จนส่งผลถึงการสร้างความภักดีในตัวแบรนด์ (Brand Loyalty) Link ตัวอย่างเช่น โลโก้ของ Nike ที่เป็น Swoosh เป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหว ความเป็นนักกีฬา การสร้างแรงบันดาลใจ เป็นต้น


ตัวอย่าง Brand Authenticity อันโดดเด่น

  1. แบรนด์ Patagonia ที่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
  2. แบรนด์ Dove กับแคมเปญ Real Beauty ที่เน้นแนวคิดเชิงบวกให้ผู้หญิงเชื่อมั่นในตัวเอง เห็นความสวยงามในตัวเอง
  3. แบรนด์ Coca-Cola ที่เชื่อมโยงความรู้สึก ความสุข และการแบ่งปันช่วงเวลาดีๆผ่านหลากหลายแคมเปญ เช่น แคมเปญที่โด่งดังอย่าง Share a Coke
  4. แบรนด์ Apple ที่มุ่งมั่นในเรื่องของการออกแบบและการนำนวัตกรรมมาใช้กับผลิตภัณฑ์
  5. แบรนด์ TOMs กับแนวคิดการทำธุรกิจแบบ One fo One เมื่อลูกค้าซื้อรองเท้า 1 คู่ TOMs จะบริจาครองเท้า 1 คู่ ให้กับผู้ที่ยากไร้และด้อยโอกาส
Share a Coke Campaign

Source: https://www.marketingmag.com.au/news/share-a-coke-campaign-post-analysis/


Share to friends


Related Posts

ความแตกต่างระหว่าง Brand Purpose, Vision และ Mission

ความสามารถของแบรนด์ในการสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นไม่เหมือนใครจากคู่แข่งในตลาด และกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคปัจจุบันนั้นมีความซับซ้อนและยากกว่าเดิมที่ผ่านมา ซึ่งการขับเคลื่อนแบรนด์หรือธุรกิจในยุคนี้นั้นมันมากกว่าคำว่าการทำกำไร แต่มันคือการที่ต้องตอบลูกค้าให้ได้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร เราเป็นใคร การมีอยู่ของเรามันช่วยให้สังคมและสิ่งแวดล้อมน่าอยู่ขึ้นอย่างไร


วิธีเพิ่มความจงรักภักดีและการซื้อซ้ำจากลูกค้า (Customer Loyalty & Retention)

การซื้อซ้ำ (Retention) และการสร้างความจงรักภักดีในตัวแบรนด์ (Loyalty) ถือเป็นกุญแจของความสำเร็จในการทำธุรกิจซึ่งอาจมีความจำเป็นกว่าการมุ่งหาลูกค้าใหม่ๆซะด้วยซ้ำ มันคือการรักษาให้ลูกค้านั้นสนับสนุนแบรนด์ของคุณไปอย่างยาวนาน ซึ่งแน่นอนครับว่ามันสร้างให้เกิดกำไรให้กับบริษัทได้อย่างดีอีกวิธีหนึ่ง โดยมีงานวิจัยที่ได้ระบุว่า “ลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำแค่เพียง 5% ก็สามารถสร้างให้เกิดกำไรได้ถึง 25-95%” เลยทีเดียว


สร้าง Brand Identity ให้แข็งแกร่ง

อัตลักษณ์ของแบรนด์ นั้นเป็นสิ่งที่ผู้คนจดจำเป็นอันดับแรกๆ เรียกได้ว่าเป็นหน้าเป็นตาขององค์กร หรือแบรนด์นั้นๆเลยก็ว่าได้ ตั้งแต่หน้าตาของโลโก้ การใช้โทนสี การเลือกใช้ตัวหนังสือ รวมไปถึง template ต่างๆ การออกแบบอัตลักษณ์ของแบรนด์นั้น ไม่ใช่อยู่ๆคิดจะออกแบบก็ออกแบบกันได้ง่ายๆนะครับ



copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์