Branding VS Marketing Cover

การทำ Branding และ Marketing ในสมัยนี้ถือว่ามีความสำคัญพอกันที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีความโดดเด่นและแตกต่างในตลาด และมันก็รวมไปถึงการสร้างความโดดเด่นและการจดจำในจิตใจของลูกค้าด้วยเช่นเดียวกัน หลายๆครั้งหลายๆคราวคนมักจะคิดว่าทั้งการทำ Branding และ Marketing นั้นมีความคล้ายคลึงกัน แต่อันที่จริงแล้วมันมีความแตกต่างกันแต่ก็เชื่อมโยงกันอย่างขาดกันไม่ได้ ซึ่งในบทความนี้ผมจะมาเล่าให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสองคำนี้กันครับ

What's next?

Branding vs Marketing

โดยหลักแล้วความแตกต่างระหว่างการสร้างแบรนด์ (Branding) และการตลาด (Marketing) จะเป็นเรื่องของแนวคิด ระยะเวลา วิธีการ และเครื่องมือในการโปรโมทธุรกิจ โดยเรามักจะคุ้นเคยกับ SEO, PPC, Mobile, Social Media, Advertising ที่เป็นกลยุทธ์และวิธีการพื้นฐานที่ถูกใช้กับงานด้านการตลาด (Marketing) ส่วนการสร้างแบรนด์ (Branding) นั้นจะเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญกับคำพูดที่แสดงออกให้เห็นถึงภาพรวมของการทำธุรกิจหรือการมีอยู่ของธุรกิจ การสร้างแบรนด์ (Branding) นั้นก็เปรียบเสมือนกับการส่องแสงให้สิ่งมีชีวิตบนโลกนั้นเติบโตด้วยเหตุผลของการมีอยู่เพื่อบางสิ่งบนโลก ส่วนการตลาด (Marketing) นั้นก็เปรียบเสมือนกับเงาสะท้อนของ Brand ที่ถูกส่งต่อไปให้ลูกค้าได้อย่างถูกที่ถูกทางถูกเวลา


ความต่างของ Branding และ Marketing

หากแยกออกมาเป็นข้อหลักๆจะสรุปความแตกต่างของการสร้างแบรนด์ (Branding) และการตลาด (Marketing) ได้ถึง 5 ข้อด้วยกันครับ

Branding vs Marketing

1. Marketing คือสิ่งที่จะสื่อสารออกไป Branding คือตัวตนของคุณ

Brand นั้นคือเหตุผลของการมีอยู่ของคุณซึ่งมันเป็นความแท้จริงความโดดเด่นไม่เหมือนใครที่มีคุณค่าบางอย่างที่จะมอบให้กับลูกค้าของคุณ ซึ่งมันประกอบไปด้วยเป้าหมาย คุณค่า ปรัชญา ความเชื่อ วัฒนธรรม ที่ถูกส่งมอบให้กับลูกค้าที่เข้ามารู้จักหรือเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ ส่วนการตลาด (Marketing) นั้นคือการสื่อสารทั้งคุณค่าและความแตกต่างของแบรนด์ให้ลูกค้าได้รับรู้

2. Branding มาก่อน Marketing เสมอ

การที่คุณมีสินค้ามีการออกแบบโลโก แพคเกจสินค้า หรือมีสโลแกนนั่นไม่ได้หมายความว่าคุณมีแบรนด์และเข้าใจความหมายของแบรนด์อย่างแท้จริง เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้มันคือส่วนประกอบของการตลาดและสิ่งที่คุณจะใช้ในการสื่อสารเพียงเท่านั้น สิ่งที่คุณต้องกำหนดในขั้นแรกให้ได้นั่นก็คือ Brand Values หรือคุณค่าของแบรนด์ที่ลูกค้าจะได้รับและคุณค่านั้นมันโดดเด่นหรือแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดอย่างไร เพื่อนำมาต่อยอดในการขับเคลื่อนแคมเปญการตลาด คุณจะไปอยู่จุดไหนใน 1 ปี 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี ซึ่งมันก็คือการวาง Brand Roadmap นั่นเอง

3. คุณเป็นเจ้าของ Marketing แต่ลูกค้าเป็นเจ้าของ Brand

การตลาด (Marketing) คือสิ่งที่คุณทำไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ กลยุทธ์ การเลือกหัวข้อ การออกแบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณสามารถวางแผนและควบคุมมันได้ และคุณก็สามารถกำหนดตัวชี้วัดเพื่อดูว่ามันสำเร็จหรือต้องแก้ไขในบางแคมเปญ นั่นหมายความว่าคุณเป็นเจ้าของการทำการตลาดนั่นเองครับ แต่ผลที่ออกมาหลังจากนั้นที่สะท้อนออกมาจากการกระทำของลูกค้ามันคือการสร้างแบรนด์ (Branding) จากทั้งแคมเปญการตลาดที่สื่อสารออกไป การบริการลูกค้า รวมไปถึงจุดสัมผัสของลูกค้า (Customer Touchpoint) และจุดสัมผัสของแบรนด์ (Brand Touchpoint) ที่ส่งผลและมีอิทธิพลกับตัวแบรนด์ คุณสามารถกำหนดคุณค่าของแบรนด์ (Brand Values) ได้แต่คุณไม่สามารถควบคุมคุณค่าที่ได้รับในสายตาลูกค้าได้ ลูกค้าจะคนบอกเองว่าแบรนด์คุณคือใครและสำคัญต่อเขาอย่างไร

การสร้างแคมเปญการตลาดที่ดีก็ต้องทำควบคู่ไปกับกลยุทธ์การวางตำแหน่งของแบรนด์ ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการฟังเสียงของลูกค้าว่าอะไรคือคุณค่าที่พวกเขากำลังมองหาอยู่พวกเขามีความคาดหวังและความปรารถนาอะไร เพื่อนำมากำหนดตำแหน่งของแบรนด์สู่การวางแคมเปญการตลาดที่สะท้อนสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังได้

4. Branding คือ กลยุทธ์ Marketing คือ กลวิธี

ด้วยความที่แบรนด์นั้นมีขอบเขตที่ใหญ่กว่ากิจกรรมทางการตลาดทั้งหมด แบรนด์สามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณงามความดีก่อนที่ลูกค้าจะได้สัมผัสประสบการณ์กับแบรนด์อีกด้วยซ้ำ ซึ่งจุดนี้มันอาจส่งผลให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าของคุณเลยก็ได้ เห็นไหมครับว่าพลังของการสร้างแบรนด์ (Branding) มันมีอิทธิพลและสร้างผลกระทบที่ใหญ่กว่าการตลาด (Marketing) จนเทียบได้กับระดับของคำว่ากลยุทธ์ ในทางกลับกันการตลาด (Marketing) นั้นก็คือกลวิธีหรือการหาวิธีในการสื่อสารให้แบรนด์สำเร็จตามกลยุทธ์ที่วางไว้

5. Marketing คือการหาลูกค้าและกระตุ้นให้ซื้อ Branding ทำให้ลูกค้าส่งเสริมและสนับสนุน

ถ้ามองตามหลักการทั่วไปจะเห็นว่าทุกๆองค์กรต้องขายสินค้าหรือบริการซึ่งการตลาด (Marketing) นั้นเป็นส่วนสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมการขาย ทุกๆการกระทำทุกๆสิ่งที่สื่อสารออกไปล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) และแน่นอนครับว่ามันส่งผลต่อเรื่องของยอดขายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากดูแล้วการตลาด (Marketing) จะให้น้ำหนักไปกับเรื่องของค่าใช้จ่ายและต้นทุนเป็นหลักผ่านการวางแผนแคมเปญต่างๆ ซึ่งก็เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้กับเสริมสร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์ แต่การสร้างแบรนด์ (Branding) กลับได้ในเรื่องของความซื่อสัตย์หรือจงรักภักดีกลับมา แต่แน่นอนว่าก็ต้องมีการลงทุนอยู่บ้างแต่หากเมื่อไหร่ลูกค้ากลายเป็นผู้สนับสนุน (Advocacy) ในระยะยาวแล้วก็จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้อีกมากเลยทีเดียว

ตารางเปรียบเทียบ Branding VS Marketing

หากพูดโดยสรุปนั่นก็คือการสร้างแบรนด์ (Branding) จะมีลักษณะของการดึงดูดลูกค้าเข้ามาหากพวกเขาได้รับรู้และเข้าใจในความเป็นตัวตนของแบรนด์ว่าคุณเป็นใครเกิดมาเพื่ออะไร ที่ต้องใช้กระบวนการและระยะเวลาพอสมควรในการสร้างทั้งภาพลักษณ์และคุณค่า นับเป็นการวางแผนระดับกลยุทธ์ขององค์กรที่ส่งผลด้านอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก ไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ในอนาคตหากแบรนด์ของคุณนั้นดีจริง

ในขณะที่การตลาด (Marketing) นั้นแม้ว่าจะมีกลยุทธ์แบบ Inbound Marketing หรือการตลาดแบบแรงดึงดูดก็จริง แต่ธรรมชาติพื้นฐานของการตลาด (Marketing) ในช่วงแรกๆก็คือการนำข้อมูลต่างๆในสิ่งที่คุณทำออกไปสู่ลูกค้านั่นก็คือการสื่อสารโปรโมทสินค้าหรือบริการของแบรนด์ผ่านแคมเปญทางการตลาดต่างๆ ซึ่งมีทั้งระยะสั้นระยะกลางและระยะยาวและอาจเห็นผลลัพธ์ได้รวดเร็วในเวลาอันสั้น โดยการตลาด (Marketing) จะกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดการตอบสนองไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้า การสอบถามข้อมูล การค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และหากนำมาเทียบกับการสร้างแบรนด์ (Branding) ก็ถือว่าเป็นกลวิธีเพื่อผลักดันให้แบรนด์ไปสู่จุดมุ่งหมายนั่นเองครับ

หวังว่าผู้อ่านจะพอมองเห็นภาพและเห็นถึงความแตกต่างระหว่างการสร้างแบรนด์ (Branding) กับการตลาด (Marketing) ได้ดีมากยิ่งขึ้นครับ นอกจากมันจะช่วยลดความสับสนในบทบาทหน้าที่และการวางแผนการทำงานแล้ว มันยังช่วยให้คุณเห็นแนวทางในการบริหารจัดการแบรนด์ (Brand Management) ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของการบริหารองค์กรเลยก็ว่าได้ครับ


Share to friends


Related Posts

รู้จัก Brand Loyalty เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจ

ความภักดีต่อแบรนด์ หรือ Brand Loyalty เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ และเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง โดยผลจากการที่คุณภาพของสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองและช่วยส่งเสริมลูกค้าได้ ซึ่งความภักดีต่อแบรนด์ นับเป็นหนึ่งองค์ประกอบของการสร้างคุณค่าของแบรนด์


ลักษณะของ Brand Values ที่ดี

คุณค่าของแบรนด์ (Brand Values) ถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆเวลาที่คุณจะเริ่มสร้างแบรนด์หรือทำธุรกิจต่างๆ เพราะมันคือหนึ่งในตัวกำหนดทิศทางของแบรนด์ในอนาคตก็ว่าได้ครับ และยังถือเป็นหนึ่งความสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ให้กับแบรนด์อีกด้วย โดยหากไม่ได้มีการกำหนดคุณค่าของแบรนด์ให้เห็นอย่างชัดเจนก็อาจทำให้การทำงานหรือการวางแผนธุรกิจนั้นหลุดกรอบออกไปไกลเลยก็ได้ครับ


อะไรคือ Brand Equity

Brand Equity หรือ คุณค่าของแบรนด์ที่เกิดขึ้นในสายตาและการรับรู้ของผู้บริโภค ซึ่งเกิดมาจากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับแบรนด์นั้นๆ ยิ่งในทุกวันนี้มีแบรนด์ต่างๆมากมายที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน และยังอีกมากที่อยู่รอบตัวเราตลอด ซึ่งแบรนด์มีความหมายทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม


ความแตกต่างระหว่าง Brand Purpose, Vision และ Mission

ความสามารถของแบรนด์ในการสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นไม่เหมือนใครจากคู่แข่งในตลาด และกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคปัจจุบันนั้นมีความซับซ้อนและยากกว่าเดิมที่ผ่านมา ซึ่งการขับเคลื่อนแบรนด์หรือธุรกิจในยุคนี้นั้นมันมากกว่าคำว่าการทำกำไร แต่มันคือการที่ต้องตอบลูกค้าให้ได้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร เราเป็นใคร การมีอยู่ของเรามันช่วยให้สังคมและสิ่งแวดล้อมน่าอยู่ขึ้นอย่างไร



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


2 thoughts on “ความแตกต่างระหว่าง Branding และ Marketing

  • ขอบคุณที่แป่งปันครับผม

copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์