รับฟังผ่าน YouTube ได้ที่นี่ https://youtu.be/8xWHlAdabcs
Brand Guideline อาจเรียกได้ว่ามันคือคัมภีร์ในการสื่อสารความเป็นแบรนด์ของคุณ เพื่อเป็นแนวทางให้คุณเข้าใจความเป็นแบรนด์ของคุณ และเข้าใจถึงที่มาที่ไปของแบรนด์ แนวทางการใช้โลโก้ ข้อความ โทนสี การออกแบบสื่อการตลาด และอื่นๆ หรือที่เราเรียกว่า Corporate Identity (CI) ของแบรนด์หรือบริษัทนั่นเอง โดยทุกอย่างต้องแสดงถึงความเป็นแบรนด์อย่างถูกต้อง ซึ่งข้อดีของการมี Brand Guideline นั้นจะช่วยให้
ควบคุมคุณภาพงานได้ดีขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมออกแบบกราฟิก ที่ต้องมีการออกแบบสื่อต่างๆ
การมี Brand Guideline จะช่วยให้ทีมเห็นแนวทางในการใช้
โทนสี รูปแบบตัวอักษร Template ต่างๆ ที่มีผลต่อ
การออกแบบสื่อทุกประเภท
เกิดความเข้าใจที่ดีมากขึ้น
Brand Guideline จะช่วยให้การสื่อสารและการสร้างคอนเท้นต์นั้นมีประสิทธิภาพ
และชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ที่สัมผัสกับแบรนด์
ซึ่งแนวทางต่างๆจะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้ภาพ สี ตัวอักษร
ในการออกแบบได้ดียิ่งขึ้น
เพิ่มการจดจำให้กับแบรนด์
การสื่อสารที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คุณภาพที่สวยงาม และเนื้อหาที่ดี
ที่มีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของคุณได้
และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดี
ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า
Source: superside.com
หัวใจของแบรนด์
ตัวตั้งต้นของ Brand Guideline คุณต้องใส่หัวใจของแบรนด์ลงไป ที่อธิบายถึงหลักการของความเป็นแบรนด์อย่างเฉพาะเจาะจง ที่ประกอบไปด้วย
- จุดมุ่งหมาย (Brand Purpose) ทำไมถึงต้องมีคุณยู่บนโลกใบนี้
- วิสัยทัศน์ (Vision) คุณอยากให้อนาคตที่คุณมีส่วนร่วมในการสร้างออกมาเป็นแบบไหน หน้าตาเป็นอย่างไร
- พันธกิจ (Mission) คุณเกิดมาเพื่อทำอะไร คุณจะสร้างมันออกมาอย่างไร
- คุณค่า (Values) อะไรคือแนวทางหลัก หรือแนวปฏิบัติ (Core Principles) ของแบรนด์คุณ
นอกจากนั้นคุณยังสามารถเพิ่ม “เรื่องราวของแบรนด์” “ความสำเร็จของแบรนด์” รวมไปถึง “เบื้องหลังของแบรนด์” ได้อีก
สารหรือข้อความที่จะสื่อสาร (Message)
ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิธีการพูดหรือแนวทางการสื่อสาร ระหว่างแบรนด์ของคุณกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ สินค้าหรือบริการ ที่คุณต้องให้ความสำคัญกับ
- แก่นแท้ของแบรนด์ (Brand essence) ที่รวมทั้งบุคลิกภาพ น้ำเสียงและโทนของแบรนด์
- คุณค่าที่ให้ลูกค้า (Value Proposition)
- ข้อความที่แสดงถึงความเป็นแบรนด์ (Tagline)
- เสาหลักของสารหรือข้อความ (Messaging Pillars)
*ลองดูบทความเกี่ยวกับ วิธีสร้างสารให้กับแบรนด์ (Brand Message) ได้ที่นี่
นอกจากนั้นคุณยังสามารถเขียนแนะนำได้อีกว่า คำพูดแบบไหนหรือลักษณะการสื่อสารแบบไหนที่ “ควร” หรือ “ไม่ควร” ใช้
ภาพที่บอกถึงตัวตนของแบรนด์ (Visual)
ภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของแบรนด์ มันแสดงถึงตัวตนของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรมีเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์เนื้อหา โดยภาพลักษณ์ของแบรนด์จะถูกมองผ่านองค์ประกอบเหล่านี้
- การใช้สี
- การออกแบบโลโก้
- รูปแบบตัวหนังสือ รูปแบบตัวอักษร
- การลำดับความสำคัญของภาพและการออกแบบ
- รูปแบบและโทนของภาพ
- ลายเส้นต่างๆ
- ไอคอนต่างๆ
- ลักษณะการนำเสนอข้อมูลต่างๆให้เป็นภาพ เช่น กราฟต่างๆ
- ลักษณะการใช้ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
- Theme ของวีดิโอ
- การออกแบบเว็บไซต์
Source: dribbble.com
สร้าง Brand Guideline พร้อมตัวอย่างและคำอธิบาย
เมื่อคุณเห็นองค์ประกอบที่จะไปอยู่ในคัมภีร์ในการสื่อสารความเป็นแบรนด์ของคุณ หรือ Brand Guideline แล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาเขียนแนวทางให้ชัดเจน ที่ควรระบุว่าอันไหน “ควรทำ” หรืออันไหน “ไม่ควรทำ” และแสดงตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของทีมงาน เช่น
- การใช้ข้อความบนสื่อจำพวก Social Media และอื่นๆ
- แนวทางการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์
- แนวทางการเขียนอีเมล์ทั้งเชิงธุรกิจ และเชิงการตลาด
- คำอธิบายสินค้าหรือบริการ
- รูปแบบโลโก้และการใช้งาน
- การวางตำแหน่งโลโก้
- การระบุโทนสี
- การเลือกใช้โทนสี (สีหลัก สีรอง อื่นๆ)
- วิธีการวางตัวหนังสือ
- ลำดับการวางต่างๆ
- แนวทางการใช้ภาพ (ขนาด ตำแหน่ง)
ทั้งหมดก็เป็นวิธีการทำ Brand Guideline ที่จะช่วยให้การสื่อสารแบรนด์ของคุณมีความชัดเจนและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และอย่าลืมอัพเดทข้อมูลต่างๆให้ทันสมัยอยู่เสมอๆ เพราะคุณคงไม่อยากใช้ข้อมูลเก่าๆสื่อสารกับลูกค้าใช่ไหมละครับ