การสร้าง Product Branding ให้กับสินค้าของคุณ

การสร้างแบรนด์ (Branding) นับเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการวางแผนการทำธุรกิจหรือการผลิตสินค้าเพื่อออกสู่ตลาด ที่สามารถสร้างความแตกต่างและโดดเด่นในตลาดและสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ดีๆในสายตาของลูกค้าอีกด้วย และแนวคิดของการสร้างแบรนด์ให้กับตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (Product Branding) นั้นมันก็มีหลักการสำคัญอยู่หลายประการด้วยกัน เพื่อทำให้สินค้าของคุณนั้นโดดเด่นท่ามกลางสินค้าที่มีอยู่มากมายในตลาดครับ

What's next?

1. นำเสนอจุดขายที่ไม่เหมือนใคร

สร้างจุดขายแบบเด่นๆที่ไม่เหมือนใครหรือ Unique Selling Proposition (USP) ด้วยการนำเสนออะไรที่พิเศษกว่าคนอื่นๆในตลาดที่ลูกค้ายากจะปฏิเสธได้ ไม่ว่าจะเป็นราคาที่น่าสนใจหรือคุณภาพของสินค้าในระดับพรีเมี่ยม อะไรก็ตามที่ทำให้สินค้าของคุณสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้จนไปถึงในระดับคุณภาพที่คับแก้ว จะกลายเป็นแต้มต่อให้กับแบรนด์และสินค้าของคุณครับ ดังนั้นคุณควรลองเปรียบเทียบสินค้าของคุณกับคู่แข่งในตลาดเพื่อตรวจสอบดูว่า สินค้าของคุณมีอะไรเหมือนหรือแตกต่างกับคู่แข่งบ้าง คุณควรจะชูจุดเด่นจุดใดบ้าง ซึ่งมันอาจเป็นทั้งการนำเสนอในสิ่งที่คู่แข่งไม่ได้พูดถึงและอาจทำให้คุณนำไปสร้างจุดเด่นใหม่ๆกับสินค้าใหม่ๆเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบได้อีกด้วย

2. ความคงเส้นคงวา

การจดจำเป็นสิ่งที่ทุกๆแบรนด์ควรสร้างให้เกิดขึ้นในสายตาลูกค้า และการสร้างการจดจำที่ดีคือคุณต้องสร้างความสม่ำเสมอมีความคงเส้นคงวาทั้งในตัวของสินค้ารวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆที่แสดงถึงแบรนด์ของคุณ ดังนั้นเวลาคุณผลิตสินค้าที่ดีออกมาแล้วก็ต้องพยายามรักษาคุณภาพไม่ให้มันลดลง อย่าพยายามเปลี่ยนมันบ่อยๆเพียงเพราะความรู้สึกของคุณถ้าไม่ได้มี Insight จากลูกค้าจนเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะมันอาจจะทำให้ลูกค้าจดจำเราในมุมที่ไม่ดีก็ได้หรืออาจจำจุดเด่นของแบรนด์ไม่ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าปรับเปลี่ยนโลโก้ บรรจุภัณฑ์ สีสันบ่อยๆแบบไม่มีสาเหตุที่เหมาะสมครับ

3. ส่งมอบประโยชน์

การนำเสนอสินค้านั้นต้องส่งมอบทั้งประโยชน์และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนของแบรนด์ว่าคุณควรจะมีการการันตีในด้านอื่นๆที่นอกเหนือจากสินค้ามีปัญหาหรือไม่ เช่น การคืนเงินหากไม่พอใจในตัวสินค้าหรือสินค้าใช้แล้วไม่ตอบโจทย์กับความต้องการที่มองหาอยู่ ซึ่งมันเป็นประโยชน์ที่สร้างความแตกต่างให้กับ Product Branding ที่สร้างแต้มต่อให้คุณได้

4. สร้างความพิเศษ

การจะสร้างให้แบรนด์หรือสินค้าของคุณแข็งแกร่งและโดดเด่นได้ ต้องไม่ลืมสร้างสิ่งที่พิเศษที่นอกเหนือจากการขายแบบปกติ ซึ่งเรากำลังพูดถึงกิจกรรมทางการตลาดไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอส่วนลด การมอบสิทธิพิเศษให้กับสมาชิก หรือความสามารถในการ Customize สินค้า (Product Customization) ที่นอกเหนือจากคุณภาพของสินค้าที่มี สิ่งต่างๆเหล่านี้มันก็คือความใส่ใจในตัวลูกค้านั่นเองครับ

5. ชื่อสินค้าต้องเหมาะสม

การตั้งชื่อสินค้าก็ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการจดจำและการขาย ชื่อสินค้าและความหมายของมันสามารถสร้างอิทธิพลให้เกิดการซื้อได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจครับ ซึ่งชื่อสินค้าก็ต้องมีความสอดคล้องกับคุณสมบัติของสินค้าหรือแหล่งที่มาของสินค้า มีความจดจำง่ายไม่ซ้ำใคร สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวของแบรนด์ ภาษาที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมด้วยเช่นกัน หรือที่เราเรียกว่าต้องมีการทำการศึกษาบริบทรอบๆด้านเวลาจะตั้งชื่อให้กับสินค้าครับ โดยอาจลองศึกษาการตั้งชื่อแบรนด์หรือสินค้าได้จากที่นี่ครับ >> รูปแบบการตั้งชื่อแบรนด์ (Brand Naming) มีอะไรบ้าง

6. อัตลักษณ์ต้องโดดเด่น

การขายสินค้าก็เหมือนกับการสร้างแบรนด์ครับที่ต้องมีการสร้างความโดดเด่นในอัตลักษณ์ (Identity) หรือความเป็นตัวตนของสินค้า (Product Identity) ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ของสินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ สีสันของบรรจุภัณฑ์ การออกแบบตัวหนังสือ รวมไปถึงสื่อต่างๆในงานโฆษณา ซึ่งทั้งหมดก็ต้องสอดคล้องกับแนวทางของการสร้างแบรนด์ของคุณด้วย


Share to friends


Related Posts

สร้าง Brand Identity ให้แข็งแกร่ง

อัตลักษณ์ของแบรนด์ นั้นเป็นสิ่งที่ผู้คนจดจำเป็นอันดับแรกๆ เรียกได้ว่าเป็นหน้าเป็นตาขององค์กร หรือแบรนด์นั้นๆเลยก็ว่าได้ ตั้งแต่หน้าตาของโลโก้ การใช้โทนสี การเลือกใช้ตัวหนังสือ รวมไปถึง template ต่างๆ การออกแบบอัตลักษณ์ของแบรนด์นั้น ไม่ใช่อยู่ๆคิดจะออกแบบก็ออกแบบกันได้ง่ายๆนะครับ


อะไรคือการ Customization สำหรับการตลาด

เมื่อประสบการณ์ลูกค้ากลายเป็นตัวกำหนดความแตกต่างของแบรนด์ ทำให้แบรนด์และการทำธุรกิจนั้นหันมาใส่ใจกับการสร้างความพิเศษกับสินค้า โดยการทำ Product Customization ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างที่เห็นกันอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังคงอยู่ในกระแสของการสร้างแบรนด์และการทำธุรกิจในยุคใหม่


ความแตกต่างของ Corporate Brand และ Product Brand

หลายคนมีความสับสนว่าแบรนด์สินค้า กับแบรนด์องค์กรมีความเหมือนหรือความต่างกันหรือไม่อย่างไร ลองมาดูคำอธิบายกันครับ โดยผมจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด สำหรับแบรนด์นั้นสามารถแยกได้เป็น 2 ระดับ


รูปแบบการตั้งชื่อแบรนด์ (Brand Naming) มีอะไรบ้าง

ชื่อบริษัทรวมไปถึงสินค้าหรือบริการ นับเป็นสิ่งแรกที่ดึงดูดให้ลูกค้ามาติดต่อกับคุณ หรือเรียกได้ว่าความประทับใจในครั้งแรกก็ไม่ผิดนะครับ คำถามถัดมาก็คือคุณต้องการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นในครั้งแรก เพื่อให้ลูกค้าของคุณรู้ว่าคุณน่าสนใจเพียงใด มีเรื่องราวอะไรจะจะเล่าหรือไม่



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2023@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์