Differentiate your business with Brand Positioning

ต้องยอมรับเลยนะครับว่าในสมัยนี้เกิดแบรนด์ต่างๆ ธุรกิจใหม่ๆ สินค้าที่มีความหลากหลายขึ้นแทบจะทุกวันหลายๆแบรนด์พยายามนำเสนอสิ่งใหม่ๆที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งหากแบรนด์ใดสามารถนำเสนอจุดเด่นของสินค้าหรือบริการ หรือการสร้างจุดต่างอื่นๆที่ไม่เหมือนใครและสื่อสารไปให้ลูกค้าหรือผู้บริโภครับรู้และจดจำได้ ก็เรียกได้ว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว นั่นคือ แนวคิดของการวางตำแหน่งแบรนด์ (Brand Positioning) ซึ่งการวางตำแหน่งแบรนด์นั้น คือ สิ่งที่แบรนด์สร้างภาพลักษณ์ขึ้นมาเพื่อยึดครองพื้นที่ในใจของกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดและมีความพิเศษเฉพาะ การวางตำแหน่งของแบรนด์นั้นควรวางจากพื้นฐานที่ว่า

  • What is the Brand for? แบรนด์เราเกิดมาเพื่ออะไร มันคือความหมายของการมีอยู่ของแบรนด์เราในตลาด
  • Who is the Brand for? แบรนด์เราเกิดมาเพื่อใครที่จะสร้างให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดในตลาด
  • When is the Brand for? ลูกค้าจะซื้อแบรนด์เราเมื่อไร ความถี่ในการซื้อเป็นอย่างไร
  • Who are the Brand Competitors? คู่แข่งของแบรนด์เราทั้งทางตรงและทางอ้อม

ซึ่งพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยให้เรากำหนดตำแหน่งของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ซ้ำกับคู่แข่งที่มีในตลาด ความสำคัญของการวางตำแหน่งแบรนด์นั้นจะช่วยให้เราสร้างความภักดีในแบรนด์จากลูกค้า เกิดคุณค่าในสายตาของลูกค้าและหันมาซื้อสินค้าหรือบริการของเราอย่างเต็มใจ ซึ่งเข้าไปลึกถึงจิตใจของลูกค้าได้เลย

3 ขั้นตอนสู่การวางตำแหน่งแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นที่ 1

วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าว่า แท้ที่จริงแล้วลูกค้าต้องการอะไร วิเคราะห์ศักยภาพว่ามีความสามารถและศักยภาพเพียงพอหรือไม่ และวิเคราะห์ถึงการวางตำแหน่งของคู่แข่งว่าคู่แข่งใช้จุดเด่นจุดใด เพื่อนำมาวางตำแหน่งของแบรนด์เรา

ขั้นที่ 2

เลือกตำแหน่งที่ผ่านการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 มาดูว่าตำแหน่งที่เราวางนั้นมันสะท้อนมาจากลูกจริงหรือไม่ บริษัทสามารถส่งมอบสิ่งเหล่านั้นได้หรือไม่ แตกต่างจากคู่แข่งจริงหรือไม่ และทำการเตรียมระบุคุณค่าของแบรนด์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ สิ่งที่แบรนด์จะมอบให้ลูกค้า

ขั้นที่ 3

ทำส่วนอื่นๆที่เหลือ เช่น การสร้างบุคลิกภาพให้กับแบรนด์ การกำหนดอัตลักษณ์ของแบรนด์ผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โลโก้ รูปแบบสื่อโฆษณา และวิธีการสื่อสารต่างๆ

ลักษณะของการวางตำแหน่งแบรนด์ที่ดีมีอะไรบ้าง

  • การวางตำแหน่งแบรนด์ต้องมีความเกี่ยวข้องหรือความเชื่อมโยงกับความต้องการของลูกค้า หากการวางตำแหน่งไม่สอดคล้องกับความต้องการขึ้นมา ก็เรียกได้ว่าล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น
  • การวางตำแหน่งแบรนด์ต้องคำนึงถึงเนื้อหาในการสื่อสารที่ต้องเคลียร์ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และภาพลักษณ์ที่สื่อออกมาก็ต้องมีความชัดเจนกับตำแหน่งของแบรนด์
  • การวางตำแหน่งแบรนด์ต้องมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ที่ไม่ควรซ้ำกับคู่แข่งที่เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค
  • การวางตำแหน่งแบรนด์ต้องสร้างให้เกิดความปรารถนา และความพึงพอใจ ซึ่งจะทำให้เกิดโอกาสการซื้อสินค้าจากผู้บริโภคได้
  • การวางตำแหน่งแบรนด์ต้องส่งมอบคำมั่นสัญญาที่แบรนด์ให้ไว้ได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งหากไม่สามารถส่งมอบสิ่งเหล่านั้นได้ จะทำให้แบรนด์ลดคุณค่าลงไปในทันที
  • การวางตำแหน่งแบรนด์ต้องทำผู้บริโภคต้องบอกถึงความแตกต่างของแบรนด์เรากับแบรนด์คู่แข่งในตลาดให้ได้ หากผู้บริโภคไม่สามารถรับรู้ถึงความแตกต่างได้ สิ่งที่แบรนด์วางแผนมาทั้งหมดก็อาจจะต้องมานั่งวิเคราะห์กันใหม่

ประเภทของการวางตำแหน่งแบรนด์

โดยหลักแล้วการวางตำแหน่งแบรนด์นั้นมี 3 ประเภทด้วยกัน คือ การวางตำแหน่งตามลักษณะการใช้งาน (Functional Positioning) การวางตำแหน่งโดยการแทนด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Positioning) และการวางตำแหน่งจากการได้สัมผัสประสบการณ์ด้านต่างๆ (Experiential Positioning) เรามาดูกันครับว่าแต่ละประเภท เป็นอย่างไร

  • Functional Positioning
    การวางตำแหน่งที่เน้นเรื่องคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการ ที่เน้นด้านคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการ และเอาจุดนี้มาเป็นคุณค่าของแบรนด์ ที่สามารถเติมเต็มความต้องการและความปรารถนาของลูกค้าได้ เช่น การใช้คุณสมบัติเด่นของสินค้า การใช้คุณสมบัติรองของสินค้า การใช้ประโยชน์จากสินค้า การใช้ราคามาวางตำแหน่งของแบรนด์ และยังสามารถนำเอาปัญหาที่ลูกค้าเจอมาสร้างเป็นจุดต่างในการวางตำแหน่งแบรนด์ ที่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้ ตัวอย่างแบรนด์ที่วางตำแหน่งแบรนด์จากคุณสมบัติของสินค้า เช่น แบรนด์มือถือ คอมพิวเตอร์ แบรนด์ผงซักฟอกต่างๆ

    ลองนึกถึงแบรนด์คอมพิวเตอร์สักแบรนด์ดูนะครับ เช่น IMac เราจะนึกถึงคุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาใช้ ประมวลผลเร็ว มีราคาแพงกว่าแบรนด์ทั่วๆไป นั่นคือตำแหน่งแบรนด์ที่ถูกวางไว้ และสะท้อนมายังการรับรู้ของผู้บริโภคได้

ตัวอย่างแบรนด์ Apple – IMAC กับการวางตำแหน่งแบบ Functional Positioning

IMac_Funcitonal Positioning

Source: https://www.whatphone.net/news/imac-pro-space-gray-accessories/attachment/imac-pro-space-gray/

  • Symbolic Positioning
    การวางตำแหน่งที่เน้นการนำเอาลักษณะของแบรนด์มาสร้างแรงบันดาลใจ ว่าแบรนด์เราสามารถเติมเต็มความต้องการบางอย่างให้กับคุณ เป็นการเปรียบเทียบที่สะท้อนมาจากภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่วางไว้ และภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นในใจของผู้บริโภค ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการการนับถือในตนเอง หรือ self-esteem แสดงถึงสถานะทางสังคม รวมถึงความเชื่อมโยงกับคนในสังคม เช่น ความหรูหรามีระดับ ความทันสมัย ความเป็นนวัตกรรม โดยส่วนใหญ่แล้วแบรนด์ประเภท รถยนต์ น้ำหอม กระเป๋า เครื่องแต่งกายจะใช้การวางตำแหน่งเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสัญลักษณ์ทางสังคม

    ลองดูตัวอย่างแบรนด์รถยนต์ BMW เราจะนึกถึงภาพลักษณ์ของความทันสมัย ใช้แล้วดูเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ ไม่ตกเทรนด์ รถยนต์ Benz ใช้แล้วดูหรูมีระดับและยังความอนุรักษ์นิยมนิดๆ คนใช้รถยนต์ Porsche ก็จะดูสปอร์ตๆ ใครใช้เสื้อผ้ายี่ห้อ Gucci จะดูทันสมัย ใครใช้น้ำหอม Dior ก็ดูมีความคลาสิก

ตัวอย่างแบรนด์ BMW กับการวางตำแหน่งแบบ Symbolic Positioning

BMW_Symbolic Positioning

Source: https://www.bmw-dexpremium.pl/nowe-bmw-serii-5

ตัวอย่างแบรนด์ Dior กับการวางตำแหน่งแบบ Symbolic Positioning

Dior

Source: https://www.bmw-dexpremium.pl/nowe-bmw-serii-5

  • Experiential Positioning
    การวางตำแหน่งที่เน้นการเชื่อมโยงด้านอารมณ์ให้เกิดขึ้นระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค การนำเสนอสินค้าหรือบริการผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือ sensory image เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์ดีๆของผู้บริโภค เช่น แบรนด์สายการบิน แบรนด์ร้านกาแฟ

    ตัวอย่างแบรนด์ร้านกาแฟ Starbucks ที่ชัดเจนในการสร้าง sensory image ได้ครบทุกประสาทสัมผัส สร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ที่ใช้บริการอยู่เสมอ ที่ไม่ใช่แค่คุณภาพแต่ยังให้ความสำคัญกับบริการ ความเอาใจใส่ ความเป็นมิตรภาพ และความเป็นกันเองกับลูกค้า

ตัวอย่างแบรนด์ Starbucks กับการวางตำแหน่งแบบ Experiential Positioning

Starbucks_Experiantial Positioning

Source: https://www.pinterest.com/pin/684899055812214623/

ความสำคัญของการวางตำแหน่งแบรนด์ให้แตกต่างและมีประสิทธิภาพนั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจในธุรกิจที่เราทำ รู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า รวมไปถึงบริบทแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจของเรา เช่น คู่แข่งในตลาด เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ภาพรวมต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินธุรกิจ และอย่าลืมนะครับว่าความแตกต่างต้องเกิดมาจากพื้นฐานศักยภาพของแบรนด์เราว่าสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้จริงหรือไม่ เพราะทุกอย่างที่แบรนด์นำเสนอนั้นก็คือความคาดหวังที่ผู้บริโภคจะได้รับนั่นเองครับ


Share to friends

Tags



Related Posts

สร้างความโดดเด่นด้วย Differentiation Strategy

การอยู่รอดในธุรกิจสมัยนี้นับเป็นเรื่องที่ยาก เพราะด้วยความที่เกิดคู่แข่งขันในตลาดมากมายและทุกอย่างมีการเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของอินเทอร์เน็ต โซเชียล มีเดีย นับเป็นยุคของดิจิทัลแทบจะ 100% และด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เราจำเป็นต้องหาจุดต่างในแบรนด์ สินค้า รวมถึงบริการ


ขั้นตอนการสร้าง Brand Positioning

การวางตำแหน่งแบรนด์หรือ Brand Positioning ทำให้เรารู้ว่าการวางตำแหน่งแบรนด์ที่แตกต่างในตลาด สามารถสร้างให้เกิดคุณค่ากับผู้บริโภคได้ และยังสร้างให้เกิดการจดจำในสายในผู้บริโภค


การวาง Positioning 3 ประเภทที่ควรรู้

โดยทั่วไปเรามักจะได้ยินเรื่องของการวางตำแหน่งสินค้าหรือการวางตำแหน่งของแบรนด์ ซึ่งในด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์นั้น การวางตำแหน่งจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากคู่แข่งและสร้างให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขัน


สร้าง Value Proposition ให้โดดเด่นไม่เหมือนใคร

Value Proposition คือ การเสนอคุณค่าที่แบรนด์หรือธุรกิจส่งมอบให้กับลูกค้า ที่ต้องมีความโดดเด่นและแตกต่างไม่เหมือนคู่แข่งรายอื่นๆ ที่ส่งผลไปยังคำถามที่ว่าทำไมลูกค้าถึงต้องซื้อสินค้าจากแบรนด์ของคุณ



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์