ตั้งชื่อแบรนด์อย่างไร ให้โดดเด่นในตลาด (How to Create A Good Brand Name in the Market)

รับฟังผ่าน YouTube ได้ที่นี่ https://youtu.be/MfqYEkNFja4


แบรนด์ที่ยิ่งใหญ่หรือแบรนด์ดังๆไม่ใช่แค่การที่คุณมองโลโก้ หรือนามบัตรเวลาไปติดต่อธุรกิจต่างๆแล้วเห็นว่ามันสวยงามหรือชื่นชอบ แล้วจะกลายเป็นแบรนด์ที่โดดเด่นหรือเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ แต่มันขึ้นอยู่กับการที่แบรนด์สื่อสารบางสิ่งบางอย่างที่สร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคต่างหาก ที่ทำให้แบรนด์เหล่านั้นประสบความสำเร็จ

ชื่อของแบรนด์ที่ดีควรง่ายสำหรับการจดจำของลูกค้า รวมถึงสร้างให้เกิดการเชื่อมโยงบางอย่างให้แบรนด์มีความต่างจากคู่แข่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการทำการบ้านและลงรายละเอียดในเชิงลึก เรามาดูวิธีการตั้งชื่อแบรนด์อย่างไรให้โดดเด่นและเป็นที่จดจำกันครับ

ชื่อแบรนด์ที่ดีต้องเป็นอย่างไร

มีความหมาย

สามารถสื่อสารแก่นแท้ของแบรนด์ (Brand Essence) สะท้อนภาพลักษณ์
และสามารถเชื่อมโยงความรู้สึกทางอารมณ์ในเชิงบวก

มีความโดดเด่น

ไม่เหมือนใคร น่าจดจำ แตกต่างจากคู่แข่งขัน

เข้าถึงได้ง่าย

คนสามารถตีความและเข้าใจความหมายได้ง่ายทั้งการอ่าน การสะกด
การออกเสียง หรือแม้แต่การค้นหาบน Google และแม้ว่าคุณจะใช้ชื่อที่แปลก
แค่ไหนก็ตาม หากมันเข้าใจได้ง่ายก็นับว่าใช้ได้เหมือนกัน

เป็นเจ้าของได้

สามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ จดโดเมนได้
เป็นเจ้าของมันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

มีอนาคต

สามารถสร้างศักยภาพในการเติบโตให้กับองค์กร และสามารถปรับเปลี่ยน
เพื่อรองรับการขยายแบรนด์หรือสินค้าได้

เห็นภาพที่ชัดเจน

สามารถสื่อสารหรือแปลความหมายผ่านอัตลักษณ์ (Identity)
ได้อย่างเหมาะสมและมีความหมายเพื่อบางสิ่ง ผ่านการออกแบบโลโก้
การใช้สี การออกแบบไอคอน และการออกแบบสื่อต่างๆ

ทั้ง 6 ข้อนี้ นับเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อคุณจะตั้งชื่อแบรนด์ของคุณ
ทีนี้เรามาดูกันครับว่าขั้นตอนการตั้งชื่อให้กับแบรนด์
มีทั้งหมดกี่ขั้นตอน

Grey Arrow

ขั้นที่ 1 หัวใจของแบรนด์คืออะไร

ก่อนที่คุณจะตั้งชื่อแบรนด์นั้น คุณต้องรู้ว่าคุณเป็นใคร คุณเกิดมาเพื่ออะไร ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของทุกๆแบรนด์ ซึ่งประกอบไปด้วย

จุดมุ่งหมาย

ทำไมถึงต้องมีแบรนด์ของคุณอยู่บนโลกใบนี้

วิสัยทัศน์

คุณอยากสร้างอนาคตในแบบไหน อยากสร้างออกมาให้เป็นอย่างไร

พันธกิจ

คุณเกิดมาเพื่อทำอะไร และคุณจะสร้างมันได้อย่างไร

คุณค่า

คุณใช้หลักการใดเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดความเป็นตัวตนของคุณ

ทุกองค์ประกอบนั้นมีความสำคัญต่อทุกๆสิ่งที่คุณกำลังจะทำ โดยเมื่อคุณได้องค์ประกอบเหล่านี้ครบถ้วนแล้วก็ต้องนำทั้งหมดมารวมกัน เพื่อเตรียมคิดเรื่องการตั้งชื่อแบรนด์

ขั้นที่ 2 หาความแตกต่าง

นอกเหนือจากจากการที่คุณสามารถค้นหาได้แล้วว่า หัวใจของแบรนด์คืออะไร ต่อไปคือการค้นหาดูว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้แบรนด์ของคุณแตกต่างที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งนับเป็นจุดสำคัญในการสร้างชื่อให้กับแบรนด์ โดยคุณสามารถทบทวนหรือค้นหาข้อมูลของคู่แข่งในตลาด การวิเคราะห์ SWOT หรือแม้แต่การทำวิจัย (Market Research) เพื่อนำมาเปรียบเทียบดูว่าในตลาดนั้นเป็นอย่างไร เพื่อนำมาสร้างมุมมองในการทำให้แบรนด์ของคุณมีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 3 ระดมสมอง

รวบรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมถึงทีมครีเอทีฟ มาทำการระดมสมองเพื่อสร้างชื่อให้กับแบรนด์ ซึ่งควรคิดชื่อไว้สัก 10-20 ชื่อ เพื่อป้องกันการซ้ำชื่อแบรนด์ ด้วยการวางแนวทางเพื่อให้ทีมสามารถระดมสมองได้ง่ายขึ้น เช่น

  • เขียนคำอธิบาย หรือสิ่งที่เชื่อมโยงถึงสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ลองกำหนดดูว่าคุณอยากให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไร เมื่อได้ใช้สินค้าหรือบริการของคุณ

นอกจากนั้นอาจลองใช้วิธีการตั้งชื่อแบรนด์ตามประเภท มาใช้เป็นส่วนประกอบในการระดมสมองได้ เช่น

  • การตั้งชื่อแบรนด์ตามผู้ก่อตั้ง
  • การบอกลักษณะธุรกิจ
  • การประดิษฐ์ชื่อขึ้นมา
  • การเปรียบเทียบความหมาย
  • การใช้อักษรย่อ
  • การเชื่อมคำเข้าไว้ด้วยกัน

ขั้นที่ 4 คัดกรองและเลือกชื่อแบรนด์

เมื่อคุณได้ชื่อแบรนด์จากการระดมสมองเป็นที่เรียบร้อย ก็ต้องนำมาคัดกรองเพื่อให้เหลือตัวเลือกน้อยที่สุดและดีที่สุด และต้องนำไปตรวจสอบดูว่าชื่อเหล่านั้นได้ถูกนำไปใช้แล้วหรือไม่ เมื่อได้ชื่อที่ต้องการแล้วก็จดทะเบียนให้เรียบร้อย

ขั้นที่ 5 ทดสอบ

ได้เวลาที่คุณต้องลองสร้าง Mock up ทั้งโลโก้ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ หน้าตาเว็บไซต์ รูปแบบสื่อโฆษณาต่างๆ และลองนำไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายดูว่าจะมีเสียงตอบรับอย่างไร ซึ่งคุณอาจจะได้ความคิดเห็นดีๆจากคนเหล่านั้นก็ได้

คุณอาจลองทำ A/B Testing ในเฟสบุ้คเพื่อดูว่าชื่อใดกับรูปแบบใดสามารถสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม เช่น กดไลค์ กดแชร์ หรือแสดงความคิดเห็นมากกว่ากัน รวมไปถึง Conversion Rate แบบไหนออกมาดีกว่ากัน

ขั้นสุดท้าย เติมความสมบูณ์แบบให้กับแบรนด์

เมื่อคุณทำทุกขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้ว และคุณได้ชื่อของแบรนด์ที่เหมาะสม ก็ได้เวลาในการทำส่วนที่เหลือ นั่นก็คือ

  • สร้างแนวทางของตัวเอง ที่ประกอบไปด้วย น้ำเสียงของแบรนด์ (Brand Voice) บุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) กำหนดสโลแกน กำหนดคุณค่าของแบรนด์
  • ออกแบบอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) ที่ประกอบไปด้วย โลโก้ โทนสี ภาพที่ใช้ รูปแบบตัวหนังสือ ลายเส้นประกอบ ไอคอนต่างๆ หน้าตาเว็บไซต์ รวมถึงวีดิโอต่างๆ
  • สร้างหลักเกณฑ์ของแบรนด์ (Brand Guideline) ด้วยการรวมข้อมูลของแบรนด์ตั้งแต่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย คุณค่า ไปจนถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์ มาทำเป็นเอกสารเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ได้อย่างถูกต้อง
  • สร้างเรื่องราวให้กับแบรนด์ ด้วยการสร้างสรรค์ไอเดียดีๆและใส่ลงไปในการทำคอนเท้นต์รูปแบบต่างๆ เพื่อสื่อสารให้คนภายนอกได้รับรู้ว่าคุณเป็นใคร คุณเกิดมาเพื่ออะไร และคุณจะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไร

ทั้งหมดก็เป็นแนวทางในการตั้งชื่อแบรนด์ให้ดูโดดเด่น แต่แม้ว่าคุณจะตั้งชื่อแบรนด์ได้โดดเด่นหรือเป็นที่จดจำได้มากแค่ไหนก็ตาม หากคุณไม่ได้วางกลยุทธ์ของแบรนด์ให้ชัดเจน ก็อาจทำให้แบรนด์ของคุณไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ต้องการก็ได้ครับ


Photos by freepik – www.freepik.com

Share to friends


Related Posts

รูปแบบการตั้งชื่อแบรนด์ (Brand Naming) มีอะไรบ้าง

ชื่อบริษัทรวมไปถึงสินค้าหรือบริการ นับเป็นสิ่งแรกที่ดึงดูดให้ลูกค้ามาติดต่อกับคุณ หรือเรียกได้ว่าความประทับใจในครั้งแรกก็ไม่ผิดนะครับ คำถามถัดมาก็คือคุณต้องการสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นในครั้งแรก เพื่อให้ลูกค้าของคุณรู้ว่าคุณน่าสนใจเพียงใด มีเรื่องราวอะไรจะจะเล่าหรือไม่


Brand Identity คืออะไรสำคัญแค่ไหน

Brand Identity คือ อัตลักษณ์หรือความเป็นตันตนของแบรนด์ เป็นสิ่งที่บริษัทสร้างขึ้นเพื่อนำเสนอความเป็นตัวตนของแบรนด์ตัวเอง Brand Identity นั้นถือเป็นหน้าตาของบริษัทด่านแรกที่กลุ่มลูกค้าจะได้เห็น เช่น ชื่อของแบรนด์ โลโก้ สโลแกน โบรชัวร์ แผ่นพับ ป้ายโฆษณา นามบัตร หัวจดหมาย Brand Identity ยังมีความเกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆของบริษัท


สร้างแบรนด์ให้โดดเด่น ด้วย Brand Personality

หลายคนน่าจะเคยได้ยินหรือเจอกับตัวเองที่หลายๆครั้งเวลาเราซื้อสินค้า เรามักจะคิดในใจว่าสินค้านี้มันคือตัวเรา ใช่ไหมครับ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเรามักจะแสดงออกถึงลักษณ์ของความเป็นตัวเอง กับบุคลิกภาพของแบรนด์ที่พวกเขาเลือก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ บุคลิกภาพของแบรนด์นั้นบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์


Brand Voice กับความแตกต่างในการทำธุรกิจ

การสร้างแบรนด์กลายเป็นศาสตร์หนึ่งของการทำการตลาดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องมีการลงทุนในการสร้างให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจว่าแบรนด์ของเราเป็นใคร มีจุดมุ่งหมายอะไร และหนึ่งในนั้นคือการสร้างบุคลิกภาพให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจว่าเรามีลักษณะเป็นอย่างไรเพื่อให้เป็นที่จดจำผ่านกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ เมื่อคนเราคิดหรือนึกถึงแบรนด์ก็มักจะคิดถึงอัตลักษณ์



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2023@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์