Change in Business Strategy

เมื่อคุณสร้างแบรนด์หรือทำธุรกิจไปในระดับนึง ที่สามารถสร้างชื่อเสียงและส่วนแบ่งทางการตลาดได้อย่างประสบความสำเร็จ ก็มักจะเจอะเจอกับความท้าทายใหม่ๆอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งเดิมหรือคู่แข่งหน้าใหม่ ที่มาพร้อมกับจุดขายใหม่ๆที่มีข้อเสนอที่ดีกว่าจนทำให้ภาพที่จดจำในใจของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คุณต้องทำงานอย่างหนักในการรักษาตำแหน่งของแบรนด์ หรืออาจจำเป็นต้องเปลี่ยนตำแหน่งของแบรนด์ (Repositioning) ไปเลยก็ได้

นอกเหนือจากคู่แข่งที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนตำแหน่งของแบรนด์ ยังมีอีกหลายสาเหตุของความจำเป็นในการเปลี่ยนตำแหน่งของแบรนด์ มานำเสนอให้คุณนำไปพิจารณาก่อนที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆเพราะมันอาจหมายถึงการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นก็ได้ครับ

6 เหตุผลในการเปลี่ยนตำแหน่งของแบรนด์ (Repositioning)

1. เกิดเรื่องไม่ดีขึ้น

ในเวลาที่แบรนด์หรือสินค้านั้นมีภาพลักษณ์ที่เริ่มเป็นเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการเกิดข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง จนทำให้ลูกค้าไม่ต้องการอีกต่อไปซึ่งส่งผลต่อกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์

Bad Signal

2. ภาพลักษณ์ดูคลุมเครือ

แบรนด์หรือสินค้าเริ่มไม่โดดเด่นหรือมีเอกลักษณ์ให้จดจำ หรืออาจรวมถึงการจดจำคู่แข่งได้มากกว่าทำให้ลูกค้าสับสนว่าแบรนด์เป็นแบรนด์ใดกันแน่ อาจเป็นเพราะคู่แข่งสื่อสารได้ชัดเจนและมีความถี่มากกว่า

3. เปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย

การที่แบรนด์มองเห็นโอกาสและมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มตลาดใหม่ๆ ทำให้จำเป็นต้องมีการวางตำแหน่งของแบรนด์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งก็ต้องสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆให้กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เช่น จากกลุ่มวัยรุ่นไปจับกลุ่มผู้สูงวัย

4. กลยุทธ์มีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่อาจเกิดมาจากสภาพการแข่งขันที่รุนแรง ยอดขายไม่ขยับหรือขยับช้าเกินไปทำให้ไม่ได้ตามเป้าหมาย จึงต้องปรับเปลี่ยนแก้ไขด้วยการทดสอบตลาดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อดูว่าลูกค้ากำลังมองหาอะไรอยู่และสร้างให้ลูกค้ายอมรับและจดจำในตำแหน่งใหม่

5. เปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ใหม่

บางแบรนด์หรือบางธุรกิจมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ผู้บริหาร ภาพลักษณ์ โลโก้ แม้แต่เปลี่ยนชื่อแบรนด์ที่มีการนำเสนอสินค้าหรือบริการในรูปแบบใหม่

Group of Management Team Meeting

6. คู่แข่งเปลี่ยนตำแหน่งหรือเกิดคู่แข่งรายใหม่

หลายครั้งมักจะเจอกับคู่แข่งที่วางตำแหน่งใกล้เคียงกัน และทางเลี่ยงที่ดีที่สุดทางหนึ่งก็คือการเปลี่ยนตำแหน่งไปสู่จุดที่ดีกว่าและนำเสนอใหม่ โดยไม่ซ้ำกับคู่แข่งใดๆ

ก่อนที่จะทำการปรับเปลี่ยนตำแหน่งไม่ว่าของแบรนด์หรือสินค้าใดๆก็ตาม จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยรอบด้านให้ดีด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจและความจำเป็นในการเปลี่ยนตำแหน่ง ความพร้อมของทีมงาน การสร้างคุณค่าให้ลูกค้า รวมถึงการมีข้อมูลที่เพียงพอเพื่อให้การเปลี่ยนตำแหน่งนั้นประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายครับ


Photos by freepik – www.freepik.com

Share to friends


Related Posts

สร้างความแตกต่างในการทำธุรกิจ ด้วย Brand Positioning

ต้องยอมรับเลยนะครับว่าในสมัยนี้เกิดแบรนด์ต่างๆ ธุรกิจใหม่ๆ สินค้าที่มีความหลากหลายขึ้นแทบจะทุกวันหลายๆแบรนด์พยายามนำเสนอสิ่งใหม่ๆที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งหากแบรนด์ใดสามารถนำเสนอจุดเด่นของสินค้าหรือบริการ หรือการสร้างจุดต่างอื่นๆที่ไม่เหมือนใครและสื่อสารไปให้ลูกค้าหรือผู้บริโภครับรู้และจดจำได้ ก็เรียกได้ว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว นั่นคือ แนวคิดของการวางตำแหน่งแบรนด์ (Brand Positioning)


เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของกลยุทธ์การวาง Brand Positioning ในแต่ละแบบ

กลยุทธ์การวางตำแหน่งของแบรนด์ (Brand Positioning) นั้นมีอยู่หลักๆด้วยกัน 3 ประเภท นั่นก็คือ Functional Positioning ที่เน้นการวางตำแหน่งด้วยคุณลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการ Symbolic Positioning ที่เน้นการวางตำแหน่งด้วยการเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์


รู้จักความเชื่อมโยงจากบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality)

วิธีการสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งระหว่างแบรนด์กับลูกค้า คือ การสร้างบุคลิกภาพให้กับแบรนด์ (Brand Personality) ซึ่งนับเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับผู้บริหารจัดการด้านแบรนด์ที่ต้องสร้างความเชื่อมโยงนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์