แนวคิคความเป็น Social Enterprise

ความหมายของ Social Enterprise

หลายๆคนน่าจะคุ้นเคยแนวคิดและคำว่า CSR Link รวมไปถึง CSV Link ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำเพื่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ แต่มันยังมีอีกหนึ่งคำที่ถือเป็นระดับสูงกว่าทั้ง 2 คำนี้ที่เรียกว่า Social Enterprise หรือ SE ที่นับเป็นการยกระดับแนวคิดการทำธุรกิจที่ขึ้นไปเหนือกว่าความเป็น CSV เข้าไปอีกครับ และผมจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับคำนี้ไปพร้อมๆกันครับ


ความหมายของ Social Enterprise

Social Enterprise (SE) หรือที่เราเรียกว่า Social Business สามารถอธิบายความได้ถึงกิจการที่มีเป้าหมายหลักไปในเรื่องของการทำเพื่อสังคมโดยแท้จริง โดยเป็นทั้งกิจการที่สร้างผลกำไรและไม่แสวงหาผลกำไรใดๆ และการทำกำไรนั้นก็ต้องสร้างประโยชน์มากที่สุดต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน ส่วนกำไรที่ได้มานั้นก็จะนำมาใช้เพื่อเป็นกองทุนต่างๆคือให้กับสังคมนั่นเองครับ

Social Enterprise_SE

แนวคิด Social Enterprise (SE) ก็มีมาตั้งแต่ช่วงปี 1970 ตอนปลายซึ่งถูกพัฒนาและเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษครับ โดยมันเกิดมาเพื่อสร้างต่อกรกับองค์กรที่ทำการค้ารูปแบบต่างๆ หรือเรียกได้ว่า SE เกิดขึ้นมาคั่นกลางระหว่างธุรกิจของเอกชนกับหน่วยงานที่ทำด้านอาสาสมัครต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของสังคมและผลประโยชน์ทางการเงิน เช่น การจัดหาที่อยู่อาศัยให้สำหรับครอบครัวผู้ที่มีรายได้น้อย หรือการฝึกอบรมทักษะการทำงานด้านต่างๆ

นอกเหนือจากเงินทุนที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการแล้ว ก็ยังเปิดช่องทางในการรับเงินทุนผ่านการบริจาคด้วยจิตกุศลหรือเงินช่วยเหลือในแบบต่างๆ เพราะเนื่องจากจุดมุ่งหมายหลักนั้นไม่ใช่เรื่องของการสร้างกำไร ซึ่งนั่นก็เป็นข้อแตกต่างจากบริษัทหรือองค์กรทั่วๆไป และรายได้ที่ได้มานั้นก็จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับกิจการ หรือที่เราเรียกว่ารายได้อย่างยั่งยืน (Sustainable Revenue) นั่นเอง

“เงินที่ได้มาจะเอาไปสนับสนุนสังคมเป็นหลักมากกว่าการนำเอาไปให้ผู้ถือหุ้น”

What's next?

ข้อดีของ Social Enterprise

ด้วยความที่ Social Enterprise (SE) มีจุดมุ่งหมายเด่นชัดในการสร้างคุณค่าให้กับสังคม ด้วยการสร้างหรือคิดอะไรใหม่ๆที่โดดเด่นเป็นพิเศษต่อคนในสังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อม ก็จำเป็นต้องคำนึงเรื่องของต้นทุนที่ต้องออกมาคุ้มค่ามากที่สุด เพราะด้วยความที่แนวคิดหลักของนั้นไม่ได้ทำเพื่อผลกำไรในเชิงธุรกิจ แต่เป็นการนำมาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมซึ่ง Social Enterprise (SE) ก็มีข้อดีอยู่หลายอย่างด้วยกัน

  1. ง่ายต่อการระดมทุนโดยเฉพาะจากรัฐบาลเพราะเนื่องจากแนวคิดการดำเนินกิจการที่เน้นเรื่องของจริยธรรมขั้นสุด รวมถึงนโยบายและโครงการสนับสนุนด้านสังคมต่างๆ
  2. การทำการตลาดและการโปรโมทนั้นก็จะง่ายตามไปด้วย เพราะเน้นไปในเรื่องของการแก้ไขปัญหาสังคมซึ่งมีพลังพอที่จะดึงดูดผู้คนและสื่อต่างๆ (แต่นั่นก็ต้องสร้างความโดดเด่นอย่างชัดเจน)
  3. โอกาสได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจต่างๆที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน และยังเปิดโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
  4. สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้โดยการออกแบบบริการให้เข้ากับแต่ละปัญหาด้านของสังคม สิ่งแวดล้อม และเรื่องของกลุ่มบุคคล
  5. เมื่อเปรียบเทียบกับการทำธุรกิจขององค์กรถือว่าสร้างให้เกิดความคุ้มค่ามากกว่า เพราะทุกๆต้นทุนของการลงทุนนั้นจะกลับไปสู่ต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพ การศึกษา ความเป็นอยู่ เป็นต้น
  6. สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้กับองค์กรด้วยการทำดีให้กับสังคม เมื่อเทียบกับการทำธุรกิจที่มุ่งหวังแต่กำไรในเชิงพาณิชย์
  7. กระตุ้นและขับเคลื่อนพนักงานได้ดีกว่าหากสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่ทำอยู่ได้
  8. การจ้างทีมงานด้วยค่าตอบแทนที่ไม่สูงมากนัก

ประเภทของ Social Enterprise

สำหรับ Social Enterprise (SE) นั้นจะแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท โดยทุกๆประเภทนั้นก็จะดำเนินงานไปพร้อมกับการสร้างความสมดุลระหว่างผลกำไรและความสำเร็จด้านสังคม

1. Community-based Organization

องค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการบริการในชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นหลัก โดยการบริหารจัดการรายได้นั้นก็จะถูกกำกับดูแลโดยกลุ่มคนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อนำมาใช้บริหารจัดการสร้างสรรค์และพัฒนาให้สังคมและชุมชนน่าอยู่ขึ้น และจุดมุ่งหมายสูงสุดนั้นก็คือการสร้างให้คนในชุมชนสามารถมีอาชีพที่หาเลี้ยงตัวเองได้

2. Non-Governmental Organizations (NGOs)

องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรโดยเป็นลักษณะของการทำงานร่วมกับคนหลายๆกลุ่ม เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรต่างๆ จนกลายเป็นองค์กรแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคม และการได้มาซึ่งรายได้นั้นก็เป็นไปได้หลายทาง เช่น รายได้จากกลุ่มสมาชิก รัฐบาลสนับสนุน การบริจาคของหน่วยงานต่างๆ การขายสินค้าหรือบริการ การให้ความช่วยเหลือจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอื่นๆ

3. Social Firms

องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างให้เกิดการจ้างงานให้กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก คนติดยา คนว่างงาน คนไร้บ้าน แล้วนำคนกลุ่มนี้มาพัฒนาทักษะฝีมือด้านต่างๆในการทำงานให้กับธุรกิจขององค์กร

4. Financial Institutions

สถาบันทางการเงินบางประเภทนั้นได้ถูกจัดอยู่ในกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise – SE) เช่น สหภาพเครดิต (Credit Unions) ธนาคารสหกรณ์ (Cooperative Banks) กองทุนเงินกู้หมุนเวียน (Revolving Loan Funds) ที่มีสมาชิกเป็นเจ้าของ ยกตัวอย่างเช่น สหภาพเครดิต (Credit Unions) มีโครงสร้างเพื่อให้สมาชิกกลายเป็นเจ้าของโดยอัตโนมัติเมื่อพวกเขาฝากเงินเข้าสหภาพในฐานะลูกค้า และสหภาพเครดิตใช้เงินที่ฝากไว้เพื่อช่วยเหลือสมาชิกรายอื่นๆ โดยสหภาพเครดิตจะเสนออัตราการออมที่สูงขึ้นประกอบกับอัตราดอกเบี้ยต่ำ และให้ความสำคัญกับการทำกำไรน้อยลงเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากธนาคารในรูปแบบอื่นๆ

5. Cooperative

การรวมกลุ่มของคนกลายเป็นสมาคมที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการตอบสนองต่อเรื่องต่างๆในสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะถูกบริหารจัดการโดยสมาชิกในกลุ่มมีการใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกันและได้ประโยชน์ต่างๆร่วมกัน

ประเภทของ Social Enterprise

6. Fairtrade

กลุ่มที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมทางสังคมในการขับเคลื่อนให้เกิดเงื่อนไขทางการค้าที่ดีที่สุดและช่วยพัฒนาประเทศให้ไปสู่ความยั่งยืน โดยเป็นการสนับสนุนให้ผู้ส่งออกสินค้าให้ได้ราคาที่สูงขึ้นตลอดจนมาตรฐานทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น เช่น การใช้รูปแบบการทำธุรกิจเพื่อสังคมโดยการสนับสนุนผลผลิตจากชาวไร่ท้องถิ่น

7. Microfinance

รูปแบบธุรกิจบริการทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจรายย่อย ที่ไม่อาจเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างธนาคารและสถาบันทางการเงินบางแห่งได้ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังการให้บริการกู้ยืมเงินแบบเป็นรายๆไปและผู้ประกอบการที่มาในรูปแบบเป็นกลุ่ม


Share to friends


Related Posts

แนวคิด CSV กับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน

Creating Shared Value หรือ CSV ได้กลายเป็นหนึ่งในรูปแบบการทำธุรกิจ (Business Model) ที่สำคัญสำหรับยุคนี้ไปแล้ว ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จให้กับธุรกิจของคุณ โดยมีเป้าหมายนั่นก็คือการทำธุรกิจแบบยั่งยืนครับซึ่งสามารถทำทั้งกำไรและสิ่งดีๆควบคู่กันไปได้ โดยหากจะบอกว่ามันเป็นการยกระดับจากการทำกิจกรรมเพื่อสังคมหรือ Corporate Social Responsibility (CSR)


รู้จักประเภทของกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR)

กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า CSR เป็นแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร เพื่อทำให้สังคมนั้นอยู่อย่างมีความสุข


ตัวอย่างกิจกรรม CSR ของแบรนด์ต่างๆ

กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือที่เรียกสั้นๆว่า CSR นั้นช่วยให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมๆกับภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ที่เป็นแนวคิดสำคัญในการทำธุรกิจสมัยนี้ด้วยการที่องค์กรทำสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง ที่นอกเหนือจากเรื่องของรายได้แต่ยังแสดงออกถึงความใส่ใจในสังคมกับสิ่งแวดล้อม



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์