ความเชื่อมโยงกับแบรนด์มีกี่รูปแบบ (Types of Brand Association)

การที่ลูกค้าสามารถจดจำหรือนึกถึงแบรนด์ต่างๆได้ภายในจิตใจ และสามารถเชื่อมโยงตัวแบรนด์ไปถึงบางสิ่ง เช่น แบรนด์ A เป็นแบรนด์เกี่ยวกับรองเท้ากีฬา แบรนด์ B เป็นแบรนด์ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ เวลาเห็นพรีเซ็นเตอร์คนนี้จะนึกถึงแบรนด์ C ในทันที สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่าความเชื่อมโยงกับแบรนด์ หรือ Brand Association นั่นเองครับ เรามาดูกันครับว่าความเชื่อมโยงกับแบรนด์นั้นมีอยู่กี่รูปแบบ

ความเชื่อมโยงกับคุณสมบัติ (Attributes)

เป็นการเชื่อมโยงลักษณะจากคุณสมบัติของแบรนด์หรือสินค้า ที่แบรนด์มีการนำเสนอความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัด และช่วยให้ลูกค้าระลึกถึงแบรนด์ทุกครั้งเวลาจะซื้อสินค้าหรือบริการ โดยคุณลักษณะนั้นก็หมายถึงองค์ประกอบของลักษณะทางกายภาพ (Physical) หรือส่วนผสมหรือวัสดุที่ใช้กับตัวสินค้า รวมถึงองค์ประกอบภายนอก เช่น บรรจุภัณฑ์ ราคา รูปร่างหน้าตา และบางแบรนด์ก็นำเอาจุดเด่นด้านลักษณะของสินค้ามาใช้ในสโลแกนหรือ Tagline อีกด้วย

  • M&M กับ สโลแกน “ละลายในปาก…แต่ไม่ละลายในมือ”
  • เมื่อนึกถึงแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านที่ลดราคาอยู่บ่อยๆ จะนึกถึง IKEA
  • แบรนด์รถยนต์ที่นำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ จะนึกถึง BMW
  • Google เป็น Search Engine ที่ดีที่สุดในโลก

ความเชื่อมโยงกับประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)

การเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับประโยชน์ที่ได้รับ จากประสบการณ์การใช้สินค้าหรือบริการระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ โดยประโยชน์ที่ว่านี้เป็นไปได้ทั้งการใช้งาน (Functional) ความรู้สึกที่ได้รับ (Feeling) หรือแม้แต่ประโยชน์ในเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic) เช่น

  • แชมพูแบรนด์ A ขจัดรังแคได้
  • ยาสีฟันแบรนด์ B ทำให้ฟันไม่ผุ
  • ใช้สินค้าแบรนด์ C แล้วชีวิตมีความสุข
  • กระเป๋าแบรนด์ D แสดงถึงสถานะทางสังคม

ความเชื่อมโยงกับทัศนคติ (Attitude)

ทัศนคติ หมายถึง การประเมินผลรวมด้วยตัวของลูกค้าเองซึ่งการเชื่อมโยงนี้ค่อนข้างจะเป็นในเชิงนามธรรม ซึ่งอาจเชื่อมโยงถึงคุณสมบัติ (Attributes) และประโยชน์ (Benefits) ของสินค้าและอาจเชื่อมโยงถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตได้ เช่น การออกกำลังกาย สุขภาพ การให้ความสำคัญกับอนามัยหรือสิ่งแวดล้อม โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ Nike ที่เป็นแบรนด์ที่มาจากพื้นฐานของการออกกำลังกาย และมีการนำดารานักแสดงหรือผู้มีชื่อเสียงมาเป็นคนช่วยโปรโมท ซึ่งเชื่อมโยงความรู้สึกในใจลูกค้าที่มากกว่าคุณสมบัติ (Attributes) และประโยชน์ (Benefits) ที่ได้รับเสียอีก

การเชื่อมโยงด้านทัศนคติ มักจะมีการนำดารานักแสดงหรือผู้มีชื่อเสียงมาเป็น Endoser หรือพรีเซ็นเตอร์อยู่เสมอๆเพื่อเชื่อมโยงความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงในหน้าที่การงาน ความสำเร็จในอาชีพ ซึ่งมันช่วยส่งผลต่อทัศนคติของกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ความเชื่อมโยงกับความสนใจ (Interest)

การนำความสนใจมาใช้เชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับลูกค้า มีใช้กันอยู่ในหลายๆธุรกิจด้วยกันซึ่งมันเป็นพื้นฐานจิตสำนึกแรกของลูกค้าเลยก็ว่าได้ เพราะการที่ลูกค้าจะติดต่อกับแบรนด์หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ก็ต้องมีความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แบรนด์จะพยายามดึงดูดหรือสร้างความน่าสนใจ ด้วยการดึงเอาบุคคลมีชื่อเสียงในด้านต่างๆมาช่วยในการโปรโมทความเชื่อมโยงเหล่านี้ เช่น การที่พรีเซ็นเตอร์ดื่มกาแฟแล้วทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ จนคิดงานดีๆออกมา เป็นต้น

ความเชื่อมโยงกับคนมีชื่อเสียง (Celebrity)

การผลักดันสินค้าหรือบริการด้วยการนำเอาดารา นักร้อง นักแสดง หรือผู้ที่มีชื่อเสียงในวงการต่างๆ สามารถช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงภาพที่เกิดขึ้นในใจของลูกค้าได้ หรือที่เรามักจะเรียกว่าพรีเซ็นเตอร์ของแบรนด์ หรือ Brand Ambassador นั่นเองครับ ความเชื่อมโยงนี้จะช่วยให้เกิดประโยชน์กับยอดขายได้อย่างรวดเร็ว เพราะคนที่ชื่นชอบหรือติดตามบุคคลเหล่านั้น จะติดตามและสนับสนุนสินค้าหรือบริการอยู่ตลอดเวลา และแบรนด์ก็จำเป็นที่จะต้องหาคนที่มีความเกี่ยวข้อง และคุณสมบัติตรงตามลักษณะของแบรนด์ด้วยเช่นเดียวกัน

ความเชื่อมโยงกับแบรนด์จะช่วยให้ลูกค้าหรือผู้ซื้อสินค้า จดจำและรำลึกถึงจุดที่โดดเด่นและแตกต่างระหว่างแบรนด์ของคุณกับคู่แข่งในตลาด ที่ส่งผลให้ลูกค้านั้นตกลงซื้อสินค้าของคุณ และยังช่วยสร้างทัศนคติในเชิงบวกและความรู้สึกดีๆกับแบรนด์ของคุณครับ


Share to friends


Related Posts

ความแตกต่างระหว่าง Brand Attributes VS Brand Benefits

Brand Attributes หรือ คุณสมบัติของแบรนด์ หมายถึง คุณลักษณะของแบรนด์ที่แสดงถึงความเป็นธรรมชาติและพื้นฐานของแบรนด์ คุณสมบัติของแบรนด์เป็นชุดของคุณลักษณะที่เน้นลักษณะทางกายภาพและบุคลิกภาพของแบรนด์นั้นๆ ที่ถูกพัฒนาผ่านภาพลักษณ์ การกระทำ กิจกรรมต่างๆ


ภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image)

ลูกค้าในยุคปัจจุบันมักจะมองหาสิ่งที่เหมือน หรือสะท้อนความเป็นตัวตนที่ใกล้เคียงกับบุคลิกภาพของเขา ดังนั้น การแสดงออกถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ ที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับความเป็นตัวตนของกลุ่มลูกค้าได้ ก็จะกลายเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ


สร้างความแตกต่างในการทำธุรกิจ ด้วย Brand Positioning

ต้องยอมรับเลยนะครับว่าในสมัยนี้เกิดแบรนด์ต่างๆ ธุรกิจใหม่ๆ สินค้าที่มีความหลากหลายขึ้นแทบจะทุกวันหลายๆแบรนด์พยายามนำเสนอสิ่งใหม่ๆที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งหากแบรนด์ใดสามารถนำเสนอจุดเด่นของสินค้าหรือบริการ หรือการสร้างจุดต่างอื่นๆที่ไม่เหมือนใครและสื่อสารไปให้ลูกค้าหรือผู้บริโภครับรู้และจดจำได้ ก็เรียกได้ว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว นั่นคือ แนวคิดของการวางตำแหน่งแบรนด์ (Brand Positioning)



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์