เสน่ห์ของแบรนด์ (Brand Charisma)

Brand Charisma หรือที่เราเรียกว่าเสน่ห์ของแบรนด์ที่เป็นมากกว่าบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) นับเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่จะทำให้ลูกค้าหรือคนที่สัมผัสกับแบรนด์ของคุณหลงรัก และยังทำให้แบรนด์ของคุณนั้นนำหน้าคู่แข่งในตลาดอยู่เสมอโดยเสน่ห์ของแบรนด์ (Brand Charisma) ก็เหมือนกับเมนูอาหารที่สมบูรณ์แบบเมนูหนึ่งที่ต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ ซึ่งมันก็อาจจะล้มเหลวไม่เป็นท่าก็ได้หากเราไม่ได้ให้ความใส่ใจมันเท่าที่ควร และในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่า Brand Charisma กันครับ

What's next?

อะไรคือ Brand Charisma ทำไมมันถึงสำคัญมากนัก

“Charisma
คือ เสน่ห์ ดึงดูด เย้ายวนใจ อะไรที่พิเศษ แข็งแรง ทรงพลัง
บุคลิกภาพที่ไม่เหมือนใคร”

หากจะพูดว่า Brand Charisma เป็นแรงดึงดูดที่ไม่อาจต้านทานที่เชื่องโยงระหว่างแบรนด์ (Brand) บริษัท (Company) ผลิตภัณฑ์ (Products) และลูกค้า (Customers) เข้าไว้ด้วยกันก็คงจะดูไม่โอเว่อร์เกินจริงไป ซึ่งมันสำคัญมากขนาดไหนก็ลองนึกดูครับว่าหากแบรนด์ของคุณสามารถดึงดูดลูกค้าได้อย่างเหนียวแน่นก็คงไม่มีคู่แข่งใดๆมาแย่งลูกค้าไปจากคุณได้ เรียกได้ว่ามันเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ (Emotional) ที่เป็นการร่ายมนต์ให้ลูกค้าหลงรักแบรนด์อย่างหัวปักหัวปำ ลองนึกถึงเวลาคุณพบเจอใครสักคนที่ทำให้คุณรู้สึกดีเวลาได้เจอหน้าได้พูดคุยคุณก็จะยิ้มและมีเสียงหัวเราะให้แก่กันเสมอ ซึ่งมันก็ไม่ต่างจากคำว่า Brand Charisma นั่นแหละครับ โดยเราจะรู้สึกได้ถึงอารมณ์เหล่านี้ได้ก็จะต้องมีองค์ประกอบต่างๆ เช่น

  • ขับเคลื่อนด้วยความรู้สึกทางอารมณ์
  • ทำให้คุณรู้สึกเชื่อมโยงบางสิ่งซึ่งมีแต่คำชื่นชมและความเคารพรัก
  • รู้สึกว่าจริงใจมีความแท้จริง
  • ยืนหยัดเพื่อบางสิ่งบางอย่าง
  • มีความหมายเพื่อบางสิ่งบางอย่าง
  • มีบุคลิกภาพที่โดดเด่น
  • ทำให้เกิดความรู้สึกเชื่อมันและมั่นใจ

บางคนถึงกับใช้คำว่า Charisma ในระดับที่เป็นความหมายของการมีอยู่ของชีวิต ซึ่งนั่นทำให้การนำเอา Charisma ไปใช้กับแบรนด์จะยิ่งกลายเป็นสิ่งที่ทรงพลังและเปิดทางไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ ลองดูตัวอย่างตามนี้ครับ

  • หากคุณเป็นนักการเมือง Brand Charisma นั้นก็อาจหมายถึงได้รับการโหวตจากผู้คนจนกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ
  • หากเป็นบริษัทหรือองค์กร ความหมายของ Brand Charisma ก็อาจหมายถึงลูกค้าที่จงรักภักดี (Loyalty Customer) ที่ยอมควักเงินซื้อสินค้าของแบรนด์คุณไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆก็ตาม
  • หากเป็นคนดังในแวดวงต่างๆ Brand Charisma ก็อาจเป็นการมีฐานแฟนคลับมหาศาล
  • หากเป็นผู้นำในด้านต่างๆ Brand Charisma ก็จะทำให้คนอื่นๆอยากติดตามคุณไปตลอด

นี่แหละครับที่เรียกว่า Brand Charisma ที่เป็นพลังในการดึงดูดให้เกิดการตอบสนองเชิงอารมณ์ ผลสรุปก็คือ “ความรู้สึกหรือ Feelings นั้นคือกุญแจสู่ Brand Charisma” นั่นเอง

Charisma คือ เสน่ห์ ดึงดูด เย้ายวนใจ อะไรที่พิเศษ แข็งแรง ทรงพลัง บุคลิกภาพที่ไม่เหมือนใคร

“Brand Charisma เกิดจากการกระตุ้น Relationships ไปสู่ Brand Trust
แปรเปลี่ยนเป็น Brand Cult จนกลายเปลี่ยนเป็น Brand Loyalty”

What's next?

Brand Trust (ถือเป็นการให้เกียรติกัน)
“ฉันเชื่อในตัวแบรนด์เพราะสินค้าและบริการไม่เคยทำให้ผิดหวัง”

What's next?

Brand Loyalty (ถือเป็นพันธสัญญา)
“ฉันพร้อมที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าของแบรนด์นี้ และหากสินค้าหมดฉันก็ยินดี
ที่จะไปเลือกซื้อสินค้าของแบรนด์นี้จากร้านอื่นๆ”

What's next?

Brand Cult (เปรียบเสมือนกลุ่มก้อนเผ่าพันธุ์เดียวกัน)
“เมื่อฉันซื้อสินค้าของแบรนด์นี้ฉันรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
ที่เคารพให้เกียรติและให้ความรัก ซึ่งไม่มีแบรนด์ไหนจะดีไปกว่านี้อีกแล้ว”

What's next?

Brand Charisma
“ฉันพบว่าแบรนด์ของฉันน่าดึงดูดใจอย่างไม่อาจจะต้านทานได้ แบรนด์ของฉันดีกว่ามาก
จนไม่มีใครเทียบได้ และฉันรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับแบรนด์ของฉัน”

และทั้งหมดก็คือบทสรุปของคำว่า Brand Charisma ซึ่งหากแบรนด์ใดก็ตามสามารถปลุกปั้นพัฒนาแบรนด์ให้มีแนวทางในลักษณะนี้ ก็จะสามารถเข้าไปอยู่ในจิตใจของลูกค้าได้แบบเหนียวแน่นหนึบตลอดกาล


Share to friends


Related Posts

สร้างแบรนด์ให้โดดเด่น ด้วย Brand Personality

หลายคนน่าจะเคยได้ยินหรือเจอกับตัวเองที่หลายๆครั้งเวลาเราซื้อสินค้า เรามักจะคิดในใจว่าสินค้านี้มันคือตัวเรา ใช่ไหมครับ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเรามักจะแสดงออกถึงลักษณ์ของความเป็นตัวเอง กับบุคลิกภาพของแบรนด์ที่พวกเขาเลือก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ บุคลิกภาพของแบรนด์นั้นบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์


รู้จักความเชื่อมโยงจากบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality)

วิธีการสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งระหว่างแบรนด์กับลูกค้า คือ การสร้างบุคลิกภาพให้กับแบรนด์ (Brand Personality) ซึ่งนับเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับผู้บริหารจัดการด้านแบรนด์ที่ต้องสร้างความเชื่อมโยงนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้


บันไดสู่การสร้าง Emotional Brand ขั้นสุด

กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่สร้างให้ความเชื่อมโยงทางอารมณ์ (Emotional) จะช่วยให้ความผูกพันระหว่างลูกค้ากับแบรนด์มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับในการสร้างจากลูกค้าเพื่อเปลี่ยนไปสู่การเป็นมิตรภาพแบบเพื่อนสนิท ไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจสู่การเป็นความจงรักภักดีต่อแบรนด์



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์