10 ลักษณะของการบริหารจัดการที่ดี (Management)

ทักษะของการบริหารจัดการที่ดี (Management) คือ กระบวนการสำคัญที่ทุกองค์กรจำเป็นต้องมี เพื่อบริหารจัดการให้ทั้งกระบวนการและคนทำงานสร้างประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นกับองค์กรได้มากที่สุด นับเป็นสิ่งที่พนักงานระดับผู้จัดการขึ้นไปนั้นควรจะมี และโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน นั่นก็คือ ส่วนของความรู้ (Knowledge) ทักษะการบริหารจัดการที่ดี (Management) และการนำทรัพยากรต่างๆมาใช้งาน (Physical Resources) ที่ต้องอาศัยทั้งการรับฟัง การกระจายงาน การวางเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ รวมไปถึงทัศนคติและการจูงใจให้พนักงานมีพลังในการขับเคลื่อนองค์กร แล้วการที่จะไปสู่คนที่จะมาเป็นคนที่บริหารจัดการที่ดีได้นั้น มันจำเป็นต้องมีลักษณะอย่างไรบ้างเพื่อกระตุ้นให้องค์กรมุ่งหน้าสู่ความสำเร็จ เรามาดูลักษณะของคนเหล่านั้นในบทความนี้กันครับ

What's next?

1. ปรับตัวได้อย่างหลากหลาย

ลักษณะแรกของการบริหารจัดการที่ดี (Management) นั้น คุณจำเป็นต้องมีความสามารถที่หลากหลายเพียงพอในการปรับตัวให้เข้ากับทุกๆรูปแบบองค์กรและการทำงาน นั่นหมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับทุกขนาดองค์กร ทุกความสลับซับซ้อนของธุรกิจประเภทต่างๆ หรือแม้แต่องค์กรที่ยังไม่พร้อมในทรัพยากรที่จะมาสนับสนุนการทำงานต่างๆ

2. ใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า

การบริหารจัดการที่ดีคือการที่คุณต้องบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่เดิมให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆที่มีให้กลายเป็นสินค้าหรือรายละเอียดอื่นๆในการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งนั่นต้องอาศัยการตัดสินใจและมองเห็นถึงภาพรวมทั้งหมด เพื่อนำสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดให้ตอบโจทย์ที่วางไว้

ใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า

3. มองที่เป้าหมายเป็นหลัก

หนึ่งในลักษณะของการบริหารจัดการที่ดี คือ คุณต้องมุ่งไปที่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างชัดเจน ทุกๆกิจกรรมที่จัดทุกๆงานที่ทำต้องวางแผนเพื่อไปสู่เป้าหมายตลอดเวลา โดยคุณต้องนึกถึงผลลัพธ์ สิ่งที่จะเกิด และอยากที่จะบรรลุความสำเร็จด้านไหนอยู่ตลอดเวลา

4. มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน

การบริหารจัดการที่มองเห็นทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผน การจัดการ การจัดสรรบุคคลากร การควบคุม และการแก้ไขปัญหาต่างๆ จะทำให้งานที่ออกมานั้นเป็นไปด้วยความสำเร็จ โดยไม่ทำให้งานๆนั้นออกมาไม่เชื่อมโยงกัน จนต้องมานั่งแก้ปัญหาแบบละเอียดยิบย่อยในแต่ละจุด ซึ่งนับเป็นลักษณะที่จะทำให้คุณมีการบริหารจัดการที่ดี

5. เข้าใจกระบวนการที่แตกต่าง

แต่ละงานแต่ละหน้าที่ล้วนแล้วแต่มีความแตกต่างกัน ลักษณะของการบริหารจัดการที่ดีนั้นคือคุณต้องเข้าใจในความแตกต่างอย่างถ่องแท้ และสามารถเชื่อมโยงกระบวนการเหล่านั้นภายในองค์กรให้ได้ โดยมันเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบในการปรับปรุงพัฒนา การเติมเต็มแผนงาน การปฏิบัติตามนโยบาย และระเบียบต่างๆที่องค์กรวางไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด

6. มีความสามารถที่หลากหลาย

ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการบริหารจัดการที่ดี นั่นก็คือ คุณต้องเป็นคนที่มีความสามารถที่หลากหลาย ที่จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานและกิจกรรมต่างๆมากมาย ทั้งเรื่องของการประสานงานกับผู้คน การบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ การวางแผนและวิธีการดำเนินงาน รวมไปถึงเรื่องของการเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

มีความสามารถที่หลากหลาย

7. พลังในการควบคุม

การบริหารจัดการเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมและการจัดการ ให้ทุกๆภาคส่วนประสานความร่วมมือออกมาอย่างดีที่สุด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องเป็นคนที่มีความน่าเกรงขราม และมีพลังที่จะกระตุ้นและสนับสนุนให้ทีมงานผลิตผลงานออกมาได้ดี

8. ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว

การปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นผลดีกับการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งนั่นหมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆในการทำงาน ที่อาจหรือจำเป็นต้องปรับให้เข้ากับยุคสมัยในมุมต่างๆ และนำมาใช้กับกระบวนการบริหารภายในองค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของคนแต่ละ Generation Link การปรับตัวของธุรกิจ ที่จำเป็นต้องศึกษาทั้งบริบทภายในและภายนอกองค์กร

9. บริหารจัดการเวลาเป็น

การบริหารจัดการที่ดีจะไม่พลาดเรื่องของเวลาที่ส่งผลต่อความสำเร็จเสมอ ทีมระดับผู้จัดการต้องสามารถวางแผนจัดลำดับงานและกิจกรรมต่างๆ จัดสรรบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อให้งานออกมาสำเร็จ ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในเวลาที่เหมาะสม

บริหารจัดการเวลาเป็น

10. ปรับปรุงประสิทธิภาพอยู่เสมอ

ท้ายที่สุดคุณจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด หากมองเห็นแล้วว่ากระบวนการ กิจกรรม หรืองานไหน ที่มันเกิดปัญหาจนไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ก็ต้องหาวิธีแก้ไขโดยไม่ปล่อยไปเฉยๆ หากบุคลากรไม่เพียงพอก็ต้องหามาเติมเต็มหรือพัฒนาด้านทักษะเพิ่มเติม หากทรัพยากรไม่เพียงพอต่อประสิทธิภาพการทำงาน ก็จำเป็นต้องหามาเสริมให้ทีมงาน อะไรที่มันสร้างให้เกิดผลเสียกับงานถ้าจำเป็นต้องตัดก็ต้องตัดออก เพื่อให้งานเดินหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด


Share to friends


Related Posts

จัดลำดับความสำคัญการทำงานด้วย Time Management Matrix

ด้วยความที่อะไรๆในชีวิตก็ดูจะเร่งด่วนไปหมดโดยเฉพาะในยุค New Normal ที่การทำงานนั้นเข้ามาเบียดเบียนเวลาส่วนตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การประชุมก็เริ่มมีมากขึ้นสวนทางกับเวลาการทำงานที่มีอยู่เท่าเดิมก็ยิ่งทำให้การบริหารจัดการงานต่างๆนั้นยากขึ้นเข้าไปอีก แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถถูกแก้ไขได้ด้วยการใช้ Time Management Matrix เพื่อเข้ามาช่วยบริหารจัดการกับความยุ่งยากต่างๆในชีวิตครับ


พัฒนาทีมงานด้วยทฤษฎี Moral Development

การบริหารทีมงานที่ดีจะช่วยให้งานของคุณประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น ซึ่งมันไม่ใช่แค่การวัดผลที่ตัวของผลงานเท่านั้นแต่มันยังจำเป็นต้องทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านคุณธรรมและศีลธรรมของทีมงานไปพร้อมๆกัน หรือที่เราเรียกว่า Moral Development โดยการทำความเข้าใจขั้นตอนต่างๆของการพัฒนาด้านคุณธรรมและศีลธรรมนั้น จะช่วยให้คุณบริหารทั้งทีมงานและองค์กรให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมครับ


การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Relationship Management)

การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Relationship Management) นับเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้และสำคัญเป็นอันดับแรกๆของทุกๆองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรระดับไหนก็ตาม ซึ่งการบริหารความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ก็เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการช่วยสนับสนุนกิจการขององค์กร



copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์