5A and New Customer Path
AIDA Model
  • การรับรู้ (Awareness) โดยการที่แบรนด์ทำการโฆษณาสินค้าหรือบริการให้คนรู้จัก
  • ความสนใจ (Interest) โดยการที่แบรนด์นำเสนอข้อมูล หรือประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ
  • ปรารถนา (Desire) โดยการที่แบรนด์เปลี่ยนจากความชอบให้กลายเป็นความต้องการ
  • การกระทำ (Action) โดยการที่แบรนด์เปลี่ยนจากความต้องการเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการนั้น

ส่วนในรูปแบบของ 5A นั้น มีการเชื่อมโยงถึงปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า อาทิ สังคมบนโลกออนไลน์ เพื่อนและครอบครัว การรีวิวต่างๆ รวมถึงการบอกต่อสินค้าหรือบริการ และยังมองถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นอีกด้วย เรามาดูกันครับว่ากลยุทธ์แบบ 5A เป็นอย่างไร

5A Model

การรับรู้ (Awareness)

เปรียบเสมือนประตูทางผ่านไปยังเส้นทางของผู้บริโภค ด้วยการโปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางต่างๆทั้ง การโฆษณา สื่อโซเชียล การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมทางการตลาด การบอกต่อ และช่องทางอื่นๆ โดยในระยะนี้เป็นการมุ่งเน้นการสร้างความจำระยะสั้น ที่จะช่วยให้ลูกค้าจดจำและระลึกได้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์

  • โดยจุดสัมผัสของลูกค้าในระยะแรกนี้ คือ การรู้จักชื่อแบรนด์ การะลึกและจดจำแบรนด์ได้ และการเรียนรู้เกี่ยวกับแบรนด์เราจากคนอื่นๆ

ดึงดูดความสนใจ (Appeal)

เป็นขั้นตอนที่ถัดมาจากการรับรู้ในตัวแบรนด์แล้วในระดับหนึ่ง และลูกค้าต้องการรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าเรา ฉะนั้นในฐานนะแบรนด์ควรกระตุ้นให้เกิดความสนใจจากลูกค้าโดยการทำให้ลูกค้าร้อง “ว้าว” ทำให้แบรนด์เป็นที่สนใจของลูกค้า มีการเชื่อมโยงความทรงจำที่ดี สร้างให้เกิดการพิจารณาในตัวแบรนด์

  • โดยจุดสัมผัสของลูกค้าในระยะที่สองนี้ คือ การเริ่มสนใจในแบรนด์ การเชื่อมโยงกับความทรงจำในอดีต และเริ่มพิจารณาในแบรนด์นั้นๆ

ถามถึงสินค้า (Ask)

เมื่อลูกค้าสนใจสิ่งที่แบรนด์สื่อสารออกไป จนอยากหาข้อมูลหรือเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการมากขึ้นแล้ว ก็จะเกิดการถามถึงสินค้าทั้งจากเพื่อน ครอบครัว หรือใครก็ตามแต่ที่รู้จักสินค้านั้นๆ อาจจะเป็นการหาจากกระทู้ หรือรีวิวต่างๆผ่านเว็บไซต์ หรือโซเชียล มีเดีย เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย แบรนด์ต่างๆควรให้ความสำคัญกับทุกๆช่องทาง ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพราะบางครั้งลูกค้าอาจจะต้องการพูดคุยกับทีมงายขายทั้งทางโทรศัพท์ หรือการไปถามรายละเอียดที่ร้านโดยตรง

  • โดยจุดสัมผัสของลูกค้าในระยะที่สามนี้ คือ การนำเสนอข้อมูลสินค้าหรือบริการ อ่านรีวิวผ่านออนไลน์ต่างๆ การติดต่อกับแบรนด์ผ่านทั้งออฟไลน์และออนไลน์ และอาจลองใช้สินค้าหรือบริการ

ตัดสินใจซื้อ (Act)

ในขั้นนี้ลูกค้าได้ถูกโน้มน้าวจากข้อมูลต่างๆ ที่แบรนด์ได้ทำการสื่อสารจนทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจและสอบถามหรือค้นหาข้อมูลจนกลายเป็นการตัดสินใจซื้อ โดยในขั้นนี้แบรนด์จำเป็นต้องสร้างความจดจำดีๆให้กับลูกค้าอยู่เสมอ

  • โดยจุดสัมผัสของลูกค้าในระยะที่สี่นี้ คือ การซื้อสินค้าหรือบริการทั้งจากออนไลน์ หรือผ่านร้านค้า และการบริการหลังการขาย

สนับสนุน (Advocacy)

เมื่อลูกค้ากลายเป็นลูกค้าที่ซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ ที่ได้รับประสบการณ์และความทรงจำดีๆจากแบรนด์ๆนั้น จนเกิดการซื้อซ้ำและท้ายที่สุดจนถึงการบอกต่อให้คนอื่นๆได้รับรู้ กลายเป็นผู้สนับสนุนของแบรนด์นั้นๆไปโดยปริยาย ซึ่งในฐานะแบรนด์เองก็จำเป็นต้องรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน และสร้างความประสบการณ์ดีๆเสมอๆ เพื่อไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปหาคู่แข่ง

  • โดยจุดสัมผัสของลูกค้าในระยะที่ห้านี้ คือ การเก็บรักษาแบรนด์ของเราไว้ในใจ การซื้อซ้ำ รวมถึงการบอกต่อ

กลยุทธ์การตลาดแบบ 5A จะช่วยให้นักการตลาดเข้าใจผู้บริโภคในยุคดิจิทัลได้มากยิ่งขึ้น และทำให้แบรนด์รู้ว่าจะวางแผนในแต่ละขั้นตอนอย่างไร ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเส้นทางลูกค้าจะช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น และจะช่วยให้ลดต้นทุนและเพิ่มยอดขาย นอกจากนี้ยังจะช่วยให้เราสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


Icon in cover photo from all-free-download.com

Share to friends


Related Posts

Customer Touchpoint มีอะไรบ้าง

การให้ความสำคัญกับจุดสัมผัสของลูกค้า หรือ Customer Touchpoint จะทำให้คุณมองเห็นแนวทางในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ให้ครบทุกจุดเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์ของคุณ


รู้จัก Customer Journey และ Customer Journey Map

การเดินทางของลูกค้า หรือ Customer Journey คือประสบการณ์ที่ลูกค้ามีกับแบรนด์ของเรา ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ในทุกช่องทางและทุกจุดสัมผัสตลอดระยะเวลาของวงจรชีวิตของลูกค้า บริษัทส่วนใหญ่ใช้หลายช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เช่น เว็บไซต์ อีเมล์ โซเชียล มีเดีย


วิเคราะห์ 5C กับการทำธุรกิจของคุณ

5C นับเป็นหนึ่งในเฟรมเวิร์กที่ได้รับความนิยมและเป็นประโยชน์ ในการทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก มันเป็นส่วนขยายของการวิเคราะห์ 3C ที่ประกอบไปด้วย บริษัท (Company) ลูกค้า (Customer) และคู่แข่ง (Competitor) แต่เพิ่มเติมในส่วนของ ผู้ร่วมมือ (Collaborator) และสภาพแวดล้อม (Climate)


รู้จักส่วนผสมทางการตลาด 4P

4Ps ของการตลาดนั้นเป็นแบบจำลองสำหรับส่วนผสมทางการตลาด เป็นวิธีที่จะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆออกสู่ตลาด ที่ช่วยให้เราสามารถกำหนดตัวเลือกทางการตลาดในด้าน ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ และการส่งเสริมการขาย


มัดใจลูกค้าด้วยแนวคิดแบบ 4C

เรามักจะคุ้นเค้ยกับคำว่า 4P เพราะเป็นพื้นฐานของส่วนผสมทางการตลาด ที่ว่าด้วยเรื่องของสินค้า (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการขาย (Promotion) ซึ่งแนวคิดแบบ 4P อาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะเนื่องจากการเข้ามาของโลกอินเทอร์เน็ตประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์