5 Forces Model

5 Forces Model โดย Michael E.Porter นั้นเป็นแบบจำลองที่ใช้ในการระบุและวิเคราะห์ แรงกดดัน 5 ประการในการแข่งขันทางธุรกิจ ที่ถูกกำหนดให้ใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ด้วย 5 Forces Model ถูกคิดขึ้นมาเพื่อระบุหรือกำหนดรูปแบบโครงสร้างของอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อตัดสินใจว่าจะวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อธุรกิจอย่างไร และวิเคราะห์ถึงผลกระทบว่ามีมากน้อยแค่ไหน โมเดลนี้ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆอย่างกว้างขวาง โดยมีแรงกดดัน 5 ข้อ ดังนี้

Five Forces Model

การแข่งขันในอุตสาหกรรม

จำนวนคู่แข่งของเราในอุตสาหกรรมมีมากเท่าไหร่ พวกเขาเหล่านั้นเป็นใคร คุณภาพของสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับเราเป็นอย่างไร ในกรณีที่มีการแข่งขันกันสูงเราอาจสู้ด้วยการลดราคาสินค้าหรือการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ แต่ในทางกลับกันถ้ามีคู่แข่งขันในตลาดมาก คู่ค้าหรือ suppliers ของเราก็อาจจะหันไปมองหาสินค้าหรือบริการที่เป็นของคู่แข่งได้ หากข้อเสนอของเราไม่ดีพอ

อำนาจต่อรองของคู่ค้าต่างๆ

คู่ค้าก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน เราควรรู้ว่ามีคู่ค้ากี่ราย แต่ละรายมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน ราคาแต่ละเจ้าเป็นอย่างไร หากมีจำนวนคู่ค้าทางธุรกิจมาก เราก็มีอำนาจในการต่อรองในการซื้อสินค้าได้ เพราะเรามีทางเลือกมากกว่า แต่หากคู่ค้าทางธุรกิจเรามีน้อย จำเป็นต้องซื้อสินค้าจากคู่ค้ารายนี้เท่านั้น ก็อาจเป็นเหตุผลที่คู่ค้าเหล่านั้นมีโอกาสในการขึ้นราคา ซึ่งจะกระทบต่อผลกำไรของเราได้

อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ

ลองกลับมาดูฝั่งคนซื้อสินค้าของเรากันบ้างว่ามีมากน้อยแค่ไหน มีคำสั่งซื้อในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี มากเท่าไหร่ เราจะต้องเสียเงินหรือความพยายามมากเท่าไหร่ในการที่จะดึงลูกค้ามาจากคู่แข่ง หากเรามีลูกค้าจริงๆในมือค่อนข้างน้อย ลูกค้าก็มีสิทธิ์ที่จะต่อรองเรื่องราคาหรือขอข้อเสนอพิเศษกับเรา แต่หากเรามีลูกค้าอยู่ในมือมากเราจะมีอำนาจในการควบคุมตรงส่วนนี้ได้มากยิ่งขึ้น

ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนอื่นๆ

ในบางครั้งสินค้าทดแทนอื่นๆที่มีอยู่ในตลาด ก็สร้างผลกระทบให้กับธุรกิจเราได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทเราทำ Marketing Automation Software แต่การที่จะติดตั้งทั้งระบบนั้นราคาค่อนข้างสูง ลูกค้าอาจจะมองทางเลือกอื่นๆในตลาดที่ราคาถูกกว่าที่มีการใช้งานที่ใกล้เคียงกัน หรือแม้แต่การทำกันเองในบริษัทโดยทีมงานเพียงไม่กี่คน รวมถึงการจ้างเอ้าท์ซอสอาจจะเหมาะสมกว่า

ภัยคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่ๆ

เรามีภูมิคุ้มกันจากคู่แข่งรายใหม่ๆในตลาดมากน้อยเพียงใด เทคโนโลยีที่เรามีดีพอที่จะเอาชนะคู่แข่งได้หรือไม่ หากคู่แข่งสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้เหมือนเรา แล้วเราจะมีจุดต่างหรือจุดแข็งเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างไร เรามี Know how อะไรที่คู่แข่งไม่มี เรามีเงินทุนในการบริหารกิจการมากน้อยเพียงใด

ทั้งหมดเป็นแรงกดดัน 5 ประการ จากภายนอกที่มีผลต่อการทำธุรกิจขององค์กรต่างๆ และเมื่อเราเข้าใจปัจจัยต่างๆมันก็จะทำให้เราวิเคราะห์การวางแผนการดำเนินธุรกิจและปรับปรุงกระบวนการภายในอย่างไร ให้เข้าถึงจิตใจของลูกค้าโดยไม่เปลี่ยนใจไปใช้บริการของคู่แข่ง


Share to friends


Related Posts

วางกลยุทธ์ธุรกิจให้ถูกจุด กับ TOWS Matrix

TOWS Matrix เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์โดยรวมของบริษัท เช่น ยอดขายที่สูงขึ้น ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น และมูลค่าแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น TOWS Matrix มาจากพื้นฐานของ SWOT Analysis ที่ใช้สำหรับการตรวจสอบ และวิเคราะห์ธุรกิจของคุณ


วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย PESTEL Analysis

ในการทำธุรกิจมักจะมีปัจจัยหลายๆอย่างที่เข้ามากระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบกับธุรกิจของเรา ที่เราจำเป็นต้องพิจารณาก่อนจะดำเนินแผนธุรกิจใดๆ มีทั้งปัจจัยภายในองค์กรเองรวมไปถึงปัจจัยภายนอก PESTEL Analysis คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กรและธุรกิจของเรา ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งอุปสรรคและโอกาส


วิเคราะห์ SWOT ให้ชัดเจน สำหรับการวางแผนธุรกิจ

SWOT Analysis ถือเป็นเทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ ในการระบุจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และ ภัยคุกคาม (Threats) เพื่อให้ทราบว่าเราเป็นใคร เรามีจุดแข็งตรงไหน จุดอ่อนของเรามีอะไร มีโอกาสอะไรบ้างในตลาด และอะไรคืออุปสรรคหรือภัยคุกคามในธุรกิจของเรา ดังนั้น การทำ SWOT Analysis



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์