กลยุทธ์สำหรับผู้ตาม (Follower Strategy)

บางครั้งการแข่งขันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องท้าทายหรือโจมตีผู้นำตลาดเสมอไป โดยคู่งแข่งในตลาดอาจจะเลือกที่จะเป็นเพียงแค่ผู้ตามก็ได้ ด้วยการลดราคาลงหันไปปรับปรุงด้านการบริการ และเพิ่มคุณสมบัติเด่นๆให้กับผลิตภัณฑ์ หนึ่งในสาเหตุที่บริษัทใช้กลยุทธ์ผู้ตาม ก็คือ ผู้นำในตลาดหลายๆแบรนด์ต่างมีอำนาจในการต่อรองรวมถึงการมีฐานลูกค้าอยู่ในมือ ที่สามารถลงมาเล่นในตลาดล่างที่เน้นด้านราคาได้ ฉะนั้นการอยู่แบบนิ่งๆแบบผู้ตามก็อาจจะดูปลอดภัยกว่า

การเป็นผู้ตามนั้นก็มีประโยชน์อยู่บ้าง นั่นคือ สามารถศึกษาแผนการลงทุน การทำการตลาดของผู้นำแล้วนำมาเป็นกรณีศึกษาในกับธุรกิจของตัวเองได้ ในการปรับปรุงหรือพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีกว่าผู้นำตลาด และนับว่ามีความเสี่ยงต่ำเพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนในการวิจัยและพัฒนา ด้วยการศึกษาจากผู้นำหรือผู้ท้าชิงและปล่อยให้ผู้นำหรือผู้ท้าชิงทำไปก่อนแล้วค่อยทำตาม (Me Too Product) รวมถึงค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ตำ่กว่าเพราะผู้นำได้ทำการตลาดไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแค่นำเสนอราคาที่ต่ำกว่า

โดยปกติแล้วผู้ตามจะใช้งบประมาณที่น้อยกว่าผู้นำและผู้ท้าชิง และรู้ว่าจะรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดและลูกค้าของตัวเองอย่างไร ผู้ตามสามารถมอบประโยชน์ในด้านการบริการ สถานที่ หรือด้านการเงินกับกลุ่มลูกค้าได้ โดยผู้ตามนั้นจะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับผู้ท้าชิงในตลาด ซึ่งผู้ตามจำเป็นต้องควบคุมต้นทุนในการผลิตต่างๆ และนำเสนอราคาที่ต่ำ แต่สินค้าและบริการยังต้องอยู่ในมาตรฐานระดับสูง

แล้วผู้ตามเดินตามแบบผู้นำในตลาดอย่างไรได้บ้าง

  • การคัดลอก (Clone) การที่ผู้ตามเลียนแบบแนวทางหรือวิธีการในการโฆษณา การผลิตสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงช่องทางการจัดจำหน่าย

  • การลอกเลียนแบบ (Imitate) การที่ผู้ลอกเลียนแบบลอกเลียนบางอย่างจากผู้นำในตลาด แต่ก็มีองค์ประกอบของความแตกต่างในตัวเองอยู่ ส่วนใหญ่จะเห็นกับแบรนด์ที่มีสินค้าอยู่ตามชั้นวางของในซุปเปอร์มาร์เก็ต เช่น น้ำอัดลม น้ำดื่มต่างๆ และเราจะเห็นได้จากตัวซุปเปอร์มาร์เก็ตเองก็ทำแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาเป็นทางเลือกให้กับผู้คนในตลาดในราคาที่ต่ำกว่า

  • การปรับเปลี่ยน (Adapt) การปรับเปลี่ยนนั้นบริษัทของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการจากเดิมไม่มาก เพื่อนำไปขายในตลาดในตลาดอื่นๆ

สิ่งที่มุ่งเน้น

  • ผู้ตามจะมองหาโอกาสต่างๆเพื่อหาตลาดที่เหมาะสม
  • รวบรวมประสบการณ์จากทั้งการศึกษาคู่แข่งและการลงมือทำด้วยตัวเอง เพื่อสร้างสินค้าหรือบริการที่มีนวัตกรรมเป็นของตัวเอง และก้าวขึ้นเป็นผู้ท้าชิงหรือผู้นำในตลาด
  • พยายามพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า เพื่อรักษาฐานลูกค้าให้มั่น รวมถึงพยายามนำเอานวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาใช้เพื่อท้าชิงกับผู้นำในตลาด
  • หลีกเลี่ยงการปะทะกับคู่แข่งโดยตรง
  • ใช้จุดอ่อนของคู่แข่งในสร้างโอกาสใหม่ๆ

ขั้นตอนวางแผนกลยุทธ์

  • ระบุขอบเขตของธุรกิจ และขอบเขตของตลาดในการวิเคราะห์ให้ชัดเจน
  • รวบรวมข้อมูลยอดขายทั้งจำนวนและมูลค่าของแบรนด์ตัวเอง รวมถึงข้อมูลของแบรนด์คู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • เรียนรู้เกี่ยวกับเทรนด์ใหม่ๆ เทคโนโลยี รวมถึงผลิตภัณฑ์จากผู้นำในตลาด เพื่อนำมาพัฒนาของตัวเอง
  • ใช้กลยุทธ์ราคาต่ำ
  • พยายามหาวิธีลดต้นทุนในการผลิต และคงคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดี
  • ให้ความสำคัญกับกำไรมากกว่าจำนวนยอดขาย
  • ใช้งบประมาณการตลาดที่น้อย และใช้อย่างเหมาะสม
  • สะสมทรัพยากรต่างๆเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจในอนาคต
  • พัฒนาตัวเองให้กลายเป็นผู้ท้าชิงในตลาด

การใช้กลยุทธ์ผู้ตามนั้นเหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคที่มีความอ่อนไหวเรื่องราคา และต้องเป็นตลาดที่ไม่มีความแตกต่างของสินค้าและบริการอย่างชัดเจน ซึ่งการศึกษาความสำเร็จหรือความล้มเหลวจากผู้นำนั้นจะช่วยให้ผู้ตามพัฒนาสินค้าและบริการได้ดีกว่า


Cover photo by Andy Barrass from FreeImages

Share to friends


Related Posts

กลยุทธ์สำหรับผู้ท้าชิง (Challenger Strategy)

การเป็นผู้นำในตลาดถือว่าเป็นหนึ่งในความสำเร็จของการทำธุรกิจ แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงคู่แข่งขันหน้าใหม่ๆที่พร้อมเข้ามาท้าชิงอยู่เสมอ สำหรับผู้ท้าชิงนั้นมักจะมองหาโอกาสต่างๆในตลาด และตัดสินใจว่าจะเข้าไปท้าทายผู้นำในตลาดไหน รวมไปถึงการหาจุดอ่อนของผู้นำในตลาด


กลยุทธ์สำหรับผู้นำ (Market Leader Strategy)

เชื่อว่าทุกบริษัทก็ต้องอยากที่จะเป็นผู้นำในตลาดกันทั้งนั้น เพื่อครองสัดส่วนหรือส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการที่จะเป็นผู้นำได้นั้นจะมาจากการที่สินค้าหรือบริการสามารถตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคเป็นหลัก และต้องมีระบบในการบริหารจัดการภายในที่เป็นเลิศ


กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership Strategy)

ถ้าพูดถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจ การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) นับว่าเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันหากธุรกิจของคุณสามารถลดต้นทุนในกระบวนการบริหารจัดการต่างๆลงได้ สำหรับความเป็นผู้นำด้านต้นทุนมักจะเกิดจากประสิทธิภาพ ขนาด การปรับตัว ขอบเขตในการทำธุรกิจ และประสบการณ์โดยรวมขององค์กร


กลยุทธ์ผู้นำด้านความต่าง (Differentiation Strategy)

กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งคำว่าความความแตกต่างนั้นมีอยู่หลายมุมมอง แต่หากจะแตกต่างอย่างมีคุณค่านั้นก็คงจะหนีไม่พ้นคำว่านวัตกรรม (Innovation) ซึ่งหากบริษัทใดสามารถนำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการต่างๆในการผลิตสินค้าหรือการให้บริการได้ ก็จะสร้างให้เกิดโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันโดยทันที


กลยุทธ์ด้านผู้นำตลาดเฉพาะ (Focus Strategy)

หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดในหลีกเลี่ยงการปะทะกับผู้นำตลาด ที่มุ่งเน้นไปในตลาดที่เฉพาะเจาะจงโดยให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรต่างๆให้มีประสิทธิภาพ กับกลุ่มผู้บริโภคที่เฉพาะเจาะจงเพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริง



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์