FCB Involvement Grid หรือ ตารางที่ช่วยระบุความพัวพันหรือความเกี่ยวพันของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้า มันช่วยให้เราเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ใดที่อยู่ในใจของผู้บริโภค โดยการประเมินว่าการซื้อนั้นต้องใช้การตัดสินใจทางอารมณ์หรือเหตุผล ด้วยข้อมูลดังกล่าวเราสามารถนำมากำหนดแนวคิดการทำโฆษณา หรือแม้แต่การทำเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้บริโภค โดย FCB Involvement Grid ได้รับการพัฒนาโดย Richard Vaughn รองประธานอาวุโสของ Foote, Cone และ Belding Advertising ที่ทำให้เห็นว่าผู้บริโภคเข้าถึงกระบวนการซื้อผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันอย่างไร กระบวนการนี้จะขับเคลื่อนโดยประเภทของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก

FCB Involvement Grid ประกอบไปด้วย 2 แกน (Axis) และ 4 มุม (Quadrant) ด้วยกัน

Quadrant 1 (Learn-Feel-Do)

การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการคิดที่เป็นเหตุและผลสูง การจะซื้อสินค้านั้นต้องมีการหาข้อมูล ที่ส่งผลต่อการรับรู้และตัดสินใจของผู้บริโภค โดยสินค้าในกลุ่มนี้ค่อนข้างจะมีราคาแพงและมีความสำคัญเป็นส่วนใหญ่ เช่น รถยนต์ บ้าน กล้องถ่ายรูป DSLR โทรศัพท์มือถือ ประกันภัย คอมพิวเตอร์ กลยุทธ์ที่ใช้ควรเน้นการให้ข้อมูลที่สร้างความน่าเชื่อถือ เน้นจุดเด่นของ
สินค้า 

Quadrant 2 (Feel-Learn-Do)

การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการใช้อารมณ์เป็นหลัก การจะซื้อสินค้านั้นใช้ความรู้สึกเป็นที่ตั้ง อาทิ ความภูมิใจ ความชอบส่วนตัว หรือการเติมเต็มความสุข เช่น น้ำหอม เครื่องเพชร รถยนต์แบรนด์หรู สินค้าแฟชั่น และ สินค้ากลุ่ม High-end ต่างๆ กลยุทธ์ที่ใช้ควรเป็นการสื่อด้วยภาพที่สวยงาม สะท้อนถึงความเป็นตัวตนและสร้างประสบการณ์ดีๆ ใช้ตัวหนังสือน้อย 

Quadrant 3 (Do-Learn-Feel)

การตัดสินใจที่ใช้การคิดที่เป็นเหตุเป็นผลน้อย การซื้อสินค้าส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าที่ใช้ในกิจวัตรประจำวัน ที่มีความเคยชินอยู่เป็นประจำ เช่น ใบมีดโดน น้ำมันรถยนต์ กระดาษชำระ แชมพูแบบธรรมดา กลยุทธ์ที่ใช้ควรเป็นการนำเสนอสินค้าตัวอย่าง ทำให้สินค้าเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างให้เกิดการซื้อสินค้า

Quadrant 4 (Do-Feel-Learn)

การตัดสินใจที่ใช้ความรู้สึกเข้ามาส่วนร่วมน้อย เน้นการตอบสนองแบบรวดเร็วหรือการที่คนใกล้ตัวใช้กัน ในการพิจารณาซื้อสินค้าต่างๆ เช่น บุหรี่ เหล้า ขนม ลูกอม ไอซ์ศรีม กลยุทธ์ที่ใช้ควรเน้นนำเสนอสิ่งที่คนทั่วๆไปใช้กัน

หลังจากทำการทดสอบกับตาราง FCB แล้ว เราจะเห็นว่าสินค้าของเราอยู่ตรงส่วนไหน สินค้าของเราเป็นประเภทใด และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้ามากน้อยแค่ไหน ข้อมูลนี้จะช่วยให้เราสร้างสรรค์งานโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เรารู้ว่าเราควรใช้ข้อมูลประเภทไหนเพื่อสร้างให้เกิดการรับรู้ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค


Cover photo by pipp from FreeImages

Share to friends


Related Posts

ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs)

ทฤษฎีที่โด่งดังทางด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของมนุษย์ (Motivation) กับแนวคิดที่เกี่ยวกับลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs) ได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1943 ในเอกสารที่ชื่อทฤษฎีแรงจูงใจของมนุษย์ (A Theory of Human Motivation) โดยเรามักจะคุ้นหูในชื่อว่า “ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์” (Maslow’s Hierarchy of Needs)


ยุคแห่งการสร้าง Customer Experience

การทำการตลาดแบบเดิมๆในยุคสมัยใหม่ที่เรียกว่ายุค Digital อาจไม่ทรงประสิทธิภาพเท่าการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค แม้ว่าคุณจะทุ่มงบการตลาดมากเท่าไหร่แต่หากมันไม่สร้างให้เกิดประสบการณ์กับผู้บริโภคเลย ก็นับว่าคุณกำลังทำบางสิ่งบางอย่างที่ผิดพลาดไปแล้ว


Customer Touchpoint มีอะไรบ้าง

การให้ความสำคัญกับจุดสัมผัสของลูกค้า หรือ Customer Touchpoint จะทำให้คุณมองเห็นแนวทางในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ให้ครบทุกจุดเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์ของคุณ



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์