Theory of Needs อะไรคือความต้องการของพนักงานในองค์กร

ทุกๆคนต่างมีแรงขับเคลื่อนจากความต้องการที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันหรือแม้แต่การทำงาน โดยแรงขับเคลื่อนนั้นถือเป็นตัวกระตุ้นหลักสำคัญที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และมันก็มีอยู่หนึ่งทฤษฎีที่สามารถอธิบายถึงความต้องการของพนักงานในองค์กร ที่ผมคิดว่าน่าสนใจเลยนำมาแบ่งปันให้ผู้อ่านโดยเฉพาะหากคุณนั้นเป็นผู้บริหารที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรรวมถึงอาจเป็นตัวของพนักงานเอง เพื่อนำมาลองศึกษาและทำความเข้าใจดูครับว่าอะไรบ้างที่เป็นแรงขับเคลื่อนของผู้คนในองค์กร

What's next?

ทฤษฎีความต้องการ (McClelland’s Theory of Needs)

ทฤษฎีที่น่าสนใจที่อธิบายถึงแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความต้องการของผู้คนในองค์กร นั้นก็คือ McClelland’s Theory of Needs ครับ ที่ถูกพัฒนาโดย David McClelland นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงระดับโลกในช่วงปี 1960 ทฤษฎีนี้ยังเป็นที่รู้จักกันอีกในชื่อ Three Needs Theory, Learned Needs Theory, Acquired Needs and Achievement Theory of Motivation

McClelland’s Theory of Needs ได้อธิบายถึงแรงจูงใจ 3 ประการที่ขับเคลื่อนความต้องการของคนในองค์กร โดยแรงขับเคลื่อนหรือแรงจูงใจ 3 ประการนั้นประกอบไปด้วย 1. ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ (Need for Achievement) 2. ความต้องการซึ่งอำนาจ (Need of Power) และ 3. ความต้องการเป็นส่วนหนึ่ง (Need for Affiliation) โดยเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกเชื้อชาติและทุกวัย อาจเกิดในช่วงเวลาและประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน ที่จะทำให้เห็นถึงความต้องการที่สร้างผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงานในองค์กร โดยมีคำอธิบายทฤษฎี ดังนี้

What's next?

ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ (Need for Achievement)

ความต้องการเพื่อความสำเร็จคือแรงกระตุ้นของบุคคลที่ต้องการบรรลุบางสิ่งในชีวิต เป็นความต้องการที่จะกระตุ้นให้คนทำงานในองค์กรนั้นต่อสู้เพื่อไปสู่ความสำเร็จในท้ายที่สุด พวกเขาต้องการเป็นที่รู้จักในสายงานที่ตัวเองทำอยู่ในฐานะบุคคลที่โดดเด่น บางคนมีความต้องการไปสู่ความสำเร็จขั้นสูงสุด พวกเขาเป็นคนที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอและพยายามทำผลงานให้ออกมาดีมากที่สุด

คนที่มุ่งความสนใจไปที่ความต้องการจะประสบความสำเร็จนั้น จะชอบเอาตัวเองเพื่อเข้าไปอยู่ในความความเสี่ยงสูงเพราะมันมีความท้าทาย พวกเขาไม่ชอบอะไรที่มีความเสี่ยงต่ำหรือไม่มีความเสี่ยงเลย เพราะมันดูเหมือนว่าจะกลายเป็นความสำเร็จที่มาจากโชคมากกว่าการใช้ความพยายาม

ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ (Need for Achievement)

คนที่ต้องการจะประสบความสำเร็จจะเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเขารับรู้ได้ว่าพวกเขานั้นอยู่ใกล้หรือไกลจากเป้าหมายเพียงใด คนประเภทนี้จึงเหมาะกับการทำงานคนเดียวมากกว่า พวกเขาเชื่อในโครงสร้างแบบมีลำดับขั้นเนื่องจากจะช่วยส่งเสริมความสำเร็จในการทำงาน บุคคลเหล่านี้ไม่ชอบที่จะทำงานร่วมกับคนอื่นเพราะอาจทำให้เสียเปรียบได้ สำหรับคนที่มีความต้องการจะประสบความสำเร็จนั้น จะมองว่าความพึงพอใจในความสำเร็จนั้นมีค่ามากกว่ารางวัลที่เป็นตัวเงินหรือรางวัลในรูปแบบอื่นๆเสียอีก ลักษณะของคนที่มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ (Need for Achievement) มีดังนี้

  • มีการกำหนดแผนงานและกำหนดระยะเวลาอย่างชัดเจน
  • ชอบฟังความคิดเห็นต่างๆเพื่อนำมาปรับปรุงการทำงาน
  • ท้าทายตัวเองด้วยการตั้งเป้าหมายสูงๆเข้าไว้
  • ส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานระดับผู้จัดการขึ้นไป
  • ชอบความเสี่ยงอยู่เสมอ
  • ชอบคิดอยู่เสมอว่าตัวเองมีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
  • ชอบทำงานคนเดียวมากกว่าการทำงานเป็นทีม

ความต้องการซึ่งอำนาจ (Need of Power)

ความต้องการที่สองคือเรื่องของอำนาจ ซึ่งมันหมายถึงความปรารถนาของแต่ละคนที่จะมีอำนาจเหนือคนอื่น การควบคุมในลักษณะนี้เป็นภาพสะท้อนของความต้องการเฉพาะสำหรับอำนาจส่วนบุคคล และแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาที่จะเปลี่ยนการตัดสินใจของบุคคลอื่น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการและความจำของตัวเอง ดังนั้นพวกเขาพร้อมที่จะเสี่ยงเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จของตัวเอง

คนที่ต้องการอำนาจมักมีแรงกระตุ้นที่ไม่มีวันจบสิ้นเพื่อส่งเสริมชื่อเสียงและความต้องการของตนเอง สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจทั้งหมดของพวกเขา คนเหล่านี้เป็นพวกที่กระหายอำนาจซึ่งมักจะให้ความสำคัญกับความคิดและมุมมองส่วนตัว และต้องการให้ผู้อื่นยอมรับในมุมมองของพวกเขา ซึ่งมี 2 ประเภท คือ

  • ประเภทแรก คือ ผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มพลังขับเคลื่อนส่วนบุคคล เขามักจะพยายามควบคุมคนอื่นและปรารถนาที่จะได้รับการยอมรับและได้สถานะต่างๆ การแข่งขันและความท้าทายคือสิ่งที่กระตุ้นให้พวกเขาทำผลงานได้ดีขึ้น เขาจะต้องการเป็นฝ่ายชนะเสมอและเกลียดการพ่ายแพ้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
  • ประเภทที่สอง คือ พวกที่อยู่ในกลุ่มพลังขับเคลื่อนสถาบันหรืองค์กร พวกเขาจะมีระเบียบวินัยสูงและจะนำสมาชิกภายในทีมไปสู่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วยความมุ่งมั่น
ความต้องการซึ่งอำนาจ (Need of Power)

ลักษณะของคนที่มีความต้องการซึ่งอำนาจ (Need of Power) มีดังนี้

  • ชอบพูดอย่างตรงไปตรงมาไม่อายที่จะชี้นำใคร
  • มีความกล้าแสดงออก เป็นงาน มีบุคลิกที่ชอบสั่งการโดยธรรมชาติ
  • สนุกกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ชอบเอาชนะการโต้เถียงเพราะมันทำให้พวกเขารู้สึกถึงพลัง
  • ไม่กลัวการแข่งขันและพยายามอย่างเต็มที่เพื่อชัยชนะ
  • ขับเคลื่อนด้วยสถานะบางอย่าง
  • ต้องการเป็นผู้รับผิดชอบอยู่เสมอ
  • เป็นผู้นำดีกว่าเป็นสมาชิกในทีม

ความต้องการเป็นส่วนหนึ่ง (Need for Affiliation)

ความต้องการในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งหรือความร่วมมือ หมายถึง ความต้องการของบุคคลที่จะมีความสัมพันธ์ทั้งระหว่างบุคคลและสังคมกับผู้คน โดยอยากได้การยอมรับทางสังคมที่ไม่ใช่ความสำเร็จที่ใช้ผลงานเป็นตัวขับเคลื่อน คนที่มีความต้องการการเป็นส่วนหนึ่งและความร่วมมือ คือ คนที่ไม่ชอบทำงานคนเดียวคนประเภทนี้ชอบการทำงานร่วมกันมากกว่า

ความปรารถนาที่จะเป็นที่ชื่นชอบและได้รับการยอมรับจากผู้อื่น คือเหตุผลที่พวกเขาสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตร กลุ่มคนเหล่านี้ พวกเขามักชอบเก็บสิ่งต่างๆไว้เหมือนเดิมเพราะกลัวการปฏิเสธ และการเปลี่ยนแปลงมักจะน่ากลัวสำหรับพวกเขาเสมอ ตามทฤษฎีแล้วคนกลุ่มนี้จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงสูงในที่ทำงาน พวกเขาปฏิบัติตามกฎและตามบรรทัดฐานที่กำหนด พวกเขามักจะระมัดระวังในแนวทางของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา

ความต้องการเป็นส่วนหนึ่ง (Need for Affiliation)

คนที่มีความต้องการในลักษณะนี้จึงเหมาะกับประเภทงานบริการลูกค้าหรือลูกค้าสัมพันธ์ ที่ต้องมีการประสานงานและพูดคุยกับทีมอื่นๆและลูกค้าอยู่เสมอ ลักษณะของคนที่มีความต้องการเป็นส่วนหนึ่ง (Need for Affiliation) มีดังนี้

  • เป็นคนที่สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ชอบงานที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนา
  • คาดหวังที่จะสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานให้ได้มากที่สุด
  • พยายามอย่างเต็มที่เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดี
  • มีแนวโน้มที่จะสร้างสังคมมากกว่าการสร้างความสัมพันธ์ส่วนบุคคล
  • ต้องการความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน
  • ไม่ชอบความเสี่ยงใดๆ
  • อยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและสังคม ไม่อยากอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย
  • ชอบอยู่กับผู้คนและทำงานได้ดีหากเป็นงานกลุ่ม

แรงขับเคลื่อนถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้งานหรือโครงการต่างๆให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จครับ และทฤษฎีความต้องการ (McClelland’s Theory of Needs) ก็ได้อธิบายให้เห็นแล้วว่าคนเราเมื่ออยู่ในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง จะมีแรงอะไรบ้างที่คอยผลักดันให้ไปสู่เป้าหมายในการทำงาน เพื่อที่คุณจะได้เข้าใจแรงจูงใจในแต่ละรูปแบบ และสามารถหาวิธีในการบริหารจัดการให้คนในองค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้นั่นเอง


Share to friends


Related Posts

พนักงานทั้ง 6 ประเภทที่คุณจะพบเจอในองค์กร

สำหรับคนที่ทำงานในธุรกิจหรือองค์กรต่างๆไม่ว่าจะเป็นในระดับ Startup, SMEs หรือ องค์กรขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องเจอคนหลากหลายประเภทด้วยกันทั้งคนในทีมของตัวเองและต่างฝ่ายต่างแผนก โดยคนแต่ละประเภทนั้นก็จะมีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกันไปที่ส่งผลต่อเรื่องของวัฒนธรรมโดยรวมขององค์กร รวมไปภาพรวมการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่จะไปสู่ความสำเร็จ


9 วิธีการเพิ่ม Productivity ให้กับพนักงาน

การเพิ่มผลผลิตในการทำงานหรือที่เราจะคุ้นๆกับคำว่า Productivity สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตและสร้างกำไรได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาทักษะ ความร่วมมือจากพนักงาน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพัฒนากระบวนการต่างๆ โดยหลายๆธุรกิจให้ความสำคัญกับเรื่องของ Productivity จนนำไปเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำหรับการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจครับ ธุรกิจต่างๆจึงต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่ม Productivity


ฝึกสอนพนักงานอย่างไรให้มีทักษะที่เก่งขึ้น

การให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถในการทำงาน คือส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จ และยังเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานโดยเฉพาะเมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามาทำงานกับองค์กร เค้าจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ซึมซับแนวทางและวิถีการดำเนินชีวิตภายในองค์กรนั้นๆ




One thought on “Theory of Needs อะไรคือแรงขับเคลื่อนของพนักงานในองค์กร

  • Hi, I do believe your website could possibly be having web browser compatibility issues.
    When I look at your web site in Safari, it looks fine
    however, if opening in I.E., it’s got some overlapping issues.
    I simply wanted to give you a quick heads up! Aside from that, great blog!

Comments are closed.

copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์