TOWS Matrix

TOWS Matrix เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์โดยรวมของบริษัท เช่น ยอดขายที่สูงขึ้น ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น และมูลค่าแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น TOWS Matrix มาจากพื้นฐานของ SWOT Analysis ที่ใช้สำหรับการตรวจสอบ วิเคราะห์ ธุรกิจของคุณ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการทำธุรกิจต่างๆ ส่วน TOWS Matrix ก็เป็นกระบวนการวางแผนธุรกิจในลำดับต่อไป

TOWS Matrix

กลยุทธ์เชิงรุก SO Strategies (Strengths and Opportunities)

กลยุทธ์แรกและสำคัญที่สุด คือ การใช้จุดแข็งภายในของบริษัท และใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดจากโอกาสภายนอกที่มี เช่น บริษัทของคุณเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI ที่เข้ามาเป็นเจ้าแรก และตลาดมีแนวโน้มที่จะเติบโต ประกอบกับภาครัฐประกาศนโยบายประเทศไทย 4.0 จึงเป็นโอกาสในการรุกธุรกิจอย่างเต็มอัตรา

กลยุทธ์เชิงแก้ไข WO Strategies (Weaknesses and Opportunities)

กลยุทธ์ที่สอง คือ การใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีเพื่อลดจุดอ่อนในองค์กร เช่น หากบริษัทไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่สุดในด้านใดๆ แต่เห็นโอกาสในการเป็นพันธมิตรกับ บริษัทเลยจับมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจร่วมกัน

กลยุทธ์เชิงป้องกัน ST Strategies (Strengths and Threats)

กลยุทธ์ที่สาม คือ การใช้ประโยชน์จากจุดแข็งภายในทั้งหมดเพื่อเอาชนะภัยคุกคามหรืออุปสรรค ที่อาจเกิดขึ้นซึ่งจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น บริษัทกำลังเผชิญหน้ากับการแข่งขันจากคู่แข่งรายใหม่ ที่เสนอผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่มีความคล้ายคลึงกับของคุณ ฉะนั้นคุณควรเสนอจุดแข็งภายในที่มี เช่น เอาความเป็นเจ้าแรกที่มีประสบการณ์ที่มากกว่า และมีรางวัลการันตีมาใช้เพื่อเอาชนะอุปสรรคที่เกิดขึ้น

กลยุทธ์เชิงรับ WT Strategies (Weaknesses and Threats)

กลยุทธ์สุดท้าย เป็นกลยุทธ์ที่ดึงดูดความสนใจได้น้อยที่สุดซึ่งจำเป็นต้องลดจุดอ่อน เพื่อเอาชนะหรือหลีกเลี่ยงภัยคุกคามหรืออุปสรรคภายนอกที่กระทบต่อธุรกิจ

ตัวอย่างการใช้ TOWS Matrix ของ Nokia

กลยุทธ์เชิงรุก SO Strategies

  • เพิ่มสัดส่วนการตลาดและสร้างแบรนด์ในประเทศเยอรมัน ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ และมีความน่าเชื่อถือ
  • ยกระดับชื่อเสียงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยวิธีการขับเคลื่อนด้วยการใช้กลยุทธ์ที่ออกผลิตภัณฑ์ที่มาจากความต้องการของลูกค้า (Customer-driven) โดยอาศัยการศึกษาและการวิจัยตลาด เพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องความต้องการของลูกค้า
  • เจาะตลาดใหม่ด้วยพันธมิตรทางธุรกิจ และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

กลยุทธ์เชิงป้องกัน ST Strategies

  • เลือกทำโฆษณาแบบเฉพาะเจาะจง
  • ลดราคาสินค้าลงเนื่องจากมีการแข่งขันสูง และมีคู่แข่งในตลาดมาก
  • นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสำหรับลูกค้า

กลยุทธ์เชิงแก้ไข WO Strategies

  • ทำการสำรวจประสบการณ์ลูกค้า และนำเสนอราคาที่เทียบเท่าคู่แข่งในตลาด
  • ปรับปรุงตำแหน่งของแบรนด์ในญี่ปุ่น ด้วยการดึงพันธมิตรมาช่วยเหลือ
  • มุ่งเน้นไปที่ตลาดสหรัฐด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการร่วมทุน
  • เพิ่มกำไรให้ธุรกิจโดยการเจาะตลาดที่หลากหลายและแตกต่างกัน

Share to friends


Related Posts

วิเคราะห์ SWOT ให้ชัดเจน สำหรับการวางแผนธุรกิจ

SWOT Analysis ถือเป็นเทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ ในการระบุจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และ ภัยคุกคาม (Threats) เพื่อให้ทราบว่าเราเป็นใคร เรามีจุดแข็งตรงไหน จุดอ่อนของเรามีอะไร มีโอกาสอะไรบ้างในตลาด และอะไรคืออุปสรรคหรือภัยคุกคามในธุรกิจของเรา ดังนั้น การทำ SWOT Analysis


5 ปัจจัยที่ทำให้ Gen Y ชื่นชอบแบรนด์เป็นพิเศษ

ผมได้อ่านเจอบทความวิจัยที่นำเสนอถึงการตีความหมายของแบรนด์ที่คน Gen Y หรือคนที่เกิดในช่วงปี 1980-1994 ชื่นชอบ โดยการทำแบบสอบถามมากว่า 5,000 ตัวอย่าง ในประเทศทางแถบยุโรป ด้วยการถามถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคมีความชื่นชอบในตัวแบรนด์ ที่ได้ยกกลุ่มตัวอย่างของแบรนด์มา 3 ประเภท


รู้จัก Business Model Canvas ก่อนการทำธุรกิจ

Business Model Canvas หรือการเขียนแผนธุรกิจบนผืนผ้าใบ คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้เราเข้าใจรูปแบบธุรกิจได้อย่างตรงไปตรงมาและมีโครงสร้าง การใช้ผืนผ้าใบนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าอย่างแท้จริง การเสนอคุณค่าของธุรกิจ ช่องทางการสื่อสารกับลูกค้า ความสัมพันธ์กับลูกค้า รูปแบบการทำธุรกิจของเราเป็นอย่างไร



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์