ใช้ Exit Strategy วิธีไหนเมื่อไหร่เหมาะสมมากที่สุด

หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่เรียกว่า Exit Strategy หรือกลยุทธ์ทางออกจากตลาด นับเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจขนาดไหนก็ตามรวมไปถึงนักลงทุนในรูปแบบต่างๆจำเป็นต้องรู้และทำความเข้าใจ เพื่อเตรียมความพร้อมกับการจัดการกับโอกาสที่อาจเกิดการสูญเสียรวมไปถึงการหาโอกาสในการสร้างกำไรให้ดีที่สุด สิ่งสำคัญก็คือคุณจำเป็นต้องรู้ว่าเมื่อใดควรใช้กลยุทธ์ Exit Strategy เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากธุรกิจและการบริหารทรัพย์สินต่างๆรวมไปถึงการเงินของธุรกิจ และในบทความนี้ผมได้สรุปถึง Exit Strategy หรือกลยุทธ์ทางออกจากตลาด ว่าเมื่อใดธุรกิจของคุณควรใช้ Exit Strategy มาฝากกันครับ


อะไรคือ Exit Strategy

Exit Strategy คือ กลยุทธ์การออกจากการทำธุรกิจในสถานการณ์ที่มีการบริหารงานผิดพลาดไปจากเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งเกิดได้กับทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ธุรกิจ Startup รวมไปถึงนักลงทุนและผู้ร่วมทุนในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้การใช้ Exit Strategy นั้นก็เพื่อควบคุมการสูญเสียไม่ให้ลุกลามไปมากกว่าเดิมซึ่งเป็นผลโดยตรงกับเรื่องการเงินของธุรกิจ นับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจที่จำเป็นต้องประเมินครับว่า สถานการณ์ของธุรกิจนั้นอยู่ในจุดไหน อยู่ในจุดที่ใกล้เคียงกับการต้องใช้ Exit Strategy แล้วหรือยัง ซึ่งมันก็มีสัญญาณเตือนสำคัญๆ ดังนี้

สัญญาณเตือนถึงความจำเป็นต้องใช้ Exit Strategy กับธุรกิจ

มีหลากหลายสถานการณ์ครับที่ใกล้เคียงกับการเลือก Exit Strategy มาใช้ เรามาดูกันครับว่ามันมีสัญญาณเตือนอะไรกันบ้าง

  1. ผลประกอบการไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  2. ธุรกิจไม่ได้สร้างผลกำไรใดๆจนส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน
  3. ธุรกิจเติบโตค่อนข้างช้าในตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง จนส่งผลต่อผลกำไรของธุรกิจ
  4. การหยุดชงักของตลาดที่ส่งผลต่อการลงทุน จนส่งผลเชิงลบกับธุรกิจ
  5. การเกิดข้อพิพาททางธุรกิจรวมไปถึงคู่ค้าทางธุรกิจ ทำให้ไม่มีอำนาจในการควบคุม จนส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ

สถานการณ์และสัญญาณเตือนเหล่านี้จึงเป็นเหตุจำเป็นที่ต้องนำเอา Exit Strategy เข้ามาช่วยลดการสูญเสียของธุรกิจคุณได้

What's next?

Exit Strategy ทั้ง 8 วิธี

โดยปกติแล้ว Exit Strategy มีอยู่ด้วยกัน 8 วิธีด้วยกัน ซึ่งการเลือกใช้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเรื่องของเป้าหมายธุรกิจและเรื่องการเงิน ดังนี้

1. การควบรวมกิจการ

การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition – M&A) ถือเป็นกลยุทธ์การออกจากการทำธุรกิจที่แข็งแกร่งที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งก็คือการเปิดทางเลือกเพื่อขายกิจการให้กับผู้ที่สนใจ โดยเราจะเห็นค่อนข้างมากกับธุรกิจ Startup และผู้ประกอบการทั้งหลาย คุณอาจจะขายกิจการให้ผู้ที่มาซื้อกิจการเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ ขจัดคู่แข่งขันในตลาด เสริมศักยภาพจากสิ่งที่คุณมี หรือเข้ามาพัฒนาสินค้าที่มีอยู่ก็ได้

2. ขายหุ้นให้กับนักลงทุน

ในฐานะคุณที่เป็นเจ้าของกิจการคุณสามารถใช้วิธีการขายหุ้นให้กับคู่ค้าหรือนักลงทุน โดยธุรกิจยังดำเนินการไปตามปกติ วิธีนี้ถือว่าเป็น Exit Strategy ที่นิยมใช้กันอยู่มากที่เน้นขายให้กับผู้ซื้อที่รู้จักและเป็นที่น่าเชื่อถือ การเข้ามาถือหุ้นนั้นก็อาจเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปในทางที่ดีขึ้นได้ในอนาคตครับ

3. การสืบทอดกิจการครอบครัว

การสร้างผลประโยชน์และกำไรให้กับธุรกิจครอบครัว โดยการถ่ายโอนธุรกิจให้กับผู้สืบทอดกิจการในครอบครัว ก็ถือเป็นหนึ่ง Exit Strategy ที่ได้ผลดีเช่นกันและเป็นที่นิยมใช้กันมาก แต่ก็ต้องทำเมื่อผู้รับสืบทอดธุรกิจนั้นมีความพร้อมด้วยเช่นกัน

4. เข้าซื้อกิจการ

Exit Strategy วิธีนี้เป็นการเข้าไปซื้อกิจการรวมทั้งพนักงานแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งนับเป็นประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงธุรกิจให้ได้ผลกำไรในอนาคต การเข้าซื้อกิจการในลักษณะนี้ยังคงทำให้ธุรกิจได้กำไรอยู่และรักษาพนักงานเดิมเอาไว้ และมีโอกาสประสบความสำเร็จที่มากขึ้นในอนาคต

5. ซื้อกิจการโดยทีมผู้บริหารและพนักงานเดิม

การซื้อกิจการเพื่อบริหารจัดการจากกลุ่มผู้บริหารหรือพนักงานเดิมที่ทำงานอยู่ Exit Strategy ในลักษณะนี้ดีตรงที่ผู้บริหารมีความเข้าใจในธุรกิจและคุ้นเคยกับพนักงานเป็นอย่างดี ซึ่งสามารถส่งเสริมให้พนักงานเปลี่ยนบทบาทไปสู่ระดับที่สูงขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างได้ จึงมีโอกาสในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้ในอนาคต

6. การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (IPO)

การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (Initial Public OfferingIPO) คือ การสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของคุณไปสู่ความเป็นมหาชนด้วยการขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป นับเป็น Exit Strategy ที่สร้างโอกาสการเติบโตที่มอบโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท จนอาจนำไปสู่การเติบโตและสร้างผลกำไรได้มากที่สุดในบรรดา Exit Strategy วิธีอื่นๆ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยต้นทุนในการบริหารจัดการเช่นกัน

7. การชำระหนี้

Exit Strategy ที่ถือว่าเป็นปกติมากที่สุดครับสำหรับธุรกิจที่ไม่สามารถไปต่อได้ นั่นคือการขายสินทรัพย์ทุกอย่างและปิดตัวลง โดยเงินทั้งหมดที่ได้จากการขายนั้นก็ต้องเอาไปใช้จ่ายหนี้สินและอาจต้องแบ่งให้กับผู้ถือหุ้นด้วยเช่นกัน Exit Strategy ในลักษณะนี้นับว่าไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มใดๆให้กับธุรกิจ ผลตอบแทนที่ได้กลับคืนมาจากการขายอาจได้กลับมาต่ำมาก และอาจทำให้เกิดความรู้สึกแย่ระหว่างพนักงาน ผู้บริหาร ลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจ

8. การล้มละลาย

การล้มละลาย (Bankruptcy) เป็น Exit Strategy วิธีสุดท้าย เมื่อธุรกิจถูกฟ้องล้มละลายทรัพย์สินของบริษัทจะถูกยึด แต่อาจจะได้รับการบรรเทาหนี้ ซึ่งการประกาศว่าล้มละลายไม่ได้รับประกันว่าเจ้าหนี้จะยกหนี้ทั้งหมดของบริษัทให้แต่อย่างใดครับ อย่างไรก็ตามมันเป็นวิธีที่รวดเร็ววิธีหนึ่งที่ทำให้คุณหมดภาระต่างๆในทันที แต่ก็อาจจะส่งผลต่อชื่อเสียงหากคุณจะไปเริ่มธุรกิจใหม่ได้เช่นกัน

Exit Strategy อาจฟังแล้วดูน่ากลัวครับเพราะว่าเป็นการยุติหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจ ซึ่งมีทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบตามแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำหรับการบริหารธุรกิจที่คุณในฐานะเจ้าของธุรกิจ จำเป็นต้องวางแผนเตรียมการเอาไว้เผื่อเกิดสถานการณ์ที่จำเป็นต้องตัดสินใจทำอะไรบางอย่างกับธุรกิจของคุณในอนาคตนั่นเองครับ


Share to friends


Related Posts

เหตุผลที่ Diversification Strategy ได้ผลดีในระยะยาว

Diversification Strategy หรือ กลยุทธ์ในการกระจายความเสี่ยงที่เรามักจะเห็นเวลาที่แบรนด์ต่างๆออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในตลาด ซึ่งแน่นอนครับว่ามันต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลและถือเป็นหนึ่งอุปสรรคสำคัญในการขยายธุรกิจของแบรนด์ที่ไม่ได้ใหญ่โตหรือเป็นเจ้าตลาด แต่ว่ากลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงก็ถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่สร้างให้เกิดการเติบโตได้ดีที่สุดกลยุทธ์หนึ่งในระยะยาวเลยทีเดียวครับ


วิธีสร้าง Brand Differentiation Strategy

หนึ่งในวิธีการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จก็คือการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม และกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ หรือที่เราเรียกว่า Brand Differentiation Strategy นั้น ก็เป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นเอาชนะคู่แข่งและเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ ซึ่งมันก็คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน


กลยุทธ์สำหรับผู้นำ (Market Leader Strategy)

เชื่อว่าทุกบริษัทก็ต้องอยากที่จะเป็นผู้นำในตลาดกันทั้งนั้น เพื่อครองสัดส่วนหรือส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการที่จะเป็นผู้นำได้นั้นจะมาจากการที่สินค้าหรือบริการสามารถตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคเป็นหลัก และต้องมีระบบในการบริหารจัดการภายในที่เป็นเลิศ



copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์