
โรค SARS เริ่มระบาดในประเทศจีนในเดือนพฤศจิกายน 2002 และแพร่กระจายไปยัง 24 จังหวัด ในหลายภูมิภาค ผู้คนติดเชื้อกว่า 5,327 คน ซึ่งเมืองปักกิ่งมีผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือ 2,521 คน และเมืองกวางตุ้งติดเชื้อเป็นอันดับ 2 กว่า 1,500 คน โดยใช้เวลากว่า 6 เดือน จึงสามารถคลี่คลายสถานการณ์จนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัย
ในช่วงแรกรัฐบาลปฏิเสธเรื่องโรค SARS จนมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของรัฐบาลจีน ซึ่งตามกฎหมายของรัฐบาลจีนนั้นไม่ให้เผยแพร่ข่าวสารด้านความเสี่ยงกับสื่อมวลชนยกเว้นจะได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก่อน สืบเนื่องจากมาตรการด้านกฎหมายของจีนที่มีการแบ่งประเภทของโรคและการรายงานต่อหน่วยงานต่างๆที่มีความสลับซับซ้อน และโรค SARS ไม่มีการถูกระบุไว้ในความเสี่ยงว่าจะต้องรายงานไปที่ใด ซึ่งจริงๆแล้วทุกๆโรคควรจะต้องรายงานไปยังศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของกรุงปักกิ่งในทันทีและรายงานต่อไปยังกรมควบคุมโรค
เมื่อรัฐบาลเห็นว่าเรื่องโรค SARS นั้นเป็นเรื่องร้ายแรงจึงได้มีการอนุมัติให้ประกาศต่อสาธารณชน และการประกาศข้อมูลข่าวสารไปยังเขตที่ติดเชื้อต่างๆนั้นผ่านการส่งจดหมายและแฟ็กซ์ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ล่าช้ามาก รัฐบาลมีข้อมูลแค่โรคที่ถูกจดทะเบียนโรคไว้โดยที่ SARS ไม่ได้ถูกจดทะเบียนเลยทำให้ไม่มีข้อมูลเรื่องโรคนี้จึงสื่อสารข้อมูลข่าวสารแบบผิดๆถูกๆ ซึ่งวิธีการแก้การสื่อสารใช้การบอกต่อเป็นลำดับขั้นต่อขั้นผ่านไปยังทีมงานในแต่ละส่วนงานเพื่อทำการยืนยันข้อมูลข่าวสาร ซึ่งไม่มีประโยชน์เลยเพราะไม่มีใครรู้จักโรค SARS อย่างแท้จริง
กลยุทธ์การสื่อสารจากภาครัฐ
นโยบายการสื่อสารความเสี่ยงจากรัฐบาลจีนนั้นมีอยู่ด้วยการ 2 ขั้นตอน คือ
- ปกปิดและปฏิเสธการมีอยู่ของโรค
- ยอมรับว่าเกิดโรคจริงแต่ไม่มีความรุนแรง
- เปิดใจและระดมมวลชนให้ต่อสู้กับโรค
- ขั้นตอนแรก (กลางเดือนพฤศจิกายน 2002 จนถึง ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2003)
รัฐบาลเมืองกวางตุ้งมีความพยายามที่จะแก้ปัญหาอย่างเงียบๆด้วยตัวของรัฐบาลเอง ด้วยการส่งผู้เชี่ยวชาญไปตรวจสอบพื้นที่เกิดโรค และมีการประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อประเมินสถานการณ์และหาวิธีด้านต่างๆ อีกทั้งยังเก็บเป็นความลับและไม่ให้ข้อมูลข่าวสารกับสื่อมวลชน แต่ไม่สำเร็จเกิดข่าวรั่วไหลเรื่องการระบาดของโรคบนอินเทอร์เน็ต มือถือ และข้อความ SMS ต่างๆ รวมถึงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็มีการตีพิมพ์ข่าวเรื่องโรค SARS
ทางการออกมาปฏิเสธข่าวทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ในช่วงมกราคมกองการสาธารณสุขในเมืองเหหยวน ซึ่งเป็นเมืองที่ประสบกับการแพร่ระบาดของโรค SARS ได้มีการตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า “ไม่มีการระบาดของเชื้อโรคอะไรในเมืองเหหยวนทั้งนั้น ทั้งหมดเป็นเพียงไข้หวัดที่เกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลงที่หนาวขึ้นเท่านั้น” และในขณะที่ไม่มีการเผยแพร่ข่าวสารใดๆ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวกับสุขภาพนั้นก็ยังมีความกังวลใจ จึงได้มีการส่งผู้เชี่ยวชาญจากปักกิ่งและกว้างตุ้งเพื่อหาข้อมูลว่าเชื้อโรคชนิดนี้คืออะไร
- ขั้นตอนที่สอง (กลางเดือนกุมภาพันธ์ จนถึง กลางเดือนเมษายน 2003)
เมื่อผู้ป่วยย้ายมารักษาที่เมืองกวางโจวทำให้ข่าวเรื่องโรค SARS มีการแพร่กระจายออกไปผ่านมือถือ SMS และอีเมล์ ซึ่งจากสถิตินั้นมีคนส่งข้อความที่ว่า “A killer virus appears in Guangzhou” มากกว่า 40 ล้านครั้งใน 1 วัน 41 ล้านครั้ง ในวันที่สอง และ 43 ล้านครั้ง ในวันที่ 3 ทำให้เว็บไซต์ต่างๆในประเทศจีนเริ่มมีการถกเถียงกันเรื่องไวรัสชนิดนี้ว่าคืออะไร เกิดเป็นความตื่นตระหนกทำให้หลายคนหาซื้อหน้ากากอนามัย รวมถึงยารักษาโรคต่างๆมากักตุน จนทำให้เจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดนั้นต้องออกมาแถลงข่าวเพื่อที่จะให้ประชาชนอยู่ในความสงบ
ในการแถลงข่าวนั้นได้มีการบอกอย่างชัดเจนว่าจังหวัดนั้นมีการติดเชื้อไวรัสจริง แต่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ทั้งหมดแล้ว คนไข้ที่มารักษาตัวนั้นกำลังฟื้นตัวและหายจากอาการ และขอให้ทุกคนอย่าแตกตื่นและอย่าเชื่อข่าวลวงใดๆทั้งสิ้น และในวันเดียวกันนั้นเองกระทรวงสาธารณสุขของปักกิ่งได้รายงานไปยังองค์กรอนามัยโลกว่า มีคนติดเชื้อ 300 คน และเสียชีวิตแล้ว 5 คนในเมืองกวางโจว และทางทีมงานกำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ และในช่วงนั้นเองหน่วยงานข่าวกรองของเมืองกวางโจวได้ออกข่าวประชาสัมพันธ์ประกาศเตือนเป็นรายวันไปยังสื่อท้องถิ่นทั้งหมดเพื่อที่จะควบคุมการเผยแพร่ข่าวของสื่อทั้งหมด
หากมองในมุมของกลยุทธ์การสื่อสารเรื่องความเสี่ยง มันคือการสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสถานการณ์ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุม และก็ยังการประชาสัมพันธ์วิธีการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคต่างๆอีกด้วย
- ขั้นตอนที่สาม (กลางเดือนเมษายน 2003 เป็นต้นไป)
การแพร่ระบาดของ SARS ในกรุงปักกิ่ง ทำให้ผู้นำประเทศเปลี่ยนกลยุทธ์ในการสื่อสารเพื่อให้ตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคนี้ และระดมทุกสรรพกำลังในการต่อต้านโรค SARS มีการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับโรค SARS ทั้งหมด และมีการระดมทุนโดยกระทรวงการคลังจำนวน 2 พันล้านหยวน ในการต่อต้านโรค SARS และมีการจัดตั้งศูนย์ควบคุมโรค SARS แห่งชาติขึ้น เพื่อประสานงานกับทุกภาคส่วนเพื่อสู้กับโรค SARS อย่างเต็มรูปแบบ
นโยบายใหม่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่สาธารณชน กระทรวงสาธารณสุขได้มีการออกข่าวอัพเดทเป็นประจำทุกวันไปยังทั่วประเทศ และสาธารณสุขประจำท้องถิ่นทุกที่ต้องรายงานสถานการณ์ให้กับกระทรวงทราบทุกวัน โดยทำการสื่อสารผ่านสำนักข่าวซินหัว ผ่านกล้อง CCTV และเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุขยังมีการแถลงการณ์ถ่ายทอดสดทุกวันในช่วงเย็น จนถึงช่วงที่องค์การอนามัยโลกถอดกรุงปักกิ่งออกจากรายชื่อเมืองที่เสี่ยงต่อโรค รูปแบบการสื่อสารของรัฐบาลนั้นมีการทำเป็นแคมเปญการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน ด้วยข้อมูลเกี่ยวกับโรค และวิธีการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค ด้วยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและองค์การมหาชนในการออกแคมเปญการสื่อสารเกี่ยวกับการต่อต้านโรค SARS ผ่านช่องทางการสื่อสารของตนเองที่มี ได้แก่ แผ่นพับ โปสเตอร์ แบนเนอร์ โฆษณาภายนอก ซึ่งนับเป็นหนึ่งในระบบการสื่อสารที่แข็งแกร่งของจีนระหว่างเมืองในชนบท ที่มีความสามารถในการดำเนินการที่ส่งข้อความในหมู่บ้านที่ห่างไกลผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรด้านประชากรท้องถิ่นและสำนักงานคณะกรรมการกำกับการวางแผนครอบครัวประจำท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งมีการบอกต่อข้อมูลเรื่องโรค SARS ด้วยแผ่นพับซึ่งเข้าถึงกว่า 85 ล้านคน ที่คอยเฝ้าระวังความเสี่ยงของโรค SARS ที่เกิดขึ้นในชนบท
บทวิเคราะห์ด้านการสื่อสาร
สิ่งที่รัฐบาลจีนทำนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียจากการปิดบังข้อมูลเรื่องโรคและพยายามจัดการอย่างเงียบๆ แม้ว่าในบางเมืองจะพบผู้ป่วยและมีข่าวแพร่กระจายออกมาหลายครั้ง แต่รัฐบาลยังคงบอกว่าไม่มีความรุนแรงใดๆและสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ถือว่าเป็นการลดความตื่นตระหนกของประชาชนทั้งประเทศ แต่ในทางกลับกันการปิดบังของรัฐบาลอาจส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงในระยะยาวหากเชื้อมีการแพร่กระจายไปทั่วทั้งประเทศ สถานการณ์โรค SARS ในประเทศจีนแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้อย่างมากและไม่มีการปรึกษาหารือกับองค์การอนามัยโลกตั้งแต่เนิ่นๆโดยเลือกที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ประวิงเวลาด้วยการบอกประชาชนว่าเป็นแค่โรคไข้หวัดธรรมดาเพื่อหาทางศึกษาโรคนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงหากวินิจฉัยโรคผิดรวมถึงปัญหาด้านกฎหมายของประเทศที่ซึ่งเมื่อพอไม่มีการจัดเชื้อโรค SARS ให้อยู่ในพระราชบัญญัติเรื่องโรค ทำให้ไม่มีการส่งเรื่องต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างทันท่วงที
ปัญหาด้านการสื่อสารในช่วงแรกของการระบาดนั้นนั้นมีความล่าช้ามากประกอบกับกฎหมายของประเทศจีนที่ห้ามใครสื่อสารใดๆที่เกี่ยวกับความเสี่ยงออกไปหากไม่ได้รับการอนุญาตจากรัฐบาล การสื่อสารระหว่างเมืองในชนบทมีแค่การสื่อสารผ่านแฟ็กซ์และจดหมายซึ่งระบบการสื่อสารสมัยนั้นมีความล่าช้าเป็นอย่างมาก และรัฐบาลยังปกปิดข้อเท็จจริงไม่ให้ประชาชนรู้และเฝ้าระวังภัย แต่หลังจากสถานการณ์เริ่มลุกลามจนควบคุมไม่อยู่จึงมีการแจ้งไปยังองการอนามัยโลกและระดมกำลังทุกภาคส่วนในการร่วมแก้ไขปัญหาผ่านสื่อต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงคนแถบชนบทได้ถึง 85 ล้านคนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมาก โดยหากรัฐบาลจีนทำแบบนี้ตั้งแต่แรกคงจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่านี้ และคงจะมีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 5,327 คน จากเหตุการณ์โรค SARS ในประเทศจีนทำให้เห็นว่ารัฐบาลในยุคนั้นมีอิทธิพลและมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร มีลักษณะเป็นรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่คุมทุกอย่างให้อยู่ภายใต้การกำหนดของรัฐบาล รวมถึงความพยายามที่จะพึ่งพาตนเองในการแก้ไขปัญหา ซึ่งขัดแย้งกับรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงในภาวะฉุกเฉินและภาวะวิกฤตที่ต้องมีการสื่อสารเป็นคนแรก การสื่อสารต้องถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ มีความรวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส่ และคำนึงถึงสาธารณชนเป็นหลัก
Reference
The University of Hong Kong (2006). RISK COMMUNICATION DURING THE SARS EPIDEMIC OF 2003 (Case studies of China, Hong Kong, Vietnam and Singapore)
I have been exploring for a bit for any high quality articles or weblog posts in this sort of house .
Exploring in Yahoo I ultimately stumbled upon this site.
Studying this information So i am satisfied to show that I’ve a very excellent uncanny feeling I discovered just what I needed.
I so much certainly will make sure to do not put out of
your mind this site and provides it a look on a relentless basis.