โรค SARS ในเวียดนามมีสาเหตุมาจากนักท่องเที่ยวจากเวียดนามไปพักที่โรงแรมในฮ่องกง และกลับมาพักรักษาตัวที่โรงแรมในเมืองฮานอย และอาทิตย์ต่อมาก็มีการระบาดไปยังผู้ป่วย พยาบาล หมอ ผู้ที่มาเยี่ยม ทั่วทั้งโรงพยาบาล และระบาดหนักถึงขั้นรุนแรงในช่วง 5 อาทิตย์แรก มีผู้ติดเชื้อจำนวน 63 คน และเสียชีวิต 5 คน โดย 80% เป็นผู้ติดเชื้อใน 8 เขตของเมืองฮานอย ที่เหลือมาจากเขตอื่นๆ ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุขและผู้ป่วยที่อยู่ตามสถานพยาบาล การจัดการกับปัญหาโรค SARS ในเวียดนามถือเป็นเคสที่ประสบความสำเร็จ เพราะเมื่อองค์การอนามัยโลกประกาศถึงความร้ายแรงของโรคนี้ ทางเวียดนามก็เตรียมการรับมือกับปัญหานี้โดยทันที
การปกครองของเวียดนามและจีนมีความคล้ายคลึงกันที่ปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ แต่แตกต่างกันที่เวียดนามสามารถพูดเกี่ยวกับเรื่องโรคร้ายแรงได้ และยังสามารถทำงานร่วมกันหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับโรค SARS ได้ ข่าวเรื่องโรค SARS ครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม 2003 สองวันหลังจากการประชุมเกี่ยวกับโรค SARS กับองค์การอนามัยโลก และในวันที่ 13 มีนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเกี่ยวกับ SARS ซึ่งถูกระบุว่าไม่ทราบแหล่งที่มาของโรค และในวันที่ 14 มีนาคม ก็ได้มีการออกข่าวทางโทรทัศน์ว่าได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องโรคเพื่อจัดการกับโรคนี้อย่างจริงจัง นับเป็นความท้าทายอย่างสูงสุดของรัฐบาลในการตอบโต้เรื่องโรค SARS ด้วยการดึงกระทรวงต่างๆเข้ามาจัดการอย่างแท้จริง
การสื่อสารและตอบสนองต่อโรค
กระทรวงสาธารณสุขประเทศเวียดนาม เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสื่อสารความเสี่ยงเกี่ยวกับโรค SARS โดยได้มีการจัดตั้งทีมบริหารจัดการโรค SARS ขึ้นภายใต้การสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนเพื่อป้องกันและควบคุมโรค SARS ประจำชาติ ใน 61 จังหวัดของประเทศ เวียดนามนับว่าเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการเรื่องการสื่อสารความเสี่ยงและการจัดการเกี่ยวกับโรคที่ดี โดยมีการจัดตั้งแผนการป้องกัน แผนการรักษาอยู่แล้ว และได้ถูกนำมาใช้ในกรณีของโรค SARS อีกทั้งยังมีการวางตัว Spokesperson ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงทั้งชายและหญิง ที่เป็นคนให้ข่าวทั้งในหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ รวมถึงการแถลงข่าวในประเด็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค SARS
คณะทำงานได้จัดแถลงข่าวย่อยทุกๆ 4 โมงเย็นของทุกวัน พร้อมตอบคำถามสื่อมวลชนทุกเวลา โดยสื่อในประเทศเวียดนามถูกควบคุมโดยรัฐบาลที่มีสำนักข่าวเวียดนามและหนังสือพิมพ์นันดัง เป็นสื่อหลักในการเผยแพร่ข่าวสาร รัฐบาลเวียดนามใช้สื่อโทรทัศน์และวิทยุเป็นสื่อหลักในการสื่อสารเรื่องโรค SARS สำหรับ Spot โทรทัศน์นั้นมีการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและวิธีป้องกัน ซึ่งออกอากาศวันละหลายครั้ง ส่วนหนังสือพิมพ์ก็มีลักษณะข่าวสารที่เหมือนกันกับโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังมีการใช้วิทยุ แผ่นพับ หนังสือเล่มเล็กๆ ในการถ่ายทอดความรู้และการป้องกันโรค SARS อีกด้วย
สิ่งที่เหมือนกับประเทศจีนอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การใช้ผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ละดับประเทศไปสู่ระดับภูมิภาค มีการใช้ประชาชนและอาสาสมัครที่เป็นเยาวชนรวมถึงทหารเป็นกระบอกเสียงในกระจายข้อมูลเกี่ยวกับโรค SARS
การสื่อสารของเวียดนามนั้นเน้นที่ความรวดเร็วในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค SARS สู่สาธารณชน แม้ว่าข้อมูลข่าวสารในช่วงแรกจะยังไม่ถูกต้องทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การบอกประชาชนว่าเป็นไข้หวัดไวรัส B ซึ่งอันที่จริงควรจะมีการตรวจสอบก่อน แต่ความรวดเร็วก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสื่อสารภาวะความเสี่ยง
Reference
The University of Hong Kong (2006). RISK COMMUNICATION DURING THE SARS EPIDEMIC OF 2003 (Case studies of China, Hong Kong, Vietnam and Singapore)