Google Work From Home
BUSINESS CASE STUDY
International

Google ประกาศแนวทางการทำงานแบบ “ไฮบริด” เข้าออฟฟิศสัปดาห์ละ 3 วัน อีก 2 วันทำงานจากที่บ้าน หรือจะเลือกทำงานแบบรีโมท ไม่เข้าออฟฟิศอีกเลยก็ได้

ในปี 2020 ที่ผ่านมา Google เป็นบริษัทที่เรียกได้ว่าสามารถปรับตัวเข้าสู่การทำงานในรูปแบบใหม่ ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดได้เป็นอย่างดี โดยประกาศให้พนักงานสามารถ Work From Home ได้จนถึงเดือนกรกฎาคม 2021 นี้ รวมถึง Sundar Pichai ซึ่งเป็น CEO ของ Google ก็เคยพูดถึงแนวโน้มที่ Google จะให้พนักงานทำงานแบบไฮบริดมาก่อนหน้านี้เช่นกัน

  • “การทำงานแบบไฮบริด” คืออะไร ทำไมจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการทำงาน
  • ผลสำรวจเผย มนุษย์เงินเดือนสหรัฐฯ ครึ่งหนึ่งยอมลาออก หากบริษัทไม่ให้ทำงานแบบ “ไฮบริด”

เมื่อปีที่แล้ว Google เคยทำการสำรวจความคิดเห็นภายในของพนักงานเกี่ยวกับการทำงานในออฟฟิศ พบว่า พนักงาน Google กว่า 62% ระบุว่า หากต้องกลับเข้ามาทำงานในออฟฟิศ ขอให้เป็นในบางโอกาสเท่านั้น ไม่ต้องการเข้ามาทำงานในออฟฟิศทุกวันเหมือนเดิม โดยเหตุผลในการเข้าออฟฟิศหลักๆ คือ ต้องการเข้ามาพบเพื่อนร่วมงาน เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการทำงาน และโปรเจ็คต่างๆ

ในปี 2021 นี้ Sundar Pichai ได้ส่งจดหมายถึงพนักงาน Google ทุกคน เพื่ออธิบายวิธีการทำงานแบบไฮบริดให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมระบุด้วยว่ากว่า 20 ปีที่ผ่านมา พนักงาน Google เข้าออฟฟิศเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งในคาเฟ่ รอบๆกระดานไวท์บอร์ด หรือแม้แต่ทำงานกันระหว่างเล่นกีฬาก็มี


เรียนรู้วิธีทำงานแบบ “ไฮบริด” ของ Google

ในจดหมายที่ Sundar Pichai ได้ส่งถึงพนักงาน Google ทุกคน ได้บอกถึงรายละเอียดการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งพนักงานจะได้รับอิสระในการทำงานมากกว่าการทำงานแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคยกัน

ตั้งแต่การทำงานที่เข้าออฟฟิศเพียง 3 วันต่อสัปดาห์ อีก 2 วันที่เหลือ พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้าน หรือจะทำงานจากที่ไหนก็ได้ที่พนักงานคิดว่าจะทำงานได้ดีที่สุด โดยออฟฟิศจะให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม Sundar Pichai อธิบายว่า งานบางประเภทก็อาจต้องเข้าออฟฟิศมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานนั้น

  • Google ประหยัดเงินนับพันล้านเหรียญ จากการให้พนักงาน Work From Home ช่วงโควิด-19 ระบาด

เลือกออฟฟิศได้ตามใจ อยากย้ายไปทำงานที่ออฟฟิศอื่นก็ได้

นอกจากจะเข้าทำงานที่ออฟฟิศเพียง 3 วัน และอีก 2 วันทำงานจากที่ไหนก็ได้ Google ยังอนุญาตให้พนักงานย้ายสถานที่ทำงานได้ตามสะดวก จะย้ายไปทำงานในออฟฟิศอื่นๆ ของ Google ก็ได้ หากมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการทำงานรองรับไว้แล้ว โดยจะต้องมีกระบวนการขออนุญาตก่อนล่วงหน้า


ทำงานแบบรีโมท 100% ไม่ต้องเข้าออฟฟิศอีกต่อไป

หลังจากนี้ Google จะอนุญาตให้พนักงานบางส่วนเลือกสมัครทำงานแบบรีโมท 100% คือ ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศอีกต่อไป เฉพาะบางสายงานที่สามารถทำได้ หรือหากพนักงานต้องการย้ายสถานที่การทำงานไปอยู่ที่อื่น ซึ่งไกลจากทีม หัวหน้าก็จะต้องประเมินก่อนว่าการทำงานแบบรีโมทจะสนับสนุนการทำงาน และเป้าหมายของทีมได้หรือไม่

นอกจากนี้ เงินค่าตอบแทนของพนักงานที่ตัดสินใจทำงานแบบรีโมท และย้ายสถานที่ออกไปอยู่ที่อื่น ก็จะต้องมีการปรับให้มีความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานที่การทำงานด้วยเช่นกัน

ด้วยรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ที่พนักงานสามารถเข้าออฟฟิศเพียง 3 วัน วันอื่นๆ ทำงานแบบรีโมท หรือพนักงานบางคนเลือกที่จะทำงานแบบรีโมท 100% (ถ้าทำได้) ทำให้ Google คาดการณ์ว่า จะเหลือพนักงานที่เข้าออฟฟิศบางวันเพียง 60% ย้ายไปทำงานที่ออฟฟิศอื่นๆ ของ Google อีก 20% ส่วนอีก 20% เป็นคนที่ทำงานจากที่บ้าน


การทำงานที่ให้ความอิสระสูง วางแผนเที่ยว-ทำงานได้พร้อมกัน

พนักงานคนใดที่ยังต้องการเข้าออฟฟิศ ทำงานตามปกติ แต่ก็ยังอยากมีช่วงเวลาที่ไปเที่ยวระยะยาวโดยทำงานไปด้วยพร้อมกันได้ Google ก็มีทางออกเช่นเดียวกัน เพราะ Google อนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้นานสูงสุด 4 สัปดาห์ต่อปี เหมาะสำหรับพนักงานที่อยากวางแผนเดินทางท่องเที่ยวในที่ต่างๆ โดยทำงานไปด้วยพร้อมกัน

นอกเหนือจากวิธีการทำงานที่ให้อิสระกับการทำงานแล้ว Google ยังมีวันพักผ่อนประจำปีของบริษัท ที่เรียกว่า Reset Days อีกด้วย เพื่อให้พนักงานได้ชาร์จพลังในช่วงที่เกิดสถานการณ์โรคระบาด ซึ่งในปีนี้ Reset Days จะตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคมนี้


Source:
https://brandinside.asia/google-hybrid-work/?fbclid=IwAR2MilK2v_9IDB4tnSzLZz4d2NDZ9nT3ltWVKLw1_M5zKxU–EGl4jYVZBY

Share to friends


Related Posts

Case Study : กลยุทธ์การตลาดของ Google

Google เป็น Search Engine อันดับหนึ่งของโลกที่จัดอยู่ในธุรกิจประเภทเทคโนโลยี นับเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกเป็นอันดับที่ 2 จากการจัดอันดับโดย Forbes ในปี 2019 ซึ่งมีมูลค่ากว่า 207.5 พันล้านเหรียญ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีสาขามากกว่า 70 สาขา ใน 40 ประเทศทั่วโลก


Case Study : กลยุทธ์การตลาดของ Netflix

Netfilx ก่อตั้งขึนเมื่อปี 1997 โดย Reed Hastings และ Marc Randolph ซึ่งเป็นแบรนด์จากแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ณ ปัจจุบัน Netflix นั้นเปิดใช้งานกว่า 190 ประเทศทั่วโลกโดยมีผู้สมัครเป็นสมาชิกมากกว่า 80 ล้านคน และกลายเป็นผู้นำด้าน Streaming ที่ใหญ่ที่สุดโดยมีทั้งวีดิโอ หนังภาพยนต์ และทีวีซีรี่ย์อีกมากมาย


Case Study: Pepsi Max สร้าง Viral ด้วยสัตว์ประหลาดในกระจก

ในปี 2014 Pepsi Max สร้างความสร้าง Viral แคมเปญวันฮาโลวีนกับคนที่เข้าไปดูหนังในโรงหนัง Odeon Bayswater กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ด้วยการใส่สัตว์ประหลาดไว้ในกระจกห้องน้ำ ซึ่งนับเป็นการนำเอาเทคโนโลยีเสมือนจริงประเภท AR (Augmented Reality) มาใช้และได้สร้างความช็อคให้กับคนที่เข้าห้องน้ำเวลาส่องกระจกจนกลายเป็น Viral ได้อย่างรวดเร็ว


Case Study: Whiskas เปิดตัวโรงเรียนน้องแมวผ่าน YouTube

Whiskas ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อน้องแมวต้องการขยายตลาดอาหารแมวให้กว้างมากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้าง YouTube โรงเรียนลูกแมว (Kitten Kollage) โดยออกเป็นซีรีย์หลายตอนจนสร้างให้เกิดการจดจำในแบรนด์ Whiskas มากขึ้นถึง 47% และยอดผู้ชมกว่า 39 ล้านวิว



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์