เทคนิคการพูด Speech ให้ได้ใจผู้ฟัง

ทักษะการพูดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆในการนำเสนองานในรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดแบบ Speech หรือคำกล่าวปราศรัยหรืออาจเรียกว่าสุนทรพจน์ ซึ่งเรามักจะเห็นในหลายๆโอกาส เช่น การกล่าวปราศรัยเวลาจะมีการเลือกตั้ง การกล่าวปราศรัยในงานเปิดนิทรรศการ การกล่าวปราศรัยในงานประชุมระดับชาติ ซึ่งเป็นการพูดในที่สาธารณะ (Hyde Park) หรืออาจจะเป็นการกล่าวปราศรัยในระดับเล็กๆที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ เช่น การพูดต่อหน้าพนักงานในการให้นโยบายหรืออัพเดทข้อมูลข่าวสารองค์กร การถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆให้พนักงานฟัง หรืออาจจะเป็นการพูดเพื่อกระตุ้นให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน (Pep Talk) ซึ่งการกล่าวปราศรัยในโอกาสต่างๆจะประสบความสำเร็จได้ก็ขึ้นอยู่กับการดึงความสนใจของผู้ฟังให้คล้อยตามและหยุดอยู่ที่ตัวผู้พูด (Presenter) ด้วยทักษะการสื่อสารและการพูดที่ดีนั่นเอง

ในบทความนี้ผมจึงอยากจะเน้นไปที่รูปแบบ Speech ในลักษณะของการพูดเชิงโน้มน้าวใจ (Persuasive) ให้เกิดการคล้อยตามซึ่งมันก็มีเทคนิคอยู่ด้วยกัน 10 ข้อครับ

What's next?

1. ยืดอกรับว่าเราเองก็มีปัญหาเหมือนกันนะ

การเริ่มต้นพูดอะไรในครั้งแรกๆมันมักจะยากเสมอครับ และหลายๆครั้งการเริ่มต้นด้วยปัญหาของตัวผู้พูดเองนั้นก็สามารถละลายหัวใจผู้ฟังให้เปิดรับในสิ่งที่คุณกำลังพูดอยู่ได้อย่างน่าประหลาดใจ แม้ว่าคุณจะอยู่ในตำแหน่งที่หลายๆคนคิดว่าเก่งในระดับที่พูดต่อหน้าหลายๆคนได้ แต่การที่เล่าถึงปัญหาที่คุณมีหรือกำลังเผชิญอยู่แล้วเชื่อมให้เข้ากับเนื้อหาที่คุณเตรียมมาให้ตรงประเด็นจะทำให้ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ดีมากยิ่งขึ้น

2. เปิดตัวด้วย Speech ที่น่าประทับใจ

การดึงผู้ฟังให้สนใจตั้งแต่เริ่มต้นถือเป็นสิ่งควรทำในการพูดไม่ว่าจะในที่สาธารณะหรือในบรรยากาศแบบปิดครับ คุณควรเริ่มพูดอะไรที่น่าสนใจและดูน่าตื่นเต้นโดยอาจเริ่มต้นด้วยสถิติต่างๆ การตั้งคำถาม การประกาศ หรือใช้คำพูดพวก Quote คำคมแรงบันดาลใจมาใช้ดึงผู้ฟังให้ติดตาม อย่างเพิ่งยิงเข้าไปในเนื้อหาแบบตรงๆเพราะมันอาจทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรครับ

เปิดตัวด้วย Speech ที่น่าประทับใจ (Great Opening Speech)

3. จัดระเบียบ Presentation ให้ดี

หลายๆครั้งที่การพูดหรือนำเสนอนั้นต้องมีการทำ Presentation เพื่อให้ความรู้หรืออธิบายให้ผู้ฟังเห็นภาพที่ชัดเจน ซึ่งควรเตรียมข้อมูลอย่างเป็นลำดับให้ง่ายต่อการนำเสนอตั้งแต่ช่วงเปิด (Opening) ช่วงที่เป็นเนื้อหา (Body) และช่วงปิดท้าย (Closing) และประเด็นที่คุณนำเสนอนั้นก็ควรมีอย่างน้อย 3 ประเด็น ไม่ควรมีมากกว่าหรือน้อยไปกว่านั้นเพราะอาจทำให้ผู้ฟังจดจำทั้งหมดไม่ได้หรือจบการพูดเร็วเกินไป ซึ่งการนำภาพมาใช้ประกอบก็จะช่วยให้ผู้ฟังสนใจในตัวคุณได้มากกว่าเดิม

4. ดูแลตัวเองให้ดีอยู่เสมอ

เป็นเรื่องปกติครับที่คุณต้องเตรียมความพร้อมอยู่เสมอแต่บางครั้งรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก็ทำให้การนำเสนอหรือการพูดของคุณนั้นสะดุดและไม่ไหลลื่นได้หรืออาจไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง ดังนั้นลองสำรวจตัวเองดูว่าคุณได้พักผ่อนเพียงพอไหม รับประทานอาหารเพียงพอไหม เตรียมน้ำดื่มเอาไว้ในช่วงการนำเสนอหรือไม่ การแต่งกายเป็นอย่างไร อุณหภูมิในห้องนั้นก็มีผลต่อการพูดเช่นกัน รวมไปถึงการซ้อมเพื่อดูน้ำเสียงโทนเสียงของคุณว่าเบาไปดังไปหรือจะใช้โทนเสียงอย่างไรให้มันเหมาะสมกับผู้ฟัง

5. ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า

อย่าลืมว่าพื้นที่ทั้งหมดในวันที่คุณจะทำการ Speech ไม่ว่าจะเป็นสถานที่สาธารณะหรือตามห้องประชุมต่างๆ คุณก็คือเจ้าของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งมันก็เปรียบเสมือนบ้านของคุณนั่นเอง การที่คุณเป็นเจ้าภาพของงานก็หมายถึงคุณสามารถทำอะไรก็ได้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าบ้านที่ดีตั้งแต่การไปหน้าประตูสวัสดีผู้คนที่จะเข้าฟังคุณ การใช้พื้นที่บนเวทีให้เกิดประโยชน์ การพูดเพื่อดึงความสนใจสัก 1 นาทีก่อนเเริ่มนำเสนอ

6. เชื่อมโยงกับผู้ฟังให้ได้

หากคุณต้องการให้การพูดนำเสนอของคุณได้ผลดีและดึงผู้ฟังให้ได้ตลอดนั้น คุณก็ต้องเข้าไปในใจของผู้ฟังและพยายามดึงทุกทางให้ผู้ฟังรู้สึกว่ามันคุ้มค่าตั้งแต่วินาทีแรกที่พวกเขานั้นได้มาฟังคุณ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมโยงอันทรงพลังระหว่างตัวคุณเองและผู้ฟังให้ได้ คุณอาจเล่าเรื่องราวส่วนตัวแรงบันดาลใจความใฝ่ฝันหรือประสบการณ์ที่คุณผ่านมาเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์เหล่านี้

เชื่อมโยงกับผู้ฟังให้ได้ (Connect with your Audience)

7. Content is a King เสมอ

แม้ว่าคุณจะเตรียมพร้อมดีมากแค่ไหนก็ตามแต่ส่วนที่สำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้ คือ คอนเทนต์หรือเนื้อหาที่คุณเตรียมมาพูดหรือใช้ใน Presentation ซึ่งเนื้อหาในนั้นไม่ใช่ทำมาเพื่อตัวผู้พูดเองนะครับแต่ทำมาเพื่อผู้ฟัง ผู้ฟังอยากจะได้ยินและเห็นว่าอะไรที่จะทำให้พวกเขานั้นรู้สึกดีรู้สึกใช่มีผลโดยตรงกับสิ่งที่กำลังเฝ้ารอ บางครั้งผู้ฟังอยากเรียนรู้อะไรใหม่ๆ บางครั้งผู้ฟังอยากได้กำลังใจ บางครั้งผู้ฟังอยากได้คำแนะนำในการพัฒนาตัวเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้พูดที่ต้องทำการบ้านเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการฟังมากที่สุด

8. ใช้พลังของ Eye Contact

พยายามทำให้ตัวคุณเองเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดด้วยการใช้ Eye Contact กับผู้ฟังซึ่งมันจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า Speech หรือการนำเสนอครั้งนี้ได้ถูกทำมาเพื่อคุณคนเดียวเท่านั้น การพูดที่ดีไม่ใช่แค่เนื้อหาดีหรือ Presentation ดีอย่างเดียว แต่การใช้สายตาสบตากับผู้ฟังเป็นระยะๆ มันจะช่วยสนับสนุนสิ่งที่คุณพูดแบบจูงใจได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ใช้พลังของ Eye Contact (Eye Contact Speech)

9. กิริยาท่าทางก็สำคัญไม่แพ้กัน

พลังและการจัดระเบียบร่างกายสำคัญเสมอสำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่สื่อสารซึ่งทุกสายตาจะจดจ้องมาที่คุณ ดังนั้นกิริยาท่าทางของคุณจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฟังและตัวคุณเอง ผู้ฟังคงไม่อยากฟังใครก็ตามที่ดูหมดพลังในการพูด การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม ท่าทางบนเวทีที่ดูอ่อนปวกเปียก ซึ่งมันแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจครับ

10. ถาม Feedback ที่แท้จริงอยู่เสมอ

หลายๆครั้งผู้ฟังอาจเกรงใจเวลาคุณพูดและเพื่อเป็นการรักษาน้ำใจ จึงให้ความคิดเห็นว่าสิ่งที่คุณพูดนั้นดีเนื้อหาดีใช้เวลาเหมาะสม ซึ่งดูเผินๆแล้วเหมือนจะดูดีเหมือนว่าคุณจะประสบความสำเร็จกับสิ่งที่คุณถ่ายทอดออกไป แต่ในทางกลับกันคุณอาจไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริงซึ่งอาจทำให้คุณไม่ได้พัฒนาทักษะการพูดและการนำเสนอ เหมือนเป็นกับดักความสำเร็จที่อาจไม่ใช่ความแท้จริงก็ได้ครับ ดังนั้นคุณควรลองหาวิธีให้ได้มาซึ่งความคิดเห็นในเชิงลบเพื่อนำมาปรับปรุง จากสมาชิกหรือทีมงานที่สนิทๆดูบ้างก็ดีครับ

เช็ค Feedback อยู่เสมอ

เพียงแค่คุณลองทำตามเทคนิคทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมาทั้งหมด ผมเชื่อว่าการพูดในที่สาธารณะของคุณจะพัฒนาขึ้นไปอีกมากครับ


Share to friends


Related Posts

วิธีการสื่อสารแบบสร้างความสัมพันธ์อันดี

การสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทในทุกๆอย่างของชีวิตตั้งแต่การพูดคุย การซื้อสินค้า การทำธุรกิจ การนำเสนองาน ซึ่งมันถูกพัฒนาให้เป็นการสื่อสารแบบสร้างความสัมพันธ์ หรือ Relationship Communication ที่ช่วยให้ทุกๆการสื่อสารของคุณนั้นราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และผมมีวิธีที่จะช่วยให้การสื่อสารสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทั้ง 2 ฝ่าย


สร้าง Company Presentation เวลานำเสนองานให้โดนใจ

Company presentation หรือ โปรไฟล์ หรือ การนำเสนอผลงานของบริษัท นับเป็นสิ่งสำคัญของทุกๆองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ Powerpoint ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก หรือรูปแบบอื่นๆก็ตาม เวลาเราออกไปแนะนำบริษัทกับลูกค้า โปรไฟล์บริษัท เป็นเหมือนประวัติโดยย่อที่สรุปความเป็นมาเป็นไป เป้าหมาย ศักยภาพ


รู้จัก Context สำหรับการสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) ถือเป็นหนึ่งในแกนหลักสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้กิจกรรมทางการตลาดหรือการสร้างแบรนด์กลายเป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำสำหรับกลุ่มเป้าหมาย โดยหากแบรนด์หรือธุรกิจจะสื่อสารอะไรออกไปผ่านแคมเปญต่างๆก็จำเป็นต้องมีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาทางสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ โดยการสื่อสารในรูปแบบต่างๆนั้นก็ล้วนแล้วแต่ต้องให้ความสำคัญกับบริบท (Context)



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2023@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์