Two businessman are on negotiation process

การทำธุรกิจย่อมมีโอกาสพบเจอกับปัญหาบางอย่างที่ส่งผบกระทบต่อชื่อเสียงของธุรกิจ และอาจรวมไปถึงการเกิดภาวะวิกฤตบางอย่างที่อาจส่งผลกระทบทั้งต่อตัวธุรกิจและลูกค้ารวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อาทิ สินค้าที่ผลิตไม่ได้ตามมาตรฐาน การส่งมอบเกิดความล่าช้าหรือความเสียหาย พนักงานมีปัญหาที่ส่งผลต่อภาพรวมบริษัท และบางกรณีอาจรุนแรงไปถึงขั้นประท้วงจนทำให้เรื่องลุกลามบานปลาย ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถลดระดับความรุนแรงในเบื้องต้นได้ด้วยการเจรจาครับ โดยมีขั้นตอนการเจรจาหรือการต่อรองเพื่อให้ได้ประโยชน์กับทุกๆฝ่าย ดังนี้

Win-Win Negotiation Process Protocol

วางแผน (Planning)

ทุกขั้นตอนของการเจรจาต้องเริ่มวางแผนเป็นอันดับแรก โดยต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมในประเด็นต่างๆ อาทิ

  • การเข้าใจประเด็นปัญหา
  • ใครเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นปัญหา
  • สิ่งที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบรับรู้คืออะไร
  • กำหนดวัตถุประสงค์ของการเจรจา
  • ทำความรู้จักกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ และหาข้อมูลทั้งในอดีตรวมถึงปัจจุบัน
  • คาดการณ์ความต้องการของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ข้อแลกเปลี่ยนรวมถึงข้อมูลต่างๆ
  • ค้นหาแรงจูงใจด้านต่างๆของคู่เจรจา
  • กำหนดกลยุทธ์ในการเจรจาสื่อสารสำหรับประเด็นต่างๆ

เปิดการเจรจา (Opening)

หลังจากวางแผนเป็นอย่างดีและมีการทำการบ้านเพื่อรู้จักผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือคู่กรณีในการเจรจาแล้ว ก็ได้เวลาในการเริ่มเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ชี้แจงและอธิบายข้อเรียกร้องต่างๆที่ต้องการ ในฐานะของบริษัทนั้นต้องตั้งใจฟังและวิเคราะห์รวมถึงจับประเด็นให้ได้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้นมีความต้องการอะไร เพื่อหาจุดร่วมที่ลงตัวที่สุดที่ได้ผลดีกับทุกฝ่าย

หาความชัดเจน (Clarification)

เมื่อทุกฝ่ายต่างได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประเด็นปัญหาต่างๆร่วมกันแล้ว จะเริ่มเห็นจุดที่แต่ละฝ่ายนั้นมีความกังวลมีความสนใจที่ต้องการให้แก้ไข และขั้นตอนนี้ก็จำเป็นต้องนำเสนอแนวทางแก้ไขให้เป็นรูปธรรมที่มากขึ้น ทางออกของแต่ละปัญหาจะเป็นไปในรูปแบบไหนได้บ้าง แนวทางการเจรจาจะออกมาได้กี่แบบและแต่ละแบบจะได้ผลลัพธ์อย่างไร เพื่อให้ได้ผลที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่าย

การต่อรอง (Negotiation)

อาจจะไม่ใช่ทุกการเจรจาที่จะมีบทสรุปแบบราบรื่นได้เสมอ ดังนั้นจึงต้องมีการเจรจาต่อรองเพื่อหาทางออกร่วมกันเข้ามาในการลดระดับความไม่พอใจที่อาจเกิดขึ้น โดยจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่างๆ อาทิ

  • การไม่โต้แย้งในทันที ควรรับฟังอย่างอดทนและใช้สติอย่างมาก
  • พยายามหาทางเลือกที่สมเหตุสมผล อย่าเพิ่งปิดกั้นข้อเสนอต่างๆ
  • อาจจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่าง เพื่อให้ข้อตกลงนั้นบรรลุเป้าหมาย
  • จัดทำหรือจดบันทึกไว้ทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานในการเจรจา

จบการเจรจา (Closure & Implementation)

เมื่อปฏิบัติมาครบทุกขั้นตอนก็ได้เวลาการนำทุกๆอย่างที่ได้จากการเจรจามาวางแผนปฏิบัติจริง โดยต้องมีการสรุปผลการเจรจาและมอบหมายผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาในส่วนต่างๆ รวมทั้งการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่สามารถตรวจสอบได้


Photos by freepik – www.freepik.com

Share to friends


Related Posts

ขั้นตอนการทำ Communications Plan

การพัฒนาแผนการสื่อสารจะช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปยังคำพูด หรือเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารกับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย โดยการมีวิธีและแผนการสื่อสารที่ถูกต้องจะทำให้การสื่อสารของคุณมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


วิธีการทำ Communications Plan ภายในองค์กร

การสื่อสารภายในองค์กร (Internal Communications) ที่ดีจะช่วยสร้างประสิทธิภาพในการบริหารพนักงานภายในองค์กร และยังช่วยส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับพนักงาน


การสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Communication)

ในการทำธุรกิจนั้นทุกองค์กรล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น ที่อาจกระทบกับภาพลักษณ์ของตัวองค์กรเอง ซึ่งอาจสร้างผลกระทบไปถึงลูกค้า และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรทุกระดับ (Stakeholder) บางองค์กรอาจคิดว่าเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องเล็กๆ เป็นแค่เรื่องภายในองค์กร แต่ถ้าเกิดเรื่องเหล่านั้นไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างถูกวิธี ก็อาจลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์