การสื่อสารในภาวะการเกิดโรคระบาด (Pandemic Risk Communications)

ตามความหมายขององค์กรอนามัยโลก (WHO) คำว่า Pandemic คือ เชื้อโรคที่ระบาดไปทั่วโลกที่ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยมาจากรากศัพท์ภาษากรีก ที่แปลว่าผู้คนทั้งหมด เป็นศัพท์ที่ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อ เมื่อการระบาด หรือ epidemics ขยายวงออกไปในหลายประเทศ หรือหลายทวีปในเวลาพร้อมๆ กัน การประกาศภาวะโรคระบาดระดับโลก จะมีหลักการเบื้องต้นอยู่ 3 ประการ คือ 

  1. โรคสามารถก่อให้เกิดอาการป่วยจนถึงเสียชีวิต 
  2. มีการติดต่อระหว่างคนสู่คน 
  3. การแพร่ระบาดลุกลามไปทั่วโลก

ฉะนั้นในช่วงที่เกิดโรคระบาดถือว่าเป็นภาวะวิกฤต ที่จําเป็นต้องสื่อสารกับกลุ่มประชาชนให้ชัดเจนและรวดเร็วที่สุด จึงจําเป็นต้องกําหนดแนวทางไว้ ดังนี้

  1. ความเชื่อถือหรือความไว้วางใจ (Trust) เป้าหมายความสําเร็จของการสื่อสารระหว่างการระบาด คือ การติดต่อสื่อสารกับสาธารณชนในทางสร้างสรรค์ เกื้อกูล และด้วยความไว้วางใจ

  2. การประกาศที่รวดเร็ว (Announcing early) ตัวชี้วัดของความน่าเชื่อถือ คือ การจัดให้มีประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อเกิดการระบาด การสื่อสารในภาวการณ์ระบาด และที่สําคัญมากที่สุด ได้แก่ เวลาที่ให้ข่าวสารความตรงไปตรงมา และครอบคลุมอย่างกว้างขวาง จัดทําประกาศ ลดพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนเพื่อยับยั้งการระบาด

  3. ความโปร่งใส (Transparency) เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาในระหว่างการระบาดเพื่อก่อให้เกิดความเชื่อมั่น การสื่อสารต้องเปิดเผยเข้าใจง่ายมีความสมบูรณ์และถูกต้องตามความเป็นจริง

  4. สาธารณชน (The public) ประสิทธิผลของการสื่อสารคือการวิเคราะห์ความเข้าใจของสาธารณชน ปกติแล้วเป็นการยากที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อ และแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดความสําเร็จในการสื่อสารหากเกิดช่องว่างระหว่างผู้ให้ข่าวกับสาธารณชน นั่นคือ ต้องเข้าใจว่าสาธารณชนคิดอย่างไร

  5. การวางแผน (Planning) การวางแผนสื่อสารความเสี่ยงต้องมีความพร้อมก่อนการระบาด แผนงานสื่อสารการระบาดนับเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานบริหารจัดการการระบาด

ทั้งนี้ประเด็นสําคัญหลังจากเข้าใจในองค์ประกอบของสถานการณ์และระยะของการเกิดเหตุการณ์แล้ว การสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ต้องเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดการกับภาวะวิกฤต โดยให้ครอบคลุมถึงการกําหนดแผนการสื่อสาร ที่ประกอบด้วย ข้อมูลข่าวสาร การกําหนดช่องทางการเผยแพร่ข่าวสาร กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงผู้เผยแพร่ ซึ่งแผนการสื่อสารนี้จะต้องระบุผู้รับผิดชอบและรายละเอียดของหน้าที่รับผิดชอบ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและสภาพแวดล้อมในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น


ขอบคุณข้อมูลจาก
bangkokbiznews.com
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

Cover photo from labiotech.eu/crispr/crispr-technology-cure-disease

Share to friends


Related Posts

การบริหารจัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management)

ภาวะวิกฤตนั้น คือ สภาวะเหตุการณ์หรือสถานการณ์ชั่วคราวที่ไม่ได้คาดคิด มีความสับสน เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน สร้างให้เกิดความตื่นตระหนก ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นจะไม่ได้มีการเตรียมการเพื่อรับมือ โดยภาวะวิกฤตนั้นจะส่งให้เกิดผลเสียกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ซึ่งจะสร้างให้เกิดความกดดัน ภัยคุกคาม ผลกระทบทางลบต่อคนที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคคล องค์กร ตั้งแต่จำนวนเล็กน้อย


การสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Communication)

ในการทำธุรกิจนั้นทุกองค์กรล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น ที่อาจกระทบกับภาพลักษณ์ของตัวองค์กรเอง ซึ่งอาจสร้างผลกระทบไปถึงลูกค้า และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรทุกระดับ (Stakeholder) บางองค์กรอาจคิดว่าเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องเล็กๆ เป็นแค่เรื่องภายในองค์กร แต่ถ้าเกิดเรื่องเหล่านั้นไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างถูกวิธี ก็อาจลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์