กับดักสุดอันตรายของการทำ Digital Marketing (Digital Marketing Pitfalls)

จุดเด่นของการทำ Digital Marketing นั้นคือความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ที่ตรงจุดมีความชัดเจน การวัดผลที่แม่นยำและสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขแคมเปญต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และสำหรับใครที่เพิ่งจะก้าวเข้ามาสู่โลกของการทำ Digital Marketing ก็จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดหากลืมทำสิ่งเหล่านี้ โดยผมเรียกมันว่ากับดักสุดอันตรายของการทำ Digital Marketing ครับ


รวม 16 ข้อผิดพลาดของการทำ Digital Marketing

1. ไม่ทำ Blog บนเว็บไซต์ของคุณ

หนึ่งในการทำ SEO ให้มีประสิทธิภาพก็คือการที่คุณต้องมีเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่มากเพียงพอและมีคุณภาพ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการค้นหาผ่านคีย์เวิร์ดหรือคำค้นต่างๆซึ่งโดยปกติแล้วบนเว็บไซต์ทั่วๆไปจะมีเนื้อหาเพียงแค่ข้อมูลธุรกิจสินค้าและบริการเป็นหลักซึ่งอาจมีเนื้อหาไม่เพียงพอสำหรับ SEO ดังนั้นหากคุณวางแผนทำบล็อก (Blog) เพื่อเขียนคอนเทนต์ในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่คุณทำหรืออาจมีคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน มันจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เกิด Lead Generation เข้ามาที่เว็บไซต์ของคุณได้ดีอีกวิธีหนึ่ง

Blog post

2. Blog ไม่มีการอัพเดท

แม้ว่าการมีบล็อกนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีต่อการทำ SEO แล้วก็ตามแต่ข้อผิดพลาดของหลายๆธุรกิจก็คือ การไม่อัพเดทคอนเทนต์ใหม่ๆให้ทันสมัยอยู่เสมอโดยคุณอาจจะอัพเดทอาทิตย์ละครั้ง เพื่อให้เว็บไซต์คุณมีความเคลื่อนไหวบ้างเพราะอย่างน้อยมันทำให้คนที่ติดตามและสนใจในธุรกิจคุณยังอยู่กับคุณได้อีกในระยะยาว ที่คุณสามารถวัดผลจากการใช้ Google Analytics ดูว่ามีกี่คนที่เข้ามาอ่านบล็อกของคุณและใช้เวลานานมากน้อยเท่าไหร่ ซึ่งมันอาจส่งผลต่อการเข้าไปค้นหาข้อมูลอื่นๆบนเว็บไซต์ของคุณก็ได้

3. ลืมทำ Lead Capture

Lead Capture นั้นก็คือการสร้างให้เกิด Action หรือการกระทำต่างๆบนเว็บไซต์นั่นเองครับ ที่จะช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าของคุณไม่ว่าจะเป็นปุ่มให้กดทดลองใช้บริการ ปุ่มให้กดติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เบอร์โทรติดต่อ แบบฟอร์มสำหรับสอบถาม ซึ่งมันก็คือ Call-to-Action นั่นเองโดยหากคุณลืมให้ความสำคัญกับส่วนนี้คุณอาจจะสูญเสียลูกค้าไปแบบไม่มีวันกลับเลยก็ได้

4. ละเลยการใช้โซเชียลมีเดีย

โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลมากตั้งแต่ช่วงปี 2015 เป็นต้นมาและหลายๆธุรกิจนั้นยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันเท่าที่ควร และที่ผมหมายถึงนั่นก็คือการวางแผนการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียที่ไม่ใช่แค่การโพสต์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ แต่ต้องเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ที่ติดตามคุณรวมเพื่อนำมาวางแผนคอนเทนต์ที่เหมาะสม และบริหารจัดการเรื่องการพูดคุยสื่อสารรวมถึงตอบคำถามลูกค้าด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังปัญหาของลูกค้าหรือการทำคอนเทนต์ที่สร้างให้เกิด Engagement โดยมีสถิติว่าธุรกิจประเภท B2C กว่า 77% นั้นสามารถเพิ่มลูกค้าผ่านช่องทาง Facebook และกว่า 43% ของธุรกิจแบบ B2B สามารถเพิ่มลูกค้าผ่าน Facebook เลยทีเดียว

Social Media_1

5. ลืมกฎการคำนวณ ROI

สำหรับนักการตลาดหากลืมเรื่องของการคำนวณ ROI คงทำให้การวางแผน Digital Marketing นั้นผิดเพี้ยนจากเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งคุณจำเป็นต้องรู้ว่า ROI ของบริษัทคุณนั้นเป็นอย่างไรมีวิธีการคำนวณอย่างไร ในแต่ละเครื่องมือทางการตลาดจะสร้าง ROI ได้เท่าไรอย่างไรบ้าง ดังตัวอย่างสถิติข้อมูล ROI จาก Smart Insights ที่ระบุว่าการทำ Email Marketing นั้นสร้าง ROI ได้มากที่สุดโดยสร้างรายได้ประมาณ 40 เหรียญต่อค่าใช้จ่ายแค่เพียง 1 เหรียญเพียงเท่านั้น เมื่อเทียบกับการทำ SEO ที่สร้างรายได้เฉลี่ย 22.24 เหรียญ และ Mobile Marketing ที่ 10.51 เหรียญเพียงเท่านั้น

6. ขาดการ Follow up

ในโลกดิจิทัลนั้นความรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้าแบบ Real-time โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้เวลาในการสื่อสารกับลูกค้าภายในไม่เกิน 1 ชั่วโมงหากคุณใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียในการทำการตลาด ส่วนช่องทางอื่นๆเช่นการกรอกแบบฟอร์มติดต่อบนเว็บไซต์ก็ควรจะติดตามผลภายในวันนั้นๆเช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรด้วยแต่ต้องไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับการตอบสนองใดๆเลยหรือช้าเกินไป

Business woman trying to call customers

7. ไม่ใช้ Lead ที่ได้มาอย่างเต็มที่

บางครั้งคุณสามารถสร้าง Lead หรือลูกค้าได้จากแคมเปญการตลาดแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Lead ที่ได้มาเท่าที่ควร บ้างก็ปล่อยปละละเลยกับ Lead ที่ได้มา โดยสถิติกว่า 79% บอกว่า Lead ที่ได้มานั้นไม่สามารถเปลี่ยนเป็นลูกค้าหรือสร้างยอดขายได้ เพียงเพราะไม่มีการบริหารจัดการกับ Lead ได้อย่างเหมาะสม และบริษัทกว่า 65% ไม่มีแผนบริหารจัดการกับ Lead เพื่อเปลี่ยนเป็นยอดขายใดๆเลย ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจมากจริงๆ

8. สร้างความยากลำบากให้ทีมขาย

หน้าที่ของนักการตลาดคือการสร้าง Quality Lead หรือ คนที่มีแนวโน้มและโอกาสว่าจะเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าจริงให้กับทีมงานขาย แต่หลายๆครั้งนักการตลาดเองไม่ได้สกรีนหรือคัดกรอง Lead จากแคมเปญการตลาดที่ได้ตั้งไว้ และนั่นก็คือเหตุผลของการทำ Digital Marketing ที่ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยมีสถิติว่ากว่า 62% ที่นักการตลาดส่ง Lead ให้กับทีมขายแต่มีเพียง 27% เท่านั้นที่มีคุณภาพเพียงพอ

9. ไม่เข้าใจ Marketing และ Sales Funnel

ความเข้าใจพื้นฐานของ Digital Marketing คือการทำความเข้าใจ Funnel ให้ละเอียดและรู้ว่าการทำให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์หรือธุรกิจของคุณไปจนถึงการซื้อสินค้าหรือบริการนั้นต้องผ่านขั้นตอนใดบ้าง ซึ่งการขายสำหรับ B2B และ B2C นั้นก็มีความแตกต่างกันครับ โดยหากคุณเข้าใจ Funnel ของทั้ง Marketing และ Sales เป็นอย่างดีมันก็สามารถช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้มากกว่าเดิมถึง 20% เลยทีเดียว

ตัวอย่าง Marketing Funnel

MKT-funnel-1

ตัวอย่าง Sales Funnel

Sales Funnel Example_2

10. ไม่ใช้ Email Marketing เลย

การตลาดด้วยการส่งอีเมล์ (Email Marketing) ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จอย่างหนึ่งในการดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ โดยผลสำรวจจากนักการตลาดในหลากหลายธุรกิจกว่า 59% บอกว่า Email Marketing นั้นส่งผลดีต่อธุรกิจแบบ B2B ค่อนข้างมาก ดังนั้นหากคุณทำธุรกิจแบบ B2B ก็อย่ามองข้ามเป็นอันขาดครับ ส่วน B2C ก็ทำได้เช่นเดียวกันยิ่งคุณสามารถทำแบบ Personalized Marketing ได้ละก็จะยิ่งทำให้เกิดผลดีต่อยอดขายอย่างแน่นอน และการส่งอีเมล์นั้นก็ควรดูช่วงวันเวลาในการส่งด้วยนะครับ

11. ไม่ให้ความสำคัญกับมือถือ

มากกว่า 50% ที่คนมักค้นหาข้อมูลต่างๆผ่านโทรศัพท์มือถือและกว่า 80% ก็อ่านและเขียนอีเมล์ผ่านมือถือ และยิ่งเป็นการซื้อของออนไลน์แล้วละก็มือถือก็เป็นอุปกรณ์หลักในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่นิยมมากที่สุดเช่นกัน ดังนั้นการปรับข้อมูลแคมเปญทางการตลาดต่างๆก็ต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบให้สอดรับกับมือถือ และต้องสร้างประสบการณ์ดีๆให้ลูกค้าไม่ต้องโหลดข้อมูลนานเกินไป การอ่านรายละเอียดสินค้าต้องชัดเจน ปุ่ม Call-to-Action ใช้งานได้สะดวกง่ายและรวดเร็ว

Mobile Marketing

12. คอนเทนต์ไม่สอดคล้องกัน

ปัญหาของการตลาดอย่างหนึ่งก็คือการที่คุณไม่ได้ทำคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับตัวลูกค้าหรือความสนใจของลูกค้าเลย ซึ่งนั่นส่งผลให้เกิดการบอกผ่านการปิดกั้นไม่รับข้อมูลข่าวสารจากแบรนด์ของคุณ โดยเฉพาะเมื่อคุณส่ง Email Marketing ที่มักจะโดนยกเลิกการเป็นสมาชิกในการรับข่าวสารเพราะคุณส่งข้อมูลที่ไม่ตรงตามความต้องการจนอาจทำให้ลูกค้ารำคาญนั่นเอง

13. ไม่ทำการทดสอบหรือตรวจสอบอะไรเลย

ทุกครั้งที่คุณออกแบบสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเขียนคอนเทนต์หรือการทำภาพกราฟฟิก คุณอาจละเลยการตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงานก่อนส่งซึ่งหลายๆครั้งมันส่งผลเสียกับแบรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเงื่อนไขต่างๆและราคาเพราะมันคือเรื่องสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่ง นักการตลาดหลายๆคนก็ทำพลาดโดยการลืมทดสอบทั้งขนาด ตำแหน่ง หรือลิ้งค์ต่างๆว่ามันถูกต้องหรือไม่ซึ่งเมื่อมันถูกส่งไปหาลูกค้าแล้วมันก็ไม่มีโอกาสแก้ไขได้อีก ดังนั้นหมั่นตรวจสอบรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก่อนจะส่งแคมเปญผ่านช่องทางต่างๆจะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ไขภายหลังครับ

14. ไม่เข้าใจ Persona ลูกค้า

อีกหนึ่งความผิดพลาดของการทำ Digital Marketing คือบางครั้งคุณมักจะมโนหรือคิดไปเองว่าคนนั้นคนนี้คือลูกค้า แต่บางครั้งคุณอาจตัดสินจากความรู้สึกหรือสิ่งที่ได้เห็นแบบผิวเผินที่อาจดูเพียงแค่ เพศ อายุ รายได้ อาชีพ ภูมิลำเนา การศึกษา แต่ในยุคของการตลาดสมัยใหม่คุณต้องให้ความสำคัญกับคำว่า Persona ของลูกค้า ที่ลงรายละเอียดลึกลงไปถึงความชอบ ความรู้สึก ความท้าทาย เป้าหมายในชีวิต แรงบันดาลใจ ซึ่งมันทำให้คุณเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า และทำให้การทำ Digital Marketing ของคุณนั้นจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น

15. ไม่ให้ความสำคัญกับซอฟต์แวร์ด้าน Marketing Automation

เมื่อคุณต้องใช้เวลาในการคิดวางแผนสร้างสรรค์แคมเปญต่างๆ หากคุณทำทุกอย่างด้วยตัวเองแบบ Manual โดยไม่มีเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์จำพวก Marketing Automation ที่ช่วยให้งานของคุณง่ายขึ้นรวดเร็วขึ้นและยังประมวลผลวิเคราะห์การทำแคมเปญต่างๆได้ดีขึ้น ก็อาจทำให้การทำ Digital Marketing ของคุณสะดุดและการทำงานของทีมงานเบื้องหลังอาจต้องวุ่นวายกับงานเอกสารและขั้นตอนที่ยุ่งยาก โดยคุณอาจเริ่มต้นง่ายๆด้วยการหาโปรแกรมที่ใช้ส่ง Email Marketing Campaign มาใช้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ นอกจากนั้นก็ยังมี Social Media Automation, Customer Journey Automation, Pricing Automation, Advertising Automation ให้เลือกใช้ได้อีกหลายอย่าง

ซอฟต์แวร์พวก Marketing Automation

16. ไม่ยอมตั้งตัววัดผลที่เหมาะสม

ด้วยความเป็น Digital Marketing การวัดผลในสิ่งที่ทำไปนั้นเป็นส่วนสำคัญ เพราะมันจะมีผลต่อการนำเสนองบประมาณเพื่อใช้กับแผน Digital Marketing ทั้งหมด โดยตัววัดผลนั้นก็เป็นทั้งตัววัดผลที่ตอบวัตถุประสงค์ว่าไปถึงเป้าหมายมากน้อยเพียงใด รวมถึงค่าใช้จ่ายต่อการได้มาซึ่งลูกค้าในแต่ละวิธีที่ใช้โปรโมทแคมเปญด้วยเช่นกัน ในทุกๆการทำแคมเปญต้องไม่ลืมระบุเป้าหมายและตัวชี้วัดให้ชัดเจนไม่เช่นนั้นคุณจะเสียงบประมาณที่มากเกินไปโดยใช่เหตุ

เห็นไหมครับว่าการทำ Digital Marketing นั้นมันมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่หลายๆคนอาจมองข้ามหรือไม่ได้ใส่ใจมันเท่าที่ควร แต่รายละเอียดเล็กๆเหล่านี้มันสามารถสร้างความแตกต่างให้กับทีมการตลาดในการวางแผน Digital Marketing Campaign ให้ได้ออกมามีประสิทธิภาพและวัดผลได้ชัดเจนมากขึ้น ยังไงก็ลองนำไปปรับปรุงกับงานที่ตัวเองทำกันอยู่นะครับ


Share to friends


Related Posts

ประเภทของ Marketing Technology

Marketing Landscape นั้นได้ขยายตัวและมีการแพร่กระจายออกเป็นวงกว้างมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ที่เต็มไปด้วยเครื่องมือและเทคนิคต่างๆอย่างมากมายนับไม่ถ้วนครับ และได้มีการแบ่งออกเป็น 7 ประเภท สำหรับธุรกิจที่ควรนำมาปรับใช้เพื่อให้การตลาดของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด


ตัววัดผล Social Media สำคัญที่นักการตลาดต้องรู้

Social Media นับเป็นช่องทางการทำการตลาดที่ค่อนข้างใหม่สำหรับนักการตลาด ที่ต่างจากสื่อดั้งเดิมที่เคยมีมาในอดีต มันมีความสลับซับซ้อนที่มากกว่า เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า สร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมได้มากกว่า สร้างให้เกิดการบอกต่ออย่างรวดเร็วได้มากกว่าหลายๆสื่อ


วิธีวัดผล KPI บนโลกโซเชียล มีเดีย

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มีใครรู้จักโซเชียล มีเดีย แทบจะไม่มีบริษัทไหนที่ไม่มีโซเชียล มีเดียเป็นของตัวเอง และทุกๆบริษัทรวมถึงคนทั่วๆไปที่ทำธุรกิจส่วนตัว ก็ล้วนแต่ใช้โซเชียล มีเดียในการทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ด้านต่างๆ และคำถามที่มักเกิดขึ้นเสมอ


ตัววัดผลการทำ Digital PR

เมื่อในอดีตนั้นการทำ PR หรือประชาสัมพันธ์เรามักจะไม่สามารถวัดผลได้อย่างมีคุณภาพมากนัก แต่ด้วยยุคดิจิทัลที่เข้ามาทำให้การทำ PR นั้นปรับเปลี่ยนไปสู่การทำ Digital PR ที่สามารถตั้งเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและมีการวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมันมีเครื่องมือหลายอย่างที่ช่วยให้การทำ PR นั้นเข้าเป้าและวัดผลได้ดีมากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด โดยมันก็มีตัววัดผลในการทำ Digital PR แบบหลักๆอยู่ 5 ข้อด้วยกัน



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์