เมื่อวันก่อนผมได้มีโอกาสไปสอนเรื่อง Creative Content Marketing: Zero to Hero รุ่นที่ 1 ซึ่งเป็น Public Training ที่จัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และก็มีหลากหลายประเภทธุรกิจเข้าอบรมทั้งธุรกิจแบบ B2C และ B2B โดยมีคำถามน่าสนใจเกิดขึ้นเกี่ยวกับการวางกลยุทธ์การใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) สำหรับธุรกิจ B2B ว่าจะทำอย่างไรให้การวางกลยุทธ์นั้นถูกต้องเหมาะสม เพราะเมื่อเทียบกับธุรกิจประเภท B2C ที่มีการสร้าง Engagement หรือการมีส่วนร่วมระหว่างเพจกับกลุ่มผู้ติดตามค่อนข้างจะมากกว่า B2B (ซึ่งนั่นก็ดูเป็นเรื่องปกติครับเพราะหนึ่งในปัจจัยที่สร้างให้เกิด Engagement ก็คือธรรมชาติของประเภทธุรกิจ และความน่าสนใจของสินค้าหรือบริการ รวมถึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายด้วยเช่นกัน)
ธุรกิจประเภท B2B จึงอาจต้องมีการวิเคราะห์รายละเอียดที่ลงลึกไปมากกว่า B2C เสียหน่อย เพื่อที่จะดูว่าหากจำเป็นต้องวางกลยุทธ์การใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ตอบโจทย์เป้าหมายทางการตลาด โดยหากคุณสามารถการวางกลยุทธ์การใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) กับธุรกิจประเภท B2B ได้อย่างเหมาะสม มีเป้าหมายชัดเจน และรู้ว่าจะวัดผลในมิติไหนบ้าง ก็จะทำให้วัตถุประสงค์ทางการตลาดและการของคุณประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ และบทความนี้จะชวนให้ผู้อ่านมาคิดวางแผนในเชิงกลยุทธ์กันครับ โดยเราจะมาเริ่มกันที่ Social Media Strategy Framework กันก่อนครับ
เข้าใจคำว่า Social Media Strategy Framework
อันที่จริง Strategy Framework ของ Social Media ทั้งแบบ B2B และ B2C ก็ไม่แตกต่างกันครับ ซึ่งจะกอบไปด้วย Why & What, Who & How โดยคุณในฐานะนักการตลาดและหากต้องการทำการตลาดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) ก็จำเป็นต้องยึดและทำความเข้าใจ Framework นี้เอาไว้อยู่ตลอด โดยที่
- Why ก็คือ การเข้าใจถึงเหตุผลของการมีอยู่ของธุรกิจคุณ (ทำไมถึงต้องใช้สินค้าหรือบริการของคุณ)
- What ก็คือ การเข้าใจเป้าหมายทางการตลาด (อยากจะให้เกิดอะไรขึ้นกับแบรนด์ / ธุรกิจ / ลูกค้าของคุณ)
- Who ก็คือ การเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย (ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง พวกเขาต้องการอะไร และอะไรส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขา)
- Channel ก็คือ การเข้าใจการเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (การเลือกช่องทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) ที่สร้างผลลัพธ์ดีๆให้กับธุรกิจ)
- Content Strategy ก็คือ การเข้าใจวิธีการสร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์และคุณค่ากับกลุ่มเป้าหมาย
- Amplification ก็คือ การเข้าใจถึงความสนใจและความชื่นชอบในโพสต์นั้นๆ (โดยส่งผลถึงการคอมเม้นท์ การแบ่งปัน การบอกต่อ)
- Execution & Analysis ก็คือ การเข้าใจถึงกระบวนการรวมถึงเครื่องมือและตัววัดต่างๆ
หากขยายความจาก Framework ข้างต้นก็จะออกมาในลักษณะที่ผมกำลังจะอธิบายนี้ โดยขอเริ่มที่การระบุเป้าหมายของการทำการตลาดครับ (อาจจะไม่ได้ลงเจาะลึกไปในเรื่องของรายละเอียดมากนักนะครับ)
ระบุเป้าหมายการทำ Social Media สำหรับธุรกิจ B2B
เมื่อคุณรู้แล้วว่าคุณมีของดีอะไรที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าในตลาดได้ โดยทุกๆครั้งเวลาจะทำธุรกิจอันดับแรกก็จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนก่อนว่าคุณมีเป้าหมายอะไร เพื่อที่จะรู้ว่าต้องทำอย่างไรเพื่อไปถึงเป้าหมายเหล่านั้นอยู่เสมอ โดยเป้าหมายสำหรับการวางกลยุทธ์ผ่านช่องทางบนโซเชียลมีเดีย (Social Media) นั้น ก็แยกย่อยออกมาได้อีกหลายอย่าง เช่น
- เป้าหมายด้านการตลาด (Marketing Goal) เช่น สร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้ 10,000 คน
- เป้าหมายด้านการขาย (Sales Goal) เช่น เปลี่ยนเป็นยอดขาย / ยอดจองให้ได้ 100 คน
- เป้าหมายด้านความสำเร็จของลูกค้า (Customer Success) เช่น การตอบสนองจากลูกค้า 100 คน
- หรือ เป้าหมายด้านการได้มาซึ่งการเปิดรับพนักงาน (Talent Attraction) เช่น หาคนสมัครงานให้ได้ 20 คน
โดยปกติแล้วการวางกลยุทธ์ก็จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องของ Marketing Funnel รวมถึงการเดินทางของลูกค้า (Customer Journey) ด้วยนะครับ เช่น
โดยปกติ Marketing Funnel จะเริ่มตั้งแต่
- Awareness การรับรู้ในแบรนด์ / ธุรกิจ / หรือรับรู้ว่ามีสินค้าหรือบริการใดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้บ้าง
- Interest เริ่มสนใจที่จะหาสินค้าหรือบริการมาช่วยแก้ไขปัญหา
- Consideration เริ่มเข้าสู่การพิจารณาเริ่มมีการเปรียบเทียบข้อมูล ก่อนจะหันมาซื้อสินค้าหรือบริการ
- Intent กลุ่มเป้าหมายมีความตั้งใจจะซื้อสินค้าหรือบริการ
- Evaluation เป็นการประมวลผลครั้งสุดท้ายก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ
- Purchase ซื้อสินค้าหรือบริการเป็นที่เรียบร้อย
หากเป็น การเดินทางของลูกค้า (Customer Journey) ของธุรกิจประเภท B2B จะมีลักษณะดังนี้
- Problem ลูกค้าตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
- Awareness ลูกค้ารับรู้ว่ามีสินค้าหรือบริการที่แก้ปัญหาได้
- Research ค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจ
- Testing ทดลองใช้สินค้าหรือบริการต่างๆก่อนการตัดสินใจ
- Pricing & Negotiation เจรจาต่อรองด้านราคาเพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุด
- Stakeholder Management นำเสนอกับทีมผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจ
- Purchase ซื้อสินค้าหรือบริการเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อผสมผสานการตั้งเป้าหมายและการเข้าใจใน Marketing Funnel และ การเดินทางของลูกค้า (Customer Journey) ผมขอสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นโดยออกมาเป็น 3 เป้าหมายหลักในการวางกลยุทธ์บนโซเชียลมีเดีย (Social Media) ซึ่งได้แก่ 1. เป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness) 2. เป้าหมายเพื่อสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วม (Engagement) 3. การสร้างโอกาสให้เกิดการซื้อสินค้า และการเปลี่ยนแปลงไปสู่การกระทำบางอย่าง (Lead Generation & Conversions) ซึ่งอาจจะเป็นยอดขาย การกดลิ้งค์ดาวน์โหลด การเข้ามาพูดคุยกับทีมงาน ดังนี้
1. สร้างการรับรู้ (Awareness)
การสร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์หรือธุรกิจว่าคุณเป็นใคร มีสินค้าหรือบริการอะไรที่แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ ถือเป็นขั้นตอนแรกโดยเฉพาะเมื่อคุณจะเริ่มทำธุรกิจใหม่ เพราะหากไม่มีใครรู้จักคุณก็คงไม่สามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการและปูทางเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ โดยการสร้างการรับรู้ก็มีอยู่หลากหลายอย่าง เช่น
- สร้างการรับรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ๆ
- ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ๆ
- ดึงดูดให้ลูกค้าเห็นถึงรายละเอียดที่น่าสนใจที่มากยิ่งขึ้นของสินค้าหรือบริการ
- สร้างการรับรู้ในทีมผู้บริหารที่ส่งผลต่อความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ
- แนะนำหรือบอกเล่าเรื่องราว / โครงการต่างๆของธุรกิจ
และตัวชี้วัด (Metrics) เบื้องต้นหลักๆที่เหมาะสมสำหรับการวัดผลการสร้างการรับรู้ (Awareness) บนโซเชียลมีเดีย (Social Media) ก็ได้แก่
- การพูดถึง (Mentions) หรือจำนวนตัวเลขที่สินค้า / บริการ หรือชื่อแบรนด์ / ชื่อธุรกิจถูกพูดถึงบนช่องทางโซเชียลมีเดีย (Social Media)
- ปริมาณการค้นหา (Brand Search Volume) หรือจำนวนครั้งที่คนค้นหาคุณบนผ่าน Google ด้วย Keyword ที่มีชื่อแบรนด์ / ชื่อธุรกิจของคุณ โดยจะถูกนับก็ต่อเมื่อมีการค้นหาและคลิกเพื่อเข้าไปหน้าเว็บไซต์นั้นๆ
- การเข้าถึง (Reach) หรือจำนวนรวมทั้งหมดของคนที่มองเห็นโพสต์บนโซเชียลมีเดีย (Social Media)
2. การมีส่วนร่วม (Engagement)
การมีส่วนร่วมต่างๆบนโซเชียลมีเดีย (Social Media) ถือเป็นหนึ่งตัวชี้วัด (Metrics) สำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คนมองเห็นคอนเทนต์ที่คุณโพสต์ และนั่นแสดงให้เห็นว่าโพสต์แต่ละโพสต์นั้นมีคุณภาพมากขนาดไหน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญบนโซเชียลมีเดีย (Social Media) มากที่สุดวิธีหนึ่งก็ว่าได้ แม้ว่าการมีส่วนร่วมสำหรับธุรกิจประเภท B2B นั้นอาจไม่ได้สร้างให้เกิดการเติบโตอย่างจริงๆจังๆแบบตรงๆที่นำไปสู่ยอดขายอย่างมากมายก็ตาม และมันก็มีตัวชี้วัด (Metrics) สำคัญๆดังนี้
- บทสนทนาที่เกิดขึ้น / อัตราการพูดถึง (Conversation / Comment Rate)
โดยปกติเราจะดูค่าเฉลี่ยของจำนวนที่คนมาคอมเม้นต์หรือมีการตอบสนองใดๆกับแต่ละโพสต์ เช่น การพูดคุยหรือสอบถาม หากโพสต์ใดสามารถเข้าถึงแบบ Organic Reach ได้ก็จะยิ่งได้คะแนนสูงมากขึ้นเท่านั้น นั่นแสดงให้เห็นว่าคอนเทนต์ในแต่ละโพสต์นั้นมีคุณภาพมาก และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้ติดตาม - ความชื่นชอบในตัวคุณ (Applause Rate)
ตัวเลขที่แสดงถึงการกดไลค์ (Like) ในแต่ละโพสต์ ถึงแม้ว่าตัวชี้วัดยอดไลค์ (Like) จะไม่เป็นที่นิยมมากนักแล้วก็ตาม แต่หากมองดูดีๆมันก็สามารถบ่งบอกถึงความชอบในสิ่งที่คุณโพสต์ได้อยู่บ้าง - ความสนใจ / อัตราการแชร์ (Amplification / Share Rate)
จำนวนตัวเลขของคนที่แชร์ต่อโพสต์ซึ่งนับเป็นตัวชี้วัดที่ทรงพลังมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะมันหมายถึงว่าคอนเทนต์บนโพสต์นั้นๆมีค่ามากพอที่จะแชร์ให้คนอื่นๆได้รับรู้ จนอาจกลายเป็นไวรัลหรือการบอกต่ออย่างมหาศาลได้ - การดู / ระยะเวลาการรับชมวีดิโอ (Video Views & Duration)
ตัวเลขชี้วัดการดูวีดิโอของคุณซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีกี่คนที่โดนวีดิโอของคุณสะกดไว้ในระยะเวลาเท่าไหร่บ้าง ยิ่งใช้เวลาดูนานหรือครบความยาวของวีดิโอก็ถือว่าดีครับ เพราะนั่นหมายถึงความน่าสนใจ แต่การทำวีดิโอคอนเทนต์ก็ควรดึงดูดให้ได้ภายใน 3-5 วินาทีแรกด้วยเช่นกัน - จำนวนการคลิกต่อโพสต์ (Clicks Per Post)
ตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าหัวข้อหรือสิ่งที่คุณเขียนนั้นมีความน่าสนใจมากพอจนมีคนกดเข้าไปดู (อาจเป็นการคลิกต่อไปยังช่องทางอื่นๆ เช่น กดลิงค์ไปยังเว็บไซต์ กดลิงค์ไปยัง YouTube หรือช่องทางอื่นๆ)
3. การสร้างโอกาสให้เกิดการซื้อสินค้า และการเปลี่ยนแปลงไปสู่การกระทำบางอย่าง (Lead Generation & Conversions)
Lead Generation หรือโอกาสการสร้างให้เกิดการซื้อสินค้า ที่นักการตลาดมักจะเรียกว่าการสร้าง Lead รวมไปถึงการสร้าง Conversion หรือโอกาสในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การกระทำบางอย่าง กับธุรกิจประเภท B2B ก็ถือว่าสำคัญมากครับเพราะถือว่าเป็นขั้นแรกของโอกาสในการกลายมาเป็นลูกค้าที่แท้จริง แม้ว่าอาจต้องผ่านการกรองอีกหลายขั้นตอนหลังจากนั้นก็ตาม ซึ่งมีตัวชี้วัด (Metrics) ดังนี้
- ต้นทุนต่อการได้มาต่อ Lead (Cost Per Lead – CPL)
ตัวชี้วัดแรกคือการที่คุณเสียเงินไปแต่ละครั้งเพื่อแลกกับการได้มาซึ่ง Lead 1 Lead สำหรับการซื้อโฆษณาในแบบต่างๆ โดยสามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆโซเชียลมีเดีย (Social Media) และลองคำนวณดูครับว่าในแต่ละช่องทางอันไหนมันคุ้มค่ามากกว่ากัน - Lead ที่มีคุณภาพ (Marketing Qualified Leads – MQL)
การสร้าง Lead ให้กับทีมขายยิ่งมากก็ยิ่งดี แต่หลายๆครั้ง Lead ที่ได้มากลับไม่ใช่และไม่มีคุณภาพทำให้เสียทั้งงบประมาณและเวลา ดังนั้นหนึ่งในตัวชี้วัด (Metrics) ที่ดีก็คือ การได้มาซึ่ง Lead ที่มีคุณภาพเพื่อยืนยันว่าคุณนั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องได้อย่างแท้จริง - มูลค่าตลอดชีวิตของลูกค้า (Customer Lifetime Value – CLV หรือ LTV)
การที่ลูกค้านั้นสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจของคุณในช่วงชีวิตหนึ่ง โดยหากพูดตรงๆก็คือการที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของธุรกิจมาโดยตลอด โดยหากคุณสามารถคาดการณ์ CLV ล่วงหน้าได้ ก็จะสามารถนำมาผสมผสานและนำมาวัดผลบนโซเชียลมีเดีย (Social Media) เพื่อวัด ROI ได้ดีมากขึ้น - อัตราการปิดการขายในแต่ละช่องทาง (Close Rate Per Channel)
ตัวชี้วัดนี้จะแสดงให้เห็นว่าช่องทางไหนที่สร้าง Lead ได้ดีที่สุด จนกลายมาเป็นยอดการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ เพื่อที่คุณจะได้เลือกช่องทางและทุ่มงบประมาณได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด
การระบุกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจประเภท B2B
ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียวครับสำหรับการระบุกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจประเภท B2B บนโซเชียลมีเดีย (Social Media) เพราะอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างจากธุรกิจประเภท B2C อยู่บ้าง แต่หลักๆแล้วคุณต้องเข้าใจเรื่องของ Persona มาก่อนอยู่ดี และธรรมชาติของ B2B นั้นกลุ่มเป้าหมายจะใช้เวลาพิจารณาค่อนข้างนานกว่า จึงมีอะไรที่ซับซ้อนมากกว่านั่นเอง โดยมันก็มีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆให้ลองพิจารณา ดังนี้
- อย่าลืมครับว่ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจประเภท B2B นั้นมีหลายกลุ่มมาก ซึ่งมันก็มีผลต่อการคิดคอนเทนต์ การวางแผนการโพสต์คอนเทนต์ การวางแผนการซื้อโฆษณา และอื่นๆ เช่น
- กลุ่มที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคต (Prospects)
- กลุ่มลูกค้า (Customers)
- พนักงาน (Employees)
- กลุ่มที่คาดว่าจะเป็นพนักงานในอาคต (Potential employees)
- คู่ค้าทางธุรกิจ (Partners)
- กลุ่มคนในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Industry peers)
- อื่นๆ (Others)
- ระบุให้ชัดเจนว่าใครกันแน่คือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ พวกเขามีบทบาทอย่างไรในธุรกิจที่คุณต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น
- เลือกช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ รวมไปถึงการเลือกคอนเทนต์ที่ตรงตามความสนใจของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
- เลือกการสื่อสารให้ชัดเจนและใช้ Key Message ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ไม่ควรใช้ Key Message เดียวกับทุกๆกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสาร โดยเฉพาะเมื่อคุณวางแผนการซื้อโฆษณา (Paid Advertising)
ช่องทางโซเชียลมีเดียสำหรับธุรกิจ B2B
ทีนี้ก็เป็นขั้นตอนของการเลือกช่องทางในการโปรโมทธุรกิจที่เหมาะสมกับธุรกิจประเภท B2B ครับ โดยหลักๆแล้วในธุรกิจประเภท B2B นั้น จะไม่ได้ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) มากมายเท่ากับธุรกิจประเภท B2C แต่จะเลือกหลักๆแค่เพียง 1 ช่องทาง และมีเสริมๆอีก 1-2 ช่องทาง ซึ่งผมได้สรุปแบบภาพรวมให้เห็นว่าแต่ะละช่องทางนั้น สามารถทำอะไรกับการโปรโมทธุรกิจได้บ้าง ดังนี้
1. LinkedIn สำหรับธุรกิจ B2B
LinkedIn ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นแหล่งรวมกูรูและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่ดีมากที่สุดระดับโลกแพลตฟอร์มหนึ่ง โดยนักการตลาดทั่วโลกกว่า 93% ระบุว่า LinkedIn ช่วยในเรื่องของ Lead Generation ได้ดีทีเดียว ซึ่งเหมาะกับการโปรโมทธุรกิจประเภท B2B มากๆ ที่มีโอกาสในการสร้าง Qualified Lead มาสู่ธุรกิจของคุณได้ดีกว่าช่องทางอื่นๆ และยังสามารถสร้างความสัมพันธ์ระดับบุคคลได้แข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งเหมาะมากในการโปรโมทข่าวสารกิจกรรมความก้าวหน้าของธุรกิจรวมไปถึงการนำเสนอสินค้าหรือบริการใหม่ๆ โดยสามารถทำได้ดังนี้
- โพสต์คอนเทนต์ใหม่ๆทั้งในรูปแบบข้อความหรือวีดิโอ (ข่าวสาร / แนวโน้ม / บทวิเคราะห์ / อื่นๆ)
- สร้างการมีส่วนร่วมด้วยการทำโพลสำรวจความคิดเห็น
- ทำเป็นรูปแบบ Employee Advocacy Program หรือการสนับสนุนให้พนักงานโปรโมทธุรกิจด้วยโปรไฟล์ส่วนตัว
- ปรับปรุงประสิทธิภาพ LinkedIn ของคุณด้วยการเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ ที่สามารถสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้ที่สนใจ
- การเขียนบทความขึ้นมาใหม่หรือการ Re-post คอนเทนต์ดีๆเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจ
2. Facebook สำหรับธุรกิจ B2B
สำหรับ Facebook นับว่าเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย (Social Media) อันดับหนึ่งที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศไทยหากไม่นับรวม YouTube ครับ และแน่นอนว่าแทบจะทุกธุรกิจที่เป็น B2B ในสมัยนี้ต้องมีการโปรโมทธุรกิจผ่าน Facebook ไม่มากก็น้อยตามลักษณะของแต่ละธุรกิจและกลุ่มเป้าหมาย โดยสามารถโปรโมทธุรกิจได้ในลักษณะนี้
- การซื้อโฆษณาถือเป็นวิธีในการโปรโมทที่ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยคุณสามารถระบุวัตถุประสงค์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ค่อนข้างละเอียด ที่จะช่วยให้วัดผลได้ง่ายมากขึ้น
- การเข้าไปร่วมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ (Group) ซึ่งนั่นนับเป็นแหล่งรวมคนในอุตสาหกรรมเดียวกับคุณ และเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องนั้นๆ
- ทำวีดิโอคอนเทนต์ดีๆไม่ว่าจะเป็น Reels, Live หรือการซื้อโฆษณาแบบ Video Ads (อย่าลืมนะครับว่า Video Content นั้นสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่นๆ) ลองดูเทคนิคเพิ่มเติมสำหรับการโปรโมทธุรกิจบน Facebook ได้ตามลิ้งค์ด้านล่างครับ
3. Twitter สำหรับธุรกิจ B2B
Twitter อาจไม่ได้สร้าง Traffic มากเท่าที่ควรแต่มันได้มาซึ่งการสร้างความสัมพันธ์อันดีมากกว่าครับ โดยในแต่ละวันนั้นมีการทวีตข้อความต่างๆกว่า 500 ล้านทวีต ผู้คนทั่วโลกสามารถเห็นและรับรู้ถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้แบบวินาทีต่อวินาทีเลยทีเดียว ในหลายๆครั้งธุรกิจสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ลูกค้าบ่นลง Twitter ได้อย่างรวดเร็ว แถมยังเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการทำ Social Listening ได้ดีมากที่สุดแหล่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ และกว่า 87% ของนักการตลาดทั่วโลกนั้นใช้ Twitter เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ดังนี้
- สร้างตัวตนและโทนรวมถึงน้ำเสียงของแบรนด์หรือธุรกิจเพื่อใช้ในการสื่อสารให้โดดเด่น
- ใช้ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบคอนเทนต์ทั้งข้อความและรูปภาพให้ดึงดูดผู้ใช้งาน
- เล่นกับ Trends หรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
- แชร์วีดิโอคอนเทนต์ต่างๆ
- ทวีตให้ถูกจังหวะถูกเวลาและเนื้อหาที่เหมาะสม
- ลองดูเทคนิคเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
4. Instagram สำหรับธุรกิจ B2B
แม้ว่า Instagram ดูแล้วอาจเหมาะกับธุรกิจประเภท B2C เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้กับ B2B ไม่ได้ถูกไหมครับ โดย Instagram ก็ยังถือว่าเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย (Social Media) อันดับต้นๆอยู่ดีที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และยังมีตัวเลขสถิติยืนยันว่าคนที่เล่น Instagram กว่า 200 ล้านคน จะเข้ามาดูโปรไฟล์ของธุรกิจอยู่บ่อยครั้ง 60% ของคนทั่วไปจะเข้ามาหาสินค้าใหม่ๆบน Instagram และกว่า 80% ของผู้ใช้งาน Instagram บอกว่า Instagram สร้างสามารถสร้างให้เกิดการตัดสินใจซื้อเลยทีเดียว ถือว่าน่าสนใจเลยทีเดียวครับสำหรับธุรกิจ B2B ซึ่งมันก็มีวิธีการใช้ Instagram สำหรับ B2B ดังนี้
- การแชร์ Success Stories หรือความสำเร็จที่ธุรกิจมอบให้กับลูกค้า เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและดึงดูดให้ผู้ติดตามเกิดความสนใจ
- ลองเล่าเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรดูบ้าง ซึ่งมันค่อนข้างสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้ไม่น้อย
- ใช้ Instagram Stories ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
- ใช้ Reels เพื่อสร้าง Organic Reach สำหรับคอนเทนต์ต่างๆ
- ลองดูเทคนิคเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
Source: Coschedule IG
5. TikTok สำหรับธุรกิจ B2B
แพลตฟอร์มที่มาแรงและเติบโตเร็วที่สุดอย่าง TikTok ในช่วงแรกอาจยังมองไม่ออกว่าจะนำมาทำอย่างไรกับการโปรโมทธุรกิจ ซึ่งดูแล้วน่าจะเหมาะกับการสร้าง Personal Brand มากกว่า แต่ในช่วงหลังๆแบรนด์และธุรกิจต่างๆต่างก็ได้นำความคิดสร้างสรรค์มาใช้กับการทำคอนเทนต์ในแบบต่างๆ จนได้รับความนิยมและกลายเป็นช่องทางหนึ่งในการวางกลยุทธ์การตลาดอันดับต้นๆ ซึ่งสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมได้เยอะมากๆในระยะเวลาอันรวดเร็ว TikTok จึงเหมาะกับการสร้างคอนเทนต์เพื่อไปสู่ความเป็น Viral และยังช่วยสร้าง Organic Reach ได้ดีอีกด้วย โดยสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจ B2B ได้ดังนี้
- ทำคอนเทนต์ที่แสดงถึงความแท้จริงหรือในแบบฉบับตัวเองที่ไม่เหมือนใคร (Authentic & Original) และสื่อสารออกมาให้ง่ายที่สุด (Simple) ทำได้ในรูปแบบ Lifehack, How to, Tips เป็นต้น
- แชร์ประสบการณ์ของผู้ใช้เพื่อสร้างความเชื่อมโยงด้านอารมณ์ เพื่อนำไปสู่การได้รับบริการอะไรใหม่ๆ
- ทำคอนเทนต์ประเภทสอนการใช้สินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า
- ลองดูเทคนิคอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
Source: @tatechtips
เห็นไหมครับว่าในธุรกิจประเภท B2B นั้นจะมีรายละเอียดและความซับซ้อนมากกว่า B2C อยู่บ้าง แต่ก็ยังใช้พื้นฐานและหลักการคล้ายๆกันในการวางกลยุทธ์บนโซเชียลมีเดีย (Social Media) โดยหากดูดีๆแล้วจะเห็นว่าเทคนิคต่างๆของโซเชียลมีเดีย (Social Media) แต่ละแพลตฟอร์มนั้นสามารถนำมาใช้กับทุกๆแพลตฟอร์มได้เช่นกัน ที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือ การคิดเป็นเชิงกลยุทธ์ด้วยการการเข้าใจในตัวธุรกิจ เป้าหมายของธุรกิจ / การตลาด กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง การเลือกใช้ช่องทางที่เหมาะสม คอนเทนต์ต้องใช่ สร้างความน่าสนใจได้ และสามารถวัดผลได้อย่างชัดเจนนั่นเองครับ