ตัวอย่าง Market Segmentation

อย่างที่รู้กันนะครับว่า Market Segmentation ถือว่าสำคัญมากกับการทำธุรกิจและการทำความเข้าใจในกลุ่มลูกค้า ที่ส่งผลถึงความสำเร็จในการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งมันไม่ได้มีเพียงแค่ Demographic, Geographic, Psychological หรือ Behavioral ที่อยู่ในส่วนของกลยุทธ์ STP เท่านั้น แต่มันยังมีรายละเอียดที่ลึกลงไปมากกว่านั้น ซึ่งผมได้รวมตัวอย่างการแบ่ง Market Segmentation สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักยังไม่คุ้นเคยและอยากเรียนรู้เพิ่มเติมมาฝากกันครับ

What's next?

Geographic Segmentation

Geographic Segmentation นั้นประกอบไปด้วยข้อมูลตามลักษณะที่ตั้งตามภูมิศาสตร์ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะนับอยู่ในประเทศนั้นๆเป็นหลัก เว้นแต่มีการเลือกทำการตลาดไปยังต่างประเทศหรือระดับสากล

Geographic Segmentation
  • ภาค (เหนือ / ใต้ / ออก / ตก / ตะวันออกเฉียงเหนือ / ตะวันออกเฉียงใต้ / ตะวันตกเฉียงเหนือ / ตะวันตกเฉียงใต้)
  • ประเทศ (ไทย / จีน / ญี่ปุ่น / สิงคโปร์)
  • สถานที่ศึกษา (มหาวิทยาลัยรัฐ / มหาวิทยาลัยเอกชน / โรงเรียนประถม / โรงเรียนมัธยม)
  • จังหวัด (กรุงเทพฯ / เชียงใหม่ / ภูเก็ต)
  • ทวีป (เอเชีย / ยุโรป / อเมริกา / แอฟริกา)
  • ชุมชนต่างๆ
  • พื้นที่ชนบท / พื้นที่ห่างไกล
  • เขตอากาศหนาว / เขตอากาศร้อน

Demographic Segmentation

Demographic Segmentation ถือว่าเป็นการแบ่งส่วนตลาดที่ใช้กันมากที่สุดหรือเรียกว่าแบ่งตามประชากรศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยเชื้อชาติ อายุ เพศ และอื่นๆ

Demographic Segmentation
  • อายุ (15-30, 31-40, 41-60)
  • เชื้อชาติ (ไทย / จีน)
  • ศาสนา (พุทธ / คริสต์ / อิสลาม)
  • เพศ (ชาย / หญิง / LGBT)
  • สถานะ (โสด / สมรส / หย่าร้าง)
  • อาชีพ (พนักงานบริษัท / ธุรกิจส่วนตัว / เจ้าของกิจการ / นักเล่นหุ้น)
  • ขนาดครอบครัว (อยู่เป็นคู่ / อยู่เป็นครอบครัว 4 คน / อยู่เป็นครอบครัวใหญ่ 5 คนขึ้นไป)
  • รายได้ (20,000 บาท / เดือน 30,000 บาท / เดือน)
  • การศึกษา (ปวช. / ปวส. / ปริญญาตรี / ปริญญาโท / ปริญญาเอก)
  • รูปแบบที่อยู่อาศัย (สไตล์โมเดิร์น / สไตล์ชิคๆ / สไตล์เรียบง่าย / สไตล์หรูหรา)
  • สถานะทางสังคม (คนทั่วๆไป / ผู้บริหารระดับสูง / ผู้บริหารระดับกลาง)

Psychographic / Lifestyle Segmentation

Psychographic / Lifestyle Segmentation หรือกลุ่มที่แยกย่อยไปในเรื่องของบุคลิกภาพ ความสนใจ ความคิดเห็น ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากกับการทำการตลาดในยุคใหม่ โดยเฉพาะการแบ่งกลุ่มตาม Lifestyle

Psychographic / Lifestyle Segmentation
  • คลาส (ชนชั้นครอบครัว / ชนชั้นกลาง / ชนชั้นสูง)
  • บุคลิกภาพ (เคร่งขรึม / ชอบแสดงออก / มีความคิดสร้างสรรค์)
  • ทัศนคติ (ชอบคาดหวัง / คิดบวก / อยู่กับความจริง)
  • Lifestyle (ชอบท่องเที่ยว / สายกีฬา / สายสุขภาพ / รักอิสระ)
  • ลักษณะอื่นๆ (ชอบความท้าทาย / ชอบผจญภัย / เคร่งศาสนา)
  • ความคิดเห็น (การเมือง / เศรษฐกิจ / ตัวเอง)
  • งานอดิเรก (อ่านหนังสือ / เล่นเกม / ว่ายน้ำ)
  • ความสนใจ (อาหาร / เทคโนโลยี / แฟชั่น)

Behavioral Segmentation

Behavioral Segmentation หรือการแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมที่กลุ่มเป้าหมายตอบสนองกับการใช้สินค้าหรือบริการ

Behavioral Segmentation
  • โอกาสพิเศษ (วันเกิด / วันครบรอบ / วันจบการศึกษา)
  • Buyers Journey (ช่วงการรับรู้ / ช่วงการพิจารณา / การตัดสินใจซื้อสินค้า)
  • ความรู้ในตัวแบรนด์ (ไม่รู้เลย / รู้บ้าง / เข้าใจอย่างดี)
  • ประเภทความภักดีในตัวแบรนด์ (Brand Loyalty) (ไม่มีเลย / มีบ้าง / ระดับสาวก)
  • ความอ่อนไหวต่อราคา (อ่อนไหวต่อสินค้าราคาต่ำ / ไม่อ่อนไหวเลย)
  • พฤติกรรมการช้อปปิ้ง (ไม่ชอบเลย / มีความสุขเสมอ)
  • พฤติกรรมการใช้สินค้า (ใช้ปริมาณมาก / ใช้ปริมาณน้อย)
  • พฤติกรรมการซื้อสินค้า (นานๆที / ซื้อเป็นปกติ / ซื้อตามโอกาส)

Media Segmentation

Media Segmentation อาจดูไม่คุ้นสักเท่าไหร่แต่มันก็กลายเป็นเกณฑ์การแบ่งที่สำคัญไม่แพ้แบบอื่นๆ เพราะเนื่องจากในยุคนี้ที่มีช่องทางการสื่อสารมากมายอย่างโซเชียลมีเดีย ออนไลน์ และแพลตฟอร์มการสื่อสารอย่าง Line, Messenger

Media Segmentation
  • โทรทัศน์ (เคเบิล / ดาวเทียม)
  • วิทยุ (ช่องท้องถิ่นของจังหวัด / ช่องทั่วไป)
  • โซเชียลมีเดีย (Facebook, Twitter, YouTube, Instagram)
  • สื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์ / นิตยสาร)
  • การค้นหาบนอินเทอร์เน็ต (Google / Yahoo / Bing)

Benefit Segmentation

Benefit Segmentation ก็นับเป็นอีกหนึ่ง Segmentation ที่ถือเป็นโอกาสของนักการตลาดครับซึ่งมันอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากสินค้าหรือบริการ

Benefit Segmentation
  • ความสะดวกสบาย (ใช้ความพยายามในการหาสินค้า / ไม่ต้องใช้ความพยายามในการหาสินค้า)
  • การบริการลูกค้า (ตรงตามความคาดหวัง / ปกติทั่วไป / เหนือความคาดหมาย)
  • ความพิเศษ (ใช้งานง่าย / ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว)
  • คุณสมบัติ (ต่ำ / กลางๆ / ดีมาก)

ทั้งหมดก็เป็นตัวอย่าง Market Segmetnation ในแต่ละแบบซึ่งก็หวังว่าใครที่ได้อ่านจะเข้าใจมากขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้กับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นครับ


Share to friends


Related Posts

กำหนดทิศทางของธุรกิจด้วย STP Strategy

ยุคสมัยใหม่ที่มีความรวดเร็วจนทำให้หลายๆธุรกิจ ไม่ทันได้วางรากฐานของธุรกิจและวิเคราะห์ในมุมมองต่างๆอย่างรอบด้าน ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านทิศทางของธุรกิจ กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และความแตกต่างของธุรกิจเมื่อเทียบกับคู่แข่ง หากไม่ชัดเจนตั้งแต่แรกก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ


วิธีแบ่ง Segmentation ลูกค้าตาม Lifestyle เพื่อพิชิตเป้าหมายทางการตลาด

กลยุทธ์การตลาดในอดีตเรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า STP หรือ การทำ Segmentation, Targeting และ Positioning ซึ่งเป็นพื้นฐานการทำธุรกิจที่เชื่อว่าทุกธุรกิจต้องเคยผ่านวางแผนการตลาดด้วยวิธี STP นี้ แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปประกอบกับพฤติกรรมของลูกค้านั้นก็เปลี่ยนไปอย่างมาก จนทำให้ Lifestyle



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


One thought on “ตัวอย่าง Market Segmentation

copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์