รวม 11 ประเภท Blog Post ที่ช่วยเพิ่ม Traffic ให้เว็บไซต์ของคุณ

การเขียนคอนเทนต์ในรูปแบบบล็อก (Blog Post) หรือที่ทั่วๆไปเราจะเรียกว่าการโพสคอนเทนต์ในรูปแบบบทความที่มีรายละเอียดค่อนข้างยาว จัดอยู่ในประเภทของ Evergreen Content Link ซึ่งเป็นคอนเทนต์ในลัษณะ Long-form Content หรือคอนเทนต์ที่ให้ข้อมูลที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมหาศาลหากคุณกำลังทำ SEO Strategy และสำหรับการเขียนบล็อก (Blog) นั้นมันก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบครับ โดยแต่ละรูปแบบนั้นก็มีวัตถุประสงค์ในตัวของมันเอง ซึ่งหากเลือกใช้ดีๆมันก็จะช่วยให้เกิด Traffic เข้ามาที่เว็บไซต์ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรามาทำความรู้จักกับรูปแบบของ Blog Post กันในบทความนี้ไปพร้อมๆกันครับ

What's next?

10 รูปแบบของ Blog Post ที่คุณไม่ควรมองข้าม

สำหรับการเขียนบล็อกและการเลือกประเภทของบล็อกนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า วัตถุประสงค์ของบล็อกนั้นทำมาเพื่ออะไร และผู้อ่านนั้นกำลังคาดหวังและมองหาข้อมูลอะไรอยู่ โดย Blog Post ที่เห็นกันอยู่บ่อยๆที่ช่วยเพิ่ม Traffic เข้าเว็บไซต์ของคุณได้ ก็มีอยู่ด้วยกัน 10 ประเภท ดังนี้

1. Blog Post แบบ Product Review

Product Review เป็นรูปแบบที่คุณซื้อสินค้าแล้วต้องการรีวิวด้วยตัวของคุณเอง ลักษณะของการเปิดกล่อง (Unboxing) แล้วมารีวิวโดยเป็นการมุ่งเน้นไปที่การพูดถึงสินค้าอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้บล็อกในรูปแบบ Product Review นั้นดูมีความแท้จริงมากที่สุด (ดีหรือไม่ดีก็บอกกันแบบตรงๆ) ที่ไม่ใช่ลักษณะของการเชียร์สินค้าของแบรนด์ เพราะหากคุณรับสินค้าของแบรนด์มาเพื่อรีวิวในเชิงบวก นั่นจะกลายเป็นลักษณะของการสนับสนุนโดยแบรนด์ ซึ่งจะทำให้บล็อกของคุณกลายเป็นเหมือนการโฆษณาหรือเป็นลักษณะของ Sponsor หรือผู้สนับสนุนไปในทันที หากคุณกำลังจะทำบล็อกในรูปแบบนี้คุณก็ลองหาสินค้าที่น่าสนใจสำหรับคนทั่วๆไปหรืออาจเป็นตัวของคุณเอง อาจเป็นสินค้าที่แปลก สินค้าที่หายาก สินค้าที่ไม่มีในประเทศแล้วคุณไปพบเจอมา หรืออาจเป็นสินค้าที่ดูแล้วน่าจะมีค่าและอาจจะน่าสนใจในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มจำนวนผู้เยี่ยมชมและผู้ติดตามได้มากยิ่งขึ้น

การที่คุณทำ Product Review แบบแสดงความคิดเห็นตามความเป็นจริง จะสร้างให้ผู้ที่ติดตามคุณนั้นมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณกำลังนำเสนอ ซึ่งนั่นจะส่งผลดีต่อการขยายกลุ่มผู้อ่านและผู้ติดตามได้มากยิ่งขึ้น และถ้าจะทำ Product Review ให้ออกมาดี คุณอาจเพิ่มรูปภาพและอาจทำเป็นวีดิโอ รวมถึงถามความคิดเห็นของผู้อ่านหรือผู้ชม ก็จะทำให้บล็อกของคุณน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

2. Blog Post แบบ Listicles

อีกหนึ่งรูปแบบของ Blog Post ที่เป็นที่นิยมก็คือ การแจกแจงคอนเทนต์เป็นข้อๆ (Listicles) หรือการโพสต์เป็นหัวรายการลงมา ซึ่งเราจะเห็นได้จากหัวข้อคอนเทนต์ที่ตั้งที่มักจะมีตัวเลขนำ เช่น 10 เครื่องมือที่ช่วยคิดคอนเทนต์ พวกขั้นตอนและวิธีการต่างๆ หรือคอนเทนต์ที่นำเสนอไอเดียดีๆ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญหากคุณกำลังจะทำบทความในรูปแบบ Listicles นั่นก็คือ

  • หัวข้อต้องชัดเจนว่านำเสนออะไร และเนื้อหาต้องตรงกับหัวข้อนั้นๆ
  • คำอธิบายในแต่ละหัวข้อก็ต้องอธิบายได้อย่างชัดเจน
  • พยายามจัดลำดับความสำคัญโดยหากข้อไหนสำคัญมากให้เอาไว้บนสุด
  • หัวข้อที่เขียนควรมีประโยชน์และมีคุณค่าเสมอ

ข้อดีของการเขียนบทความในรูปแบบ Listicles นี้ ก็คือ ทำให้ผู้อ่านมองง่ายขึ้นเนื่องจากมีการแบ่งเป็นหัวข้อ ซึ่งสร้างความน่าสนใจได้มากกว่าการเขียนบทความแบบยาวๆอย่างเดียว และคอนเทนต์ในรูปแบบ Listicles นั้นมันก็เหมือนจะเป็นตัวสรุปเนื้อหาทั้งหมดด้วยหัวข้อที่คุณกำหนดได้เอง ที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้แบบอัตโนมัติโดยบางครั้งก็ไม่ได้ดูคอนเทนต์เต็มๆก็ได้เช่นกัน

3. Blog Post แบบ How-To

บทความในรูปแบบ How-to หรือ วิธีการต่างๆ นับว่าเป็นบทความที่ให้ประโยชน์ด้วยการแก้ปัญหาให้กับผู้อ่านมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง และในปัจจุบันคนส่วนใหญ่เมื่อมีปัญหาด้านต่างๆก็จะค้นหาจากวิธีการเหล่านี้จาก Google และช่องทางอื่นๆ บทความแบบ How-To จึงเป็นอีกหนึ่งความคาดหวังที่คนเข้ามาอ่าน จะได้เห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง ถ้ามันช่วยแก้ปัญหาของผู้อ่านได้คุณก็จะได้เพิ่มทั้งผู้ติดตามและ Traffic ที่มากขึ้น โดยบทความรูปแบบ How-To จะประกอบไปด้วยขั้นตอน ดังนี้

  • เริ่มด้วยหัวข้อที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “วิธีการ___________” ที่บอกว่าผู้อ่านจะได้อะไรกลับไปใน “กี่ขั้นตอน”
  • ประโยคเกริ่นนำที่เริ่มด้วยปัญหาและผู้อ่านจะเจอกับข้อมูลอะไรที่เป็นทางแก้ไข
  • เริ่มหัวข้อเป็นแต่ละ Step ไป
  • ปิดท้ายด้วยบทสรุปสั้นๆที่ได้จากบทความทั้งหมด
  • สามารถแทรกด้วยรูปภาพตามความเหมาะสม
บทความในรูปแบบ How-To

4. Blog Post แบบ Tutorials

บทความหรือโพสต์ในรูปแบบ Tutorials ก็ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบ How-To แต่เน้นไปทางการช่วยสอนให้ผู้อ่านนั้นเข้าใจเรื่องต่างๆได้ดีขึ้น ซึ่ง Tutorials นั้นมักจะเป็นลักษณะการเขียนที่ค่อนข้างยาวและค่อนข้างละเอียด ดังนั้น Tutorials จึงเป็นหนึ่งในรูปแบบบทความที่ทั้งส่งผลดีต่อ Google Ranking และประโยชน์ต่อผู้อ่านบนเว็บไซต์ของคุณ โดย Tutorials จะแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญหรือความเป็น Expert ในสิ่งที่คุณหรือธุรกิจทำอยู่ได้ค่อนข้างดี เพราะมีแต่คุณเท่านั้นที่เป็นผู้รู้เชิงลึก เช่น วิธีการติดตั้งเครื่องปั้มน้ำด้วยตัวเอง วิธีการตั้งค่าระบบต่างๆ วิธีการเลือกที่ปรึกษาที่ดี วิธีการสร้างหน้าเว็บไซต์ให้ติดอันดับแรกบน Google และลักษณะของ Tutorials ที่ดีควรมีดังนี้

  • อธิบายรายละเอียดแต่ละหัวข้อแบบเจาะลึกถึงวิธีการโดยละเอียด
  • ใส่รูปภาพในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจน
  • คิดถึงข้อคำถามที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน เพื่อนำมาอธิบายให้เคลียร์มากที่สุด

5. Blog Post แบบ Checklists

ลักษณะของ Checklists จะไม่เหมือนกับ How-To ซึ่งเป็นลักษณะของบทความที่สะกิดหรือเตือนให้คุณได้รู้ว่า สิ่งที่คุณกำลังอยู่นั้นมันครบถ้วนสมบูรณ์หรือยังแล้วมันยังขาดอะไรไปบ้าง มันคือการระบุรายการตรวจสอบสำหรับผู้ที่สนใจให้รู้ว่ามันมีรายละเอียดและขั้นตอนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอะไรบ้าง โดยคอนเทนต์ในรูปแบบ Checklists ถือว่าสร้างให้ผู้อ่านนั้นเกิดความรู้สึกดีเหมือนมีใครมาคอยเตือนไม่ให้พลาดพลั้งอยู่เสมอ คอนเทนต์ในรูปแบบ Checklists ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อนำไปเป็นแนวทางอ้างอิงแบบสรุปย่อให้นำไปใช้ในช่วงเวลาที่จำกัด เช่น 10 สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนไปญี่ปุ่น 5 สิ่งที่ต้องมีนำเสนองานกับผู้บริหาร เป็นต้น

บทความในรูปแบบ Checklists

Source: https://bill-jackson.co.uk/blog/the-moving-checklist/32780

6. Blog Post แบบ Case Studies

บทความในรูปแบบ Case Studies เป็นการแสดงให้เห็นถึงเคสที่เกิดขึ้นจริงที่เป็นผลสำเร็จจากการทำธุรกิจ โดยจะส่งผลโดยตรงให้เกิดความเชื่อมั่นสำหรับผู้อ่าน เมื่อผู้อ่านได้อ่านคอนเทนต์ในรูปแบบ Case Studies จะเริ่มรู้สึกมั่นใจจนนำไปสู่การซื้อสินค้าหรือบริการ และถ้าคุณอยากจะทำ Case Studies ให้ออกมาดี มันก็มีหลักการง่ายๆ ดังนี้

  • การตั้งหัวข้อที่บอกถึงผลลัพธ์ที่ได้มาจากการใช้บริการของคุณ หรือการที่คุณไปแก้ปัญหาให้กับบริษัทต่างๆ
  • ทำเป็นสรุป (Snapshot) แบบ Listicles สรุปว่า Key of Success ที่ทำสำหรับเคสนี้คืออะไรเพื่อดึงความสนใจผู้อ่าน เช่น
    • เพิ่มยอดขายได้ 50% ใน 5 เดือน
    • สร้างยอดติดตามผ่าน IG ได้ 1 ล้านคน
    • เพิ่มยอดชมวีดิโอได้มากกว่า 80%
  • แนะนำธุรกิจของลูกค้าโดยสังเขป
  • ระบุปัญหาที่เกิดขึ้น
  • เสนอวิธีที่คุณแก้ปัญหาให้กับลูกค้า
  • อธิบายถึงผลลัพธ์ที่ได้
  • สรุป Case Studies ทั้งหมดที่เกิดขึ้น

7. Blog Post แบบ FAQs

FAQs หรือ Frequency Ask Questions (คำถามที่พบบ่อย) เป็นการตั้งชุดคำถามพร้อมคำตอบที่คาดว่าลูกค้ามีข้อสงสัยที่ต้องการคำตอบในเบื้องต้น ซึ่งรูปแบบ FAQs นั้นส่งผลดีต่อ SEO ในมุมของการติดอันดับด้วยเช่นกัน การมี FAQs ที่ดีนั้นจะช่วยให้ผู้ที่เข้ามาอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์คุณ ได้ความอุ่นใจและความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นเพราะอย่างน้อย ลูกค้าก็ได้รับรู้ถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์เมื่อจะนำไปตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ รวมไปถึงอาจช่วยย่นระยะเวลาในการตัดสินใจได้อีกด้วย เช่น

  • ช่องทางการติดต่อสำหรับการเคลมสินค้า
  • วิธีการสั่งซื้อสินค้า
  • วิธีการคืนสินค้า
  • วีธีการ Reset Password สำหรับสมาชิก
  • การติดต่อศูนย์ซ่อมอุปกรณ์
Blog Post ในรูปแบบ FAQs

Source: zendesk.com

8. Blog Post แบบ Newsworthy

Newsworthy ถือเป็นรูปแบบบล็อกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารประเภท Topical Content Link หรือคอนเทนต์ประเภทข่าวสารที่มาแล้วหมดความน่าสนใจเมื่อเวลาผ่านไป โดยอาจจะเป็นข่าวที่ส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบกับธุรกิจที่คุณทำอยู่ หรืออาจเป็นผลกระทบต่ออุตสาหรรมต่างๆที่ต้องการให้ผู้อ่านนั้นรับรู้ข้อมูลที่อัพเดทใหม่ๆ คอนเทนต์รูปแบบ Newsworthy นี้ต้องช่วงชิงความรวดเร็วเพื่อให้ข้อมูลนั้นมีความสดใหม่ เช่น แนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้น การขยายตัวของธุรกิจ สภาวะที่กำลังเกิดขึ้น เป็นต้น

9. Blog Post แบบ Guest Blogging

Guest Blogging หรือ การเขียนบล็อกหรือโพสต์แล้วนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อดึงดูดผู้อ่านนั้นกลับมาที่เว็บไซต์ของของคุณด้วยการทำ Backlink หรืออาจมีผู้ที่สนใจต้องการนำคอนเทนต์ที่ตัวเองเขียนแล้วมาโพสต์บนเว็บไซต์ของคุณในลักษณะ Guest Post ก็ได้ หากคุณทำ Guest Blogging คุณจะได้ทั้งความน่าเชื่อถือ การพูดถึง การ Mention ชื่อ ซึ่งส่งผลดีต่อการทำ SEO การเพิ่ม Traffic รวมไปถึงการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ สิ่งที่ควรระวังก็คือคุณต้องควบคุมคุณภาพในการทำ Guest Blogging ให้มีเนื้อหารวมถึง Mood & Tone ที่ตรงกับเว็บไซต์ของคุณ พยายามหลีกเลี่ยงการเขียนในลักษณะของโปรโมทธุรกิจของตัวเองโดยเน้นเป็นเชิงให้ความรู้และคำแนะนำจะดีมากที่สุด

10. Blog Post แบบ Personal Story

หากใครกำลังสร้าง Personal Brand และต้องการแบ่งปันเรื่องราวดีๆให้กับผู้อ่าน Blog Post ในรูปแบบ Personal Story นั้นถือว่าเหมาะสมมากที่สุดครับ โดยหากคุณเก่งเรื่องการเล่าและถ่ายทอดเรื่องราวไม่ว่าจะเป็นหัวข้ออะไรก็สามารถมัดใจผู้อ่านได้ทั้งนั้น เพราะเมื่อผู้อ่านเกิดความผูกพันด้วยความรู้สึกทางอารมณ์ ผู้อ่านจะเกิดความเชื่อมั่นในตัวคุณทันทีและจะนำไปสู่การสร้างยอดขายสินค้าได้อย่างง่ายดาย แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่าการเล่าเรื่องราวไม่ใช่การโปรโมทตัวเอง แต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อ่านที่เป็นเชิงการให้ความรู้ การสร้างแรงบันดาลใจ การสนับสนุน หรือการเป็นตัวอย่างในเรื่องดีๆ ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ต่างกับการขายของจนทำให้สิ่งที่คุณเล่านั้นดูน่าเบื่อไปในทันที

Blog Post แบบ Personal Story

Source: goingzerowaste.com

ทั้ง 10 รูปแบบของ Blog Post นับเป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่เราพบเห็นได้บ่อยมากที่สุด และเป็นรูปแบบที่ส่งผลดีต่อการเพิ่ม Traffic เพิ่มผู้อ่านและผู้ติดตามบนเว็บไซต์ แถมยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจของคุณ โดยรูปแบบของ Blog Post นั้นสามารถผสมผสานทั้งวีดิโอหรือ Infographic เข้าไปในแต่ละ Blog Post ก็ได้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้อ่าน ลองดูนะครับว่าแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณและแบบไหนที่เหมาะกับตัวคุณบ้าง หากคุณกำลังจะทำ Blog Post ขึ้นมาเป็นของตัวเอง


Share to friends


Related Posts

วิธีทำให้ Blog โพสต์กลายเป็น Viral อย่างรวดเร็ว

หลายๆธุรกิจรวมไปถึงคนทั่วๆไปได้หันมาทำบล็อกให้คอนเทนต์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารและความรู้ โดยบางธุรกิจก็ถึงกับลงทุนเป็นจำนวนมากในการหาคนมาช่วยเขียนคอนเทนต์เพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาอ่านและติดตาม ซึ่งหลายๆครั้งก็ไม่อาจสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมเปิดผ่านบ้างอ่านแบบเร็วๆบ้างก็มี


เทคนิคการเขียนคอนเทนต์ให้ดึงดูดใจ (Compelling Content)

การเขียนคอนเทนต์แบบดึงดูดใจหรือที่เรียกว่า Compelling Content นั้นนับเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่จะช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเป้าหมายเข้ามาสนใจและมีส่วนร่วมกับสิ่งที่คุณกำลังจะสื่อสารได้มากขึ้น โดยลักษณะของ Compelling Content นั้นสามารถนำมาใช้ได้ทั้งการเขียนคอนเทนต์ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บทความบนบล็อก


วิธีสร้าง Personal Branding ที่ดี

การสร้างแบรนด์บุคคล หรือ Personal Branding คือ การโปรโมทความเป็นตัวตนของตัวคุณเอง ที่ผสมผสานเรื่องของทักษะ ความชำนาญ ประสบการณ์ บุคลิกลักษณะ ผ่านการเล่าเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ ที่มีความแตกต่างจากคนอื่นๆให้ออกมาน่าสนใจ ซึ่งการทำ Personal Branding นั้นจะทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในการทำธุรกิจของตัวเอง หรือแม้แต่การทำงานในองค์กรต่างๆ



copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์