Co-Branding Walls Oreo M&M Coronado Kisses

การทำธุรกิจในทุกๆวันเริ่มมีความยากมากยิ่งขึ้น เพราะการเติบโตของเทคโนโลยีและคู่แข่งรวมถึงความต้องการของลูกค้าในหลากหลายกลุ่ม นักการตลาดก็จำเป็นต้องการกลยุทธ์เมื่อสร้างความแตกต่างและพยายามยึดส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด และหนึ่งในวิธีที่จะช่วยสร้างให้แบรนด์นั้นกลายเป็นที่รู้จักและอยู่ในตลาดได้อย่างยาวนาน นั่นก็คือการเชื่อมสายสัมพันธ์กับแบรนด์อื่นๆเพื่อสร้างให้เกิดความน่าสนใจที่สามารถเพิ่มทั้งฐานลูกค้าเดิมรวมไปถึงฐานลูกค้าใหม่ หรือที่เราเรียกกันว่า Co-Branding นั่นเองครับ

การสร้างแบรนด์ร่วมกัน (Co-Branding) คือ การร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในเชิงกลยุทธ์ระหว่าง 2 บริษัทเพื่อออกสินค้าในชื่อแบรนด์ใหม่ ในสร้างสินค้าหรือบริการในรูปแบบต่างๆโดยเป็นการผนึกกำลังกันในทางการตลาดเพื่อมอบคุณค่าให้กับลูกค้า โดยการ Co-Branding นี้นอกเหนือจากจะส่งผลดีด้านยอดขายก็ยังส่งผลดีต่อชื่อเสียงของแบรนด์ได้อีกด้วย

Grey Arrow

ประเภทของ Co-Branding

การทำ Co-Branding โดยหลักแล้วจะมีอยู่ด้วยกันอยู่ 3 แบบ คือ

Ingredient Co-branding

การสร้างแบรนด์ร่วมกันของส่วนผสมหรือส่วนประกอบ คือ การที่แบรนด์ต่างๆทำงานร่วมกันโดยอาศัยส่วนผสมที่เข้ากันได้ จุดที่เน้นคือการมองหาองค์ประกอบที่เข้ากันกับบุคลิกโดยรวมของแบรนด์และทำการตลาดเพื่อเสนอสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น ตัวอย่างที่เราจะเห็นกันอยู่เป็นประจำ เช่น บริษัทผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์กับบริษัทผลิตหน่วยประมวลผล (Processor) หรือแบรนด์จำพวกอาหาร ขนม เครื่องดื่มกับแบรนด์เครื่องปรุงต่างๆ

ตัวอย่างเช่น

Dell + Intel
คอมพิวเตอร์ Dell ใช้กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ร่วมกับ Intel โดยการทำเอา CPU ของ Intel เข้ามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ และด้วยการสร้างแบรนด์ประเภทนี้บริษัทสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้นเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายได้มากขึ้น ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการขายที่เหนือกว่าและได้ผลกำไรที่แท้จริง

Dell-Intel Co-Branding

Source: http://bmginc.biz/product/flying-ninja/

Composite Co-Branding

การสร้างแบรนด์ร่วมแบบประกอบขึ้นมาใหม่ ระหว่างแบรนด์ที่มีชื่อเสียงซึ่งร่วมมือกันอย่างมีกลยุทธ์เพื่อสร้างแผนการตลาดที่แข็งแกร่งขึ้น การสร้างแบรนด์ร่วมแบบนี้จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มมูลค่าและการรักษาลูกค้าที่มีอยู่แทนที่จะหาลูกค้าใหม่

ตัวอย่างเช่น

BMW + Louis Vuitton
BMW และ Louis Vuitton ร่วมมือกันสร้างเพื่อนร่วมเดินทางแบบพิเศษสำหรับรถรุ่น i8 ด้วยการออกแบบกระเป๋าเดินทางและกระเป๋าแบบพกพาเป็นรุ่นพิเศษเพื่อ i8 โดยเฉพาะ โดยการทำงานร่วมกันขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและการวางตำแหน่งของทั้งสองแบรนด์ที่สะท้อนถึง นวัตกรรมใหม่ ความหรูหรา ความเเพง เพรียวบาง

BMW i8 Louis Vitton Co-Branding

Source: https://www.lvmh.com/news-documents/news/innovative-collaboration-from-louis-vuitton-and-bmw/

Kanye West + Adidas
Kanye West แร็ปเปอร์ชื่อดัง และ Adidas ร่วมมือกันสร้าง “Adidas Yeezy” รองเท้าผ้าใบ เสื้อเชิ้ตแจ็คเก็ต กางเกงวอร์ม ฯลฯ ราคาตั้งแต่ 600 ดอลล่าห์สำหรับกางเกงวอร์มไปจนถึง 3000 ดอลล่าห์สำหรับแจ็คเก็ต Adidas Yeezy เป็นการสร้างแบรนด์ร่วมกันที่มีอิทธิพลมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากค่านิยมและตำแหน่งของแบรนด์ทั้งสองนั้นมีสอดคล้องกัน

Kanye-West-Adidas

Source: https://www.forbes.com/sites/jasonbelzer/2016/06/29/adidas-all-in-for-yeezy-with-new-groundbreaking-kanye-west-partnership/?sh=68aedad33396

National to Local Co-Branding

การสร้างแบรนด์ร่วมระดับชาติไปยังระดับท้องถิ่น คือ การที่แบรนด์ระดับประเทศร่วมมือกับแบรนด์ระดับท้องถิ่นเพื่อให้แบรนด์ระดับประเทศเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในท้องถิ่นและแบรนด์ท้องถิ่นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในประเทศได้ เนื่องจากฐานลูกค้าทั้งสองนั้นมีมาก วิธีเดียวที่จะเข้าถึงพวกเขาได้นั้นคือการร่วมกันสร้างแบรนด์ร่วมกัน

ประโยชน์ของการทำ Co-Branding

  • ขยายฐานลูกค้าของทั้งสองแบรนด์
  • สร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นได้
  • ความเสี่ยงต่ำเพราะชื่อเสียงของทั้งสองแบรนด์สามารถช่วยค้ำจุนกันและกัน
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าของทั้งสองแบรนด์
  • ส่งเสริมยอดขาย
  • โอกาสสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยี
  • ภาพลักษณ์ระหว่างแบรนด์ทั้งสองในสายตาลูกค้าที่ดีขึ้น

Photos by freepik – www.freepik.com

Share to friends


Related Posts

ความต่างระหว่าง Brand Extension กับ Line Extension

ในการทำธุรกิจก็ต้องมีการต่อยอดหรือขยับขยายธุรกิจ เพื่อการเติบโตและหาช่องทางในการสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น และหนึ่งในกลยุทธ์ที่หลายๆแบรนด์ใช้ในการบริหารจัดการให้แบรนด์สามารถขยายประเภทสินค้าหรือบริการออกมา แล้วสามารถตอบสนองเป้าหมายของธุรกิจ


สร้างแบรนด์ให้โดดเด่น ด้วย Brand Personality

หลายคนน่าจะเคยได้ยินหรือเจอกับตัวเองที่หลายๆครั้งเวลาเราซื้อสินค้า เรามักจะคิดในใจว่าสินค้านี้มันคือตัวเรา ใช่ไหมครับ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเรามักจะแสดงออกถึงลักษณ์ของความเป็นตัวเอง กับบุคลิกภาพของแบรนด์ที่พวกเขาเลือก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ บุคลิกภาพของแบรนด์นั้นบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์


ภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image)

ลูกค้าในยุคปัจจุบันมักจะมองหาสิ่งที่เหมือน หรือสะท้อนความเป็นตัวตนที่ใกล้เคียงกับบุคลิกภาพของเขา ดังนั้น การแสดงออกถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ ที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับความเป็นตัวตนของกลุ่มลูกค้าได้ ก็จะกลายเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2023@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์