Picture-of-Social-Media-Mobile-Icon

รายงาน Digital 2025 จาก DataReportal ได้ทำการรวบรวมและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรมการใช้ Digital ของคนไทย โดยรายงานฉบับนี้อ้างอิงข้อมูลจากแหล่งชั้นนำระดับโลก เช่น GWI, Reuters Institute for the Study of Journalism, และ We Are Social เพื่อให้เห็นภาพรวมถึงมิติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ ระยะเวลาในการใช้งาน การซื้อสินค้าออนไลน์ และข้อมูลสำคัญๆอื่นๆ

เรามาสำรวจประเด็นสำคัญๆจากรายงาน Digital 2025 ของประเทศไทย และวิเคราะห์กันครับว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัลได้อย่างไร

What's next?

ภาพรวมของการนำไปใช้และการใช้ประโยชน์ จากอุปกรณ์และบริการเชื่อมต่อในประเทศไทย

ณ ปัจจุบัน ประชากรทั้งหมดในประเทศไทยมีจำนวน 71.6 ล้านคน ลดลง 0.06% จากปีก่อน (-42,000 คน) มีการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ 99.5 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 0.7% จากปีก่อน (+734,000 ครั้ง) จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 65.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.8% จากปีก่อน (+1.2 ล้านคน) จำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 51.0 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3.8% จากปีก่อน (+1.9 ล้านคน) โดยการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือต่อประชากรนับเป็น 139% ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรนับเป็น 91.2% ผู้ใช้โซเชียลมีเดียต่อประชากรนับเป็น 71.1%

แม้ว่าจำนวนประชากรจะลดลงเล็กน้อย แต่การเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ การใช้อินเทอร์เน็ต และการใช้โซเชียลมีเดียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบ่งชี้ถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทย จำนวนการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือที่มากกว่าจำนวนประชากร (139%) แสดงให้เห็นว่าหลายคนมีโทรศัพท์มือถือมากกว่าหนึ่งเครื่อง การเติบโตของผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่สูงกว่าการเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยรวม บ่งชี้ว่าโซเชียลมีเดียเป็นส่วนสำคัญของชีวิตดิจิทัลของคนไทย

Thailand-Overview-of-Connected-Device-2025

ข้อมูลประชากรโดยภาพรวม

ข้อมูลจาก Kepios แสดงให้เห็นถึงข้อมูลประชากรที่สำคัญของประเทศไทย โดย ณ ปัจจุบันประเทศไทยมี ประชากรทั้งหมด 71.6 ล้านคน มีสัดส่วนเป็นประชากรหญิง 51.3% ประชากรชาย 48.7% การเปลี่ยนแปลงของประชากรจากปีก่อน ลดลง 0.06% (-42,000 คน) อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40.6 ปี ประชากรในเมืองมีจำนวน 54.7% ความหนาแน่นของประชากร 140.2 คนต่อตารางกิโลเมตร อัตราการรู้หนังสือโดยรวม (อายุ 15 ปีขึ้นไป) 91.1% แบ่งเป็นอัตราการรู้หนังสือของผู้หญิง (อายุ 15 ปีขึ้นไป) 91.5% และอัตราการรู้หนังสือของผู้ชาย (อายุ 15 ปีขึ้นไป) 90.7%

ประเทศไทยมีประชากรค่อนข้างมาก โดยมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย แต่ประชากรของประเทศไทยกำลังลดลงเล็กน้อย ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงอัตราการเกิดที่ลดลงหรือการย้ายถิ่นฐานออกไปนอกประเทศ อายุเฉลี่ยของประชากรค่อนข้างสูง แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ประเทศผู้สูงวัย โดยความหนาแน่นของประชากรค่อนข้างสูง ส่วนอัตราการรู้หนังสือโดยรวมสูง แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีระบบการศึกษาที่ดี

Thailand-Population-Essentias-2025

ประชากรไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015-2022 โดยมีอัตราการเติบโตสูงสุดในปี พ.ศ. 2560 (+0.5%) แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา ประชากรเริ่มลดลงโดยมีอัตราการลดลงสูงสุดในปี 2025 (-0.06%) ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาประชากรสูงวัยและอัตราการเกิดที่ลดลง

Thailand-Population-Over-Time-2025

กลุ่มอายุที่มีประชากรมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 50-54 ปี (5.34 ล้านคน) และ 55-59 ปี (5.29 ล้านคน) กลุ่มอายุที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ 100 ปีขึ้นไป (<0.1%) สัดส่วนประชากรเด็ก (0-14 ปี) อยู่ที่ 14.3% สัดส่วนประชากรวัยทำงาน (15-64 ปี) อยู่ที่ 71.3% สัดส่วนประชากรสูงวัย (65 ปีขึ้นไป) อยู่ที่ 14.4% อย่างไรก็ตาม การมีประชากรสูงวัยมากขึ้นอาจสร้างความท้าทายในระยะยาว เช่น ภาระด้านการดูแลสุขภาพและระบบบำนาญ นั่นหมายถึงประเทศไทยกำลังมีประชากรสูงวัย โดยมีสัดส่วนประชากรสูงวัยมากกว่าประชากรเด็ก กลุ่มอายุที่มีประชากรมากที่สุด อยู่ในช่วงวัยทำงานตอนปลายและวัยสูงอายุตอนต้น เราจะเห็นว่าสัดส่วนประชากรวัยทำงานค่อนข้างสูง ซึ่งอาจส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น

Thailand-Age-Distribution-of-Population-2025

ตัวชี้วัดทางการเงิน

ตัววชี้วัดทางการเงินและการพัฒนาของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากธนาคารโลก (World Bank) เน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รายได้ประชาชาติต่อหัว การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน และการเป็นเจ้าของอุปกรณ์

  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
    • ปัจจุบัน (ดอลลาร์สหรัฐ): 529 พันล้านดอลลาร์
    • PPP (ดอลลาร์สากลปัจจุบัน): 1.77 ล้านล้านดอลลาร์
    • ต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐปัจจุบัน): 7,527 ดอลลาร์
    • ต่อหัว PPP (ดอลลาร์สากลปัจจุบัน): 25,200 ดอลลาร์
  • รายได้ประชาชาติต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐปัจจุบัน): 5,393 ดอลลาร์
  • สัดส่วนประชากรที่มีรายได้น้อยกว่า 3.65 ดอลลาร์ (PPP ปี 2017) ต่อวัน: 0.6%
  • สัดส่วนประชากรที่ใช้บริการน้ำดื่มขั้นพื้นฐาน: 100%
  • สัดส่วนประชากรที่ใช้บริการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐาน: 99.0%
  • สัดส่วนประชากรที่เข้าถึงไฟฟ้า: 99.9%
  • สัดส่วนประชากรที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ (ทุกประเภท): 100%

ประชากรไทยทุกคนเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งบ่งชี้ถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีที่แพร่หลาย โดยมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่และเติบโตที่มี GDP สูงกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์ รายได้ต่อหัวของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง อัตราความยากจนในประเทศไทยต่ำมาก โดยมีประชากรเพียง 0.6% ที่มีรายได้น้อยกว่า 3.65 ดอลลาร์ต่อวัน สำหรับประเทศไทยมีการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานในระดับสูง โดยประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงน้ำดื่ม สุขาภิบาล และไฟฟ้า ได้อย่างสะดวกและทั่วถึง

Thailand-Financial-Development-Indicators-2025

การเป็นเจ้าของอุปกรณ์

ข้อมูลจาก GWI ภาพนี้แสดงถึง “การเป็นเจ้าของอุปกรณ์” ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอายุ 16 ปีขึ้นไปในประเทศไทย โดยเน้นที่สัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ครอบครองอุปกรณ์แต่ละประเภท ดังนี้

  • โทรศัพท์มือถือ (ทุกประเภท): 98.9% (สูงที่สุด)
  • สมาร์ทโฟน: 98.9%
  • สมาร์ททีวี: 40.2%
  • แล็ปท็อปหรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ: 33.1%
  • แท็บเล็ต: 29.8%
  • อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ (ทุกประเภท): 22.6%
  • สมาร์ทวอทช์: 20.4%
  • เครื่องเล่นเกมคอนโซล: 10%
  • อุปกรณ์สตรีมมิ่งทีวี: 7.6%
  • สายรัดข้อมืออัจฉริยะ: 5.8%
  • อุปกรณ์บ้านอัจฉริยะ: 5.4%
  • โทรศัพท์ฟีเจอร์โฟน: 4.0%
  • เครื่องอ่านอีบุ๊ก: 1.9%
  • อุปกรณ์เสมือนจริง (VR): 1.8% (ต่ำที่สุด)

โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน เป็นอุปกรณ์ที่เกือบทุกคนเป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีมือถือที่แพร่หลาย สมาร์ททีวีและคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมรองลงมา โดยมีสัดส่วนผู้เป็นเจ้าของอยู่ที่ประมาณ 30-40% อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ยังมีสัดส่วนผู้เป็นเจ้าของน้อยกว่าอุปกรณ์อื่นๆ ส่วนอุปกรณ์เสมือนจริงยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำไปใช้ โดยมีสัดส่วนผู้เป็นเจ้าของน้อยที่สุด

Thailand-Device-Ownership-2025

การใช้สื่อของคนไทย

ข้อมูลจาก GWI แสดงถึง “การใช้สื่อ” ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอายุ 16 ปีขึ้นไปในประเทศไทย โดยเน้นที่สัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่บริโภคสื่อแต่ละประเภท

  • อินเทอร์เน็ต (โทรศัพท์มือถือ): 98.4% (สูงที่สุด)
  • โซเชียลมีเดีย: 88.3%
  • ทีวี (แพร่ภาพแบบดั้งเดิม หรือการสื่อสารทางเดียวจากผู้ส่งไปยังผู้รับจำนวนมาก): 82.0%
  • อินเทอร์เน็ต (แล็ปท็อป เดสก์ท็อป หรือแท็บเล็ต): 81.8%
  • ทีวี (สตรีมมิ่งหรือออนไลน์): 75.6%
  • สื่อสิ่งพิมพ์ (ออนไลน์): 73.5%
  • พอดแคสต์: 64.0%
  • การสตรีมเพลง: 63.5%
  • เครื่องเล่นเกมคอนโซล: 63.1%
  • สื่อสิ่งพิมพ์ (ดั้งเดิม): 53.5%
  • วิทยุ (ออกอากาศ): 50.6% (ต่ำที่สุด)

อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเกือบทุกคนที่เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยบริโภคสื่อเหล่านี้ ทีวียังคงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมอยู่เสมอ ทั้งการรับชมรายการผ่านการแพร่ภาพแบบดั้งเดิม (Linear TV) และการสื่อสารทางเดียวจากผู้ส่งไปยังผู้รับจำนวนมาก (Broadcast) สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ (Online) ได้รับความนิยมมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิม (Physical Print) พอดแคสต์ การสตรีมเพลง และเกมคอนโซล สื่อเหล่านี้ได้รับความนิยมในระดับปานกลาง โดยมีสัดส่วนผู้บริโภคอยู่ที่ประมาณ 60% ส่วนวิทยุเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุด ซึ่งอาจเป็นเพราะมีสื่อทางเลือกอื่นๆ

Thailand-Media-Use-2025

เวลาที่ใช้กับสื่อในแต่ละวันโดยเฉลี่ยของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอายุ 16 ปีขึ้นไปในประเทศไทย เผยให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ใช้เวลามากที่สุด โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้เวลาเฉลี่ยเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน และส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับโทรศัพท์มือถือ โซเชียลมีเดียเป็นสื่อที่ใช้เวลามากเป็นอันดับ 3 โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้เวลาเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 32 นาทีต่อวัน ทีวียังคงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยม โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน

  • อินเทอร์เน็ต (รวม): 7 ชั่วโมง 54 นาที (มากที่สุด)
  • อินเทอร์เน็ต (โทรศัพท์มือถือ): 5 ชั่วโมง
  • ทีวี (รวม): 3 ชั่วโมง 24 นาที
  • อินเทอร์เน็ต (แล็ปท็อป เดสก์ท็อป หรือแท็บเล็ต): 2 ชั่วโมง 54 นาที
  • โซเชียลมีเดีย: 2 ชั่วโมง 32 นาที
  • สื่อสิ่งพิมพ์ (รวม): 2 ชั่วโมง 2 นาที
  • ทีวี (แพร่ภาพแบบดั้งเดิม หรือการสื่อสารทางเดียวจากผู้ส่งไปยังผู้รับจำนวนมาก): 1 ชั่วโมง 44 นาที
  • ทีวี (สตรีมมิ่งหรือออนไลน์): 1 ชั่วโมง 40 นาที
  • การสตรีมเพลง: 1 ชั่วโมง 36 นาที
  • เครื่องเล่นเกมคอนโซล: 1 ชั่วโมง 32 นาที
  • สื่อสิ่งพิมพ์ (ออนไลน์): 1 ชั่วโมง 23 นาที
  • พอดแคสต์: 1 ชั่วโมง 8 นาที
  • สื่อสิ่งพิมพ์ (ดั้งเดิม): 38 นาที
  • วิทยุ (ออกอากาศ): 32 นาที (น้อยที่สุด)
Thailand-Daily-Time-Spent-with-Media-2025

ภาพรวมการใช้ Internet ในประเทศไทย

ข้อมูลวิเคราะห์จาก Kepios ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 65.4 ล้านคน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรคิดเป็น 91.2% การเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากปีก่อน เพิ่มขึ้น 1.8% (+1.2 ล้านคน) สัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงผ่านโทรศัพท์มือถือ 98.0% เวลาเฉลี่ยที่ใช้อินเทอร์เน็ตต่อวัน คือ 7 ชั่วโมง 54 นาที การเปลี่ยนแปลงของเวลาเฉลี่ยที่ใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันจากปีก่อน ลดลง 0.9% (-4 นาที)

ประเทศไทยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตค่อนข้างแพร่หลาย โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 65 ล้านคน หรือ 91.2% ของประชากร จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเป็นหลัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของอุปกรณ์มือถือในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยใช้เวลาเฉลี่ยเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

Thailand-Overview-of-Internet-Use-2025

อัตราการยอมรับอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015-2025 โดยมีการเติบโตสูงสุดในช่วงปี 2015-2020 โดยอัตราการเติบโตเริ่มชะลอตัวลงในช่วงปี 2021-2023 และคงที่ในปี 2024 ประเทศไทยมีอัตราการยอมรับอินเทอร์เน็ตสูงถึง 91.2% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่แพร่หลายในประเทศ โดยการเติบโตของอัตราการยอมรับอินเทอร์เน็ตอาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสื่อของผู้คน

Thailand-Internet-Adoption-Rate-Over-Time-YOY-2025

ข้อมูลจาก GWI ระบุว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยใช้เวลาเฉลี่ยเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันแบบขาดไม่ได้ ส่วนโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยมีสัดส่วนของเวลาที่ใช้บนมือถือสูงถึง 63.3% ของเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด คอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตยังคงมีบทบาทสำคัญในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยมีเวลาการใช้งานเฉลี่ยเกือบ 3 ชั่วโมงต่อวัน

Thailand-Daily-Time-Spent-Using-Internet-2025

ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าเหตุผลหลักในการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการหาข้อมูล การติดตามข่าวสาร และความบันเทิง โดยมีสัดส่วนเกิน 60% ส่วน 59.5% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้เพื่อฆ่าเวลาและท่องเว็บทั่วไป มีการหาไอเดียใหม่ๆหรือแรงบันดาลใจที่ 56.3% และการเข้าถึงและฟังเพลง 54.9%

Thailand-Main-Reasons-For-Using-Internet-2025

โทรศัพท์มือถือยังคงเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการเข้าถึงเว็บไซต์ในประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งการเข้าชมเว็บไซต์สูงถึง 57.68% (แต่ก็ลดลงจากปีที่ผ่านมาถึง -4.7%) การเข้าชมเว็บจากคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 8.7%) ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คน ในขณะที่การเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านแท็บเล็ตและอุปกรณ์อื่นๆลดลงอย่างมาก (ลดลงจากปีก่อน -9.2%) อาจเป็นเพราะผู้คนหันไปใช้อุปกรณ์อื่นๆในการเข้าถึงเว็บไซต์แทน

Thailand-Share-of-Web-Traffic-by-Device-2025

ข้อมูลสรุปจาก GWI ระบุว่า แชทและการส่งข้อความรวมถึงโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นประเภทเว็บไซต์และแอปฯที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีผู้ใช้เกือบ 99% ที่เคยใช้ในเดือนที่ผ่านมา อีเมล์และ Search Engine ยังคงเป็นเครื่องมือที่สำคัญ โดยมีผู้ใช้เกือบ 90% ในเดือนที่ผ่านมา การช็อปปิ้งออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีผู้ใช้กว่า 80% การเปิดหาแผนที่ ที่จอดรถ หรือตำแหน่งสถานที่ต่างๆนั้นมีผู้ใช้มากกว่าครึ่งหนึ่ง

Thailand-Top-Types-of-Websites-Visited-and-Apps-Used-2025

Top Wesbite ที่คนไทยเข้าเยี่ยมชมมากที่สุด โดย Semrush Ranking

ข้อมูลจาก Semrush แสดงให้เห็นว่า YouTube.com เป็นเว็บไซต์ที่คนไทยเข้าเยี่ยมชมมากที่สุด โดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 2.52 พันล้านครั้ง และใช้เวลาในการเยี่ยมชม 25 นาที 24 วินาที ต่อครั้ง Google.com เป็นเว็บไซต์ที่มีคนเข้าเยี่ยมชมเป็นอันดับที่ 2 โดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 2.46 พันล้านครั้ง และใช้เวลาเฉลี่ยต่อครั้งที่ 10 นาที 45 วินาที ตามมาด้วย Facebook.com ที่เฉลี่ย 399 ล้านครั้งต่อเดือน Shopee.co.th เป็น E-Marketplace ที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมมากที่สุดเฉลี่ย 114 ล้านครั้งต่อเดือน

จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าคนไทยยังนิยมการเสพคอนเทนต์ในรูปแบบวีดิโอมากที่สุด และยังใช้ Google เป็นหลักในการข้อหาข้อมูลต่างๆ และใน 20 อันดับเราจะเห็นว่าเว็บไซต์ 18+ มีคนไทยสนใจเข้าเยี่ยมชมมากถึง 5 เว็บไซต์

Thailand-Top-Websites-Visited-Semrush-Ranking-2025

Application ที่คนไทยใช้งานมากที่สุด

ข้อมูลจาก Data.Ai สรุปว่า Facebook เป็นแอปฯที่มีผู้ใช้สูงสุดต่อเดือน ตามติดมาด้วย YouTube และ Line โดยใน 5 อันดับ แรกเป็นแอปฯโซเชียลมีเดียทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความชื่นชอบของคนไทยกับโลกโซเชียลมากเป็นพิเศษ ส่วนเกมที่มีผู้เล่นมากที่สุด คือ Roblox, Areana of Valor และ Free Fire ที่น่าสนใจก็คือ Subway Suffers ก็ยังคงได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน แม้ว่าจะมีเกมใหม่ๆเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

Thailand-App-Ranking-by-Monthly-Active-Users-2025

Application ที่คนไทยดาวน์โหลดมากที่สุด

แทบจะไม่ต้องสงสัยเลยว่า TEMU กลายเป็นแอปฯที่มีคนดาวน์โหลดมากที่สุด (ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายน 2024) กับโปรโมชั่นส่งฟรีและสินค้าราคาถูก ที่เข้ามาตีตลาดอย่าง Shopee และ Lazada ส่วน Threads จากค่าย Meta ก็เริ่มขยายฐานกลุ่มเป้าหมายที่มากขึ้นหลังจากเปิดตัวมาสักระยะหนึ่ง ที่น่าสนใจก็คือ SSO+ ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 5 ของยอดการดาวน์โหลดสูงสุด ก็สืบเนื่องมาจากแอปฯสำนักงานประกันสังคมเดิมที่ชื่อ SSO Connect หยุดให้บริการ และมีการเปลี่ยนใหม่เป็น SSO+ นั่นเอง สำหรับคอเกม 3 อันดับแรกที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดได้แก่ Free Fire, Subway Surfers และ Last War: Survival Game

Thailand-App-Ranking-Downloads-2025

การเข้าถึงข้อมูลออนไลน์

ข้อมูลจาก GWI ระบุว่าสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอายุ 16 ปีขึ้นไป ใช้ Search Engine (เช่น Google, Bing, DuckDuckGo) ในทุกเดือนถึง 89.0% ใช้ Voice Assistant (เช่น Siri, Google Assistant) เพื่อหาข้อมูลทุกสัปดาห์ 17.0% เข้าชมโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์ 44.4% ใช้เครื่องมือค้นหารูปภาพ (เช่น Google Lens, Pinterest Lens) บนมือถือทุกเดือน 32.4% สแกน QR โค้ดบนโทรศัพท์มือถือทุกเดือนมากถึง 61.5% ใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อแปลข้อความเป็นภาษาต่างๆทุกสัปดาห์ถึง 43.8%

Search Engine ยังเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ โดยมีผู้ใช้เกือบ 90% ที่ใช้เป็นประจำทุกเดือน แต่การใช้ Voice Assistant เพื่อหาข้อมูลยังไม่แพร่หลายมากนัก และเครื่องมือแปลภาษาถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยมีผู้ใช้เกือบ 44% ที่ใช้เป็นประจำ

Thailand-Accessing-Online-Information-2025

คำค้นหายอดนิยมบน Google Search

คำค้นหายอดนิยมของ Google ในประเทศไทยในช่วงปีที่ผ่านมา โดยคำว่า “หนัง” เป็นคำค้นหามากที่สุด (ดัชนีเทียบกับคำค้นหายอดนิยม 100) ส่วนคำค้นหาอื่นๆที่ติดอันดับ ได้แก่ แปล, ผล บอล, แปล ภาษา, หวย, บอล สด, YouTube, บ้าน บอล, สภาพอากาศ, Google, Facebook, บ้าน ผล บอล, ดู หนัง, VK, ผล บอล สด, ตรวจ หวย, หนังไทย, ดูบอล, เกม

คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิง (หนัง, YouTube, ดู หนัง, หนังไทย, ดูบอล, เกม) และกีฬา (ผล บอล, บอล สด, บ้าน บอล, ผล บอล สด) ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจในคอนเทนต์ประเภทนี้ในประเทศไทย ส่วนคำค้นหา “หวย” และ “ตรวจ หวย” ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความนิยมของการเสี่ยงโชคในประเทศไทยอยู่เช่นเคย

Thailand-Top-Google-Searches-2025

กิจกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์

การซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการออนไลน์เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีผู้ใช้เกือบ 70% ที่ทำเป็นประจำทุกสัปดาห์ ส่วนการสั่งซื้อของชำผ่านร้านค้าออนไลน์ได้รับความนิยมในระดับปานกลาง โดยมีผู้ใช้กว่า 45% การซื้อสินค้ามือสองผ่านร้านค้าออนไลน์ยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยมีผู้ใช้เพียง 12.5% สำหรับบริการเปรียบเทียบราคาออนไลน์ และบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (Buy Now, Pay Later) ได้รับความนิยมในระดับใกล้เคียงกัน โดยมีผู้ใช้ประมาณ 24.4% และ 22.7% ที่ใช้เป็นประจำทุกสัปดาห์

Thailand-Weekly-Online-Shopping-Activities-2025

ข้อมูลเชิงลึกจาก Statista สรุปว่า จำนวนผู้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ในปี 2024 มีจำนวน 16.3 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 7.5% จากปีก่อน หรือ +1.1 ล้านคน) ยอดใช้จ่ายรวมต่อปีโดยประมาณสำหรับการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคออนไลน์ จำนวน 19.3 พันล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้น 13.9% จากปีก่อน หรือ +2.4 พันล้านดอลลาร์) รายได้เฉลี่ยต่อปีต่อผู้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคบน E-Commerce อยู่ที่ 1,183 ดอลลาร์ (เพิ่มขึ้น 5.9% จากปีก่อน หรือ +66 ดอลลาร์) ส่วนแบ่งของยอดใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในปี 2024 ที่มาจากการซื้อผ่านโทรศัพท์มือถือ 68.3% (เพิ่มขึ้น 0.8% จากปีก่อน หรือ +54 จุดพื้นฐาน) การซื้อออนไลน์ในปี 2024 เทียบกับมูลค่าการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภครวม ผ่านช่องทางค้าปลีกทั้งหมด 11.4% (เพิ่มขึ้น 8.8% จากปีก่อน หรือ +93 จุดพื้นฐาน)

Thailand-Overview-of-Consumer-Goods-E-Commerce-2025

หมวดหมู่สินค้าอุปโภคบริโภค

สินค้าด้านความงามและการดูแลส่วนบุคคล เป็นหมวดหมู่ที่มีการใช้จ่ายสูงที่สุด โดยมีมูลค่าถึง 3.78 พันล้านดอลลาร์ ส่วนอาหารและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหมวดหมู่ที่มีการใช้จ่ายรองลงมาที่ 3.63 และ 3.38 พันล้านดอลลาร์ สินค้าในหมวดหมู่เฉพาะกลุ่มอย่าง DIY และฮาร์ดแวร์ ยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ ของเล่นและงานอดิเรก เฟอร์นิเจอร์ และแว่นตา มีการใช้จ่ายน้อยกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเฉพาะเจาะจงของสินค้าเหล่านี้

Thailand-E-Commerce-Consumer-Goods-Categories-2025

ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการซื้อสินค้าออนไลน์

โปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เช่น ส่งฟรี คูปอง และส่วนลด เป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญที่สุดในการซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญกับความคุ้มค่ามากกว่าสิ่งอื่นใด การเก็บเงินปลายทาง การยึดกับยอดไลค์ ความคิดเห็นบนโซเชียล และรีวิวจากลูกค้า ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญรองลงมา

Thailand-Online-Purchase-Drivers-2025

การซื้อ Digital Content

บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์หรือทีวีและเกมมือถือ เป็น Digital Content ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความนิยมของความบันเทิงดิจิทัลในประเทศไทย ส่วนบริการสตรีมมิ่งเพลงและแอปฯมือถือได้รับความนิยมในระดับปานกลาง บริการอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ดิจิทัล In-App Purchase บริการหาคู่ บริการข่าว และการสมัครสมาชิกนิตยสารออนไลน์ มีผู้ใช้ในสัดส่วนที่น้อยกว่า

  • บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์หรือทีวี: 26.4% (มากที่สุด)
  • เกมมือถือ: 24.3%
  • บริการสตรีมมิ่งเพลง: 19.0%
  • แอปฯมือถือ: 18.7%
  • ดาวน์โหลดเพลง: 13.0%
  • ภาพยนตร์ดิจิทัล (ซื้อหรือเช่า): 8.6%
  • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book): 7.3%
  • โปรแกรมการศึกษาหรือสื่อการเรียนรู้: 7.1%
  • แพ็คเกจซอฟต์แวร์: 7.0%
  • บริการเว็บระดับพรีเมียม: 6.6%
  • In-App Purchase: 6.5%
  • บริการหาคู่: 5.3%
  • บริการข่าว: 5.0%
  • สมัครสมาชิกนิตยสารออนไลน์: 4.6% (น้อยที่สุด)
Thailand-Digital-Content-Purchases-2025

ภาพรวมการใช้ Social Media ของคนไทย

จำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ณ ปัจจุบันมี 51.0 ล้านคน การเปลี่ยนแปลงรายไตรมาสของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย เพิ่มขึ้น +3.7% (+1.8 ล้านคน) การเปลี่ยนแปลงรายปีของผู้ใช้โซเชียลมีเดีย เพิ่มขึ้น +3.8% (+1.9 ล้านคน) เวลาเฉลี่ยที่ใช้โซเชียลมีเดียต่อวัน คือ 2 ชั่วโมง 32 นาที (เพิ่มขึ้น 0.6% หรือ 1 นาทีจากปีก่อน) จำนวนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเฉลี่ยที่ใช้ต่อเดือน เท่ากับ 7.1 แพลตฟอร์ม (เพิ่มขึ้น 6.0% หรือ 0.4 แพลตฟอร์มจากปีก่อน) ผู้ใช้โซเชียลมีเดียอายุ 18 ปีขึ้นไปเทียบกับประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป มีจำนวน 86.6% โดยมีผู้หญิงใช้โซเชียลมีเดียมากกว่าผู้ชายเล็กน้อยที่ 50.8% ส่วนผู้ชาย 49.2%

จากข้อมูลวิเคราะห์ได้ว่า ผู้ใช้โซเชียลมีเดียผู้หญิงและผู้ชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมทางเพศในการใช้โซเชียลมีเดีย การใช้โซเชียลมีเดียในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นทั้งรายไตรมาสและรายปี โซเชียลมีเดียได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างไม่ต้องสงสัย โซเชียลมีเดียมีการเข้าถึงที่กว้างขวางในประเทศไทย โดยมีผู้ใช้มากกว่า 70% ของประชากรทั้งหมด

Thailand-Overview-of-Social-Media-Use-2025

การเข้าถึงโฆษณาของผู้ใช้งาน META

ข้อมูลจาก META และ Kepios เปิดเผยให้เห็นว่าส่วนแบ่งของการเข้าถึงโฆษณา Facebook, Instagram และ Messenger นนั้น กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีการเข้าถึงโฆษณาสูงที่สุดใน Meta ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับนักการตลาด ผู้หญิงมีการเข้าถึงโฆษณาสูงกว่าผู้ชายในทุกกลุ่มอายุ และการเข้าถึงโฆษณาลดลงตามอายุโดยกลุ่มอายุ 65+ ปี มีการเข้าถึงโฆษณาต่ำที่สุด ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้สูงอายุมีแนวโน้ม ที่จะใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียในระดับที่น้อยกว่า

Thailand-Demographic-Profile-Meta-Adult-Audience-2025

เหตุผลที่ใช้งาน Social Media

การติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวเป็นเหตุผลหลักที่ผู้คนใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์ การอ่านข่าวและดูว่าคนอื่นพูดถึงอะไร กลายเป็นเป็นเหตุผลที่สำคัญรองลงมา การหาแรงบันดาลใจสำหรับสิ่งที่ต้องทำและซื้อรวมถึงการหาสินค้าที่จะซื้อ เป็นเหตุผลที่ได้รับความนิยมในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคอยู่ในระดับหนึ่ง การหลีกเลี่ยง FOMO (ความกลัวที่จะพลาดสิ่งต่างๆ) และการแบ่งปันความคิดเห็นเป็นเหตุผลที่ได้รับความนิยมในระดับปานกลาง

  • ติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว: 56.9% (มากที่สุด)
  • อ่านข่าว: 39%
  • ดูว่าคนอื่นพูดถึงอะไร: 36.2%
  • หาแรงบันดาลใจสำหรับสิ่งที่ต้องทำและซื้อ: 34.5%
  • ฆ่าเวลา: 34.4%
  • หาสินค้าที่จะซื้อ: 33.8%
  • หลีกเลี่ยงการพลาดสิ่งต่าง ๆ (FOMO): 31.5%
  • แบ่งปันและพูดคุยความคิดเห็นกับผู้อื่น: 29.7%
  • ติดตามคนดังหรืออินฟลูเอนเซอร์: 27.1%
  • ดูหรือติดตามกีฬา: 27.1%
  • หาเนื้อหา (เช่น บทความ วิดีโอ): 25.9%
  • สร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ: 25.5%
  • โพสต์เกี่ยวกับชีวิตของคุณ: 25.5%
  • ดูสตรีมสด: 24.0%
  • ดูเนื้อหาจากแบรนด์ที่คุณชื่นชอบ: 22.8% (น้อยที่สุด)
Thailand-Main-Reasons-for-Using-Social-Media-2025

แพลตฟอร์ม Social Media ที่ใช้มากที่สุด

Facebook และ LINE เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีผู้ใช้เกือบ 90% ที่ใช้เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแพลตฟอร์มเหล่านี้ ในการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้ใช้มากกว่า 85% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความนิยมของวิดีโอสั้น (Short Video) ในประเทศไทย

  • Facebook: 90.7% (มากที่สุด)
  • LINE: 90.6%
  • TikTok: 85.7%
  • Messenger: 82.4%
  • Instagram: 63.7%
  • X (Twitter เดิม): 45.9%
  • Lemon8: 31.0%
  • Pinterest: 23.9%
  • Telegram: 17.5%
  • WhatsApp: 14.0%
  • iMessage: 12.8%
  • Threads: 11.2%
  • Discord: 10.1%
  • LinkedIn: 8.2%
  • WeChat: 6.8% (น้อยที่สุด)
Thailand-Most-Used-Social-Media-Platforms-2025

แพลตฟอร์ม Social Media ที่ใช้มากที่สุด

ข้อมูลจาก GWI เผยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภูมิทัศน์โซเชียลมีเดียของไทย โดย TikTok แซงหน้า Facebook ขึ้นเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ชื่นชอบมากที่สุด สิ่งนี้บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสื่อของผู้คน โดยหันมาให้ความสนใจกับวิดีโอสั้น (Short Video) และเนื้อหาที่สร้างสรรค์มากขึ้น ความสำเร็จของ TikTok อาจมาจากอัลกอริทึมที่ทรงพลัง ซึ่งสามารถนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างแม่นยำ

ถึงแม้จะถูก TikTok แซงหน้าแต่ Facebook ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งยังมีฐานผู้ใช้ที่กว้างขวางและฟังก์ชันที่หลากหลาย ทำให้ Facebook ยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล แต่อย่างไรก็ตาม การที่ Facebook มีเปอร์เซ็นต์ความชื่นชอบลดลง แสดงให้เห็นถึงความท้าทายในการรักษาความสนใจ ของผู้ใช้ในยุคที่แพลตฟอร์มใหม่ๆกำลังเติบโต

LINE ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในระดับสูง โดยเฉพาะในด้านการติดต่อสื่อสารส่วนตัวและการใช้งานในชีวิตประจำวัน ฟังก์ชันที่หลากหลาย เช่น การส่งข้อความ การโทร การชำระเงิน และบริการอื่นๆ ทำให้ LINE เป็นแอปพลิเคชั่นที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้คนจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม LINE มีเปอร์เซ็นต์ความชื่นชอบที่น้อยกว่า TikTok และ Facebook ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้คนมองว่า LINE เป็นเครื่องมือสื่อสารมากกว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อความบันเทิง และเหมาะกับการทำ CRM ในเชิงธุรกิจมากกว่า

  • TikTok: 32.7% (มากที่สุด)
  • Facebook: 29.5%
  • LINE: 13.7%
  • Instagram: 7.5%
  • Messenger: 6.3%
  • X (Twitter เดิม): 4.0%
  • Lemon8: 2.2%
  • Pinterest: 0.7%
  • Discord: 0.4%
  • Telegram: 0.3%
  • iMessage: 0.2%
  • WhatsApp: 0.2%
  • Bluesky: 0.1%
  • LinkedIn: 0.1%
  • Reddit: 0.1% (น้อยที่สุด)
Thailand-Favourite-Social-Media-Platforms-2025

Social Media แอปฯที่มีระยะเวลาการใช้งานมากที่สุด

YouTube เป็นแอปฯที่ผู้ใช้ใช้เวลามากที่สุด โดยเฉลี่ยกว่า 42 ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความนิยมของวิดีโอออนไลน์ในประเทศไทย ตามมาด้วย TikTok ที่มีผู้ใช้ใช้เวลามากเป็นอันดับ 2 โดยเฉลี่ยเกือบ 38 ชั่วโมงต่อเดือน Facebook เป็นแอปฯที่ผู้ใช้ใช้เวลามากเป็นอันดับ 3 โดยเฉลี่ยกว่า 16 ชั่วโมงต่อเดือน

  • YouTube: 42 ชั่วโมง 14 นาที (มากที่สุด)
  • TikTok: 37 ชั่วโมง 40 นาที
  • Facebook: 16 ชั่วโมง 23 นาที
  • Instagram: 8 ชั่วโมง 44 นาที
  • Messenger: 7 ชั่วโมง 17 นาที
  • LINE: 7 ชั่วโมง 15 นาที
  • WhatsApp: 4 ชั่วโมง 18 นาที
  • X (Twitter เดิม): 2 ชั่วโมง 53 นาที
  • Telegram: 2 ชั่วโมง 44 นาที
  • Snapchat: 1 ชั่วโมง 51 นาที
  • Pinterest: 1 ชั่วโมง 38 นาที
  • Reddit: 56 นาที
  • LinkedIn: 25 นาที (น้อยที่สุด)
Thailand-Social-Media-Apps-Average-Time-Per-User-2025

ผู้คนให้ความสำคัญกับการติดตามบุคคลที่พวกเขารู้จักเป็นการส่วนตัวมากที่สุด ซึ่งนั่นก็คือ เพื่อน ครอบครัว และคนที่รู้จัก รายการทีวี นักแสดง นักดนตรี และคนดังอื่นๆ ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการเนื้อหาบันเทิงบนโซเชียลมีเดีย ร้านอาหารและอินฟลูเอนเซอร์ด้านต่างๆ ก็ได้รับความนิยมในระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งบ่งชี้ถึงความสนใจในเนื้อหาเฉพาะทาง ผู้คนยังติดตามแบรนด์และบริษัทที่พวกเขาซื้อสินค้าหรือกำลังพิจารณาซื้อ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของโซเชียลมีเดียในการตัดสินใจซื้อมากขึ้น

Thailand-Social-Media-Account-Types-Followed-2025

การเข้าชมเว็บไซต์ที่มาจากลิงก์บน Facebook

ในช่วงแรก Facebook มีส่วนแบ่งการอ้างอิงการเข้าชมเว็บไซต์ที่สูงมาก โดยเกือบถึง 100% ในบางปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่โดดเด่นของ Facebook ในฐานะแหล่งที่มาของการเข้าชมเว็บจากโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ส่วนแบ่งของ Facebook เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2022 ที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของผู้คน หรือการเติบโตของแพลตฟอร์มอื่นๆ และอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมของ Facebook เอง รวมถึงการเติบโตของ TikTok

Thailand-Facebook-Share-of-Social-Media-Referrals-2025

ภาพรวมผู้ใช้งาน Line

LINE เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย โดยมีผู้ใช้ที่ใช้งานจริงต่อเดือนถึง 56 ล้านคน โดยมีผู้ใช้มากกว่า 78% ของประชากรทั้งหมด และมากกว่า 85% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด แม้ว่าการเติบโตรายไตรมาสจะคงที่ แต่ LINE ยังคงมีการเติบโตรายปีอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้เพิ่มขึ้น 1 ล้านคน ผู้ใช้ LINE ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย โดยมีสัดส่วน 54% ของผู้ใช้ทั้งหมด

Thailand-Line-Overview-of-Active-Users-2025

ภาพรวมการเข้าถึงโฆษณาบน YouTube

YouTube มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากในประเทศไทย โดยมีการเข้าถึงถึง 47.6 ล้านคน การเข้าถึงโฆษณาบน YouTube ใกล้เคียงกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความนิยมของ YouTube ในฐานะแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ YouTube ยังคงมีการเติบโตรายปีต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้เพิ่มขึ้น 3.4 ล้านคน การเข้าถึงโฆษณา YouTube ทั้งหญิงและชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน YouTube มีการเข้าถึงโฆษณาในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปค่อนข้างสูง โดยมากกว่า 70% ของประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปสามารถเข้าถึงโฆษณาบน YouTube ได้

Thailand-YouTube-Advertising-Audience-Overview-2025

กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงที่สุดใน YouTube ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับนักการตลาด ในทุกกลุ่มอายุผู้หญิงและผู้ชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายจะลดลงตามอายุ โดยกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป มีส่วนแบ่งต่ำ พอๆกับกลุ่มอายุ 18-24 ปี ที่ไม่น่าจะใช่กลุ่มเป้าหมายหลักของนักการตลาด

Thailand-YouTube-Advertising-Audience-Profile-2025

ภาพรวมการเข้าถึงโฆษณาบน Facebook

Facebook มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโฆษณาจำนวนมากในประเทศไทย โดยมีการเข้าถึงถึง 51 ล้านคน Facebook ยังคงมีการเติบโตทั้งรายไตรมาสและรายปี โดยมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นกว่า 1.8 ล้านคน การเข้าถึงโฆษณา Facebook ทั้งหญิงและชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน

Thailand-Facebook-Advertising-Audience-Overview-2025

กลุ่มคนอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่เข้าถึงโฆษณาสูงที่สุดใน Facebook ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับนักการตลาด ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีสัดส่วนเท่ากัน แต่ในกลุ่มอายุอื่นๆผู้หญิงมีสัดส่วนสูงกว่าผู้ชายเล็กน้อย ส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาจะลดลงตามอายุ โดยกลุ่มอายุ 65+ ปี มีส่วนแบ่งต่ำที่สุด แสดงให้เห็นว่ากลุ่มนี้อาจไม่นิยมเล่น Facebook มากเท่าไหร่

Thailand-Facebook-Advertising-Audience-Profile-2025

อัตราการมีส่วนร่วมของผู้ชมบน Facebook โดย Locowise

การโพสต์สถานะมีอัตราการมีส่วนร่วมสูงสุด (0.13%) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ Facebook มีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับโพสต์ที่เน้นข้อความมากกว่า การโพสต์รูปภาพมีอัตราการมีส่วนร่วมรองลงมา (0.08%) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปภาพยังคงเป็นเนื้อหาที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้ Facebook การโพสต์วิดีโอมีอัตราการมีส่วนร่วมปานกลาง (0.06%) ซึ่งดูแล้ว Facebook อาจไม่เหมาะกับวิดีโอมากเท่าที่คาดหวังไว้ ส่วนการโพสต์ลิงก์มีอัตราการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด (0.01%) ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าผู้ใช้ Facebook ไม่ค่อยสนใจที่จะคลิกลิงก์ที่แชร์บน Facebook

Thailand-Facebook-Engagement-Rates-Locowise-2025

ภาพรวมการเข้าถึงโฆษณาบน Instagram

Instagram มีการเข้าถึงโฆษณาที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ Facebook และ YouTube ซึ่งบ่งชี้ว่า Instagram มีกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า โดยผู้หญิงมีสัดส่วนการเข้าถึงโฆษณาบน Instagram สูงกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้หญิงมากกว่า Instagram มีการเติบโตรายไตรมาสแต่มีการลดลงในรายปี ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ใช้ที่เปลี่ยนไป หรือการแข่งขันจากแพลตฟอร์มอื่นๆ Instagram มีการเข้าถึงโฆษณาในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปประมาณ 30% ของประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Instagram ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญสำหรับนักการตลาดที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนี้

Thailand-Instagram-Advertising-Audience-Overview-2025

กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงที่สุดบน Instagram ผู้หญิงมีสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงกว่าผู้ชายในทุกกลุ่มอายุอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้หญิงมากกว่า ส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาจะลดลงตามอายุ โดยกลุ่มอายุ 65+ ปี มีส่วนแบ่งต่ำที่สุด ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะใช้ Instagram ในระดับที่น้อยกว่า

Thailand-Instagram-Advertising-Audience-Profile-2025

ภาพรวมการเข้าถึงโฆษณาบน TikTok

TikTok มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโฆษณาจำนวนมากในประเทศไทย โดยมีการเข้าถึงถึง 34 ล้านคน โดยเข้าถึงในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปมากกว่า 57% ของประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งหมด TikTok มีการลดลงของการเข้าถึงโฆษณาทั้งรายไตรมาสและรายปี ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ใช้ หรือการแข่งขันจากแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยผู้หญิงมีสัดส่วนการเข้าถึงโฆษณาบน TikTok สูงกว่าผู้ชายเล็กน้อย

Thailand-TikTok-Advertising-Audience-Overview-2025

กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงที่สุดบน TikTok ผู้หญิงมีสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงกว่าผู้ชายในทุกกลุ่มอายุอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้หญิงมากกว่า ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาในแต่ละกลุ่มอายุไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความนิยมของ TikTok ในกลุ่มผู้ใหญ่วัยต่างๆเช่นกัน

Thailand-TikTok-Advertising-Audience-Profile-2025

ภาพรวมการเข้าถึงโฆษณาบน LinkedIn

LinkedIn มีการเข้าถึงโฆษณาที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook และ YouTube ซึ่งบ่งชี้ว่า LinkedIn มีกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมืออาชีพด้านการทำงานและผู้ที่สนใจด้านธุรกิจ LinkedIn มีการเติบโตของการเข้าถึงโฆษณาทั้งรายไตรมาสและรายปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ LinkedIn ในประเทศไทย โดยมีการเข้าถึงโฆษณาในกลุ่มอายุ 18+ ประมาณ 10% ของประชากรอายุ 18+ ทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า LinkedIn ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญสำหรับนักการตลาดที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนี้

Thailand-LinkedIn-Advertising-Audience-Overview-2025

กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงที่สุดใน LinkedIn ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับนักการตลาด ผู้ชายมีสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงกว่าผู้หญิงในทุกกลุ่มอายุอย่างเห็นได้ชัด ส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาจะลดลงตามอายุ โดยกลุ่มอายุ 55+ ปี มีส่วนแบ่งต่ำที่สุด

Thailand-LinkedIn-Advertising-Audience-Profile-2025

ภาพรวมการเข้าถึงโฆษณาบน Messenger

Messenger มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโฆษณาจำนวนมากในประเทศไทย โดยมีการเข้าถึงถึง 35.9 ล้านคน Messenger มีการเข้าถึงโฆษณาในกลุ่มอายุ 18+ มากกว่า 60% ของประชากรอายุ 18+ ทั้งหมด Messenger มีการเติบโตของการเข้าถึงโฆษณาที่สม่ำเสมอทั้งรายไตรมาสและรายปี แม้ว่าอัตราการเติบโตจะค่อนข้างต่ำ (+1.0%) ส่วนแบ่งการเข้าถึงโฆษณาของผู้หญิงและผู้ชายบน Messenger มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน Messenger มีการเข้าถึงโฆษณาที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการใช้ Messenger เพื่อการสื่อสารส่วนตัวและการสนทนากลุ่มมากกว่า

Thailand-Messenger-Advertising-Audience-Overview-2025

กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงที่สุดบน Messenger โดยในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ผู้หญิงและผู้ชายมีสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายโฆษณาใกล้เคียงกัน แต่ในกลุ่มอายุอื่นๆ ผู้หญิงมีสัดส่วนสูงกว่าผู้ชายเล็กน้อย ส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาจะลดลงตามอายุ โดยกลุ่มอายุ 65+ ปี มีส่วนแบ่งต่ำที่สุด และ Messenger ดูจะไม่เป็นที่นิยมมากเท่าไหร่กับกลุ่มวัยรุ่นช่วงอายุ 18-24 ปี

Thailand-Messenger-Advertising-Audience-Profile-2025

ภาพรวมการเข้าถึงโฆษณาบน X

X (Twitter) มีการเข้าถึงโฆษณาที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook และ YouTube โดยผู้ชายมีสัดส่วนการเข้าถึงโฆษณาบน X (Twitter) สูงกว่าผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัด X (Twitter) มีการลดลงของการเข้าถึงโฆษณาทั้งรายไตรมาสและรายปี โดยมีการเข้าถึงโฆษณาในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปประมาณ 22% ของประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปทั้งหมด

Thailand-X-Advertising-Audience-Overview-2025

กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงที่สุดใน X (Twitter) โดยผู้ชายมีสัดส่วนกลุ่มเป้าหมายโฆษณาสูงกว่าผู้หญิงในทุกกลุ่มอายุอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 25-34 ปี และ 35-49 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า X (Twitter) เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ชายมากกว่า ส่วนแบ่งกลุ่มเป้าหมายโฆษณาจะลดลงตามอายุ โดยกลุ่มอายุ 50+ ปี มีส่วนแบ่งต่ำที่สุด

Thailand-X-Advertising-Audience-Overview-2025

ช่องทางที่ใช้ในการค้นหาแบรนด์ สินค้า และบริการใหม่ๆ

Search Engine เป็นแหล่งที่มาของการค้นพบแบรนด์ใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำ SEO และการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา โฆษณาในแอปฯมือถือและทีวีเป็นช่องทางของการค้นพบแบรนด์ที่สำคัญรองลงมา ส่วนเว็บไซต์โดยตรงของแบรนด์และรายการทีวี เป็นช่องทางของการค้นพบแบรนด์ที่ได้รับความนิยมในระดับปานกลาง

  • เครื่องมือค้นหา (Search Engines): 37.1% (มากที่สุด)
  • โฆษณาในแอปฯมือถือ: 30.8%
  • โฆษณาทางทีวี: 29.6%
  • เว็บไซต์ของแบรนด์: 28.8%
  • รายการทีวีและภาพยนตร์: 27.5%
  • เว็บไซต์เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์: 27.4%
  • โฆษณาบนโซเชียลมีเดีย: 26.8%
  • โฆษณาบนเว็บไซต์: 25.4%
  • เว็บไซต์รีวิวผู้บริโภค: 23.8%
  • โปรโมชั่นในร้านค้า: 22.5%
  • การบอกต่อ: 22.5%
  • ความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดีย: 21.1%
  • ตัวอย่างผลิตภัณฑ์หรือทดลองใช้: 19.8%
  • โฆษณาในวิดีโอเกม (รวมถึงเกมมือถือ): 17.4%
  • บล็อกเกอร์ผู้เชี่ยวชาญ: 16.6% (น้อยที่สุด)
Thailand-Sources-of-Brand-Discovery-2025

ในส่วนของการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบรนด์ อันดับ 1 ยังคงเป็น Search Engine แต่ก็มีความแตกต่างในช่องทางอื่นๆ เมื่อเทียบกับการค้นหาแบรนด์ใหม่ๆ

  • เครื่องมือค้นหา (Search Engines): 54.7% (มากที่สุด)
  • แอปฯมือถือ: 48.3%
  • เครือข่ายสังคม: 44.4%
  • เว็บไซต์ผลิตภัณฑ์และแบรนด์: 33.7%
  • รีวิวจากผู้บริโภค: 33.2%
  • เว็บไซต์เปรียบเทียบราคา: 31.9%
  • เว็บไซต์คูปองส่วนลด: 26.7%
  • เว็บไซต์วิดีโอ: 23.7%
  • เว็บไซต์รีวิวเฉพาะทาง: 19.7%
  • บล็อกของแบรนด์และผลิตภัณฑ์: 17.9%
  • เว็บไซต์ถามตอบ: 14.9%
  • วิดีโอบล็อก: 12.7%
  • บริการส่งข้อความ: 12.6%
  • ฟอรัมและกระดานข้อความ: 9.4%
  • ไมโครบล็อก: 8.8% (น้อยที่สุด)
Thailand-Main-Channels-for-Online-Brand-Research-2025

สำหรับผู้อ่านที่สนในรายงานฉบับเต็มสามารถดูได้ที่นี่ครับ


Source:
https://datareportal.com/reports/digital-2025-thailand

Share to friends


Related Posts

สรุป Social Platform ประจำปี 2025 โดย YouTube มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก

รายงาน Digital 2025 จาก DataReportal ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั่วโลก ทั้งจำนวนผู้ใช้งาน ความนิยมของแต่ละแพลตฟอร์ม พฤติกรรมการใช้งาน รวมถึงแนวโน้มที่สำคัญๆ ที่นักการตลาดและธุรกิจควรจับตามอง โดยรายงานฉบับนี้อ้างอิงข้อมูลจากแหล่งชั้นนำระดับโลก เช่น GWI, Reuters Institute for the Study of Journalism, และ We Are Social เพื่อให้เห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมโซเชียลมีเดียในปี 2025 โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์มยอดนิยม เช่น YouTube, Facebook, Instagram, TikTok และ WhatsApp


สรุป Insight คนแต่ละ Generation ประจำปี 2025

มาดูสรุปรายงานภาพรวมฉบับล่าสุดจาก TCDC กับ Insight ของคนแต่ละ Generation ในปี 2025 จากทั่วทุกมุมโลก ที่จะทำให้คุณในฐานะนักการตลาด เจ้าของกิจการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนธุรกิจ ได้เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ เรามาดูกันครับว่า Insight ของคนแต่ละ Generation ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2025 นั้นมีอะไรกันบ้าง


รวมเวลาโพสต์ Social Media ที่ดีที่สุดสำหรับปี 2025 บน Facebook, Instagram, X, TikTok, YouTube, LinkedIn

การโพสต์คอนเทนต์ลง Social Media ต้องอาศัยหลากหลายปัจจัยเพื่อทำให้โพสต์แต่ละโพสต์นั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด โดยปกติเรามักจะใช้วิธีการปรับปรุงการเลือกกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณา ปรับปรุงด้านการเขียนคอนเทนต์ แต่ยังมีอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้โพสต์แต่ละโพสต์นั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการเห็นและเปิดดูมากที่สุด นั่นก็คือเรื่องของเวลาการในลงโพสต์นั่นเอง เรามาดูกันครับว่าหากจะโพสต์ควรจะช่วงเวลาไหนดี ซึ่งผมรวบรวมจากเว็บไซต์ทั้ง Hootsuite, Optinmonster, Social Polit, Coschedule, Buffer และ Sprout Social มาฝากกันครับ



copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์