& Marketing Cost Calculator
ทางการตลาด เพื่อให้คุณสามารถปรับกลยุทธ์และเพิ่มประสิทธิภาพ
ของแคมเปญของคุณได้ดียิ่งขึ้น
ลองคำนวณ KPI โซเชียลมีเดียของคุณแบบง่ายๆ โดยใส่ข้อมูลในตารางด้านล่าง เพื่อดูว่าตัวชี้วัดแต่ละตัวของธุรกิจคุณ
เข้าใกล้เป้าหมายมากหรือน้อยขนาดไหน เพื่อที่คุณจะได้ปรับกลยุทธ์การตลาดให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
Digital Marketing KPIs & Metrics
การวัดผลเพื่อดูอัตราการเติบโตของจำนวนคนติดตาม (Followers) บนโซเชียลมีเดีย ที่แสดงให้เห็นว่าในแต่ละช่วงเวลานั้น
มีคนติดตามเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนผู้ติดตามใหม่ (New Followers) ÷ จำนวนผู้ติดตามทั้งหมด (Total Followers) X 100
การวัดผลเพื่อดูว่ามีคนที่เห็นโพสต์คุณกี่โพสต์ ตั้งแต่แรกเริ่มของการเผยแพร่
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนผู้ที่เห็น Post ของคุณ (Post Views) ÷ จำนวนผู้ติดตามทั้งหมด (Total Followers) X 100
มีกี่คนที่พูดถึงคุณเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงโดยตรง เช่น @popticles หรือแบบอ้อมๆ
เช่น popticles ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนคนที่พูดถึงคุณ (Mentions) ÷ จำนวนการพูดถึงแบรนด์อื่นๆทั้งหมด (All Other Mentions) X 100
มีกี่คนที่กดไลค์ ปรบมือ หรือชอบโพสต์ของคุณ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดตามทั้งหมด
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนการกดไลค์ทั้งหมด (Likes) ÷ จำนวนผู้ติดตามทั้งหมด (Total Followers) X 100
การมีส่วนร่วม (Engagement) ของผู้ติดตามเพจของคุณ ที่รวมทั้งการกดไลค์ (Likes) การแชร์ (Shares)
การคอมเม้นท์ (Comments) ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวน Likes + Comments + Shares ÷ จำนวนผู้ติดตามทั้งหมด (Total Followers) X 100
การแสดงให้เห็นว่าผู้ติดตามของคุณสนใจ หรือมีความใส่ใจในโพสต์ของคุณ และแบ่งปันเนื้อหากับผู้คนอย่างไร
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนโพสต์ที่ถูกแชร์ (Shares) ÷ จำนวนผู้ติดตามทั้งหมด (Total Followers) X 100
อัตราส่วนการเปลี่ยนแปลง (Conversion) ให้เกิดผลลัพธ์บางอย่างผ่านการคลิกลิงค์ (Clicks) เช่น ยอดจำหน่ายสินค้าตามจริง
ยอดดาวน์โหลด E-Book ยอดการลงทะเบียน เมื่อเทียบกับยอดการกดคลิก
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนการเปลี่ยนแปลง (Conversion) ÷ จำนวนการคลิกทั้งหมด (Total Clicks) X 100
ตัวบ่งชี้ว่าโพสต์ต่างๆมีอัตราการคลิก (Click) หรือ Call to Action (CTA) เท่าไร จากการเห็นโฆษณา
(ไม่ใช่การแชร์ การกดไลค์ หรือการคอมเม้นท์) โดยวัดเฉพาะการกดลิงค์เท่านั้น (CTR)
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวน Call to action (Click) ที่เกิดขึ้น ÷ จำนวนการแสดงผลของโพสต์ (Impressions) X 100
สัดส่วนของการคอมเม้นต์ต่อการโพสต์จากผู้ติดตามของเรา ที่จะทำให้เรารู้ว่าเนื้อหาที่เราโพสต์ไป
มีคุณภาพมากเพียงใด ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนคอมเม้นท์จากโพสต์ (Comments) ÷ จำนวนผู้ติดตามทั้งหมด (Total Followers) X 100
วิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้าจากคำติชมเชิงบวก เป็นกลาง (ปานกลาง) และเชิงลบทั้งหมด เพื่อสะท้อนถึง
ความรู้สึกโดยรวมของลูกค้า ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
(ความคิดเห็นเชิงบวก – ความคิดเห็นเชิงลบ) ÷ (ความคิดเห็นเชิงบวก + ความคิดเห็นเป็นกลาง + ความคิดเห็นเชิงลบ) X 100
คะแนนเกิน 75% = ความคิดเห็นเชิงบวก
คะแนน 50%-75% = ความคิดเห็นเชิงบวกปานกลาง
คะแนน 25%-50% = ความคิดเห็นเป็นกลาง
คะแนนต่ำกว่า 25% = ความคิดเห็นเชิงลบ
การวัดความคุ้มค่าของเงินที่คุณใช้จ่ายไปต่อการคลิกโฆษณาหรือโพสต์นั้นๆ ซึ่งจะทำให้คุณใช้เงินได้คุ้มค่ามากขึ้น
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนเงินที่ซื้อโฆษณา (Ad Spend) ÷ ผลรวมจำนวนคลิกของโฆษณา (Clicks)
ยอดค่าใช้จ่ายต่อการแสดงผลจากการเห็นโฆษณาต่อ 1,000 คน เพื่อรับรู้ว่าจะมีคนเห็นโฆษณาของคุณกี่คน
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
ค่าโฆษณาทั้งหมด (Sponsored Ad Spend) ÷ จำนวนการมองเห็นโฆษณา (Impressions) X 1,000
ตัวเลขที่แสดงว่าคุณใช้เงินเท่าไร ในการได้มาซึ่งลูกค้าที่แสดงความสนใจ (Lead) 1 ราย
เช่น ลงทะเบียน ดาวน์โหลด ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
ต้นทุนการโฆษณาของแคมเปญทั้งหมด (Total Campaign Cost)
÷ จำนวน Lead ที่ได้มา (Number of Leads)
การวัดผลต้นทุนหรือราคาที่คุณใช้จ่ายไปต่อการได้มาซึ่งการกระทำบางอย่าง โดยการกระทำนั้นอาจเป็นไปไปได้ทั้ง
ยอดขาย การลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ จำนวนการดาวน์โหลด จำนวนคนสมัครสมาชิก หรือแม้แต่การโทรศัพท์เข้ามาสอบถามทีมขาย
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมด (Total Amount Spent) ÷ จำนวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด (Total Conversions)
ใช้วัดผลตอบแทนจากงบประมาณที่ใช้ในการตลาด โดยคำนวณจากรายได้ที่เกิดขึ้นจากแคมเปญ
เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ใช้ไป ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
(รายได้จากแคมเปญการตลาด – ต้นทุนการตลาด) ÷ ต้นทุนการตลาด X 100
ใช้วัดว่าคุณสร้างรายได้มากแค่ไหนจากทุกๆ 1 บาท ที่จ่ายไปกับโฆษณาในแคมเปญนั้นๆ เหมาะสำหรับการประเมิน
ความคุ้มค่าของงบโฆษณา ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
รายได้จากการโฆษณา (Revenue from Ads) ÷ จำนวนงบโฆษณาที่ใช้จ่าย (Ad Spend)
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการได้ลูกค้าใหม่ 1 คน โดยรวมทั้งค่าโฆษณา ค่าพนักงาน ค่าเครื่องมือ
และค่าใช้จ่ายการขายทั้งหมด ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
(ค่าใช้จ่ายทางการตลาดทั้งหมด + ค่าใช้จ่ายทางการขายทั้งหมด) ÷ จำนวนลูกค้าใหม่ที่ได้มา
E-Commerce KPIs
ตัวชี้วัดที่ชี้ว่าผู้เข้าชมสินค้าสนใจ และเพิ่มสินค้านั้นลงในตะกร้าซื้อของบ่อยแค่ไหน สะท้อนถึงความน่าสนใจของสินค้า
ราคา และหน้ารายละเอียดสินค้า ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนครั้งที่เพิ่มลงตะกร้า (Actions) ÷ จำนวนการเข้าชมสินค้านั้น (Product Views) × 100
เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เพิ่มสินค้าในตะกร้าแล้ว แต่ไม่ดำเนินการชำระเงินต่อให้เสร็จ ปัญหานี้มักเกิดจากขั้นตอนการ Check-out ที่ยุ่งยาก
ค่าจัดส่งที่ไม่คาดคิด หรือความไม่ไว้วางใจ ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
((จำนวนตะกร้าที่ถูกสร้าง – จำนวนการซื้อที่เสร็จสมบูรณ์) ÷ จำนวนตะกร้าที่ถูกสร้าง) × 100
เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าที่กลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง เป็นตัววัดความพึงพอใจ ความจงรักภักดี
และกลยุทธ์การรักษาลูกค้า ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำ (Returning Customers) ÷ จำนวนลูกค้าทั้งหมด (Total Customers) X 100
จำนวนเงินที่ลูกค้าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อการสั่งซื้อหนึ่งครั้ง เป็นตัวชี้วัดที่ดีในการประเมินกลยุทธ์การตั้งราคา (Pricing Strategy)
การ Up-selling และ Cross-selling ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
รายได้รวม (Total Revenue) ÷ จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมด (Total Orders)
ตัวชี้วัดว่าคุณสามารถสร้างรายได้เฉลี่ยเท่าไร จากผู้เข้าชมแต่ละราย ถือเป็นตัววัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์โดยรวม
ทั้งในด้านการดึงดูดและการเปลี่ยนผู้เข้าชมให้เป็นลูกค้า ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
รายได้รวม (Total Revenue) ÷ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ทั้งหมด (Total Visitors)
Email Marketing Metrics
ตัวชี้วัดที่บอกว่าอีเมล์ของคุณมีคนเปิดมากน้อยแค่ไหน แสดงถึงความน่าสนใจของหัวเรื่อง (Subject Line)
ชื่อผู้ส่ง และช่วงเวลาที่ส่ง ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
(จำนวนอีเมล์ที่เปิด ÷ (จำนวนอีเมล์ที่ส่ง – จำนวนอีเมล์ที่ตีกลับ)) × 100
ตัวชี้วัดที่บอกว่าเนื้อหาในอีเมล์ของคุณ ดึงดูดให้คนคลิกลิงก์หรือกดปุ่มต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนคลิก (Clicks) ÷ จำนวนอีเมล์ที่ส่งสำเร็จ (Delivered) × 100
ตัวชี้วัดจำนวนผู้ที่เลิกติดตาม ซึ่งอาจเกิดจากเนื้อหาไม่ตรงใจ การส่งอีเมล์จำนวนถี่เกินไป หรือไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนการยกเลิกการรับอีเมล์ (Unsubscribes) ÷ จำนวนอีเมล์ที่ส่งสำเร็จ (Delivered) × 100
ตัวชี้วัดที่ดูว่ามีกี่คนที่ทำตามเป้าหมาย เช่น ซื้อของ ลงทะเบียน หรือดาวน์โหลด หลังจากเปิดอีเมล์
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนการแปลงผล (Conversions) ÷ จำนวนอีเมล์ที่ส่งสำเร็จ (Delivered) × 100
Influencer Marketing KPIs
ตัววัดระดับการมีส่วนร่วมของผู้ชมต่อแต่ละโพสต์ของ Influencer แสดงถึงความสนใจและการโต้ตอบของผู้ติดตาม
ต่อคอนเทนต์ของ Influencer ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
(จำนวน Likes + Comments + Shares) ÷ จำนวนโพสต์ (No. of Posts)
ตัววัดที่ชี้ให้เห็นถึงผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนกับ Influencer เพื่อวัดความคุ้มค่าในการใช้ Influencer
ว่าสร้างผลกำไรได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
(รายได้จากแคมเปญ ÷ ค่าใช้จ่ายในการจ้าง Influencer) X 100
ต้นทุนที่คุณต้องจ่ายต่อ 1 การมีส่วนร่วม (Engagement) เช่น Like, Comment, Share
โดยใช้เพื่อวัดว่าเงินที่ลงทุนไปกับ Influencer คุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ÷ จำนวน (Likes + Comments + Shares)
อัตราส่วนที่แสดงว่า “ผู้ที่คลิกเข้าไปดู” กลายมาเป็น “ผู้กระทำการตามเป้าหมาย” เช่น สั่งซื้อสินค้า สมัครสมาชิก ลงทะเบียน
เพื่อวัดประสิทธิภาพของแคมเปญ ที่โพสต์โดย Influencer ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนการแปลงผล (Conversions) ÷ จำนวนการคลิกที่เกิดขึ้น (Clicks) X 100
อัตราการเติบโตของจำนวนผู้ติดตาม (Followers) ในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น หลังจบแคมเปญ หรือระหว่างทำแคมเปญกับ
Influencer ใช้เพื่อวัดว่าแคมเปญมีผลต่อความน่าสนใจของ Influencer หรือแบรนด์แค่ไหน
จนทำให้คนตัดสินใจกดติดตาม ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
(จำนวนผู้ติดตามเดิม – จำนวนผู้ติดตามใหม่ที่เกิดขึ้น) ÷ จำนวนผู้ติดตามเดิม X 100
Business KPIs & Metrics
ใช้เพื่อหาว่าลูกค้ารายเดิมหยุดใช้บริการของธุรกิจในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ในเดือนนั้น ในไตรมาสนั้น
หรือในปีนั้น ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนลูกค้าที่สูญเสียไป (Customer Lost) ÷ จำนวนลูกค้าทั้งหมด (Total Customers) X 100
มูลค่าทั้งหมดที่บริษัทคาดหวังจะได้รับจากลูกค้า เป็นยอดรวมของรายได้ที่บริษัทได้รับจากการซื้อขายสินค้า
หรือบริการกับลูกค้า
ตลอดระยะเวลาที่ลูกค้าคงอยู่กับธุรกิจ
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนมูลค่าเฉลี่ยของการซื้อต่อครั้ง (Average Purchase) X จำนวนครั้งที่ซื้อต่อปี (Purchase Frequency)
X ระยะเวลาที่เป็นลูกค้า (Customer Lifespan)
การทำความเข้าใจว่าธุรกิจต้องการลูกค้าจำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจ
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
จำนวนลูกค้าที่ต้องการ (Customer Wanted)
÷ อัตราการเปลี่ยนเป็นลูกค้าโดยเฉลี่ย (Average Conversion Rate)
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่ช่วยวัดกำไรจากการลงทุน เมื่อธุรกิจต้องการตรวจสอบความคุ้มค่าของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการซื้ออุปกรณ์ใหม่
การเริ่มแคมเปญการตลาด หรือการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
กำไรสุทธิ (Net Profit) ÷ จำนวนเงินลงทุน (Investment Cost) x 100
ตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิ เมื่อเปรียบเทียบกับยอดขาย ทำให้ทราบถึงความสามารถ
ในการทำกำไรของธุรกิจ ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
กำไรสุทธิ (Net Profit) ÷ รายได้ (Revenue) x 100
ตัวชี้วัดที่แสดงถึงยอดเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่าย ภาษี และต้นทุนทั้งหมด ออกจากรายรับรวมของธุรกิจ
ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถ ในการทํากําไรโดยรวมของธุรกิจ
ซึ่งวัดผลได้ด้วยวิธีการคำนวณ ดังนี้
รายได้ (Revenue) – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (Total Expenses)
