Case Study RISK COMMUNICATION DURING THE SARS EPIDEMIC OF 2003 in Singapore

โรค SARS เริ่มระบาดในประเทศสิงคโปร์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2003 เมื่อมีสตรี 3 คนเดินทางกลับมาจากฮ่องกงในช่วงที่เกิดการระบาดของโรค โดยหนึ่งในนั้นมีอาการป่วยเป็นไข้ซึ่งไม่รู้สาเหตุทำให้ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และมีการทำการรักษาแบบเปิดโดยไม่ได้มีการตั้งเป็นเขตป้องกันเชื้อโรคทำให้คนในโรงพยาบาลติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก 20 ราย ทั้งหมอ ผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย และยังแพร่กระจายไปยังศูนย์สุขภาพอีก 4 แห่ง รวมถึงตลาดขายส่งผัก จากประชากรทั้งหมด 4.2 ล้านคน มีผู้ป่วยจำนวน 238 ราย และเสียชีวิต 33 คน

กลยุทธ์การสื่อสารจากภาครัฐ

สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆที่มีรัฐบาลที่ให้ความตื่นตัวในเรื่องที่เกิดขึ้นในโลกที่จะมีผลกระทบต่อประเทศ ซึ่งเคยเกิดปัญหาด้านเชื้อโรคมาก่อนในอดีตทำให้มีแผนป้องกันเป็นอย่างดี และเมื่อโรค SARS แพร่ระบาดมาถึงสิงคโปร์ ทางรัฐบาลจึงออกมาตรการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน แบ่งเป็นดังนี้

  • การตอบสนองวิกฤติในช่วงแรก

    นายกรัฐมนตรีได้ประกาศตั้งคณะทำงานจากสามกระทรวง และให้ดำเนินงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุขเพื่อติดตามข่าวสารและลงมือปฏิบัติการณ์เกี่ยวกับ SARS รวมถึงมีการสั่งการให้เพิ่มโรค SARS เป็นหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคติดเชื้อ ที่สามารถเปิดเผยต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา และมีการประกาศให้โรค SARS เป็นวิกฤตระดับประเทศที่ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน

  • การสื่อสารในช่วงโรค SARS แพร่ระบาด

    ในช่วงที่เกิดโรค SARS ขึ้นนั้นได้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการระบาดของโรค ซึ่งใช้เวลา 1 เดือนในการสื่อสารถึงการระบาด ผ่านช่องการสื่อสารหลายทางรวมถึงการสื่อสารไปยังโรงเรียนผ่านสื่อมวลชนต่างๆ โดยเนื้อหาในการสื่อสารเป็นการให้ความรู้เรื่องโรค SARS และการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

    สิงคโปร์ใช้เครื่องมือการสื่อสารหลากหลายรูปแบบในการแจ้งข่าวสารสู่สาธารณชน ได้แก่ การแถลงข่าวในทุกเย็นซึ่งเปิดโอกาสให้ถามคำถามได้ตลอดเวลา มีการออกแถลงการณ์รายวันผ่านโทรทัศน์ วิทยุ ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ ด้วยแนวคำตอบที่สร้างความมั่นใจในการควบคุมและแก้ไขปัญหา และมีการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ทั้งชาวต่างชาติ คนในประเทศ ธนาคาร ธุรกิจ อุตสาหกรรม สมาคม และกลุ่มต่างๆ

    ในส่วนของโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์นั้นมีการให้ความรู้โดยใช้การ์ตูนเป็นสื่อ และยังมีเพลง SARS เพลงแร๊พ SARS รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเปิด Hotline สายด่วนเพื่อใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร

  • เนื้อหาของการสื่อสาร

    ประเด็นหลักของการสื่อสารนั้นเพื่ออธิบายต่อสาธารณชนให้เข้าใจว่าอะไรคือโรค SARS ต้องระวังอะไร และรัฐบาลมีการพัฒนาอะไรบ้างเพื่อต่อสู้กับโรค SARS ซึ่งการสื่อสารนั้นต้องง่ายเหมือนสื่อสารให้เด็กมัธยมฟัง คณะกรรมการส่งเสริมด้านสุขภาพของสิงคโปร์ได้ออกแคมเปญให้ความรู้แก่ประชาชนโดยการทำหนังสือเล่มเล็กๆเพื่อแจกจ่ายให้ทุกครัวเรือนทั่วทั้งสิงคโปร์ ครอบคลุมเนื้อข้อมูลเรื่องโรค SARS และวิธีการป้องกันโรค การใช้โทรทัศน์ วิทยุ โฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ ก็ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้ทราบ นอกจากนั้นรัฐบาลสิงคโปร์ยังมีการแปลเป็นภาษาจีนแมนดารินให้คนจีนในประเทศได้ทราบถึงข้อมูลนี้ด้วยเช่นกัน

    นอกจากนั้นยังมีการใช้เหล่าคนดังและนักการเมืองในการสื่อสารเกี่ยวกับการต่อต้านโรค SARS การตั้งเบอร์โทร Hotline สายด่วน 1 800-333-9999 ที่จดจำได้ง่าย มีการใช้มุขตลกขบขัน เช่น SARS นั้นย่อมาจาก “Singaporean are really scared” การดื่มน้ำซาสี่เพื่อฆ่าโรค SARS และยังมีการทำขวดน้ำแจกในงานแถลงข่าวที่ wrap ขวดด้วยคำว่า “Anti-SARS”

    การสื่อสารของรัฐบาลสิงคโปร์ยังมีการสื่อสารเพื่อลดความกลัวและต้องมั่นใจว่าประชาชนจะไม่ติดเชื้อ SARS ทุกคนยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จึงเกิดเป็นแคมเปญชื่อว่า “Singapore OK” เพื่อให้ประชาชนใช้ชีวิตอย่างปกติสุขในทุกๆวัน

การสื่อสารของรัฐบาลสิงคโปร์สำเร็จได้อย่างไร

รัฐบาลสิงคโปร์มีการสื่อสารตามคู่มือสื่อสารความเสี่ยงเกี่ยวกับโรค SARS โดย Peter Sandman และ Jody Lanard ผู้ที่เป็นที่รู้จักในฐานะที่ปรึกษาการสื่อสารความเสี่ยงได้ออกมากล่าวว่า “สิ่งที่สิงคโปร์ทำนั้นถือว่าเป็นการสื่อสารความเสี่ยงระดับ Top Class” ไม่ใช่แค่สื่อสารข้อมูลเรื่องโรคไปยังประชาชนเท่านั้น แต่ยังมีการทำแคมเปญการสื่อสารที่น่าประทับใจหลายแคมเปญ แต่ผลการสำรวจการรับรู้จากประชาชนนั้นค่อนข้างสวนทาง จากการสำรวจผู้ใหญ่ 835 คน มีแค่ 25% เท่านั้นที่รับรู้เรื่องการควบคุมโรค 40% รู้เกี่ยวกับอาการของโรค SARS

อีกหนึ่งผลการสำรวจพบว่ามีเพียง 20.7% จากผู้ใหญ่จำนวน 1,201 คน ที่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับโรค SARS ได้ถูกต้อง ซึ่งจากผลการสำรวจทั้ง 2 กรณีนั้นทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาเรื่องการสื่อสารให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจที่มากขึ้น

และอีกผลการสำรวจประชาชนทั้งประเทศพบว่ากว่า 93% พึงพอใจกับการจัดการสถานการณ์โรค 82% รับรู้ถึงว่าโรงพยาบาล Tan Tock Seng เป็นที่รักษาโรค SARS เมื่อนำผลการสำรวจทั้งสองส่วนมาวิเคราะห์ในภาพรวมนั้นถือว่ารัฐบาลประสบความสำเร็จในการสร้างความเชื่อมั่นจากสังคม และดำเนินการสื่อสารความเสี่ยงที่มาถูกทาง


Reference

The University of Hong Kong (2006). RISK COMMUNICATION DURING THE SARS EPIDEMIC OF 2003 (Case studies of China, Hong Kong, Vietnam and Singapore)

Share to friends


Related Posts

Case Study : กลยุทธ์การใช้ YouTube กับการสื่อสารไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1N1

ในช่วงกลางเดือนเมษายน ปี 2009 ได้เกิดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่รู้จักในนามไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่ถูกตรวจพบในเด็กชาวแคลิฟอเนียอายุเพียง 10 ขวบ และมีการแพร่กระจายไปยังประเทศเม็กซิโกและกระจายไปอย่างรวดเร็วจนถึงประเทศสหรัฐอเมริกา


Case Study : กลยุทธ์การสื่อสาร กรณีการเกิดโรค SARS ในประเทศจีน ปี 2003

โรค SARS เริ่มระบาดในประเทศจีนในเดือนพฤศจิกายน 2002 และแพร่กระจายไปยัง 24 จังหวัด ในหลายภูมิภาค ผู้คนติดเชื้อกว่า 5,327 คน ซึ่งเมืองปักกิ่งมีผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือ 2,521 คน และเมืองกวางตุ้งติดเชื้อเป็นอันดับ 2 กว่า 1,500 คน



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์