Brand Personality

รับฟังผ่าน Popticles.com Podcast


“ผมซื้อ Pepsi ไม่ใช่ที่รสชาติแต่มันคือสิ่งที่ผมเป็น”

หลายคนน่าจะเคยได้ยินหรือเจอกับตัวเองที่หลายๆครั้งเวลาเราซื้อสินค้า เรามักจะคิดในใจว่าสินค้านี้มันคือตัวเราใช่ไหมครับ ซึ่งโดยปกติแล้วคนเรามักจะแสดงออกถึงลักษณ์ของความเป็นตัวเอง กับบุคลิกภาพของแบรนด์ที่พวกเขาเลือก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ บุคลิกภาพของแบรนด์นั้นบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ ฉะนั้นการสร้างบุคลิกภาพของแบรนด์ให้ชัดเจน จึงเป็นสิ่งที่สามารถสร้างความต่างจากคู่แข่งได้เป็นอย่างดี

บุคลิกภาพของแบรนด์ หรือ Brand Personality จึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆที่เราควรกำหนดให้แน่ชัด โดยทั่วไปแล้วบุคลิกภาพของแบรนด์ เราหมายถึงการระบุตัวตนของแบรนด์ ดังนั้นจึงต้องอ้างอิงถึงลักษณะของมนุษย์ต่อตราสินค้า ที่เป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ของลูกค้าและแบรนด์นั้นๆ โดยประสบการณ์นั้นสามารถสัมผัสได้จากหลายอย่าง อาทิ ประสบการณ์ต่อการใช้สินค้า การสื่อสารของแบรนด์ในรูปแบบต่างๆ เช่น งานโฆษณา กิจกรรมทางการตลาด และอื่นๆ 

“ลูกค้าไม่ได้ซื้อสินค้าแต่ซื้อความเชื่อมโยงของสินค้าที่มีบุคลิกภาพคล้ายตัวเอง”

Brand Personality นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 ลักษณะ คือ

  • ความจริงใจ (Sincerity) สะท้อนถึงความเสียสละ คนจิตใจดี รู้สึกอบอุ่น
  • ความตื่นเต้นเร้าอารมณ์ (Excitement) สะท้อนถึงความท้าทาย โลดโผน ไม่อยู่ในกรอบ
  • ความสามารถ (Competence) สะท้อนถึงพลัง ทรงอำนาจ ฉลาด เป็นผู้นำ
  • ความแพรวพราว (Sophistication) สะท้อนถึง ความดูดี เป็นสง่า มีระดับ
  • ความแข็งแรง (Ruggedness) สะท้อนถึงความแข็งแกร่ง ทนทาน

    และยังแบ่งได้อีก 12 ประเภทต้นแบบ (Brand Archetypes) ตามทฤษฎีของ Carl Jung คือ
12 Brand Archetypes of Carl Jung Theory

Source: https://www.adweek.com

  1. ผู้นำ (Ruler) คือ บุคลิกที่ชอบควบคุม ชอบจัดการ มีความทีเด็ด ชอบอำนาจ อาทิ Rolex, Benz, British Airways, AMEX
  2. ผู้ห่วงใย (Caregiver) คือ บุคลิกที่ชอบดูแล ชอบห่วงใย รักคนอื่นๆ อาทิ Johnson & Johnson, Volvo, Ford
  3. นักสร้างสรรค์ (Creator) คือ  บุคลิกที่ชอบคิดอะไรใหม่ๆ สร้างสรรค์ นอกกรอบ ไม่ซ้ำแบบเดิมๆ อาทิ LEGO, Adobe, Starbucks, Pixar
  4. นักผจญภัย (Explorer) คือ บุคลิกที่ชอบความท้าทาย ออกไปเผชิญโลกกว้าง ไม่หยุดนิ่ง อาทิ Redbull, Jeep, Go Pro, The North Face
  5. ผู้รู้ (Sage) คือ บุคลิกที่มีความฉลาด ปราดเปรื่อง มีความรู้ อาทิ Google, IBM, Wikipedia, Audi, National Geographic, CNN
  6. ผู้บริสุทธิ์ (Innocent) คือ บุคลิกที่มีความสดใส เป็นมิตร ไม่มีพิษมีภัย อาทิ Coke, McDonald, Dove
  7. วีรบุรุษ (Hero) คือ บุคลิกที่มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ชอบการแข่งขัน อาทิ Land Rover, Nike, Adidas, FedEx
  8. ผู้วิเศษ (Magician) คือ บุคลิกที่สร้างสรรค์สิ่งที่น่าเหลือเชื่อ มหัศจรรย์ อาทิ Disney, Tesla, Apple
  9. ผู้นอกเหนือกฎ (Outlaw) คือ บุคลิกที่ชอบคิดต่าง มีความท้าทาย ไม่ตามใคร อาทิ Harley, Diesel, Levi, Virgin
  10. ผู้สนุกสนาน (Jester) คือ บุคลิกที่มีความสดใส ร่าเริง อาทิ M&M, Skittles, Barcidi
  11. คนธรรมดา (Everyman) คือ บุคลิกที่เรียบง่าย เข้าได้กับทุกคน อาทิ KitKat, IKEA, KFC, Ebay
  12. คนรัก (Lover) คือ บุคลิกที่มีความดึงดูด มีเสน่ห์ น่าค้นหา อาทิ Magnum, Dior, Chanel, AXE

ความสำคัญของ Brand Personality

  1. ช่วยสร้างให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่ง
  2. ช่วยให้ลูกค้าเข้าใจในสินค้าหรือบริการของเราอย่างลึกซึ้ง
  3. ช่วยดึงดูดลูกค้า
  4. ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกถึงความเชื่อมโยงระหว่างตัวเองกับแบรนด์
  5. ช่วยกระตุ้นให้เกิดความผูกพันธ์ทางด้านอารมณ์ร่วมกับแบรนด์
  6. ช่วยสร้างให้เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์


Icon in cover photo from all-free-download.com

Share to friends


Related Posts

Brand Identity คืออะไรสำคัญแค่ไหน

Brand Identity คือ อัตลักษณ์หรือความเป็นตันตนของแบรนด์ เป็นสิ่งที่บริษัทสร้างขึ้นเพื่อนำเสนอความเป็นตัวตนของแบรนด์ตัวเอง Brand Identity นั้นถือเป็นหน้าตาของบริษัทด่านแรกที่กลุ่มลูกค้าจะได้เห็น เช่น ชื่อของแบรนด์ โลโก้ สโลแกน โบรชัวร์ แผ่นพับ ป้ายโฆษณา นามบัตร หัวจดหมาย Brand Identity ยังมีความเกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆของบริษัท


10 ขั้นตอนสำหรับการสร้างแบรนด์เชิงกลยุทธ์

การสร้างแบรนด์นั้น คือ หนึ่งในกระบวนการทำธุรกิจที่ต้องมีความสอดคล้องไปกันทั้งองค์กร มันทำให้เราเห็นทิศทาง ความเป็นผู้นำ จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แรงบันดาลใจ และแรงขับเคลื่อนสำหรับองค์กร การสร้างแบรนด์ต้องทำให้แบรนด์นั้นมีชีวิตและจิตวิญญาณที่ต้องเข้าใจและให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ตั้งแต่พนักงานภายในองค์กร



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์