Sustainable Branding กับวิธีสร้างภาพลักษณ์แบบ Eco-Friendly ให้กับแบรนด์ของคุณ
ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าธุรกิจต่างก็มุ่งไปในเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) เนื่องจากแนวโน้มหลายๆอย่างจากทั้งสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมากขึ้น หลายๆธุรกิจพยายามสร้างแบรนด์ของตัวเองให้กลายเป็นแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์แห่งความยั่งยืน (Sustainable Brand) ซึ่งแน่นอนครับว่ามีทั้งความต้องการจะช่วยสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างแท้จริง และการทำเพื่อตามกระแสของความเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์การเปลี่ยนข้อมูลจาก Competitor Whispering ให้เป็นอาวุธลับทางการตลาด
เราอยู่ในโลกที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างรวดเร็ว ทำให้คู่แข่งของคุณไม่ได้เป็นเพียงคู่ต่อสู้เท่านั้น แต่คู่แข่งก็ยังเป็นครูที่ดีที่สุดของธุรกิจคุณได้อีกด้วย ในขณะที่แบรนด์ส่วนใหญ่อาจหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของตัวเอง แต่นักการตลาดที่ฉลาดจะคอยเงี่ยหูฟังสิ่งที่ผู้คนพูดถึงคนอื่นๆ ซึ่งเป็นที่มาของการฟัง “เสียงกระซิบของคู่แข่ง” (Competitor Whispering)
การสื่อสารเชิงกลยุทธ์กับ Stakeholders เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีกับนักลงทุน ลูกค้า และสาธารณชน
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในเชิงธุรกิจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ใช่แค่เพียงผู้ชม แต่พวกเขาเป็นผู้มีอิทธิพลต่อเรื่องราวของแบรนด์ทั้งหมด (Brand Story) ที่ส่งผลกระทบต่อผลกำไร ซึ่งนับว่ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดความสำเร็จในระยะยาว และการใช้รูปแบบการสื่อสารเพียงแบบเดียวสำหรับทุกคน จะไม่เพียงแต่ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้อีกด้วย ตั้งแต่การจัดทำรายงานไปจนถึงการสื่อสารในภาวะวิกฤต หากธุรกิจมีความสามารถในการปรับแต่งข้อความสำหรับการสื่อสาร
จิตวิทยาและการตลาดกับพลังของ Social Proof เมื่อความไว้วางใจผลักดันให้เกิดยอดขายสินค้า
หลักฐานทางสังคม (Social Proof) คือ ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาและสังคม ที่ผู้คนเลียนแบบการกระทำของผู้อื่น เพื่อพยายามสะท้อนพฤติกรรมที่ถูกต้องในสถานการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คือแนวคิดที่ว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะทำบางสิ่งมากขึ้น หากพวกเขาเห็นคนอื่นๆทำสิ่งนั้น แนวคิดนี้มีรากฐานมาจากความจริงที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และหลีกเลี่ยงการถูกปฏิเสธจากสังคม
ถอดรหัส Unique Value Proposition (UVP) กับเคล็ดลับชนะใจลูกค้า
สภาวะตลาดในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ธุรกิจต้องกำหนดอย่างชัดเจนว่าอะไรที่ทำให้พวกเขาแตกต่าง และข้อเสนอคุณค่าที่ไม่เหมือนใครหรือที่เราเรียกว่า Unique Value Proposition (UVP) จะเป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดความสนใจของลูกค้า สร้างความไว้วางใจ และกระตุ้นยอดขายได้ หากไม่มี UVP ที่แข็งแกร่งธุรกิจก็เสี่ยงที่จะกลมกลืนไปกับฝูงชน ทำให้ยากต่อการดึงดูดและรักษาลูกค้าได้อย่างยาวนาน
กลยุทธ์การตลาดด้วย Limited-Time Offer เพื่อเพิ่มยอดขายด้วยความเร่งด่วน
ในโลกที่ผู้บริโภคถูกรายล้อมไปด้วยแบรนด์และผลิตภัณฑ์มากมาย ทำให้ธุรกิจต่างๆยากที่จะดึงดูดความสนใจและกระตุ้นยอดขายได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ในการสร้างความโดดเด่นและสร้างความเร่งด่วน คือ กลยุทธ์การใช้ข้อเสนอแบบจำกัดเวลา (Limited-Time Offers หรือ LTOs) ข้อเสนอที่มีระยะเวลาจำกัดเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากจิตวิทยาของผู้บริโภค โดยอาศัยความกลัวที่จะพลาดโอกาสหรือ Fear of Missing Out (FOMO)
จิตวิทยาและการตลาดด้วย Science of Happiness กับ Dopamine สารที่ช่วยกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อ
เคยสังเกตไหมครับว่าทำไมหลายๆคนถึงตื่นเต้นกับการช้อปปิ้ง เกิดความรู้สึกโหยหาแบรนด์ที่โปรดปราน หรือรู้สึกถึงความสุขทางอารมณ์เมื่อทำการซื้อสินค้าอะไรบางอย่าง คำตอบของความรู้สึกนี้อยู่ที่เคมีในสมองที่ชื่อ “โดพามีน” (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงถึงความสุข (Happiness) ความพึงพอใจ (Pleasure) จากการได้รับรางวัลบางอย่าง (Reward) และหากนักการตลาดที่เข้าใจบทบาทของ “โดพามีน” (Dopamine)
พัฒนากระบวนการตัดสินใจ (Decision Making) ให้บุคลากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในโลกของธุรกิจ (Business) การตลาด (Marketing) และการสร้างแบรนด์ (Branding) มักจะมีคำว่า “การตัดสินใจ” (Decision Making) เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ โดยการตัดสินใจ คือ เส้นเลือดใหญ่ที่สามารถตัดสินความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแคมเปญการตลาด การปรับกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการเลือกพันธมิตรในเชิงกลยุทธ์
จิตวิทยาและการตลาดกับ Scarcity Effect เมื่อผู้บริโภครู้สึกถึงความขาดแคลน
ผลกระทบของความขาดแคลน (Scarcity Effect) เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นทางจิตวิทยาที่ทรงพลังที่สุด ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค (Comsumer Behavior) โดยอาศัยหลักการที่ว่าผู้คนจะให้คุณค่ากับสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดมากกว่าสิ่งที่หาได้ทั่วไป ปรากฏการณ์นี้ก่อให้เกิดความกลัวที่จะพลาดโอกาสหรือ Fear of Missing Out (FOMO) ซึ่งทำให้ผู้บริโภครู้สึกวิตกกังวล เมื่อต้องเผชิญกับโอกาสที่อาจสูญเสียไป ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ
จิตวิทยาและการตลาดกับ Paradox of Choice เมื่อลูกค้ามีตัวเลือกมากจนงง
คุณเคยรู้สึกไหมครับว่าการมีตัวเลือกเยอะแยะมากมายให้เลือกซื้อ กลับทำให้เรายิ่งตัดสินใจยากขึ้น ความรู้สึกนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย เพราะมันคือผลกระทบจากสิ่งที่เรียกว่า Paradox of Choice หรือ “ปรากฏการณ์ทางเลือกที่มากเกินไป” ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่อาจทำให้เกิดความไม่พึงพอใจมากขึ้น เราจะมาเรียนรู้กับปรากฎการณ์นี้ครับว่า ทำไมการมีตัวเลือกมากเกินไปถึงทำให้ลูกค้าตัดสินใจยากขึ้น