STP Strategy

ยุคสมัยใหม่ที่มีความรวดเร็วจนทำให้หลายๆธุรกิจ ไม่ทันได้วางรากฐานของธุรกิจและวิเคราะห์ในมุมมองต่างๆอย่างรอบด้าน ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านทิศทางของธุรกิจ กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และความแตกต่างของธุรกิจเมื่อเทียบกับคู่แข่ง หากไม่ชัดเจนตั้งแต่แรกก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ และหนึ่งในกลยุทธ์ที่มักจะนำมาใช้ คือ STP ซึ่งสามารถระบุตลาดที่มีโอกาสสร้างมูลค่าได้ดีที่สุด กับกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องมากที่สุด ในการทำกิจกรรมการตลาดประเภทต่างๆ การนำกลยุท์ STP Strategy มาใช้ในการกำหนดทิศทางของธุรกิจสามารถช่วยให้คุณมองเห็นถึงทิศทางในการดำเนินธุรกิจได้ชัดเจน ประกอบไปด้วย

Segmentation การแบ่งส่วนการตลาด
Targeting การเลือกกลุ่มเป้าหมาย
Positioning การวางตำแหน่งหรือจุดยืนของธุรกิจ (แบรนด์)


Segmentation

สามารถแบ่งได้จาก

  • ประชากรศาสตร์ (Demographic) เช่น เพศ อายุ รายได้ สถานะ ศาสนา อาชีพ
  • ภูมิศาสตร์ (Geographic) เช่น ทวีป จังหวัด นอกเมือง ในเมือง หรือภาคต่างๆ
  • จิตวิทยา (Psychological) เช่น บุคลิก วัฒนธรรม ความชอบ Lifestyle
  • พฤติกรรม (Behavioral) เช่น ความถี่ในการซื้อสินค้า จำนวนการซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง ทัศนคติต่อการซื้อสินค้า

โดยการแบ่ง Segmentation สามารถใช้รวมกันทั้ง 4 ข้อ หรือเลือกข้อใดข้อหนึ่ง

Targeting

การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะขายสินค้าหรือบริการ มี 3 กลุ่ม คือ

  • Mass Market หรือการเลือกทุกกลุ่มเป้าหมาย เหมาะกับบริษัทใหญ่ที่มีทุนสูงมาก ไม่เหมาะกับธุรกิจที่กำลังเริ่มต้น
  • Segment Market หรือการเลือกตาม Segment เช่น เพศชาย อายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตกรุงเทพฯ
  • Niche Market หรือการเลือกตลาดที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งสามารถสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้

Positioning

การกำหนดตำแหน่งตราสินค้าเพื่อให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่ง มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ

  • การวางตำแหน่งสินค้าที่ยึดความรู้สึกทางอารมณ์เป็นหลัก (Emotional) เช่น ภาพลักษณ์ ความหรูหรา ความดูดี การแสดงออกถึงฐานะทางสังคม
  • การวางตำแหน่งสินค้า ที่ยึดด้านการใช้งานเป็นหลัก (Functional) โดยเน้นที่คุณภาพของสินค้าหรือบริการ ประโยชน์ที่จะได้รับด้วยราคาที่สมเหตุสมผล
  • การวางตำแหน่งสินค้า ที่ยึดการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) เป็นไปได้ทั้งความต่างทางอารมณ์หรือการใช้งานของสินค้า หรืออาจเป็นการสร้างการรับรู้ใหม่ที่เป็นประสบการณ์ และมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มลูกค้า

Cover photo by createsima from FreeImages

Share to friends


Related Posts

สร้างกลยุทธ์ให้ธุรกิจได้เปรียบ ด้วย 5 Forces Model

5 Forces Model โดย Michael E.Porter นั้นเป็นแบบจำลองที่ใช้ในการระบุและวิเคราะห์ แรงกดดัน 5 ประการในการแข่งขันทางธุรกิจ ที่ถูกกำหนดให้ใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ด้วย 5 Forces Model ถูกคิดขึ้นมาเพื่อระบุหรือกำหนดรูปแบบโครงสร้างของอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อตัดสินใจว่าจะวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อธุรกิจอย่างไร


วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย PESTEL Analysis

ในการทำธุรกิจมักจะมีปัจจัยหลายๆอย่างที่เข้ามากระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบกับธุรกิจของเรา ที่เราจำเป็นต้องพิจารณาก่อนจะดำเนินแผนธุรกิจใดๆ มีทั้งปัจจัยภายในองค์กรเองรวมไปถึงปัจจัยภายนอก PESTEL Analysis คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กรและธุรกิจของเรา ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งอุปสรรคและโอกาส


วิเคราะห์ SWOT ให้ชัดเจน สำหรับการวางแผนธุรกิจ

SWOT Analysis ถือเป็นเทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ ในการระบุจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และ ภัยคุกคาม (Threats) เพื่อให้ทราบว่าเราเป็นใคร เรามีจุดแข็งตรงไหน จุดอ่อนของเรามีอะไร มีโอกาสอะไรบ้างในตลาด และอะไรคืออุปสรรคหรือภัยคุกคามในธุรกิจของเรา ดังนั้น การทำ SWOT Analysis



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์