A_Picture_of_People_Busy_at_Work

ในการดำเนินโครงการ (Project) งาน (Task) หรือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) ใดๆก็ตาม การจัดลำดับความสำคัญเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เมื่อคุณจำเป็นต้องใช้ทรัพยากร เช่น เวลา งบประมาณ และกำลังคนที่มีอยู่อย่างจำกัด ทีมงานของคุณจำเป็นต้องมีวิธีที่เป็นระบบในการตัดสินใจว่า อะไรสำคัญอย่างแท้จริงและอะไรที่สามารถรอได้ และหนึ่งในกรอบการทำงานที่มีประสิทธิภาพและใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับเรื่องนี้ คือ วิธีการจัดลำดับความสำคัญแบบ MoSCoW ที่ผมจะมาอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจกันในบทความนี้ครับ

รู้จัก MoSCoW Framework กับการจัดลำดับความสำคัญ

MoSCoW Framework หรืออาจเรียกว่า MoSCoW Prioritization ถูกพัฒนาขึ้นโดย Dai Clegg ในช่วงปี 1990 ขณะที่เขาทำงานอยู่ที่บริษัท Oracle โดยเดิมที Framework นี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development – RAD) และแนวทางการพัฒนาแบบพลวัตของระบบ (Dynamic Systems Development Method – DSDM) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเร่งการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยทำให้มั่นใจว่า มีการจัดลำดับความสำคัญของข้อกำหนดที่ชัดเจน

และเมื่อเวลาผ่านไปประสิทธิภาพของ MoSCoW Framework ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ที่นอกเหนือจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ไปสู่การจัดการโครงการ (Project Management) กลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy) การตลาด (Marketing) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) และแม้แต่การเพิ่มผลผลิตส่วนบุคคล (Productivity)

MoSCoW เป็นคำย่อที่มาจาก

  • M – ต้องมี (Must have)
  • S – ควรมี (Should have)
  • C – อาจมี (Could have)
  • W – จะไม่มี (ในครั้งนี้) (Won’t have – this time)

กรอบการทำงานนี้ได้รับการออกแบบมา เพื่อช่วยให้ทีมและบุคคลทั่วไป สามารถจัดหมวดหมู่ข้อกำหนด หรือภารกิจตามความสำคัญได้อย่างชัดเจน โดยจะแยกองค์ประกอบที่สำคัญ ออกจากองค์ประกอบที่ปรารถนาจะมี เพื่อให้มั่นใจว่าความต้องการที่สำคัญที่สุดได้รับการตอบสนอง ก่อนที่จะดำเนินการกับรายการที่มีความสำคัญน้อยกว่า โดยตัวอักษร “o” นั้นเป็นเพียงเพื่อให้คำย่อสามารถออกเสียงได้ (ไม่ได้มีการย่อมาจากสิ่งใด) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

MoSCoW_Prioritization_Framework

1. M – ต้องมี (Must have)

  • ข้อกำหนดที่ไม่สามารถต่อรองได้
  • หากไม่มีสิ่งเหล่านี้โครงการหรืองานต่างๆจะถือว่าล้มเหลว
  • สิ่งที่ “ต้องมี” มักจะเกี่ยวข้องกับฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญ ข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ หรือความต้องการหลักทางธุรกิจ

เช่น ในแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ เรื่องความสามารถในการเข้าสู่ระบบอย่างปลอดภัย ถือเป็นสิ่งที่ “ต้องมี” เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นขั้นต่ำ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใช้งานได้และเป็นที่ยอมรับ


2. S – ควรมี (Should have)

  • มีความสำคัญแต่ไม่ถึงกับเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการเปิดตัวหรือความสำเร็จในทันที
  • สิ่งเหล่านี้เพิ่มคุณค่าอย่างมากและช่วยปรับปรุงประสบการณ์ แต่โครงการยังคงสามารถทำงานได้ โดยไม่มีสิ่งเหล่านี้เป็นการชั่วคราว
  • สิ่งที่ “ควรมี” อาจถูกเลื่อนออกไปได้ หากมีข้อจำกัดด้านกำหนดเวลาหรืองบประมาณ แต่ควรได้รับการดำเนินการในภายหลัง

เช่น ในแอปพลิเคชันธนาคารเดิม การเข้าสู่ระบบด้วยลายนิ้วมืออาจเป็นสิ่งที่ “ควรมี” หากระบบการเข้าสู่ระบบพื้นฐานทำงานได้อย่างปลอดภัยอยู่แล้ว


3. C – อาจมี (Could have)

  • คุณสมบัติที่ “มีไว้ก็ดี”
  • ช่วยปรับปรุงความพึงพอใจของผู้ใช้หรือเพิ่มลูกเล่นพิเศษ แต่มีผลกระทบน้อยกว่าหากละเว้นไป
  • หากมีเวลาหรือฝบประมาณเหลือ สิ่งที่ “อาจมี” สามารถถูกรวมเข้าไปได้ แต่จะเป็นสิ่งแรกที่จะถูกตัดออกหากทรัพยากรหมดเสียก่อน

เช่น การทักทายแบบเฉพาะบุคคล หรือธีมของแอปที่ปรับแต่งได้ อาจถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ “อาจมี” ในแอปธนาคาร


4. W – จะไม่มี (ในครั้งนี้) (Won’t have – this time)

  • ไม่ได้หมายความว่า “จะไม่มีเลย” แต่หมายถึง “ไม่ใช่สำหรับระยะนี้หรือเวอร์ชันนี้”
  • สิ่งที่ “จะไม่มี” คือ สิ่งที่ตกลงกันว่าจะไม่รวมอยู่ในกำหนดเวลาของโครงการปัจจุบัน
  • สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาพิจารณาใหม่ สำหรับการอัปเดตในอนาคต หรือโครงการในอนาคตได้

เช่น การรวมกระเป๋าเงินดิจิทัลแบบเข้ารหัสลับ ให้เข้ากับแอปธนาคารอาจเป็นสิ่งที่ “จะไม่มี” ในตอนนี้

ตัวอย่างการเปิดตัว Food Delivery Application (Version 1.0)

คุณคือผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของบริษัทสตาร์ทอัพด้าน Food Delivery โดยคุณมีเวลาจำกัดเพียงแค่ 8 สัปดาห์ และมีงบประมาณที่แน่นอนสำหรับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ที่ใช้งานได้จริงขั้นต่ำ (Minimum Viable Product – MVP) เป้าหมายของคุณ คือ การนำแอปฯที่ใช้งานได้จริงไปสู่มือผู้ใช้โดยเร็วที่สุด เพื่อตรวจสอบแนวคิด รวบรวมข้อเสนอแนะ และพัฒนาต่อในระยะต่อไป คุณได้มีการประชุมกับทีมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเริ่มจัดลำดับความสำคัญ ของคุณสมบัติของแอปฯโดยใช้วิธี MoSCoW ดังนี้

A_Man_Choosing_Food_from_Application

M – ต้องมี (Must have)

คุณสมบัติที่ไม่สามารถต่อรองได้ หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ แอปฯจะไม่สามารถทำงานได้

  • หน้ายืนยันคำสั่งซื้อและใบเสร็จรับเงิน
  • การลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบของผู้ใช้
  • การเรียกดูรายชื่อร้านอาหารและเมนูอาหาร
  • การเพิ่มสินค้าลงในตะกร้าและทำการสั่งซื้อ
  • การติดตามคำสั่งซื้อแบบเรียลไทม์
  • การรวมระบบชำระเงิน (บัตรเครดิต/เดบิต การชำระเงินผ่านมือถือ)

🟡 S – ควรมี (Should have)

คุณสมบัติที่สำคัญและมีคุณค่าสูง ซึ่งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ แต่ไม่มีความจำเป็นสำหรับการเปิดตัว

  • ค้นหาและคัดกรองตามประเภทอาหาร ราคา หรือคะแนน
  • ระบบให้คะแนนและรีวิวร้านอาหาร
  • ระบบรหัสส่วนลดโปรโมชั่น
  • Live Chat กับพนักงานส่งอาหาร
  • การบันทึกที่อยู่สำหรับการจัดส่งหลายแห่ง

🟢 C – อาจมี (Could have)

คุณสมบัติที่ “มีไว้ก็ดี” มีผลกระทบน้อย และสามารถรอจนถึงการอัปเดตครั้งต่อไปได้

  • โหมดการปรับพื้นหลังหน้าจอเป็นสีดำ (Dark mode UI)
  • คำแนะนำส่วนบุคคลตามประวัติการสั่งซื้อ
  • ตัวติดตามคะแนนสะสมของโปรแกรมสมาชิก
  • การเข้าสู่ระบบด้วยโซเชียลมีเดีย (Facebook/Google)
  • ป้ายรางวัลในเกมสำหรับผู้ใช้ (เช่น “นักชิมยอดเยี่ยมประจำเดือน”

🔴 W – จะไม่มี (ในครั้งนี้) (Won’t have – this time)

คุณสมบัติที่ตกลงกันว่าจะไม่ได้รับการพัฒนาในรุ่นนี้ แต่อาจมีในรุ่นอนาคต

  • โฆษณา “In-app video” สำหรับคูปองส่วนลด
  • ระบบการจัดส่งด้วยโดรน
  • ฟีเจอร์การสั่งซื้อแบบกลุ่ม/แบ่งจ่าย
  • ระบบสำหรับร้านอาหารใหม่ (B2B Portal)
  • บริการจองโต๊ะสำหรับทานที่ร้าน

ความแตกต่างระหว่าง MoSCoW Framework vs. Time Management Matrix

ที่ผมเอาหัวข้อนี้มาสรุปให้ผู้อ่านเห็น ก็เนื่องจากว่ามันมีอยู่อีก Matrix หนึ่งที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญ ที่ชื่อว่า Time Management Matrix ซึ่งมีความคล้ายกันกับ MoSCoW Framework ผมเลยอยากสรุปให้เห็นถึงความคล้ายและความแตกต่างให้เห็นกันครับ

หัวข้อ

MoSCoW Framework

Time Management Matrix

วัตถุประสงค์หลัก

จัดลำดับความสำคัญของ “ข้อกำหนดหรือฟีเจอร์ของโปรเจกต์”

จัดลำดับความสำคัญของ “งานหรือกิจกรรมในชีวิตประจำวัน” โดยพิจารณาจากความ

เร่งด่วนและความสำคัญ

จุดเน้น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการวางแผนขอบเขตโปรเจกต์

การบริหารเวลา และการจัดการงานส่วนบุคคล

หมวดหมู่

Must Have, Should Have, Could Have, Won’t Have

Urgent & Important, Not Urgent & Important, Urgent & Not Important,

Not Urgent & Not Important

เกณฑ์การตัดสินใจ

คุณค่าทางธุรกิจ ความจำเป็น ความเป็นไปได้

ความสำคัญเทียบกับความเร่งด่วน

ผลลัพธ์หรือแนวทางการดำเนินการ

กำหนดว่า “อะไรควรทำทันที ทำภายหลัง หรือไม่ทำ”

กำหนดว่า “อะไรควรทำเลย วางแผนไว้

มอบหมาย หรือเลิกทำ”

บริบทการใช้งาน

การพัฒนาแบบ Agile การบริหาร

โปรเจกต์

การจัดการงานประจำวัน การเพิ่มประสิทธิภาพส่วนบุคคล

กลุ่มผู้ใช้งาน

ทีมโปรเจกต์ นักพัฒนา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง


บุคคลทั่วไป ผู้บริหาร นักศึกษา ฟรีแลนซ์

วิธีการจัดลำดับความสำคัญแบบ MoSCoW Framework และตารางการจัดการเวลา (Time Management Matrix) เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจทั้งคู่ แต่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างมาก ในทางปฏิบัติ MoSCoW Framework ถูกใช้เป็นหลักในการจัดการโครงการและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทีมที่ทำงานแบบ Agile หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยจัดลำดับความสำคัญของข้อกำหนด คุณสมบัติ หรือสิ่งที่ต้องส่งมอบ ที่แบ่งประเภทงานออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ต้องมี (Must Have) ควรมี (Should Have) อาจมี (Could Have) และจะไม่มี (Won’t Have) แนวทางนี้มีประโยชน์เมื่อจัดการทรัพยากร กำหนดเวลา และความคาดหวัง ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนักพัฒนา

ในทางตรงกันข้าม ตารางการจัดการเวลาหรือที่รู้จักกันในชื่อ Time Management Matrix มุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการทำงานส่วนบุคคลและการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการจำแนกงานตามความเร่งด่วน และความสำคัญออกเป็น 4 ช่อง (Quadrant) ได้แก่ เร่งด่วนและสำคัญ (Urgent and Important) ไม่เร่งด่วนแต่สำคัญ (Not Urgent but Important) เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ (Urgent but Not Important) และไม่เร่งด่วนและไม่สำคัญ (Not Urgent and Not Important) ตารางนี้ช่วยให้บุคคลทั่วไปไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการ นักเรียน และผู้เชี่ยวชาญ ตัดสินใจว่าควรจะมุ่งเน้นไปที่อะไรในแต่ละวัน และหลีกเลี่ยงการตอบสนองต่อกิจกรรมที่ไม่จำเป็น


ในโลกที่เต็มไปด้วยไอเดียที่ไร้ขีดจำกัด แต่ในความเป็นจริงแล้วเรามีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด วิธีการจัดลำดับความสำคัญแบบ MoSCoW จะช่วยนำเสนอแนวทางที่ชัดเจน เพื่อมุ่งเน้นความพยายามในตัดสินใจที่ยากลำบาก ที่สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีที่คุณเข้าถึงการจัดลำดับความสำคัญได้อย่างแท้จริงนั่นเอง


Share to friends


Related Posts

จัดลำดับความสำคัญการทำงานด้วย Time Management Matrix

ด้วยความที่อะไรๆในชีวิตก็ดูจะเร่งด่วนไปหมดโดยเฉพาะในยุค New Normal ที่การทำงานนั้นเข้ามาเบียดเบียนเวลาส่วนตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การประชุมก็เริ่มมีมากขึ้นสวนทางกับเวลาการทำงานที่มีอยู่เท่าเดิมก็ยิ่งทำให้การบริหารจัดการงานต่างๆนั้นยากขึ้นเข้าไปอีก แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถถูกแก้ไขได้ด้วยการใช้ Time Management Matrix เพื่อเข้ามาช่วยบริหารจัดการกับความยุ่งยากต่างๆในชีวิตครับ


พัฒนากระบวนการตัดสินใจ (Decision Making) ให้บุคลากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในโลกของธุรกิจ (Business) การตลาด (Marketing) และการสร้างแบรนด์ (Branding) มักจะมีคำว่า “การตัดสินใจ” (Decision Making) เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ โดยการตัดสินใจ คือ เส้นเลือดใหญ่ที่สามารถตัดสินความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแคมเปญการตลาด การปรับกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการเลือกพันธมิตรในเชิงกลยุทธ์


Impact Effort Matrix เครื่องมือช่วยในการจัดเวลาการทำงานให้ดีขึ้น

หลายคนที่ได้รับมอบหมายงานหลายๆอย่างมาพร้อมๆกัน ก็คงยากที่จะบริหารจัดการงานให้เสร็จตรงตามกำหนด โดยเฉพาะทุกๆงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานและบอกว่างานทุกอย่างนั้นด่วนไปหมด แต่ในความเป็นจริงนั้นมันอาจไม่ได้ด่วนไปซะหมดทุกอย่าง เพียงแต่เป็นหน้าที่ที่เราในฐานะ



copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์