SOAR Analysis

SOAR Analysis กำลังกลายเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการพิจารณาจุดแข็งและโอกาสที่จะไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจของแต่ละองค์กรในอนาคต ซึ่งมีหลายคำถามเกิดขึ้นว่ามันเป็นเครื่องมือที่จะถูกนำมาแทนที่ SWOT Analysis ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำหรือไม่ โดยในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ SOAR Analysis กันครับ

อะไรคือ SOAR Analysis

SOAR Model Analysis

SOAR นั้นจะวิเคราะห์ปัจจัยซึ่งเป็นในเชิงบวกทั้งหมด (Positive Factors) ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจโดยจะเน้นไปที่ What กับ How ที่เน้นไปทางการเป็นส่วนขับเคลื่อนธุรกิจให้สู่ความสำเร็จด้วยการผลักดันและสนับสนุนให้กลุ่มคนเกิดการกระทำต่างๆ เพื่อพัฒนาจุดแข็งและลดจุดอ่อนให้มากที่สุดในการวางแผนการทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วย

1. Strengths (จุดแข็ง)

การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่เป็นจุดเด่นหรือข้อได้เปรียบของธุรกิจ เช่น ทีมงาน สินค้า ต้นทุน ส่วนแบ่งทางการตลาด และเราจะเอาข้อมูลจุดแข็งที่มีเหล่านี้ไปต่อยอดในการทำธุรกิจในแบบใดได้บ้าง โดยลองตั้งคำถามเหล่านี้ดูครับ

  • อะไรคือความภาคภูมิใจของธุรกิจ
  • อะไรคือความแตกต่างอย่างชัดเจน
  • อะไรคือความสำเร็จของธุรกิจในช่วงปีที่ผ่านๆมา
  • เราใช้จุดแข็งอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  • จุดแข็งที่มีไปเติมเต็มตลาดได้อย่างไร
  • จะทำอย่างไรเพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2. Opportunities (โอกาส)

โอกาสทางธุรกิจที่ส่งผลดีต่อการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจหรือการพัฒนาศักยภาพการทำงานของพนักงาน ซึ่งเป็นปัจจัยจากภายนอก อาทิ นโยบายภาครัฐ สภาพการแข่งขัน แนวโน้มด้านต่างๆ โดยลองตั้งคำถามเหล่านี้ดูครับ

  • จะนำโอกาสต่างๆมาใช้กับธุรกิจได้อย่างไร
  • อะไรคือโอกาส 3 อันดับแรก ที่เราควรนำมาพิจารณาในการขับเคลื่อนธุรกิจ
  • จะนำโอกาสมาเชื่อมโยงกับความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร
  • ใครคือกลุ่มลูกค้าในอนาคต
  • จะทำให้สินค้าของเราโดดเด่นในใจลูกค้าได้อย่างไร
  • อะไรคือโอกาสสำหรับการบุกตลาดใหม่ การทำสินค้าใหม่ๆ บริการใหม่ๆ
  • เราจะนำความท้าทายด้านต่างๆมาสร้างเป็นโอกาสได้อย่างไร
  • จำเป็นต้องใช้ทักษะความสามารถใหม่ๆอะไรบ้างในการขับเคลื่อนธุรกิจ

3. Aspirations (แรงบันดาลใจ)

แรงบันดาลใจก็คือเป้าหมายขององค์กรที่จำเป็นต้องไปให้ถึง จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ โดยลองตั้งคำถามเหล่านี้ดูครับ

  • แท้ที่จริงแล้วเรามีแรงบันดาลใจกับเรื่องอะไรมากที่สุด
  • ลองดูว่าเราคือใคร เราต้องการอะไร เราอยากจะไปอยู่จุดไหน เราอยากให้ลูกค้าได้อะไร ซึ่งต้องสะท้อนออกมาจากจุดแข็งของธุรกิจ
  • กลยุทธ์แบบไหนถึงเหมาะสมกับการขับเคลื่อนให้แรงบันดาลใจที่มีประสบความสำเร็จ
  • จำเป็นต้องใช้อะไรบ้างเพื่อขับเคลื่อนแรงบันดาลใจเหล่านี้

4. Results (ผลลัพธ์)

ผลสำเร็จจากการตั้งเป้าหมายของธุรกิจเพื่อนำมาวัดผลจากการดำเนินงานด้านต่างๆ การวัดผลนั้นสามารถวัดได้จริงแค่ไหน ใช้ตัวอะไรเป็นตัวชี้วัดผลที่เหมาะสม โดยลองตั้งคำถามเหล่านี้ดูครับ

  • ใน SOAR นั้นเราควรพิจารณาตัวชี้วัดอะไรบ้างที่เหมาะสมที่สุด ตรงตามเป้าหมายที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด
  • ตั้งตัวชี้วัด 3-5 ตัวหลักๆที่สามารถชี้วัดที่ครอบคลุม 3P ทั้งมิติด้านกำไร (Profit) คน (People) และโลกรวมถึงสิ่งแวดล้อม (Planet)
  • ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างเพื่อให้โครงการต่างๆขับเคลื่อนไปสู่ผลสำเร็จ
  • ควรมีรางวัลหรือผลตอบแทนที่เหมาะสมกับคนหรือทีมงานที่บรรลุเป้าหมายอย่างไร

เปรียบเทียบ SOAR กับ SWOT

หากมองดูแล้ว SOAR Analysis จะเน้นไปที่จุดแข็ง (Strengths) และวิสัยทัศน์ (Vision) สำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่อนาคต ด้วยการระบุในสิ่งที่ธุรกิจคุณกำลังทำอยู่ในแนวทางที่เหมาะสมอยู่แล้ว โดย SOAR Analysis จะช่วยให้คุณพัฒนาเป้าหมายในเชิงกลยุทธ์ไปสู่ความเติบโตในอนาคตข้างหน้า

SOAR Analysis นั้นต่างกับ SWOT Analysis ตรงที่ SWOT นั้นมีทั้งการวิเคราะห์จุแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ซึ่งเป็นลักษณะของการวิเคราะห์และทำงานแบบบนลงล่าง (Top-Down Approach) ด้วยขั้นตอนและใช้ระยะเวลาที่นานที่อาจเหมาะกับการจะเริ่มธุรกิจใหม่ แต่ SOAR จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ในทุกระดับและระบบขององค์กร และเน้นไปที่การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของกลยุทธ์ (Strategy) และกลวิธี (Tactic) ที่มีอยู่เดิมแล้วให้ดียิ่งขึ้น ต่างจาก SWOT นี่เน้นการมองอุปสรรคที่มีผลต่อความสำเร็จและจุดอ่อนขององค์กร และเพื่อให้มองเห็นชัดๆลองมาดูวิธีการในการวิเคราะห์กับการตั้งคำถามของทั้ง 2 Model กันครับ

What's next?

คำถามที่เกิดขึ้นในช่วงทำ SOAR Analysis

  • อะไรคือจุดแข็งที่เรามีและเป็นจุดที่แข็งแกร่งที่สุด
  • อะไรคือโอกาสการเติบโตที่ดีที่สุดที่เรามี
  • อะไรคือโอกาสที่จะไปสู่ความสำเร็จที่ดีที่สุดที่เรามี
  • เรากำลังสร้างอนาคตให้เป็นไปอย่างไร จะมุ่งไปสู่อนาคตนั้นอย่างไร
  • อะไรคือตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่เหมาะสมและเชื่อมโยงกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรในอนาคต

คำถามที่เกิดขึ้นในช่วงทำ SWOT Analysis

  • อะไรคือจุดอ่อนมากที่สุดของเรา (จุดอ่อน)
  • เราจะปรับปรุงมันอย่างไร (จุดอ่อน)
  • เราได้รับ Feedback เชิงลบอะไรบ้างจากลูกค้า (จุดอ่อน)
  • เรามีปัญหาด้านไหนบ้าง การเงิน? ระบบ? ทีมงาน? (จุดอ่อน)
  • เราควรนำหรือปรับปรุงเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ (จุดอ่อน – อุปสรรค)
  • ใครคือคู่แข่งโดยตรงของเรา (อุปสรรค)
  • จะเกิดอะไรขึ้นหากคู่ค้าขึ้นราคาวัตถุดิบ (อุปสรรค)

หวังว่า SOAR Analysis จะเป็นอีกเครื่องมือสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ ที่สามารถนำมาใช้ให้เหมาะสมเพื่อความก้าวหน้าในอนาคตได้ครับ


Share to friends


Related Posts

วิเคราะห์ SWOT ให้ชัดเจน สำหรับการวางแผนธุรกิจ

SWOT Analysis ถือเป็นเทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ ในการระบุจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และ ภัยคุกคาม (Threats) เพื่อให้ทราบว่าเราเป็นใคร เรามีจุดแข็งตรงไหน จุดอ่อนของเรามีอะไร มีโอกาสอะไรบ้างในตลาด และอะไรคืออุปสรรคหรือภัยคุกคามในธุรกิจของเรา ดังนั้น การทำ SWOT Analysis


วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย PESTEL Analysis

ในการทำธุรกิจมักจะมีปัจจัยหลายๆอย่างที่เข้ามากระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบกับธุรกิจของเรา ที่เราจำเป็นต้องพิจารณาก่อนจะดำเนินแผนธุรกิจใดๆ มีทั้งปัจจัยภายในองค์กรเองรวมไปถึงปัจจัยภายนอก PESTEL Analysis คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กรและธุรกิจของเรา ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งอุปสรรคและโอกาส


วิเคราะห์ขีดความสามารถธุรกิจ กับ VRIO Analysis Framework

VRIO Analysis คือ อีกหนึ่งเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ รวมถึงประเมินทรัพยากร (Resource) และขีดความสามารถขององค์กร (Competitive Advantage) ที่ถูกพัฒนาโดย Jay B. Barney ศาสตราจารย์ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ชาวอเมริกัน โดย VRIO Analysis นั้นถือเป็นการวิเคราะห์จากมุมมองภายในขององค์กร



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2023@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์