Critical Thinking ทักษะการทำงานยุคใหม่

ในชีวิตการทำงานนอกเหนือจากทักษะการทำงานทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ที่จำเป็นต้องมีแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่เรียกได้ว่ามีความจำเป็นมากสำหรับชีวิตการทำงานในยุคปัจจุบัน นั่นก็คือ Critical Thinking การคิดเชิงวิพากษ์ หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Critical Thinking คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุมีผลหรือที่เราเรียกว่ามีวิจารณญาณในการคิดเรื่องต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นความเข้าใจในเหตุและผลที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับความคิดในเรื่องต่างๆ ฉะนั้นนักคิดเชิงวิพากษ์จะสามารถวาดภาพและเชื่อมโยงเรื่องราวและข้อมูลต่างๆอย่างมีเหตุมีผล และสามารถเลือกประเมินข้อมูลที่มีประโยชน์ ตัดสิ่งที่ไร้ประโยชน์ออกจากกระบวนการความคิด เพื่อแก้ปัญหาหรือแก้ไขสถานการณ์ต่างๆโดย Critical Thinking นั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณเลยทีเดียว

คนที่มี Critical Thinking สามารถทำอะไรได้บ้าง

  • สามารถเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่างๆ
  • สามารถกำหนดความสำคัญ และความเกี่ยวข้องในเหตุผลและความคิด
  • รับรู้และสร้างหรือประเมินเหตุผลต่างๆได้
  • สามารถระบุความไม่สอดคล้องและข้อผิดพลาดในการใช้เหตุและผล
  • แก้ไขปัญหาอย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
  • สามารถอธิบายถึงความเป็นเหตุเป็นผลจากสมมติฐานของตัวเอง ความเชื่อ และคุณค่าต่างๆ

ทักษะที่ต้องการสำหรับ Critical Thinking

การเป็นนักคิดเชิงวิพากษ์นั้นจำเป็นต้องมีทักษะ เพื่อที่จะสามารถใช้วิจารณญาณในการคิดได้อย่างแม่นยำ ทั้งการสังเกต การวิเคราะห์ การตีความ การสะท้อนความคิด การประเมินผล การเปรียบเทียบ การอธิบาย การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ ประกอบไปด้วย

  • การคิดหัวข้อหรือประเด็นต่างๆในรูปแบบการตั้งจุดมุ่งหมาย และเป็นเหตุเป็นผล
  • ทักษะในการระบุและแยกแยะประเด็นต่างๆ รวมถึงการเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ
  • การประเมินมุมมองต่างๆเพื่อวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูล
  • การจดจำในข้อด้อยหรือประเด็นเชิงลบต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในข้อโต้แย้งได้
  • ทักษะการตั้งข้อสังเกตถึงผลเชิงลบต่อสิ่งต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
  • ทักษะในการคิดโครงสร้างแบบเป็นเหตุเป็นผล เพื่อนำมาสนับสนุนข้อโต้แย้งต่างๆ

ตั้งคำถามแบบ Critical Thinking

Pink light bulb with question mark and exclamation sign

บางครั้งเราพยายามที่จะฝึกฝนวิธีคิดแบบ Critical Thinking และเรามักจะสงสัยว่าการคิดแบบนี้มันใช่แนวทางการฝึกฝนที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งการจะเข้าใจวิธีการนั้นต้องมีการฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา ลองมาดูแนวทางการคิดและตั้งคำถามแบบ Critical Thinking กันครับ

  • ใครเป็นคนพูด (Who)
    คนพูดเป็นคนที่เรารู้จักหรือไม่ คนพูดเป็นคนที่มีความเหมาะสมหรืออยู่ในตำแหน่งที่น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่พูดนั้นสำคัญมากน้อยแค่ไหน

  • พูดเรื่องอะไร (What)
    สิ่งที่พูดนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็น ข้อเท็จจริงนั้นมีครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่

  • พูดที่ไหน (Where)
    สิ่งที่พูดนั้นเป็นการพูดในที่ชุมชนหรือการพูดแบบส่วนตัว มีทางเลือกมากน้อยแค่ไหน

  • พูดเมื่อไหร่ (When)
    สิ่งที่พูดเกิดก่อนหรือหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ช่วงเวลานั้นมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน

  • พูดเพื่ออะไร (Why)
    คนพูดได้บอกเหตุผลในสิ่งที่พูดหรือการนำเสนอความคิดเห็นหรือไม่ คนพูดพยายามทำให้ตัวเองดูดีและคนอื่นๆดูแย่หรือไม่

  • พูดอย่างไร (How)
    คนพูดมีความสุข เศร้า หรือ โกรธในขณะที่พูดหรือไม่ คนพูดพูดตามที่เขียนหรือเข้าใจสิ่งที่พูดจริงๆ เราเข้าใจในสิ่งที่เค้าพูดหรือไม่

ตัวอย่าง Critical Thinking

  • นางพยาบาลวิเคราะห์หาสาเหตุและสถานการณ์ว่าควรรักษาผู้ป่วยคนไหนตามลำดับอาการที่เกิดขึ้น
  • ช่างซ่อมท่อประปาประเมินเพื่อเลือกวัสดุที่เหมาะสมที่สุดในการทำงาน
  • ทนายความตรวจสอบหลักฐานและกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้ชนะคดี
  • ผู้จัดการวิเคราะห์ความคิดเห็นจากลูกค้า เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงงานบริการลูกค้า

Critical Thinking ที่สำคัญ

Concept creative idea and innovation with paper ball as a light bulb

การวิเคราะห์ (Analysis)

ส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking คือ ความสามารถในการตรวจสอบบางสิ่งบางอย่าง เช่น ปัญหา ชุดข้อมูล หรือเนื้อหา ใครที่มีทักษะในการวิเคราะห์จะสามารถตรวจสอบข้อมูล เข้าใจความหมายของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอธิบายให้คนอื่นๆฟังได้อย่างเหมาะสม โดยการวิเคราะห์นั้นประกอบไปด้วย

  • การตั้งคำถามที่เป็นประโยชน์
  • การวิเคราะห์ข้อมูล
  • การค้นคว้าวิจัย การตีความหมาย
  • การตัดสินใจ
  • การตั้งคำถามด้วยการใช้หลักฐาน
  • การจดจำรูปแบบ
  • ความสงสัยใคร่รู้

การสื่อสาร (Communication)

เมื่อคุณสามารถคิดแบบ Critical Thinking ได้แล้วนั้นต่อไป ก็คือ การสื่อสารเพื่อแชร์ความคิดไปสู่กลุ่มพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณอาจมีโอกาสในการฝึกฝนการคิดแบบ Critical Thinking เป็นกลุ่มๆในชีวิตการทำงาน ซึ่งในกรณีนี้คุณจำเป็นต้องใช้ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน ประกอบไปด้วย

  • การฟังแบบมีส่วนร่วม
  • การประเมินผลการสื่อสาร
  • ความร่วมมือ
  • การอธิบาย
  • การสื่อสารระหว่างบุคคล
  • การนำเสนอผลงาน
  • การทำงานเป็นทีม
  • การสื่อสารผ่านการพูด
  • การสื่อสารผ่านการเขียน

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

การคิดแบบ Critical Thinking มักจะเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ๆ โดยคุณอาจต้องระบุรูปแบบของข้อมูลที่คุณกำลังดูหรือหาวิธีแก้ปัญหาที่ไม่มีใครเคยนึกถึงมาก่อน ประกอบไปด้วย

  • ความยืดหยุ่นตามสถานการณ์
  • การกำหนดแนวความคิด
  • ความสงสัยใคร่รู้
  • จินตนาการ
  • การเชื่อมโยงให้เป็นภาพ
  • การคาดเดาสถานการณ์
  • การอนุมาน
  • การสังเคราะห์ข้อมูล
  • การมีวิสัยทัศน์

การเปิดใจ (Open-Mindedness)

อีกหนึ่งทักษะสำคัญในการพิสูจน์ว่าสมมติฐานหรือการตัดสินใจนั้นถูกต้องหรือไม่ คือ การเปิดใจเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ได้รับมา โดยตัดความลำเอียงใดๆก็ตามที่อาจเกิดขึ้นออกไป ประกอบไปด้วย

  • ความหลากหลาย
  • ความเป็นธรรม
  • ความนอบน้อม
  • ความครอบคลุมทุกๆด้าน
  • การนึกถึงเป้าหมาย
  • การสังเกตการณ์
  • มุมมองด้านอื่นๆที่มีผลกระทบทั้งแง่บวกและลบ

การแก้ปัญหา (Problem Solving)

การแก้ปัญหาเป็นทักษะที่จำเป็นมากสำหรับการมีความคิดแบบ Critical Thinking ซึ่งเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหา และทำให้แผนที่วางไว้ประสบความสำเร็จ องค์กรหรือบริษัทไม่ได้เพียงต้องการแค่พนักงานที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังมองหาความสามารถในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวางแผนแก้ไขปัญหาต่างๆให้ได้ ประกอบไปด้วย

  • การให้ความสำคัญ และใส่ใจกับรายละเอียด
  • การค้นหาความจริง
  • การตัดสินใจ
  • การประเมินผล
  • ความมีเหตุมีผล
  • ความสามารถในการแยกแยะ
  • ความคิดที่มีความทันสมัย ผสมผสานกับนวัตกรรม

ทักษะอื่นๆ

  • การระดมสมอง
  • ความสามารถในการปรับเปลี่ยน
  • ความสามารถในการควบคุมอารมณ์
  • ความสามารถในการเชื่อมโยงเหตุการณ์
  • ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • ความสามารถในการวางแผนเชิงกลยุทธ์
  • ความสามารถในการบริหารจัดการโครงการต่างๆ
  • ความสามารถในการพัฒนา
  • การสร้างความสัมพันธ์
  • การวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ
  • การตรวจสอบหาข้อบกพร่อง
  • การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT)
  • มีความรู้และความเชี่ยวชาญในธุรกิจ
  • การบริการจัดการข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
  • ความแม่นยำถูกต้อง
  • ความสามารถในการสร้างตัวชี้วัดผลงาน
  • การบริหารความเสี่ยง
  • ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงสถิติ
  • ความสามารถในการเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการใช้หลักเหตุและผล ไปจนถึงข้อพิสูจน์ต่างๆ
  • การเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค

ท้ายที่สุดแล้วทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking ที่สำคัญที่สุดนั้น ก็คือ ความสามารถในการมองเห็นเหตุการณ์หรือคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆที่ส่งผลกระทบในการทำงาน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว และทั้งหมดก็เป็นวิธีการฝึกฝนตัวเองเพื่อการมีทักษะสำคัญในการทำงานยุคนี้


Cover Idea vector created by stories – www.freepik.com
Photos by freepik – www.freepik.com

Share to friends


Related Posts

ความต่างของ Hard Skill กับ Soft Skill

Soft Skill และ Hard Skill เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและความสามารถที่คุณมี ที่จำเป็นต่อการสมัครงาน ทุกครั้งเวลาคุณจะสมัครงานที่ไหนก็จำเป็นต้องกรอกข้อมูลที่นอกเหนือจาก ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน อายุ เพศ


สร้าง Creative Thinking ให้ตัวเอง

Creative Thinking หรือการคิดในเชิงสร้างสรรค์ เป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่ควรมีติดตัวไว้ เพื่อประโยชน์ในการทำงานรวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ในหลายๆครั้งคุณอาจสังเกตเห็นว่าทำไมหลายๆคนถึงคิดไอเดียใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว นั่นก็เพราะพวกเขามีความคิดในเชิงสร้างสรรค์นั่นเอง



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์