Princess_Charlotte

เมื่อพระราชวังเคนซิงตัน (Kensington Palace) ได้เผยแพร่พระรูป เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ (Princess Charlotte of Wales) จะเกิดปรากฎการณ์ 2 สิ่งภายในไม่กี่นาที คือ ช่องทาง Social Media จะเต็มไปด้วยพระรูปและเสื้อผ้าที่พระองค์ทรงสวมใส่ ที่จะหายไปอย่างเงียบเชียบจากเว็บไซต์ของแบรนด์ผู้ค้าปลีกทุกราย ปรากฏการณ์นี้ได้รับการขนานนามว่า “ปรากฏการณ์ชาร์ลอตต์” (Charlotte Effect) ที่ได้เปลี่ยนเชื้อพระวงศ์ในวัยประถมศึกษา ให้กลายเป็นพลังทางการตลาด (Marketing Force) มูลค่าหลายพันล้านปอนด์

ในบทความนี้ผมจะชวนผู้อ่านมาร่วมวิเคราะห์ ที่มาที่ไปและผลกระทบของปรากฏการณ์ดังกล่าว และสามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์การตลาดให้แบรนด์ได้อย่างไรบ้าง

ปรากฎการณ์ Charlotte Effect

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการรายงานข่าวของสื่อที่เกิดขึ้น เมื่อเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ (Princess Charlotte) ทรงปรากฏตัวโดยทรงใช้ สวมใส่ หรือแม้แต่ทรงถือผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็จะทำให้เกิดกรากฎการณ์ที่ “สินค้าขายหมดภายในไม่กี่ชั่วโมง” เกิดปริมาณการค้นหาใน Google อย่างมหาศาล และราคาขายต่อยังคงสูงขึ้นเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยปัจจุบัน Brand Finance ซึ่งเป็นหน่วยงานประเมินมูลค่าแบรนด์ ได้ประเมินมูลค่าการสนับสนุนเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ไว้ที่ 3-4 พันล้านปอนด์เลยทีเดียว

ปรากฏการณ์นี้มาจากแบบอย่างของราชวงศ์ที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์เคท” (Kate Effect) ที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าตู้เสื้อผ้าของราชวงศ์ที่เข้าถึงได้ สามารถกระตุ้นยอดขายสินค้าทั่วโลกได้ ความสนใจของผู้บริโภคจึงขยายไปสู่ “พระโอรส” และ “พระธิดา” ของดัชเชส (Duchess’s children) โดยธรรมชาติ เพียงแค่พระราชวังเผยแพร่พระรูปเพียงไม่กี่ภาพต่อปี ก็ทำให้เกิดความขาดแคลนของผลิตภัณฑ์ ที่เป็นลักษณะเหมือนกันกับการเปิดตัวสินค้า ในแบบจำนวนจำกัด (Limited Offer) ในวงการสตรีทแวร์

The-Prince-and-Princess-of-Wales-Attend-Wimbledon-2023

Image Source: https://www.cambridge-news.co.uk/news/royals/princess-charlotte-richest-child-world-30674631

เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ (Princess Charlotte) ทรงประสูติในช่วงที่ Instagram กำลังเติบโต (ปี 2015) และพระรูปของราชวงศ์ทุกภาพจะถูกนำไปเผยแพร่ต่อในทันที โดยบัญชีของแบรนด์แฟชั่น บัญชีสำหรับผู้ปกครอง และบัญชีของคนดังนับพันบัญชี ทำให้แบรนด์เสื้อผ้าเด็กได้รับการเปิดเผยอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่พวกเขาไม่สามารถทำแบบนี้ได้เลย

Charlotte Effect สร้างผลกระทบได้อย่างไร

ข้อมูลจาก thinkSPAIN ได้ระบุว่าเมื่อเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ (Princess Charlotte) สวมเสื้อโค้ท “Raspberry Red Razorbil” ของ Amaia Kids ไปร่วมพิธีสวดมนต์คริสต์มาสประจำปี 2024 ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ของ Amaia ก็พุ่งสูงขึ้นถึง 460% และเสื้อโค้ทราคา 170 ปอนด์ ก็ขายหมดภายในเวลาไม่ถึงสามชั่วโมง เรามาดูตารางด้านล่างกันครับว่า “ปรากฏการณ์ชาร์ลอตต์” (Charlotte Effect) ที่ว่านี้ทำงานอย่างไร

ช่วงเวลา

สิ่งที่เกิดขึ้น

ปฏิกิริยาของผู้บริโภคและสื่อ

ผลเชิงพาณิชย์

การเปิดเผย (Reveal)

มีภาพถ่ายหรือการปรากฏตัวสาธารณะของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์

บัญชี Social Media สาย Royal-watcher รีบระบุแบรนด์ และรุ่นของเสื้อผ้า

ชื่อแบรนด์ติดเทรนด์ในทันที

การยืนยันตัวสินค้า (Verification)

บล็อกเกอร์แฟชั่นยืนยัน SKU ของสินค้า และร้านที่จำหน่ายทันที

พ่อแม่ นักสะสม กลุ่ม Reseller คลิกเข้าดูข้อมูล

Website Traffic พุ่ง

10-20 เท่า

เกิดภาวะช็อคจากความขาดแคลน

(Scarcity Shock)

สต็อกสินค้ามีอย่างจำกัด (แบรนด์เด็กส่วนใหญ่ผลิตไม่กี่ร้อยชิ้น)

สินค้าหมดในไม่กี่ชั่วโมง ภาพ “SOLD OUT” ถูกแชร์ทั่วโลกออนไลน์

สื่อกระแสหลักนำเสนอข่าวเพิ่มเติม (ได้ Earned Media)

ผลกระทบระยะยาว (Long Tail)

เกิดการเปิดจองซ้ำ เกิดการ Restock และประกาศในตลาดมือสอง

ราคาขายต่อพุ่ง 1.5-3 เท่าของราคาเต็ม

ความสนใจค้นหาและยอดขายต่อเนื่อง 4-6 สัปดาห์

ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยพระรูปใหม่ หรือการปรากฏตัวต่อสาธารณชนของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ (Princess Charlotte) และภายในไม่กี่นาทีบัญชี Social Media ที่ติดตามราชวงศ์จะซูมเข้าไป พยายามระบุเสื้อผ้า และเครื่องประดับทุกชิ้นที่พระองค์ทรงสวมใส่ และด้วยการสืบเสาะของพวกเขาทำให้แบรนด์ ปรากฏอยู่ในรายการสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมในทันที

ในขณะที่ Fashion Blogger และเว็บบอร์ดสำหรับผู้ปกครอง ต่างเร่งรีบยืนยันรหัสสินค้า (SKU) ที่แน่นอน และแหล่งจำหน่าย ทันทีที่มีการโพสต์ลิงก์ ผู้ปกครอง นักหิ้ว นักขายต่อ และผู้ที่สนใจอีกหลายพันคน ก็จะคลิกเข้าไปดูและค้นหา ทำให้ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ (Website Traffic) เพิ่มขึ้น 10 – 20 เท่าของระดับปกติที่เคยเป็น

และแบรนด์โดยส่วนใหญ่ที่เจ้าหญิงทรงโปรดปราน จะเป็นผู้ผลิตเฉพาะกลุ่มที่ผลิตสินค้าเพียงไม่กี่ร้อยชิ้น สินค้าจะหายไปจากตะกร้าสินค้าภายในไม่กี่ชั่วโมง และภาพหน้าจอจะขึ้น “SOLD OUT” จนถูกนำไปเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย ที่กลับกลายเป็นการประชาสัมพันธ์ฟรี ทำให้การไม่มีสินค้ากลายเป็นข่าวที่ใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีก

Princess_Charlotte_1

Image Source: https://www.cheatsheet.com/news/princess-charlotte-became-richest-royal-child-world-worth-4-billion.html/

ภายหลังจากสินค้าขายหมดแต่ความต้องการไม่ได้หายไป ผู้ซื้อลงชื่อในรายการรอ (Wait-lists) และสินค้าที่ต้องการก็ถูกนำไปขายต่อในตลาดออนไลน์ ในราคาที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 -3 เท่าของราคาเดิม เกิดการค้นหาผลิตภัณฑ์ใน Google ที่ยังคงสูงขึ้นเป็นเวลา 4 – 6 สัปดาห์ มีการแจ้งเตือนเมื่อมีสินค้ากลับเข้ามาในสต็อก แม้แต่สินค้าลอกเลียนแบบต่างก็ได้รับอานิสงส์จากกระแสที่ยังคงอยู่ด้วยเช่นกัน ทำให้ปรากฏการณ์นี้ยังคงสร้างผลตอบแทนได้อีกนาน

ด้วยรัศมีแห่งความแท้จริง (Authenticity Halo) ที่เด็กไม่สามารถถูกมองว่า เป็นการรับรองผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้ ดังนั้นสัญญาณที่ส่งออกมาจึงรู้สึกเป็นธรรมชาติมาก แตกต่างจากการโปรโมทสินค้าโดยคนดังที่ได้รับการว่าจ้าง แรงบันดาลใจของผู้ปกครอง (Parental Aspiration) ที่ชอบสไตล์ของราชวงศ์ (แบบดั้งเดิม คุณภาพดี เรียบร้อย) สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองที่มองหาเสื้อผ้าเด็กที่ดู “เหนือกาลเวลา” (Timeless) กับความหรูหราที่เข้าถึงได้ (Attainable Luxury) ที่ราคาสูงสุดโดยเฉลี่ยของชุดที่เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ (Princess Charlotte) สวมใส่อยู่ที่ 70 – 120 ปอนด์ (ราว 3 – 5 พันบาท) ซึ่งถือว่าสูงสำหรับเสื้อผ้าเด็ก แต่ยังอยู่ในกำลังการจ่ายของผู้บริโภคชนชั้นกลาง ที่ต้องการสัมผัสความเป็นราชวงศ์ พร้อมกับการขยายผล Social Media ที่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาราชวงศ์ที่สร้างการมีส่วนร่วมสูง การกดไลก์และแชร์แต่ละครั้งจะช่วยยกระดับแบรนด์ให้สูงขึ้นไปอีก และท้ายที่สุด คือ การ “เข้าถึงผู้ชมทั่วโลก…ด้วยการผลิตจากท้องถิ่น” (Global Audience, Local Production) ที่ปรากฏให้เห็นว่าหลายๆแบรนด์นั้น เป็นช่างฝีมือชาวสเปนหรือชาวอังกฤษ และความขาดแคลน (Scarcity Effect) Link นี้เองที่ช่วยเสริมให้ดูพิเศษ และสมเหตุสมผลกับราคาในระดับพรีเมียม

Brand / Item

วันที่ใส่

ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที

ผลกระทบที่ขยายไปทั่ว

M&H Floral Dress

พฤษภาคม ปี 2016

เสื้อทั้งหมด 50 ชุด ขายเกลี้ยงในวันเดียว

แบรนด์ M&H ตัดสินใจเปิดตัว E-Commerce เพื่อขายของทั่วโลก

Amaia Kids Coat

คริสต์มาส ปี 2024

ขายหมดใน 3 ชั่วโมง และมี Web Traffic 460%

แบรนด์เปิด Wait-list และมีการนำไปขาย Resale ที่ทำให้ราคาพุ่งถึง 400 ยูโร

My1stYears.com Bathrobe

ภาพประสูติแรก ปีพฤษภาคม 2015

ยอดขายเพิ่มขึ้น 97% ใน 48 ชั่วโมง

กระแสเป็นใบเบิกทางเข้าไปวางขาย ในห้างสรรพสินค้าระดับพรีเมียม

Alex & Alexa Pink Cardigan

ภาพถ่ายบน Instagram เดือนตุลาคม ปี 2015

ราคาขายต่อพุ่ง 1.5-3 เท่าของราคาเต็ม

ออกแคมเปญถาวรชื่อ “Royal Edit” ซึ่งเป็นแหล่งรวมสินค้าที่เคยปรากฏในราชวงศ์

เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ (Princess Charlotte) ปรากฏตัวในพระรูปอย่างเป็นทางการ ในเดือนพฤษภาคม 2016 โดยทรงฉลองพระองค์ชุดลายดอกไม้ของ M&H และร้านค้าทุกแห่งที่จำหน่ายชุดดังกล่าว รายงานว่าเสื้อขายหมดทั้ง 50 ชุด ในวันเดียวกันนั้นเอง ยอดขายที่พุ่งสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิดทำให้ M&H ตัดสินใจเปิดตัวแพลตฟอร์ม E-Commerce ระหว่างประเทศ โดยอ้างถึงพระรูปดังกล่าวว่าเป็นตัวกระตุ้นโดยตรง

อีกตัวอย่างที่ชัดเจนยิ่งกว่าเกิดขึ้นในช่วงคริสต์มาสปี 2024 ซึ่งเป็นเสื้อโค้ทขนสัตว์สีแดงเบอร์รีของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ (Princess Charlotte) จากร้านบูติก Amaia Kids ทำให้ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ (Website Traffic) พุ่งสูงขึ้นถึง 460% และขายหมดภายในสามชั่วโมง ทำให้แบรนด์ต้องเปิดรายชื่อรอ (Wait-lists) และในที่สุดก็ดันราคาขายต่อให้สูงขึ้นถึงประมาณ 400 ยูโร ซึ่งมากกว่าราคาเดิม 170 ปอนด์ถึงสองเท่า แม้แต่เว็บไซต์ที่รับสั่งทำสินค้าตามความต้องการของลูกค้าจำนวนมาก ก็ยังรู้สึกถึงผลกระทบจากแรงกระแทกนี้เช่นกัน

เหตุการณ์พระรูปแรกประสูติที่เผยแพร่ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2015 แสดงให้เห็นว่าเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ (Princess Charlotte) ทรงห่อหุ้มด้วยเสื้อคลุมอาบน้ำส่วนพระองค์จาก My1stYears.com ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 97% เมื่อเทียบเป็นรายปีภายใน 48 ชั่วโมง และในทำนองเดียวกัน ภาพถ่ายบน Instagram แบบไม่เป็นทางการของเจ้าหญิง เมื่อเดือนตุลาคม 2015 ที่ทรงสวมเสื้อคาร์ดิแกนสีชมพูอ่อน ซึ่งมีจำหน่ายที่ Alex & Alexa ทำให้การค้นหาทั่วโลกสำหรับคำว่า “เสื้อคาร์ดิแกนสีชมพูอ่อน” (pale pink cardigan) เพิ่มขึ้น 78% เมื่อเทียบเป็นรายสัปดาห์

แต่ละกรณีได้เน้นย้ำความจริงเดียวกัน ที่ภาพเดียวที่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง สามารถเปลี่ยน SKU เฉพาะกลุ่มให้กลายเป็นสินค้ายอดนิยมระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว


สรุป “ปรากฏการณ์ชาร์ลอตต์” (Charlotte Effect) สำหรับนักการตลาด

1. ยกระดับแบรนด์หรูหน้าใหม่ให้เป็นที่รู้จัก (Luxury Label)

จากปรากฎการณ์ Charlotte Effect เราได้เห็นถึงทางลัดที่ได้ผล คือ พยายามให้สินค้าของคุณ เข้าไปอยู่ในตู้เสื้อผ้าหรือชีวิตประจำวันของ “ผู้นำเทรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง” ไม่ว่าจะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาคนดัง (Celebrities) ที่ภาพลักษณ์ดูดี หรือ Influencer สายครอบครัวที่คนเชื่อใจ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจกลายเป็นกระแสแบบไม่ทันตั้งตัว จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมในสายการผลิต (Production) และระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ให้พร้อมกับขยายตัวภายในเวลาอันสั้น โดยไม่ลดทอนคุณภาพงานฝีมือ (Craftsmanship) ซึ่งเป็นหัวใจของสินค้าแบบหรูหรา (Luxury Product) Link

2. เก็บเกี่ยวทราฟฟิกหลังยอดพุ่งในทันที (Leverage Post-Spike Traffic)

เมื่อกระแสเกิดขึ้นแล้ว ในหน้ารายละเอียดสินค้า หรือ Product Detail Page (PDP) ทุกหน้า ควรอัปเดตและใช้คำโปรยแบบอ้างอิงถึง เช่น “ได้รับการสวมใส่/ใช้งานโดย……” ในทันที และตั้งระบบแจ้งเตือน “สินค้าเข้าสต็อกเมื่อไรให้ส่งอีเมล์บอก” เอาไว้ล่วงหน้า เพราะลูกค้าที่พลาดล็อตแรกจะรู้สึกว่าตนยังมีโอกาส ส่งผลให้อัตราการเกิด Conversion ดีขึ้น

3. ใช้ “ความขาดแคลน” เป็นเครื่องมือสร้างความต้องการ (Scarcity Marketing)

แทนที่จะเติมของเข้าสต็อกแบบไม่จำกัด แต่ควรเปิดตัวคอลเล็กชันย่อยแบบ Limited Edition ที่มีหมายเลขกำกับ หรือขายเฉพาะช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อจำลองให้เกิดบรรยากาศแบบน่าเสียดาย “หมดแล้วหมดเลย” แต่ก็จำเป็นต้องบริหารความคาดหวังให้ดี โดยอาจใช้ระบบสุ่มสิทธิ์ซื้อหรือ Pre-Order เพื่อป้องกันความไม่พอใจของลูกค้าที่มาก่อนแต่กดไม่ทัน

4. เสริมพลังด้วยการเล่าเรื่อง (Storytelling)

ภายใน 24 ชั่วโมงหลังไอเทมถูกค้นพบโดยผู้ชม ควรจัดทำคอนเทนต์แสดงให้เห็นถึงเบื้องหลัง เช่น วิดีโอของช่างตัดเย็บ เรื่องราวของวัสดุยั่งยืน หรือบทสัมภาษณ์จากดีไซเนอร์ สิ่งเหล่านี้จะตอบโจทย์ผู้บริโภคที่แสวงหา “ความจริงใจ” และช่วยต่อยอดการพูดถึงในสื่อ โดยไม่ต้องซื้อโฆษณาเพิ่มเติม

5. ขยายอิทธิพลจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ (Mini-Me)

หากสินค้าต้นทางเป็นเสื้อผ้าเด็ก ให้ลองออกเวอร์ชันผู้ใหญ่ที่ถอดแบบรายละเอียดเด่นๆ เช่น ลายผ้า โทนสี หรือรูปแบบ แต่ปรับแต่งให้ดูสมวัย จุดนี้สามารถสร้างยอดขายและเพิ่มมูลค่าได้มาก แต่ต้องรักษาระดับความละเมียด ที่ไม่ให้กลายเป็นดีไซน์ที่ดู “เด็กเกินไป” สำหรับผู้ใหญ่


การปรับใช้ Charlotte Effect กับกลยุทธ์การตลาด

เรามาดูวิธีการนำปรากฏการณ์ Charlotte Effect มาเป็นแม่แบบในการสร้าง “ปรากฏการณ์” ของแบรนด์คุณเองครับว่า หากจะไปสู่การสร้างแบรนด์แห่งปรากฎการณ์บางอย่าง โดยเฉพาะแบบ Charlotte Effect จะต้องปรับตัวและใช้วิธีการอย่างไรบ้าง

1. สร้างสัญลักษณ์ (Icon Creation)

อันดับแรก คือ การกำหนดหรือสร้างสัญลักษณ์ที่แท้จริง (Authentic Symbol) โดยอาจจะเป็นลูก/หลานของผู้ก่อตั้ง ช่างฝีมือที่ได้รับการเคารพ หรือผลิตภัณฑ์รุ่น Limited Edition ที่มีแบบประจำปีเท่านั้น ซึ่งเป็นการรวบรวมคุณค่าของแบรนด์ (Brand Values) ที่สาธารณชนต้องรับรู้ว่า “สัญลักษณ์นี้เป็นของจริง” (Real) และ “ไม่เสแสร้ง” (Unforced)

2. การออกแบบช่วงเวลา (Moment Design)

ออกแบบช่วงเวลาที่หายาก (Rare) และสวยงามน่าถ่ายภาพ (Photogenic Moment) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏพร้อมกับผลิตภัณฑ์ของคุณ ความขาดแคลนควรเป็นไปตามโครงสร้าง โดยมีการจำกัดทั้งช่วงเวลา (Limited-Time Offer) Link หรือปริมาณการผลิต (Limited Edition) เพื่อให้ “การเปิดตัว” ให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดู “พิเศษ” และส่งข่าวถึงผู้ที่มีรสนิยมที่ตรงกันจำนวนหนึ่งอย่างเงียบๆเป็นอันดับแรกก่อน และให้กลุ่มคนเหล่านี้ช่วยกระจายข่าวสู่สาธารณะ เพื่อเริ่มต้นการตามล่าหาผลิตภัณฑ์บนโลกโซเชียลมีเดีย

3. กลไกการค้นพบ (Discovery Engine)

อำนวยความสะดวกในกระบวนการสืบหา โดยใช้ภาพความละเอียดสูง ใช้ลวดลายหรือสัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถจับคู่ผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว และตรวจสอบให้แน่ใจว่าหน้าผลิตภัณฑ์ของคุณ ได้รับการปรับแต่งอย่างเต็มที่สำหรับคำค้นหา Keywords ที่ผู้คนน่าจะพิมพ์ เมื่อพวกเขาคิดออกแล้วว่าสิ่งๆนั้นคืออะไร

4. สร้างภาวะขาดแคลนที่น่าตกใจ (Scarcity Shock) และหลักฐานทางสังคม (Social Proof)

ปล่อยให้สินค้าขายหมด อย่าควบคุมความต้องการ แสดงป้ายแสดงสินค้าคงเหลือ (Stock Left Banner) ที่มองเห็นได้ชัด เตรียมข้อความสำหรับแจ้งการลงทะเบียนในรายการรอ (Wait-list Signup) และภาพหน้าจอของชั้นวางสินค้าที่ดูว่างเปล่า สิ่งเหล่านี้ล้วนเสริมสร้างความเชื่อที่ว่า ความต้องการนั้นสูงกว่าอุปทานอย่างมาก บรรดานักข่าว Influencer และบล็อกเกอร์ จะช่วยขยายเรื่องราวเหล่านี้ให้คุณฟรี ทำให้คุณได้รับการประชาสัมพันธ์โดยไม่ต้องเสียเงิน

5. การสร้างรายได้ระยะยาว (Long-term Revenue)

หลังจากกระแสความนิยมเริ่มต้น ให้เพิ่มการมีส่วนร่วมผ่านการเติมสต็อก ด้วยอุปกรณ์เสริมต่างๆ (Accessories) และเนื้อหาการเล่าเรื่องที่เข้มข้น (Rich Storytelling) เช่น วิดีโอการสร้างหรือประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ บทสัมภาษณ์ช่างฝีมือ ข้อมูลการขายก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ หรือเสนอบริการสำหรับเพิ่มความประทับใจ


“ปรากฏการณ์ชาร์ลอตต์” (Charlotte Effect) พิสูจน์ให้เห็นว่าช่วงเวลาที่เหมาะสม ของการปรากฏตัวอย่างแท้จริงนั้น สามารถสร้างผลลัพธ์ได้ดีกว่าการซื้อโฆษณามูลค่าหลายล้านดอลลาร์ ด้วยการออกแบบสัญลักษณ์ การกำหนดช่วงเวลา การแสดงถึงความขาดแคลน การมีเรื่องราวที่น่าจดจำ และการขยายผลสู่เรื่องต่างๆ สามารถเปลี่ยนแบรนด์ของคุณ จากคำว่ากระแส (Viral) ที่มาไวไปไว ให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ทวีมูลค่าขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง


Source
Source
Source
Source

Share to friends


Related Posts

จิตวิทยาและการตลาดกับ Scarcity Effect เมื่อผู้บริโภครู้สึกถึงความขาดแคลน

ผลกระทบของความขาดแคลน (Scarcity Effect) เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นทางจิตวิทยาที่ทรงพลังที่สุด ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค (Comsumer Behavior) โดยอาศัยหลักการที่ว่าผู้คนจะให้คุณค่ากับสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดมากกว่าสิ่งที่หาได้ทั่วไป ปรากฏการณ์นี้ก่อให้เกิดความกลัวที่จะพลาดโอกาสหรือ Fear of Missing Out (FOMO) ซึ่งทำให้ผู้บริโภครู้สึกวิตกกังวล เมื่อต้องเผชิญกับโอกาสที่อาจสูญเสียไป ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ


เทคนิคการนำ Fear of Missing Out มาใช้ในการตลาด

Fear of Missing Out หรือ FOMO เป็นอาการของการกลัวการตกเทรนด์หากไม่ได้สิ่งเหล่านั้นมาก็จะรู้สึกนอยด์ๆหรือรู้สึกผิดหวังที่ปล่อยให้โอกาสเหล่านั้นหลุดลอยไปในอากาศ และเป็นกันอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่มคน Gen Y และ Gen Z โดยการทำความเข้าใจกับ FOMO นั้นมันจะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับการทำการตลาดได้เป็นอย่างดี


จิตวิทยาและการตลาดกับ Fear-Based Marketing ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า

การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยความกลัว (Fear-Based Marketing) ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากตัวกระตุ้นทางจิตวิทยา เพื่อโน้มน้าวพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยการสร้างความเร่งด่วน (Urgency) ความขาดแคลน (Scarcity) และความรู้สึกของการสูญเสีย (Fear of Missing Out) ที่อาจเกิดขึ้น ธุรกิจต่างๆนั้นประสบความสำเร็จในการใช้กลยุทธ์



copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์