วิธีสร้างสารให้กับแบรนด์ (How to Create Brand Message)

เมื่อคุณสร้างแบรนด์ขึ้นมาหนึ่งแบรนด์ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องทำคือการสื่อสารแบรนด์ออกไปให้คนภายนอกได้รู้จัก ที่จำเป็นต้องสื่อสารอย่างทรงพลังด้วยการสร้างสารหรือข้อความให้กับแบรนด์ (Brand Message) โดยการใช้ Brand Messaging Framework หรือ เฟรมเวิร์คสำหรับออกแบบข้อความให้กับแบรนด์ มาใช้ในกระบวนการค้นหาคำพูดที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสารของแบรนด์

Grey Arrow

ทำไมการทำ Brand Messaging ถึงสำคัญนัก

คอนเท้นต์เป็นตัวสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์ ที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับแบรนด์ ซึ่งจำเป็นต้องมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในทุกๆจุดสัมผัส (Touchpoints) และในทุกๆคอนเท้นต์ มันจึงจำเป็นต้องมีการวางแนวทางเพื่อให้ทีมของคุณสื่อสารได้อย่างไม่ผิดพลาด ที่ต้องเข้าใจว่า “คุณคือใคร” “คุณทำอะไร” และ “คุณจะทำมันอย่างไร” ที่สื่อสารออกมาได้อย่างเรียบง่าย เข้าใจง่าย และน่าจดจำ โดยโครงสร้างของการสร้างข้อความให้กับแบรนด์ (Brand Messaging) นั้น ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ

  • คำพูดสั้นๆที่แสดงถึงความเป็นตัวแบรนด์ (Tagline)
  • คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ (Value Proposition)
  • เสาของการสร้างข้อความให้กับแบรนด์ (Brand Messaging Pillars)
เฟรมเวิร์คสำหรับออกแบบสารให้กับแบรนด์ (Brand Messaging Framework)

เฟรมเวิร์คนี้เริ่มต้นจาก คำพูดสั้นๆที่แสดงถึงความเป็นตัวแบรนด์ (Tagline) หรือที่เราเรียกว่าเป็น Big Idea ทั้งหมดของการนำมากำหนดข้อความของแบรนด์ ต่อเนื่องมาที่คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ (Value Proposition) หรือสิ่งที่คุณทำ มาสู่เสาแต่ละเสาของการสร้างข้อความให้กับแบรนด์ (Brand Messaging Pillars) หรือวิธีการทำ/ข้อพิสูจน์

ทุกองค์ประกอบนั้นช่วยเสริมกันและกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ที่คุณจะบอกถึงข้อความของแบรนด์ที่เล่าเรื่องราวของความเป็นตัวคุณ ไปยังทุกๆจัดสัมผัสของผู้บริโภค

ขั้นตอนการทำเฟรมเวิร์ค

เฟรมเวิร์คสำหรับออกแบบข้อความให้กับแบรนด์ (Brand Messaging Framework) มีอยู่ 4 ขั้นตอนด้วยกัน

ขั้นที่ 1 กำหนดคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ

คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ หรือ Value Proposition ถือเป็นใจความสำคัญหลักของสิ่งที่คุณเป็น และสิ่งที่คุณทำ คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับนั้นอธิบายถึงทั้งประโยชน์ด้านการใช้สอย (Functional Benefits) รวมไปถึงการตอบสนองความรู้สึกทางอารมณ์ (Emotional Benefits) ผ่านการใช้สินค้าหรือบริการ

  • แบรนด์ของคุณช่วยแก้ปัญหาอย่างไร
  • ทำไมผู้คนถึงต้องเลือกแบรนด์ของคุณ

ขั้นที่ 2 กำหนด Tagline อย่างชัดเจน

Tagline ที่สั้นๆแต่ได้ใจความที่แสดงถึงผลรวมของตำแหน่งและคุณค่าของแบรนด์ คำว่าสั้นๆไม่ใช่การเขียนเป็นประโยค และควรเน้นการเชื่อมโยงความรู้สึกทางอารมณ์ เพื่อให้คนอ่านนั้นจดจำได้

ขั้นที่ 3 กำหนดเสาหลักของ Brand Messaging

เสาหลักของการสร้างข้อความให้กับแบรนด์ ก็คือ การกำหนดจุดที่คุณอยากจะสื่อสาร ซึ่งมันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการสร้างข้อความของแบรนด์ และมันยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคอนเท้นต์อีกด้วย โดยหลักแล้วเสาหลักจะมีอยู่ด้วยกัน 3 เสา คือ ภาพรวม ประโยชน์ที่ได้รับ และจุดขาย ที่ทำให้แบรนด์คุณแตกต่างจากคนอื่นๆ ซึ่งทั้ง 3 เสานั้นเรานับรวมว่ามันคือจุดขายแต่ละจุดของแบรนด์คุณนั่นเองครับ

และเมื่อคุณได้จุดขายทั้ง 3 จุดแล้ว ขั้นต่อไปก็ต้องระบุข้อความที่สนับสนุนจุดขายทั้ง 3 จุด ด้วยข้อความหรือคีย์เวิร์ดที่ดูน่าสนใจ ที่คุณสามารถนำมันไปใช้ในสื่อต่างได้ ไม่ว่าจะเป็น โฆษณา วีดิโอ บรรจุภัณฑ์ เว็บไซต์

ขั้นที่ 4 ปรับแต่ง Brand Messaging

เมื่อคุณได้จุดขายทั้ง 3 จุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาที่คุณจะต้องทำการปรับแต่งข้อความของแบรนด์ โดยยึดแนวทางดังนี้

  • แต่ละระดับมันเชื่อมโยงกับอันต่อไปหรือไม่
  • ข้อความนั้นมันสะท้อนถึงน้ำเสียงของแบรนด์ (Brand Voice) หรือไม่
  • สามารถปรับแต่งให้ดึงความรู้สึกทางอารมณ์มากกว่านี้ได้หรือไม่
  • ประโยชน์ที่ได้รับมีความชัดเจน มีความคงเส้นคงวา และตรงกันหรือไม่
Grey Arrow

ตัวอย่าง Brand Messaging

ผมลองยกตัวอย่างแบรนด์เสื้อผ้ามา 1 แบรนด์ เพื่อแสดงให้เห็นวิธีการสร้างข้อความของแบรนด์กันครับ

ตัวอย่าง Brand Messaging (Example of Brand Messaging)

การสร้างสารหรือข้อความให้กับแบรนด์นั้น (Brand Messaging) จำเป็นต้องใช้การระดมสมองจากทีมที่เกี่ยวข้อง และต้องทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของการสื่อสารเป็นอย่างดี เพื่อที่คุณจะสามารถเขียนข้อความได้ตรงใจในทุกๆการเดินทางของกลุ่มผู้ซื้อ และควรนำเข้าไปอยู่ใน Brand Guideline ด้วยนะครับ


Share to friends


Related Posts

Brand Voice กับความแตกต่างในการทำธุรกิจ

การสร้างแบรนด์กลายเป็นศาสตร์หนึ่งของการทำการตลาดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องมีการลงทุนในการสร้างให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจว่าแบรนด์ของเราเป็นใคร มีจุดมุ่งหมายอะไร และหนึ่งในนั้นคือการสร้างบุคลิกภาพให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจว่าเรามีลักษณะเป็นอย่างไรเพื่อให้เป็นที่จดจำผ่านกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ เมื่อคนเราคิดหรือนึกถึงแบรนด์ก็มักจะคิดถึงอัตลักษณ์


สร้างความแตกต่างในการทำธุรกิจ ด้วย Brand Positioning

ต้องยอมรับเลยนะครับว่าในสมัยนี้เกิดแบรนด์ต่างๆ ธุรกิจใหม่ๆ สินค้าที่มีความหลากหลายขึ้นแทบจะทุกวันหลายๆแบรนด์พยายามนำเสนอสิ่งใหม่ๆที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งหากแบรนด์ใดสามารถนำเสนอจุดเด่นของสินค้าหรือบริการ หรือการสร้างจุดต่างอื่นๆที่ไม่เหมือนใครและสื่อสารไปให้ลูกค้าหรือผู้บริโภครับรู้และจดจำได้ ก็เรียกได้ว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว นั่นคือ แนวคิดของการวางตำแหน่งแบรนด์ (Brand Positioning)


การวาง Positioning 3 ประเภทที่ควรรู้

โดยทั่วไปเรามักจะได้ยินเรื่องของการวางตำแหน่งสินค้าหรือการวางตำแหน่งของแบรนด์ ซึ่งในด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์นั้น การวางตำแหน่งจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากคู่แข่งและสร้างให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขัน


สร้างความโดดเด่นด้วย Differentiation Strategy

การอยู่รอดในธุรกิจสมัยนี้นับเป็นเรื่องที่ยาก เพราะด้วยความที่เกิดคู่แข่งขันในตลาดมากมายและทุกอย่างมีการเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของอินเทอร์เน็ต โซเชียล มีเดีย นับเป็นยุคของดิจิทัลแทบจะ 100% และด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เราจำเป็นต้องหาจุดต่างในแบรนด์ สินค้า รวมถึงบริการ



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์