Gucci_Aria_Collection

แฟชั่นแห่งความหรูหรา (Fashion Luxury) นั้นเป็นมากกว่าเสื้อผ้าชั้นสูง เพราะมันคือสัญลักษณ์ของความเป็นเอกสิทธิ์ (Exclusivity) เกียรติยศ (Prestige) และงานฝีมืออันประณีต (Craftsmanship) คำว่า แฟชั่นแห่งความหรูหรา (Fashion Luxury) มีความแตกต่างจาก “แฟชั่นระดับหรู” (Luxury Fashion) ด้วยการเน้นย้ำถึงแนวทางเฉพาะตัว ในเรื่องความเป็นเอกสิทธิ์ (Exclusivity) และการสร้างแบรนด์ (Branding) ในขณะที่แบรนด์ใหญ่ๆ อย่าง Balenciaga, Gucci และ Chanel ยังคงนิยามขอบเขตของแฟชั่นชั้นสูง (High Fashion) ใหม่ๆอยู่เสมอ ในบทความนี้ผมจะะพาผู้อ่านมาสำรวจต้นกำเนิด ความหมาย ลักษณะเฉพาะ และเส้นทางเชิงกลยุทธ์ สู่การเป็นแบรนด์ แฟชั่นแห่งความหรูหรา (Fashion Luxury) กันครับ

What's next?

ต้นกำเนิดของแฟชั่นหรูหรา (Fashion Luxury)

แฟชั่นแห่งความหรูหรา (Fashion Luxury) มีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์อันยาวนาน ที่ย้อนกลับไปถึงเครื่องแต่งกายของราชวงศ์ในสไตล์ของชนชั้นสูง และงานฝีมือสุดพิเศษแบบโอต์กูตูร์ (Haute Couture) แนวคิดของแฟชั่นแห่งความหรูหราได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 โดยนักออกแบบชาวยุโรป ได้สร้างสรรค์ชิ้นงานที่ไม่เหมือนใครสำหรับราชวงศ์และชนชั้นสูง

แต่อย่างไรก็ตาม แฟชั่นแห่งความหรูหราสมัยใหม่ก็ได้ก่อตัวขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ด้วยแบรนด์ต่างๆ อย่าง Chanel, Louis Vuitton, Hermès, และ Dior ที่บุกเบิกแฟชั่นระดับไฮเอนด์ ที่ผสมผสานงานฝีมือที่เหนือกว่าเข้ากับความเป็นเอกสิทธิ์ (Exclusivity) ปัจจุบันแฟชั่นแห่งความหรูหรามีความหมายเสมือนกับเกียรติยศ (Prestige) ความหายาก (Rarity) และงานฝีมือ (Craftsmanship) และแบรนด์ต่างๆ อย่าง Balenciaga, Gucci, และ Prada ก็ได้ผลักดันขอบเขตของความเป็นเอกสิทธิ์ ด้วยการออกคอลเลกชันที่มีจำนวนจำกัดเพียงเท่านั้น

ความหมายของ Fashion Luxury

แฟชั่นแห่งความหรูหรา (Fashion Luxury) หมายถึง เสื้อผ้า เครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไลฟสไตล์ ที่แสดงถึงความเป็นเอกสิทธิ์ (Exclusivity) วัสดุพรีเมียม (Premium Materials) งานฝีมือที่เหนือกว่า (Superior Craftsmanship) และมีราคาสูง (High Price) ที่ไม่เหมือนกับแฟชั่นในตลาดทั่วไป แฟชั่นแห่งความหรูหราถูกออกแบบมาให้มีความหายาก (Rarity) และมักจะแฝงไว้ด้วยกลิ่นอายของสถานะ (Status) มรดก (Heritage) และการแสดงออกทางศิลปะ (Artistic Expression) แบรนด์ในกลุ่มนี้มักสร้างความต้องการ ด้วยการจำกัดจำนวนสินค้า (Limited Availability) การตลาดที่ทำให้เป็นจุดสนใจ (Hype Marketing) และการร่วมมือกับบรรดาคนดัง (Celebrity Collaboration) เพื่อเพิ่มความหายากและมูลค่าทางจิตใจ

HP_DK_COUTURE

Image Source: https://couture.balenciaga.com/en/

ยกตัวอย่างของแบรนด์อย่าง Balenciaga กับคอลเลกชันพิเศษที่ปล่อยออกมาเพียงไม่กี่ชิ้น กับ Balenciaga IKEA Tote ในคอลเลกชัน Balenciaga Spring/Summer 2017 ที่วางจำหน่ายในช่วงเวลาจำกัดและไม่มีการผลิตต่อเนื่อง โดยเป็นกระเป๋าที่ดีไซน์เหมือนถุงช้อปปิ้งสีฟ้าของ IKEA ราคา 2,145 เหรียญ (ราว 72,866 บาท) ขณะที่ของ IKEA ราคาไม่ถึง 1 เหรียญ (ราว 34 บาท) จนกลายเป็นมีมไวรัลที่ทำให้ได้รับความสนใจจากทั่วโลก Balenciaga เล่นกับไอเดีย High Fashion x Everyday Objects ทำให้เกิดกระแสของการมีจำนวนจำกัด ทำให้เป็นสินค้าที่คนอยากมีเอาไว้สะสม

balenciaga-ikea-tote

Image Source: https://edition.cnn.com/style/article/balenciaga-ikea-bag-response/index.html

แต่ก็มีอยู่คำหนึ่งที่เราได้ยินเป็นประจำ ก็คือ แฟชั่นระดับหรู (Luxury Fashion) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับ Fashion Luxury แต่ความเป็นแฟชั่นระดับหรู (Luxury Fashion) จะแสดงความเป็นตัวตนของแบรนด์ทั้งหมด ซึ่งหมายถึงแบรนด์แฟชั่นที่ยืนหยัดในความเป็นเลิศของงานฝีมือ (Craftsmanship) วัสดุพรีเมียม (Premium Materials) และมรดกทางประวัติศาสตร์ (Historical Heritage) แบรนด์กลุ่มนี้มักเน้นการออกแบบที่เหนือกาลเวลา (Timeless Design) และมีมาตรฐานสูงในการผลิต (High Standard) ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงทนและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อย่างแบรนด์ Chanel ที่เน้นความคลาสสิกและหรูหราเหนือกาลเวลา Hermès ที่เน้นงานฝีมือระดับสูงและความหายาก ส่วน Louis Vuitton ที่ยืนหยัดในคุณภาพและอัตลักษณ์ของแบรนด์ และสำหรับความต่างในเชิงแนวคิดจะสรุปออกมาได้ ดังนี้

  • Fashion Luxury เป็นการตลาดนำแฟชั่น (ใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างมูลค่าความหรูหรา) เหมือนกระแสแฟชั่นที่ทำให้สินค้าดูหรูหรา หรืออาจเรียกว่า “แฟชั่นที่ดูหรูหราเพราะกลยุทธ์การตลาด”
  • Luxury Fashion เป็นแฟชั่นนำการตลาด (ยืนหยัดในคุณภาพและมรดกของแบรนด์) เป็นแฟชั่นที่มีความหรูหราในตัวเองอยู่แล้ว หรือเรียกว่า “แฟชั่นที่มีความหรูหราโดยธรรมชาติ”

เราลองมาดูตารางเปรียบเทียบระหว่าง Fashion Luxury และ Luxury Fashion กันครับ

หัวข้อFashion LuxuryLuxury Fashion
ความหมายแฟชั่นที่สร้างความหรูหราผ่านกลยุทธ์การตลาดและกระแสแฟชั่นที่มีความหรูหราโดยเน้นคุณภาพ งานฝีมือ และประวัติศาสตร์ของแบรนด์
จุดเด่นสร้างความเอ็กซ์คลูซีฟผ่าน Hype Marketing และ Limited Collectionยืนหยัดในคุณภาพ วัสดุพรีเมียม และดีไซน์ที่อยู่เหนือกาลเวลา
อายุการใช้งานของสินค้าอาจเปลี่ยนไปตามเทรนด์และกระแสมีความยืนยาวและมูลค่าเพิ่มขึ้นตามเวลา
การกำหนดราคาราคาสูงเพราะความหายากและ
แบรนด์ดิ้ง
ราคาสูงจากคุณภาพ วัสดุ และกระบวนการผลิต
ตัวอย่างแบรนด์Balenciaga, Gucci (แนวสตรีท), SupremeChanel, Hermès, Louis Vuitton
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบแฟชั่นล้ำสมัยและตามเทรนด์ลูกค้ากลุ่มไฮเอนด์ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและอัตลักษณ์ของแบรนด์

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เป็น Fashion Luxury จากแบรนด์ดังระดับโลก

1. กระเป๋า (Bags)

  • Hermès Birkin & Kelly – ทำจากหนังจระเข้ หนังลูกวัว และโลหะมีค่า
  • Chanel 2.55 & Classic Flap – ใช้หนังแกะ หนังลูกวัว และทองคำแท้
  • Lady Dior – งานฝีมือชั้นสูงและวัสดุพรีเมียม
  • Louis Vuitton Capucines – ใช้หนัง Taurillon Leather ที่หรูหรา
louis-vuitton-capucines-2021

Image Source: https://www.tatlerasia.com/style/fashion/louis-vuitton-capucines-2021

2. เสื้อผ้า (Clothing)

  • Balenciaga Couture Collection – เสื้อผ้าโอต์กูตูร์ที่ใช้ผ้าไหมแท้ และขนสัตว์หายาก
  • Gucci Aria Collection – ผ้ากำมะหยี่ ผ้าไหมพิมพ์ลาย ที่มีรายละเอียดซับซ้อน
  • Prada Re-Nylon & Cashmere Collection – ผสมผ้าขนสัตว์คุณภาพสูงกับเทคนิคอันทันสมัย
  • Chanel Tweed Jackets – แจ็กเก็ตผ้าทวีตที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์
Prada_Re_Nylon_Spring_2024

Image Source: https://www.pradagroup.com/en/sustainability/environment-csr/prada-re-nylon.html

3. รองเท้า (Footwear)

  • Christian Louboutin So Kate & Pigalle – หนังแท้และส้นสูงที่เป็น Signature
  • Manolo Blahnik Hangisi – รองเท้าผ้าซาตินปักด้วยคริสตัล
  • Jimmy Choo Cinderella Heels – ทำจากคริสตัล Swarovski
  • Hermès Oran Sandals – หนังแท้ระดับพรีเมียม
diane-batoukina-diaanebt-wears-white-leather-oran-sandals

Image Source: https://www.harpersbazaar.com/uk/fashion/what-to-wear/a43901318/hermes-oran-sandals/

4. เครื่องประดับ (Accessories & Jewelry)

  • Cartier Love Bracelet – ทำจากทองคำและเพชรแท้
  • Van Cleef & Arpels Alhambra Necklace – ใช้อัญมณีหายาก
  • Tiffany & Co. Diamond Engagement Rings – แหวนหมั้นเพชรระดับ High Jewelry
Cartier_iconic_Love_bracelet

Image Source: https://www.tatlerasia.com/style/jewellery/cartier-iconic-love-bracelet-brand-new-look

5. นาฬิกา (Watches)

  • Rolex Day-Date & Submariner – ทองคำขาวและแพลตินัม
  • Patek Philippe Nautilus – กลไกซับซ้อนระดับ Haute Horlogerie
  • Audemars Piguet Royal Oak – การผลิตแบบ Handcrafted
Patek_Philippe_Nautilus

Image Source: https://wristaficionado.com/collections/patek-philippe-nautilus

สินค้าเหล่านี้ถือว่าเป็น Fashion Luxury เพราะมีความประณีตในการผลิต วัสดุระดับสูง และมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้แตกต่างจากสินค้าแฟชั่นทั่วๆไป

What's next?

ลักษณะของ Fashion Luxury

  • การมีจำนวนจำกัด (Limited Availability) แบรนด์หรูหลายแบรนด์ เช่น Balenciaga, Chanel และ Hermès จะออกสินค้าในจำนวนจำกัด ทำให้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขามีความต้องการสูงมาก
  • คุณภาพระดับพรีเมียม (Premium Quality) การใช้วัสดุคุณภาพสูง เช่น หนังอิตาลี ผ้าไหม และงานปักมือที่ประณีต ช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์
  • มรดกและงานฝีมือ (Heritage & Craftsmanship) แฟชั่นหรูหลายแบรนด์มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยมักจะมีชิ้นงานที่ทำด้วยมือโดยช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ
  • ความเป็นเอกสิทธิ์และสัญลักษณ์ของสถานะ (Exclusivity & Status) การครอบครองสินค้าหรูหราเป็นสัญลักษณ์ของสถานะ ทำให้เป็นที่ปรารถนาในหมู่ลูกค้าผู้มีฐานะ
  • ราคาสูง (High Price) แฟชั่นหรูถูกวางตำแหน่งในราคาระดับพรีเมียม ซึ่งเป็นการตอกย้ำแนวคิดเรื่องความเป็นเอกสิทธิ์และความน่าปรารถนา
  • มีเรื่องราวและอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Story & Identity) แบรนด์หรูรักษาเรื่องราวของแบรนด์ให้แข็งแกร่ง สร้างอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่ผู้บริโภคใฝ่ฝันที่จะเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์

ยกระดับให้แบรนด์เป็น Fashion Luxury Brand

การสร้างหรือวางตำแหน่งให้แบรนด์ของตนเป็น Fashion Luxury Brand ต้องอาศัยแนวทางเชิงกลยุทธ์ ที่มุ่งเน้นความเป็นเอกสิทธิ์ (Exclusivity) มรดก (Heritage) และประสบการณ์ระดับพรีเมียม (Premium Experience) โดยมีขั้นตอนสำคัญๆในการบรรลุเป้าหมาย ดังนี้

1. กำหนดอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง

  • กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมถึงรสนิยมที่ชัดเจน
  • พัฒนาโลโก้ รูปแบบตัวอักษร และเรื่องราวของแบรนด์ที่ไม่เหมือนใคร ที่ดึงดูดและจดจำได้ง่าย
  • เน้นการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน ที่มีความคลาสสิก มีความคงทน และอยู่ได้นาน โดยไม่ทำตามกระแสแฟชั่นที่มาเร็วไปเร็วที่มากจนเกินไป

2. ใช้วัสดุคุณภาพสูงและงานฝีมือที่ประณีต

  • คัดสรรวัสดุชั้นดี เช่น หนังชั้นดี ผ้าไหม เพชรและอัญมณีแท้ ขนสัตว์หายาก และสิ่งทอที่ทำด้วยมือ ที่มีคุณภาพสูงและมีชื่อเสียงในวงการ
  • ร่วมมือกับช่างฝีมือผู้มีความชำนาญ เพื่อรับประกันว่าจะได้การผลิตระดับพรีเมียม และได้ผลงานที่มีคุณภาพสูงสุด

3. สร้างความเป็นเอกสิทธิ์และการมีจำนวนจำกัด

  • ออกคอลเลกชันเฉพาะหรือชิ้นงานที่สั่งทำพิเศษ โดยสร้างความต้องการด้วยการนำเสนอสินค้าที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไป
  • นำงานเปิดตัวสินค้าสำหรับ VIP แบบส่วนตัวมาใช้ เพื่อสร้างความรู้สึกพิเศษและความสำคัญให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
  • หลีกเลี่ยงการผลิตจำนวนมากเพื่อรักษาสถานะของความเป็น High Fashion Brand โดยควบคุมปริมาณการผลิตเพื่อรักษาความหายากและมูลค่าของสินค้า

4. กำหนดราคาสูงและยกระดับคุณค่า

  • ราคาสินค้าที่สูงกว่าจะสร้างการรับรู้ถึงความหายาก ความพิเศษ และความมีระดับ
  • ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาอย่างหรูหราและสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคล เพื่อสร้างความสมเหตุสมผลของราคา

5. ควบคุมช่องทางการจัดจำหน่ายและสร้างประสบการณ์ลูกค้า

  • จำหน่ายผ่านร้านค้าหลักของแบรนด์ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หรือแพลตฟอร์ม E-Commerce ตัวเอง โดยเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของแบรนด์
  • นำเสนอบริการแบบ VIP จัดงานแสดงแบบส่วนตัว และประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบส่วนตัว เพื่อสร้างความประทับใจและสร้างให้เกิดความภักดีของลูกค้า (Customer Loyalty)
  • รักษามูลค่าของสินค้าโดยหลีกเลี่ยงการลดราคาที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์

6. สร้างความผูกพันทางอารมณ์ที่แข็งแกร่งกับผู้บริโภค

  • สร้างเรื่องราวของแบรนด์ที่น่าสนใจ (Brand Story) และเชื่อมโยงกับประวัติความเป็นมาของแบรนด์
  • สร้างกระแสและดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการมีส่วนร่วมกับเหล่า Celebrities, Influencers, และบุคคลที่มีชื่อเสียง
  • มอบบัตรเชิญพิเศษเข้าร่วมงานแฟชั่นโชว์ งานอีเว้นท์ส่วนตัว เพื่อสร้างความรู้สึกพิเศษและความเป็นส่วนตัวให้กับลูกค้ากลุ่มสำคัญ

การสร้างแบรนด์ แฟชั่นแห่งความหรูหรา (Fashion Luxury) เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความพิถีพิถันและกลยุทธ์ที่รอบด้าน และการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบเหล่านี้ ก็จะช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างความโดดเด่น ในตลาดแฟชั่นระดับสูงได้อย่างยาวนาน และเมื่ออุตสาหกรรมนี้ถูกพัฒนาขึ้น ความต้องการความหายาก ความเป็นของแท้ และประสบการณ์ระดับพรีเมียม ก็จะยังคงเป็นหัวใจสำคัญของเสน่ห์แห่ง Fashion Luxury นั่นเอง


Source

Share to friends


Related Posts

วิธีสร้างให้แบรนด์ดู Premium ในสายตาลูกค้า

การสร้างแบรนด์นั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ผ่านการพัฒนามาจนแข็งแกร่งจากทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรม บุคลิก เป้าหมาย ข้อความ กลุ่มเป้าหมาย เพื่อผลิตสินค้าและบริการให้คงอยู่ในมาตรฐานระดับสูง และเมื่อคุณสร้างแบรนด์ไปจนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว คุณอาจมีความคิดที่อยากจะลองก้าวข้ามจากสิ่งที่เคยทำไปสู่ตลาดใหม่ๆกับการสร้างแบรนด์ในระดับ Premium ดูสักครั้ง


10 แบรนด์เสื้อผ้าระดับโลกที่มุ่งสู่ความยั่งยืน

แนวคิดการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน (Sustainable Brand) และการสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจได้ทวีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเราจะเห็นข่าวสารจากสื่อต่างๆว่าหลายๆแบรนด์นั้นขยับตัวในการปรับเปลี่ยนแนวคิดมาสู่ความยั่งยืน ทั้งการทำเพื่อประโยชน์ของสังคม รวมไปถึงการปรับการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแฟชั่นประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่ในแต่ละปีนั้น


10 วิธีทำให้ลูกค้าหลงรักแบรนด์ในยุคดิจิทัล

การให้ความสำคัญกับลูกค้าหรือที่เรียกว่าการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ถือว่าเป็นการทำการตลาดแบบสมัยใหม่ที่เริ่มมาตั้งแต่การตลาด 3.0 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมันก็เกี่ยวข้องกับการเข้ามาของอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย รวมไปถึงยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ จนทำให้พฤติกรรมของลูกค้านั้นไปอยู่บนโลกออนไลน์ซะเป็นส่วนใหญ่ แบรนด์ต่างๆจึงจำเป็นต้องสร้างประสบการณ์ดีๆบนโลกดิจิทัล



copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์