Product Customization สำหรับการตลาด

เมื่อประสบการณ์ลูกค้ากลายเป็นตัวกำหนดความแตกต่างของแบรนด์ ทำให้แบรนด์และการทำธุรกิจนั้นหันมาใส่ใจกับการสร้างความพิเศษกับสินค้า โดยการทำ Product Customization ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างที่เห็นกันอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังคงอยู่ในกระแสของการสร้างแบรนด์และการทำธุรกิจในยุคใหม่ และผมจะพามาทำความรู้จักกับคำว่า Customization ให้มากยิ่งขึ้นครับ

ความหมายของ Customization

Customization ในทางการตลาดนั้นคือการปรับเปลี่ยนสินค้าให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า โดยลูกค้านัันสามารถเลือกได้ด้วยตัวเองและเรามักจะเห็นกันบนโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆนั่นก็คือ การที่ลูกค้าสามารถเลือกสีให้กับรองเท้าในแต่ละส่วน การเลือกสีรถยนต์ที่ชอบและยังสามารถเลือกเปลี่ยนสีเบาะที่นั่งหรือสีภายในห้องโดยสาร การเลือกสีให้กับเฟอร์นิเจอร์แต่ละประเภทตามความต้องการ ซึ่งการทำ Customization นั้นจะเหมาะกับกลุ่ม Millennials เป็นหลัก และ Premium Product กับ Generation อื่นๆบางกลุ่ม โดยมันสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีและเกิดโอกาสเปลี่ยนเป็นยอดขายที่สูงมากขึ้นอีกด้วย

Nike Product Customization

Source: https://thegood.com/insights/product-customization/

การ Customization นั้นนอกจากจะสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าแล้ว มันยังกลายเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันหากนำไปเทียบกับคู่แข่งที่ยังผลิดสินค้าในแบบเดิมๆ และหากแบรนด์หรือธุรกิจจะทำในลักษณะ Mass Customization นั้นก็จำเป็นต้องเป็นธุรกิจที่ใหญ่โตพอสมควร เพราะมันเกี่ยวข้องกับเรื่องของต้นทุนการผลิต แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาอย่างเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หรือ 3D Printing ก็ทำให้ธุรกิจเล็กๆนั้นสามารถ Customize สินค้าให้กับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นซึ่งอนาคตก็อาจสามารถขยายไปสู่การทำ Mass Customization ได้

Furniture Customization

Source: https://www.smartcustomizer.com/

ข้อดีของการ Customization นั้นก็คือการที่ลูกค้ารู้สึกว่าพวกเขาได้สินค้าที่มีความพิเศษและมีอยู่หนึ่งเดียวซึ่งแตกต่างจากคนอื่นๆ และยังทำให้ลูกค้านั้นได้ใช้เวลาในการสื่อสารและติดต่อกับแบรนด์มากยิ่งขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์บนหน้าเว็บไซต์ หรือบางแบรนด์ก็สามารถ Customize สินค้าผ่านแอปพลิเคชันได้อีก และในตอนนี้เราจะเห็นแทบทุกอุตสาหกรรมนั้นได้นำแนวคิดการทำ Product Customization มาใช้ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ จักรยาน นาฬิกา คอมพิวเตอร์ มือถือ


ข้อดีของการทำ Product Customization

1. สามารถเพิ่มราคาได้

การทำอะไรก็ตามที่ดูพิเศษจนลูกค้ารู้สึกว่าได้เติมเต็มความต้องการ ซึ่งมันมีคุณค่าที่มาพร้อมกับราคาที่ต้องเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ และแม้ว่าลูกค้าจะรู้ถึงจุดนี้แต่ก็ไม่ควรเพิ่มราคาจนลูกค้ารู้สึกว่ามันมากจนเกินความคุณค่าที่ได้รับ

2. เพิ่มประสบการณ์อันแสนวิเศษ

คนในเฉพาะกลุ่ม Millennials นั้นอยากได้อะไรที่ไม่เหมือนใครแสดงถึงความเป็นตัวตนที่เข้ากับ Lifestyle ของตัวเอง โดยการที่ลูกค้าสามารถเลือกในสิ่งที่พวกเขาชอบเองได้นั้น มันก็คือประสบการณ์ขั้นสุดที่แบรนด์สามารถจะมอบให้ได้

3. โอกาสสร้าง Customer Loyalty

เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุดกับสิทธิในการเลือกในสิ่งที่ต้องการได้ และสินค้านั้นช่วยยกระดับความภาคภูมิใจที่สุดแสนจะวิเศษก็จะกลายเป็นลูกค้าที่อุดหนุนแบรนด์ของคุณไปในระยะยาวโดยอัตโนมัติ ซึ่งนับเป็นจุดที่ทุกๆแบรนด์ต้องการอย่างไม่ต้องสงสัย

4. ปรับปรุงประสิทธิภาพช่องทางออนไลน์

ด้วยความที่การทำ Customization นั้นโดยส่วนใหญ่จะทำผ่านช่องทางออนไลน์ โดยอาจจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันซึ่งมันทำให้แบรนด์ต้องหันมาพัฒนาและนำเทคโนโลยีหรือเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ดีๆให้กับลูกค้า นับเป็นโอกาสที่แบรนด์จะใช้เวลาในการปรับปรุงและนำสิ่งดีๆมาใช้กับช่องทางต่างๆที่มี

เชื่อว่าหลายๆคนที่ก็น่าจะเริ่มเข้าใจคำว่า Customization กันแล้วและคราวนี้ก็ถึงเวลาที่มองย้อนกลับไปที่แบรนด์ของตัวเองว่า จะนำเอาแนวคิดการทำ Customization มาใช้กับธุรกิจได้อย่างไรบ้างเพื่อสร้างแต้มต่อและประสบการณ์ดีๆให้กับลูกค้าครับ


Share to friends


Related Posts

มัดใจลูกค้าด้วย Personalized Marketing

Personalised Marketing คือ แนวคิดการทำการตลาดแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หรือ one-to-one ที่เลือกสื่อสารกับลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง ด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งนับเป็นแนวคิดการตลาดสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นมาในยุคที่การทำการตลาดแบบหนึ่งถึงทั้งหมด หรือ one-to-many


วิธีสร้าง Brand Experience ให้ประทับใจ

การสร้างประสบการณ์ต่อแบรนด์ หรือ Brand Experience เป็นมุมมองของผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ต่อการสัมผัสแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง เป็นประสบการณ์ที่เกิดจากการเห็นหรือการใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์ การเข้าร่วมงานหรือกิจกรรมที่แบรนด์จัดขึ้น การพูดคุยกับพนักงานขาย การเห็นสื่อโฆษณา แล้วรู้สึกอย่างไรกับแบรนด์


ความแตกต่างระหว่าง Cross-Selling กับ Up-Selling

หลายๆคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า Cross-Selling กับ Up-Selling อยู่บ่อยๆ แต่อาจยังมีความสับสนถึงความเหมือนหรือความแตกต่างของสองคำนี้ และนำมาใช้แบบผิดๆในการวางแผนการตลาดกับลูกค้าซึ่งก็อาจสร้างความสับสนให้กับทั้งทีมงานรวมถึงลูกค้าได้ เรามาทำความรู้จักกับคำว่า Cross-Selling กับ Up-Selling ในแบบที่ชัดเจนกันดีกว่าครับ



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์