4 กลุ่มผู้ซื้อสินค้า แบ่งตามการรับรู้คุณค่า (4 Group of Buyers Categorized by Perceived Value)

ผู้บริโภคมักจะมีระดับการรับรู้ในข่าวสารเกี่ยวกับข้อเสนอของสินค้าในตลาดที่แตกต่างกัน ทั้งความคิดเห็น ภาพลักษณ์ และปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการรับรู้คุณค่าและราคาในการซื้อสินค้าแต่ละอย่างที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นการเข้าใจในความต่างในความคิดเกี่ยวกับคุณค่าและราคาของผู้ซื้อสินค้านั้น จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการกำหนดกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าประเภทต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผมได้สรุป 4 กลุ่มผู้ซื้อสินค้าตามการรับรู้คุณค่า ไว้ดังนี้

4 กลุ่มผู้ซื้อสินค้าตามการรับรู้คุณค่า (4 Group of Buyers Categorized by Perceived Value)

ปัจจัยที่ 1 คือ คุณค่าของความแตกต่าง ที่ผู้ซื้อสินค้ารับรู้จากราคาอ้างอิง ความยากง่ายในการเปรียบเทียบสินค้า ประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้า ต้นทุนการเปลี่ยนสินค้าที่ใช้ รวมไปถึงผลกระทบของราคาต่อการรับรู้คุณภาพ

ปัจจัยที่ 2 คือ ความเสี่ยงต่อการรับรู้ราคา เช่น จำนวนเงินที่ต้องจ่าย สัดส่วนการใช้จ่ายเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้า การรับรู้ในความเหมาะสมของสินค้า และกรอบความคิดที่มีผลต่อราคาสินค้า

1. กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นเรื่องราคา (Price Buyers)

กลุ่มนี้จะเน้นการซื้อสินค้าที่มีราคาต่ำที่สุดในคุณภาพสินค้าที่ยอมรับได้ ไม่เชื่อในการจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อได้มาซึ่งคุณภาพที่ดีขึ้น หรือแม้แต่ชื่อเสียงของแบรนด์หรือสินค้าก็ไม่ส่งผลต่อการรับรู้ใดๆในการยอมจ่ายเงินที่มากขึ้น ผู้ซื้อยังคงเชื่อมั่นในประสบการณ์ของตัวเองว่าเคยจ่ายเงินเท่าไหร่เพื่อให้ได้สินค้า ผู้ซื้อกลุ่มนี้จะไม่อ่อนไหวตามโปรโมชั่นหรือกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆสักเท่าไหร่

2. กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นเรื่องความสัมพันธ์ (Relationship Buyers)

กลุ่มนี้จะตรงกันข้ามกับกลุ่มแรกหรือกลุ่มที่เน้นเรื่องราคา โดยมีความชื่นชอบในสินค้าแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งอย่างชัดเจน ที่มาจากชื่อเสียงของแบรนด์ คุณภาพของสินค้า รวมถึงประสบการณ์ที่ดีที่ผู้ซื้อมีกับสินค้าหรือแบรนด์นั้นๆ โดยหากผู้ซื้อกลุ่มนี้มีความชอบในสินค้าแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งในราคาที่ยอมรับได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับสินค้าอื่นๆในตลาด ซึ่งเป็นลักษณะของความภักดีในตัวแบรนด์ (Brand Loyalty) ยกเว้นสินค้านั้นๆจะสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีกับผู้ซื้อก็อาจทำให้เปลี่ยนไปใช้สินค้าอื่นๆแทนได้ ผู้ซื้อกลุ่มนี้จะมีการเปรียบเทียบความแตกต่างของราคาสินค้ากับคู่แข่งรายอื่นๆเพื่อยืนยันว่าความคิดตัวเองถูกแล้ว และก็ยังยืนยันที่จะซื้อสินค้าร้านเดิมๆ แบรนด์เดิมๆอยู่เสมอ

3. กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นเรื่องคุณค่า (Value Buyers)

กลุ่มนี้จะยึดที่ความคุ้มค่าเป็นหลักจะให้ความสนใจกับสินค้าในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป มีการประเมินทางเลือกอื่นๆทุกครั้ง โดยหากประเมินแล้วว่าหากจำเป็นต้องซื้อสินค้าราคาสูงจะต้องมั่นใจว่าราคากับคุณลักษณะของสินค้านั้นมีความคุ้มค่าที่สุด ผู้ซื้อกลุ่มนี้จะหาข้อมูลในรูปแบบต่างเพื่อเปรียบเทียบในการจะซื้อสินค้าราคาสูงและดูว่าพอใจในคุณค่าในแง่มุมต่างๆมากน้อยเพียงใด

4. กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นเรื่องความสะดวก (Convenience Buyers)

กลุ่มนี้จะไม่สนใจกับความแตกต่างระหว่างสินค้าแบรนด์ต่างๆ และไม่ให้ความสำคัญกับการเปรียบเทียบสินค้าประเภทต่างๆ เน้นความสะดวกสบายของตัวเองเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญกับเวลาเป็นหลัก สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง ใช้เวลารวดเร็วในการซื้อ


Cover photo by freepik – www.freepik.com

Share to friends


Related Posts

กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า (Strategy of Pricing)

การตั้งราคาขายนับเป็นสิ่งที่ยากสำหรับคนที่เริ่มทำธุรกิจใดๆก็ตาม ตั้งแต่พ่อค้าแม่ค้าจนไปถึงธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ในบทความนี้ได้รวมวิธีการตั้งราคาขายสินค้าที่สามารถเอาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกลายเป็นเรื่องง่ายดาย


รู้จัก Brand Loyalty เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจ

ความภักดีต่อแบรนด์ หรือ Brand Loyalty เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ และเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง โดยผลจากการที่คุณภาพของสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองและช่วยส่งเสริมลูกค้าได้ ซึ่งความภักดีต่อแบรนด์ นับเป็นหนึ่งองค์ประกอบของการสร้างคุณค่าของแบรนด์


อะไรคือ Brand Equity

Brand Equity หรือ คุณค่าของแบรนด์ที่เกิดขึ้นในสายตาและการรับรู้ของผู้บริโภค ซึ่งเกิดมาจากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับแบรนด์นั้นๆ ยิ่งในทุกวันนี้มีแบรนด์ต่างๆมากมายที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน และยังอีกมากที่อยู่รอบตัวเราตลอด ซึ่งแบรนด์มีความหมายทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


One thought on “รู้จัก 4 กลุ่มผู้ซื้อสินค้า ตามการรับรู้คุณค่า

copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์