
คุณเคยรู้สึกไม่สบายใจหรือรู้สึกแปลกๆ เมื่อมองหุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ (Humanoid Robot) ตัวละครที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก (CGI Character) หรือตุ๊กตาที่เหมือนจริงมากๆ (Realistic Doll) ไหม ความรู้สึกกระอักกระอ่วนนี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์หุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย” (Uncanny Valley Effect) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งดูเหมือนมนุษย์เกือบทั้งหมดแต่ไม่สมบูรณ์แบบ ทำให้เกิดความไม่สบายใจหรือแม้แต่ความกลัว แนวคิดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งและเกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ (Robot) การทำภาพเคลื่อนไหว (Animation) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือแม้แต่การตลาด (Marketing) ซึ่งเราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Uncanny Valley Effect ในบทความนี้กันครับ

ต้นกำเนิดของทฤษฎีหุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย

คำว่า “หุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย” (Uncanny Valley) ถูกนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดย มาซาฮิโระ โมริ (Masahiro Mori) นักวิทยาการหุ่นยนต์ชาวญี่ปุ่น โดยโมริตั้งสมมติฐานว่า เมื่อรูปลักษณ์ของหุ่นยนต์มีความคล้ายคลึงกับมนุษย์มากขึ้น การตอบสนองทางอารมณ์ของผู้คนจะกลายเป็นบวกมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงจุดวิกฤตที่ความคล้ายคลึงนั้นใกล้เคียงมากเกินไปแต่ยังไม่ถึงขั้นสมบูรณ์แบบ ในขั้นตอนนี้ผู้คนจะรู้สึกกระอักกระอ่วน ไม่สบายใจ หรือแม้แต่เกิดความรังเกียจ ก่อนที่เส้นโค้งการยอมรับจะเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง เมื่อความคล้ายคลึงนั้นดูเหมือนจริงอย่างแท้จริง
วิทยาศาสตร์เบื้องหลังปรากฏ Uncanny Valley Effect
มีทฤษฎีทางจิตวิทยาและความรู้ความเข้าใจในอีกหลายๆทฤษฎี ที่พยายามอธิบายว่าทำไมปรากฏการณ์หุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย (Uncanny Valley Effect) จึงเกิดขึ้น โดยสรุปออกมาได้ 4 ข้อ ดังนี้
1. จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (Evolutionary Psychology)
นักวิจัยบางคนเชื่อว่าปรากฏการณ์นี้เชื่อมโยงกับสัญชาตญาณการเอาชีวิตรอด รูปลักษณ์ที่คล้ายมนุษย์แต่ไม่สมบูรณ์แบบ อาจกระตุ้นการเชื่อมโยงกับความเจ็บป่วย การกลายพันธุ์ หรือความตายโดยไม่รู้ตัว ทำให้เราเกิดความระมัดระวังโดยสัญชาตญาณ

2. ความไม่ตรงกันของการรับรู้ (Perceptual Mismatch)
โดยปกติสมองจะคาดหวังพฤติกรรม และการแสดงออกบางอย่างจากใบหน้าที่เหมือนมนุษย์ เมื่อความคาดหวังเหล่านี้ไม่เป็นไปตามนั้น เช่น รูปแบบการกระพริบตาที่ไม่เป็นธรรมชาติ หรือการแสดงสีหน้าที่แข็งทื่อ ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาได้
3. การละเมิดบรรทัดฐานของมนุษย์ (Violation of Human Norms)
มนุษย์อาศัยการแสดงสีหน้าทั้งแบบจริงจังและเล็กน้อยในการสื่อสาร หากตัวละครที่เลียนแบบมนุษย์ แสดงอารมณ์ไม่ถูกต้องหรือดูผิดปกติ ก็อาจทำให้ผู้คนรู้สึกไม่สบายใจ

4. ความยากลำบากในการจัดหมวดหมู่ (Categorization Difficulty)
จิตใจจัดประเภทวัตถุที่เป็น “มนุษย์” หรือ “ไม่ใช่มนุษย์” เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งตกอยู่ตรงกลางระหว่าง 2 ประเภทนี้ สมองจะพยายามประมวลผลจนทำให้เกิดความไม่สบายใจ

ข้อดี – ข้อเสียของ Uncanny Valley Effect
แม้ว่าปรากฏการณ์หุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย (Uncanny Valley Effect) จะมีนัยเชิงลบอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยังนำเสนอโอกาสที่ดีได้เมื่อใช้อย่างถูกต้อง เรามาดูข้อดีและข้อเสียกันครับ
ข้อดีของ Uncanny Valley Effect
- เพิ่มการมีส่วนร่วม (Increases Engagement)
หากถูกพัฒนาจนมีความเหมือนมนุษย์ก็สามารถดึงดูดผู้ชมได้มากขึ้น ก็จะทำให้หุ่นยนต์ และผู้ช่วยที่เป็น AI สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้มากขึ้น - เพิ่มความสมจริงทางเทคโนโลยี (Enhances Technological Realism)
ความก้าวหน้าของ CGI หุ่นยนต์ และ AI สามารถสร้างประสบการณ์ที่สมจริงในเกม ภาพยนตร์ และการโต้ตอบแบบเสมือนจริง - ปรับปรุงการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ AI (Improves Human-AI Interaction)
หากทำอย่างถูกต้อง AI Avatar ที่สมจริง สามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในการบริการลูกค้า การศึกษา การดูแลสุขภาพ และในรูปแบบอื่นในอนาคต - ประโยชน์กับความสยองขวัญและโลกไซไฟ (Useful in Horror and Sci-Fi Genres)
ลักษณะที่ไม่น่าสบายใจของหุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย มักถูกใช้โดยเจตนาในภาพยนตร์และเกม เพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าขนลุกและน่าติดตาม

ข้อเสียของ Uncanny Valley Effect
- ทำให้เกิดความไม่สบายใจ (Causes Discomfort)
หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์หรือตัวละคร CGI ที่ออกแบบมาไม่ดี อาจกระตุ้นความไม่สบายใจ ลดการยอมรับในหมู่ผู้ใช้งาน - ลดความไว้วางใจ (Reduces Trust)
หาก AI หรือหุ่นยนต์นั้นดูเหมือนมนุษย์มากเกินไป แต่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมชาติ ผู้คนอาจพบว่าเป็นการหลอกลวงและไม่น่าไว้วางใจ - จำกัดการยอมรับของตลาด (Limits Market Adoption)
ธุรกิจที่นำ AI Influencer หรือ AI Assistant มาใช้งาน อาจมีความเสี่ยงที่จะถูกปฏิเสธ หากพวกเขาตกลงไปในหุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย - เพิ่มต้นทุนการพัฒนา (Increases Development Costs)
การหลีกเลี่ยงหุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย มักต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมใน AI, Motion Capture และ Animation

ผลกระทบทางจิตวิทยาและอารมณ์ ของการผูกพันกับ Uncanny Valley Effect
เมื่อผู้คนสร้างความผูกพันกับสิ่งมีชีวิตที่ใกล้เคียงมนุษย์ มันก็สามารถนำไปสู่ผลกระทบทางจิตวิทยาทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ดังนี้
ผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น
- การพึ่งพาทางอารมณ์ (Emotional Dependence)
บุคคลอาจพัฒนาความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับ AI ที่เลียนแบบมนุษย์หรือหุ่นยนต์ อาจนำไปสู่การถอยตัวออกจากสังคม หรือความคาดหวังที่ไม่สมจริงในความสัมพันธ์ของมนุษย์ - ความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive Dissonance)
การโต้ตอบอย่างต่อเนื่องกับรูปร่างที่ใกล้เคียงมนุษย์ ซึ่งไม่ได้จำลองพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเต็มที่ สามารถสร้างความเครียดและความสับสนทางจิตใจได้ - ความแปลกแยกทางสังคม (Social Alienation)
ผู้คนที่โต้ตอบกับ AI ที่ดูสมจริงมากขึ้น อาจมีปัญหากับการโต้ตอบกับมนุษย์ในชีวิตจริง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)และความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
- การสูญเสียความไว้วางใจในความเป็นจริง (Loss of Trust in Reality)
การสัมผัสกับสิ่งมีชีวิตเทียมที่สมจริงมากจนเกินไป อาจทำให้เส้นแบ่งระหว่างสิ่งที่เป็นจริงและสิ่งที่ไม่ใช่ความจริงหายไป จนนำไปสู่การแยกตัวออกจากประสบการณ์ของมนุษย์ที่แท้จริง
ผลกระทบเชิงบวกที่อาจเกิดขึ้น
- ความเป็นเพื่อนและความสบายใจ (Companionship and Comfort)
บทบาทการเพื่อนร่วมทางของ AI และหุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ สามารถให้การสนับสนุนทางอารมณ์สำหรับผู้สูงอายุ รวมถึงบุคคลที่มีความวิตกกังวลทางสังคม หรือผู้ที่ประสบกับความเหงาได้ - การเรียนรู้และการบำบัด (Enhanced Learning and Therapy)
AI Avatar มีประสิทธิภาพในการบำบัด การให้ความรู้ และการโต้ตอบกับลูกค้า โดยนำเสนอประสบการณ์แบบส่วนตัวและสม่ำเสมอ - การแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์และศิลปะ (Creative and Artistic Expression)
ศิลปินและนักออกแบบสามารถใช้ Uncanny Valley Effect เพื่อกระตุ้นอารมณ์ หรือเรื่องราวแบบเฉพาะในความบันเทิงบนสื่อดิจิทัล


ตัวอย่างในโลกแห่งความเป็นจริงของ Uncanny Valley Effect
หุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย (Uncanny Valley) ปรากฏอยู่ในหลากหลายสาขา โดยมักก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ที่ไม่คาดคิด ดังนี้
หุ่นยนต์ (Robotics)
หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ (Humanoid Robot) เช่น โซเฟีย (Sophia) และเจมินอยด์ เอฟ (Geminoid F) ที่มีการผสมผสานปฏิกิริยาหลากหลายแบบ โดยบางคนชื่นชมความสมจริงของ AI และหุ่นยนต์ ในขณะที่คนอื่นๆรู้สึกรำคาญกับการแสดงออก ที่ดูเหมือนจริงแต่ก็ดูไม่สมบูรณ์แบบ

Source: https://www.asianscientist.com/2017/01/print/hello-world-meet-10-made-in-asia-robots/2/
คอมพิวเตอร์กราฟิกและแอนิเมชัน (CGI and Animation)
ในภาพยนตร์ เช่น เดอะ โพลาร์ เอ็กซ์เพรส (The Polar Express) และ แคทส์ (Cats) ที่เผชิญกับการวิจารณ์เพราะตัวละคร ทำให้ผู้ชมรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ แต่ในทางกลับกันภาพยนตร์เรื่องทอย สตอรี่ (Toy Story) หรือโฟรเซ่น (Frozen) หลีกเลี่ยงปัญหานี้โดยการใช้ตัวละครการ์ตูนที่ดูมีสไตล์ของตัวเองและไม่สมจริง

Source: https://www.pluggedin.com/movie-reviews/toystory3/
วิดีโอเกม (Video Games)
ตัวอย่างเกม เช่น แอล.เอ. นัวร์ (L.A. Noire) และแมส เอฟเฟกต์: แอนโดรเมดา (Mass Effect: Andromeda) ประสบปัญหากับตัวละคร Animation ที่รู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของผู้เล่น เหมือนกับหลายๆเกมที่เป็นอยู่

Source: https://screenrant.com/la-noire-wrong-answers-interrogations-interviews-cole-phelps/
การตลาดและการโฆษณา (Marketing and Advertising)
AI Influencer อย่าง ลิล มิเกลา (Lil Miquela) พยายามหลีกเลี่ยงหุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย (Uncanny Valley) โดยยังมีการคงความเป็น AI อยู่บ้าง แทนที่จะพยายามทำให้สมจริงอย่างสมบูรณ์แบบ

Source: https://www.bbc.com/mundo/noticias-49906421

การใช้ Uncanny Valley Effect เพื่อสร้าง AI อย่างเหมาะสม
สำหรับอุตสาหกรรมที่ทำงานกับ AI, Animation, Robot และ Digital Human การหลีกเลี่ยงหุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย (Uncanny Valley) ถือเป็นกุญแจสำคัญในการยอมรับของผู้ใช้งาน เรามาดูวิธีการใช้ประโยชน์จากอย่างมีประสิทธิภาพกันครับ
- เน้นการสร้างสรรค์สไตล์มากกว่าความสมจริง (Emphasize Stylization Over Realism)
โดยแทนที่จะพยายามสร้างความเหมือนมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ นักออกแบบสามารถใช้คุณสมบัติที่เหมือนการ์ตูน แล้วทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นน่าดึงดูดยิ่งขึ้น - ปรับปรุงการเคลื่อนไหวและการแสดงสีหน้า (Improve Motion and Facial Expressions)
การเคลื่อนไหวที่ราบรื่นและเป็นธรรมชาติ พร้อมกับการแสดงสีหน้าที่สมจริง สามารถช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งประดิษฐ์ กับสิ่งที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ได้ - ปรับปรุงการสร้างปฏิสัมพันธ์ของ AI (Enhance AI Interaction)
รูปแบบการพูด โทนเสียง จังหวะการพูด และการตอบสนอง ควรเลียนแบบการสนทนาของมนุษย์ตามธรรมชาติ เพื่อปรับปรุงการมีส่วนร่วมที่ดีขึ้น - ใช้เอฟเฟกต์ที่เหมาะสมกับอารมณ์ (Use the Right Effect)
สามารถใช้ หุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย (Uncanny Valley) กับการสร้างความบันเทิง เรื่องราวสยองขวัญ และการเล่าเรื่องในมุมต่างๆ เพื่อกระตุ้นความให้เกิดไม่สบายใจ มีจุดหักมุม จุดทำให้หงุดหงิดใจ เพื่อทำให้เนื้อหามีความตื่นเต้นมากขึ้น - ทดสอบปฏิกิริยาของมนุษย์ (Test Human Reactions)
ดำเนินการทดสอบกับผู้ชมเพื่อวัดปฏิกิริยาทางอารมณ์ ก่อนที่จะเปิดตัวการออกแบบ AI, Humaniod Robot ออกสู่ตลาด
ปรากฏการณ์หุบเขาแห่งความไม่คุ้นเคย (Uncanny Valley Effect) เป็นจุดตัดที่น่าสนใจของจิตวิทยา การออกแบบ และเทคโนโลยี โดยการตระหนักถึงสาเหตุ ประโยชน์ ข้อเสีย และการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม จะทำให้นักออกแบบสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดึงดูดมากกว่าที่จะผลักไสไล่ส่งมันไป ซึ่งถือเป็นการกำหนดอนาคตของการสร้างปฏิสัมพันธ์ ที่เหมือนมนุษย์ในโลกดิจิทัลนั่นเอง