วางแผนขยายธุรกิจด้วย Ansoff Matrix

Ansoff Matrix เฟรมเวิร์คที่ช่วยให้คุณขยายธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งนับเป็นเครื่องมือในการช่วยวิเคราะห์และวางแผนการเติบโตของธุรกิจคุณนั่นเอง โดย Ansoff Matrix นั้นถูกพัฒนาโดย H. Igor Ansoff นักบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งมันช่วยให้นักธุรกิจและนักการตลาดในการทำความเข้าใจความเสี่ยงต่างๆในการขยายธุรกิจ โดย Ansoff Matrix นั้นมีอยู่ 4 กลยุทธ์ด้วยกัน คือ กลยุทธ์การเจาะตลาดด้วยผลิตภัณฑ์เดิม (Market Penetration) กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดเดิม (Product Development) กลยุทธ์บุกตลาดใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์เดิม (Market Development) และ กลยุทธ์หลายด้านด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดใหม่ (Market Development)

Ansoff Matrix

1. กลยุทธ์การเจาะตลาดด้วยผลิตภัณฑ์เดิม (Market Penetration)

กลยทุธ์เจาะตลาดที่บริษัทใช้ผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ในตลาด หรือเรียกได้ว่าเป็นการพยายามเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดนั่นเองครับ สามารถทำได้โดย

  • การลดราคาเพื่อดึงดูดลูกค้าเก่า หรือแม้แต่ลูกค้าใหม่ๆ
  • การออกโปรโมชันใหม่ๆ และหาช่องทางการกระจายสินค้าใหม่ๆ
  • พยายามโจมตีคู่แข่งในตลาดเดียวกัน

2. กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดเดิม (Product Development)

กลยุทธ์นี้ต้องอาศัยการทำวิจัยและพัฒนา เพื่อหาโอกาสในการขยายสายผลิตภัณฑ์ ที่ควรใช้เมื่อธุรกิจนั้นมีความเข้าใจในตลาดอย่างถ่องแท้ และสามารถนำเสนอนวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ สามารถทำได้โดย

  • ลงทุนค่อนข้างมากในการทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development – R&D) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเข้าสู่ตลาดเดิม
  • นำผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งมาวิเคราะห์ และใช้ทรัพยากรอย่างเป็นประโยชน์ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบสนองความต้องการลูกค้าสำหรับตลาดใหม่
  • หาคู่ค้าทางธุรกิจในการเข้าถึงช่องทางการกระจายผลิตภัณฑ์

3. กลยุทธ์บุกตลาดใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์เดิม (Market Development)

การบุกตลาดใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์เดิมนั้น หมายถึง การเจาะตลาดใหม่ไม่ว่าจะเป็น ภูมิภาคใหม่ๆ กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง โดยธุรกิจนั้นมีเทคโนโลยีการผลิตเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และใช้ประโยชน์จากกลุ่มตลาดใหม่เพื่อสร้างกำไร และพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นต้องไม่ต่างจากตลาดเดิมมากเกินไป สามารถทำได้โดย

  • จัดกลุ่มลูกค้าในตลาดใหม่ให้ชัดเจน
  • บุกตลาดใหม่ในประเทศโดยการขยายธุรกิจไปตามภาคต่างๆ
  • บุกตลาดใหม่ในต่างประเทศโดยการขยายธุรกิจไปทั่วโลก

ตัวอย่าง เช่น Nike, Adidas ที่บุกตลาดจีนด้วยผลิตภัณฑ์เดิม แต่เป็นตลาดกลุ่มใหม่

4. กลยุทธ์หลายด้านด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับตลาดใหม่ (Diversification)

นับเป็นกลยุทธ์ที่ดูมีความเสี่ยงมากที่สุด ที่ทั้งจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และบุกตลาดใหม่ แม้ว่ากลยุทธ์ที่สร้างความหลากหลายนี้อาจทำให้เกิดการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ เข้าถึงความต้องการใหม่ๆ และสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็ตาม ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ต้องลงทุนค่อนข้างสูงกับทั้งตัวผลิตภัณฑ์และการเจาะตลาด ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

  • ความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกันระหว่างธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ กับผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดใหม่ เช่น ธุรกิจทำรองเท้าหนังที่ขยายสายการผลิต ไปทำกระเป๋าหนัง เบาะหนัง โซฟาหนัง
  • ความหลากหลายที่ไม่เกี่ยวข้องกันระหว่างธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ กับผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดใหม่ เช่น ธุรกิจทำรองเท้าหนังเริ่มแตกสายการผลิตไปทำโทรศัทพ์มือถือ

การใช้ Ansoff Matrix ให้ได้ผลดีนั้นก็ควรใช้การทำ SWOT Analysis และเทคนิคอื่นๆมาช่วย เพื่อให้การวิเคราะห์ในการขยายธุรกิจได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น


Share to friends


Related Posts

วิเคราะห์ SWOT ให้ชัดเจน สำหรับการวางแผนธุรกิจ

SWOT Analysis ถือเป็นเทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ ในการระบุจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และ ภัยคุกคาม (Threats) เพื่อให้ทราบว่าเราเป็นใคร เรามีจุดแข็งตรงไหน จุดอ่อนของเรามีอะไร มีโอกาสอะไรบ้างในตลาด และอะไรคืออุปสรรคหรือภัยคุกคามในธุรกิจของเรา ดังนั้น การทำ SWOT Analysis


วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย PESTEL Analysis

ในการทำธุรกิจมักจะมีปัจจัยหลายๆอย่างที่เข้ามากระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบกับธุรกิจของเรา ที่เราจำเป็นต้องพิจารณาก่อนจะดำเนินแผนธุรกิจใดๆ มีทั้งปัจจัยภายในองค์กรเองรวมไปถึงปัจจัยภายนอก PESTEL Analysis คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กรและธุรกิจของเรา ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งอุปสรรคและโอกาส


กลยุทธ์สำหรับผู้ตาม (Follower Strategy)

บางครั้งการแข่งขันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องท้าทายหรือโจมตีผู้นำตลาดเสมอไป โดยคู่งแข่งในตลาดอาจจะเลือกที่จะเป็นเพียงแค่ผู้ตามก็ได้ ด้วยการลดราคาลงหันไปปรับปรุงด้านการบริการ และเพิ่มคุณสมบัติเด่นๆให้กับผลิตภัณฑ์


กลยุทธ์สำหรับผู้ท้าชิง (Challenger Strategy)

การเป็นผู้นำในตลาดถือว่าเป็นหนึ่งในความสำเร็จของการทำธุรกิจ แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงคู่แข่งขันหน้าใหม่ๆที่พร้อมเข้ามาท้าชิงอยู่เสมอ สำหรับผู้ท้าชิงนั้นมักจะมองหาโอกาสต่างๆในตลาด และตัดสินใจว่าจะเข้าไปท้าทายผู้นำในตลาดไหน รวมไปถึงการหาจุดอ่อนของผู้นำในตลาด


กลยุทธ์สำหรับผู้นำ (Market Leader Strategy)

เชื่อว่าทุกบริษัทก็ต้องอยากที่จะเป็นผู้นำในตลาดกันทั้งนั้น เพื่อครองสัดส่วนหรือส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการที่จะเป็นผู้นำได้นั้นจะมาจากการที่สินค้าหรือบริการสามารถตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคเป็นหลัก และต้องมีระบบในการบริหารจัดการภายในที่เป็นเลิศ


กลยุทธ์ด้านผู้นำตลาดเฉพาะ (Focus Strategy)

หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดในหลีกเลี่ยงการปะทะกับผู้นำตลาด ที่มุ่งเน้นไปในตลาดที่เฉพาะเจาะจงโดยให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรต่างๆให้มีประสิทธิภาพ กับกลุ่มผู้บริโภคที่เฉพาะเจาะจงเพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริง


กลยุทธ์ผู้นำด้านความต่าง (Differentiation Strategy)

กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งคำว่าความความแตกต่างนั้นมีอยู่หลายมุมมอง แต่หากจะแตกต่างอย่างมีคุณค่านั้นก็คงจะหนีไม่พ้นคำว่านวัตกรรม (Innovation) ซึ่งหากบริษัทใดสามารถนำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการต่างๆในการผลิตสินค้าหรือการให้บริการได้ ก็จะสร้างให้เกิดโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันโดยทันที


กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership Strategy)

ถ้าพูดถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจ การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) นับว่าเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันหากธุรกิจของคุณสามารถลดต้นทุนในกระบวนการบริหารจัดการต่างๆลงได้ สำหรับความเป็นผู้นำด้านต้นทุนมักจะเกิดจากประสิทธิภาพ ขนาด การปรับตัว ขอบเขตในการทำธุรกิจ และประสบการณ์โดยรวมขององค์กร



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2025@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์