Case Study - Louis Vitton Marketing Strategy

Louis Vitton ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1854 โดยเป็นแบรนด์เครื่องแต่งกายที่หรูหรารวมถึงเครื่องประดับแฟชั่นที่ทันสมัย ถือได้ว่าเป็นผู้นำในตลาดเสื้อผ้า เครื่องหนัง นาฬิกา รองเท้า แว่นตากันแดด รวมไปถึงเครื่องประดับต่างๆ Louis Vitton นั้นมีสาขามากกว่า 500 สาขา ในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก

Source: vippng.com

STP Strategy ของ Louis Vitton

แบรนด์ผู้นำแฟชั่นระดับโลกอย่าง Louis Vitton ใช้กลยุทธ์แบบผสมผสานทั้ง การแบ่งส่วนการตลาด (Segmentation) การเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Targeting) และ การวางตำแหน่ง (Positioning) ส่วนใหญ่จะใช้กลยุทธ์การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่าง เพื่อสร้างความประทับใจกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของกลุ่มลูกค้า

Louis Vitton วางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของตัวเองไว้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราเหนือระดับ ซึ่งสร้างการรับรู้ในด้านนี้มาอย่างยาวนาน ด้วยการวางกลยุทธ์การวางตำแหน่งของแบรนด์โดยยึดจากคุณค่าเป็นหลักเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีศักยภาพในตลาด

ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน

Louis Vitton มีบริษัทแม่ที่เข้มแข็งอย่าง LVMH (Moët Hennessy Louis Vuitton) ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาสินค้าหรูระดับโลก ที่มีพนักงานมากกว่า 125,000 คน ทั่วทุกโลก และยังมีความแข็งแกร่งทางการเงินที่สามารถบริหารจัดการธุรกิจที่หลากหลายกว่า 6 ธุรกิจ นอกจากนั้นการขยายธุรกิจไปทั่วทุกมุมโลก ยังช่วยสร้างยอดขายอย่างมหาศาลให้กับ Louis Vitton อีกด้วย

BCG Matrix สำหรับกลยุทธ์การตลาด

หากมองถึง BCG Matrix สินค้าประเภทเครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง แว่นตากันแดด นับเป็น STARS แต่สินค้าพวกนาฬิกา เครื่องประดับ และรองเท้า จัดอยู่ใน QUESTION MARKS เพราะเนื่องจากมีการแข่งขันกันสูงทั้งคู่แข่งรายใหญ่และรายย่อยในตลาดนี้

คุณค่าของแบรนด์ Louis Vitton

Louis Vitton Presenters

Source: hollywoodreporter.com

ชื่อแบรนด์ Louis Vitton นับว่าเป็นแบรนด์ที่ติดตลาด และประสบความสำเร็จในระดับสูงของความเป็นแบรนด์สินค้าระดับหรูติดต่อกัน 6 ปี ซ้อน ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยมีดารานักแสดงชื่อดังหลายรายมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ และ Brand Ambassador ให้กับ Louis Vitton เช่น Angelina Jolie, Alicia Vikander, Léa Seydoux, Emma Stone, Michael Phelps และมีมูลค่าแบรนด์ถึง 32.3 พันล้านเหรียญเมื่อสิ้นสุดปี 2019 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 12 จากการจัดอันดับแบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกโดย Forbes

วิเคราะห์การแข่งขัน

ในตลาดของแบรนด์ระดับหรูนั้นชื่อเสียงนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการอยู่รอดของแบรนด์ ด้วยเหตุนี้แบรนด์ระดับหรูหลายๆแบรนด์มักจะใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็นดาราหรือบุคคลมีชื่อเสียงระดับโลกมาโปรโมทสินค้า ซึ่ง Louis Vitton ก็เป็นหนึ่งในนั้นแต่สิ่งที่แตกต่าง ก็คือ Louis Vitton เลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ที่มาจากหลายๆสาขาอาชีพเพื่อความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด โดยคู่แข่งของ Louis Vitton นั่นก็คือ

  • Hermes
  • Gucci
  • Channel
  • Prada

นอกจากนั้นยังมีแบรนด์อื่นๆที่เกิดขึ้นในตลาดที่กลายมาเป็นคู่แข่งกับ Louis Vitton

วิเคราะห์ตลาด

การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต รวมไปถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา สภาพภูมิอากาศการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและวิวัฒนาการของสื่อดิจิทัล นับเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแบรนด์ในอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายหรูหรา บริษัทใดก็ตามที่อยู่ในตลาดนี้จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการบริการหลังการขาย การนำเสนอโปรโมชันและการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงการสร้างจุดสัมผัส (Touchpoint) ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าใหม่ๆอยู่เสมอ

วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า

กลุ่มลูกค้าของ Louis Vitton อยู่ในช่วงอายุ 20 – 45 ปี ที่มองหาดีไซน์เหนือระดับ มีความเป็นศิลปะและความสมบูรณ์แบบ

วิเคราะห์ 4Ps ของ Louis Vitton

ผลิตภัณฑ์ต่างๆของ Louis Vitton (Louis Vitton Products)

Source: louisvuittonbrand.wordpress.com

  • Product

    ผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมที่ผลิตจากหนังแท้ 100% แสดงถึงความใส่ใจที่นอกเหนือจากคำว่าการออกแบบเพียงอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์ของ Louis Vitton ทั้งหมดเป็นแบบ Handmade ที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักรใดๆเลย โดยการจ้างช่างฝีมือดีที่สุดเพื่อมาทำสินค้าที่โดดเด่นไม่เหมือนใครและมีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง ประกอบไปด้วย
    • กระเป๋า
    • เสื้อผ้า
    • รองเท้าที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ชื่อดัง
    • นาฬิกา
    • กระเป๋าตังค์
    • แว่นตา
    • เครื่องประดับ
    • ผ้าพันคอ
    • กระเป๋าใส่เอกสาร
    • เข็มขัด
    • อื่นๆ
  • Price

    ด้วยความที่ Louis Vitton ยึดการตั้งราคาตามคุณค่าเป็นหลัก ซึ่งสินค้าแต่ละชิ้นนั้นมีทั้งคุณค่าและมูลค่าสูงที่ลูกค้ายินดีจ่ายเพื่อเป็นเจ้าของ ด้วยการเลือกใช้วัตถุดิบ การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพระดับบพรีเมี่ยม และการออกแบบที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ราคาสินค้าภายใต้แบรนด์นั้นมีราคาค่อนข้างสูง เข้ากับกลุ่มเป้าหมายระดับ Upper Middle หรือกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างมีคลาส ฉะนั้นราคาสินค้าภายใต้แบรนด์ Louis Vitton นั้นหนีไม่พ้นการตั้งราคาแบบพรีเมี่ยม ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่ใช้มาโดยตลอด
  • Place

    เพื่อตอบโจทย์ความเป็นแบรนด์ระดับหรูช่องทางการจัดจำหน่ายของ Louis Vitton นั้นจะเน้นไปที่การเปิดร้านในห้างสรรพสินค้าระดับพรีเมี่ยม และยังมีร้านเป็นของตัวเองในหลายแห่ง โดยแต่ละร้านนั้นจะมีการฝึกพนักงานขายในการให้บริการลูกค้าเพื่อให้เกิดความประทับใจอย่างสูงสุด หากดูแล้วเฉพาะในประเทศอเมริกาก็มีมากกว่า 300 สาขา และเมื่อนับทั่วทุกมุมโลกแล้วก็มีมากกว่า 500 สาขาเลยทีเดียว

    และไม่ใช่แค่เพียงช่องทางการขายผ่านร้านค้าเท่านั้น ยังมีการขายผ่านระบบออนไลน์อีกช่องทางหนึ่ง เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับกลุ่มนักช้อปสินค้าออนไลน์
  • Promotion

    ขึ้นชื่อว่าเป็นแบรนด์ระดับหรู Louis Vitton ได้ว่าจ้างทั้งนักร้อง นักดนตรี นักแสดง นางแบบ มาใช้ในแคมเปญการตลาดรูปแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละคนที่เลือกมานั้นจะมีบุคลิกที่เชื่อมโยงกับแบรนด์ เช่น Jennifer Lopez, Kate Moss ซึ่งการเลือกใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงนั้นสามารถสร้างการเชื่อมโยงด้านอารมณ์ระหว่างลูกค้ากับพรีเซ็นเตอร์ต่างๆที่ส่งผลโดยตรงต่อแบรนด์

    ช่องทางการโปรโมทผลิตภัณฑ์นั้นมีทั้ง สื่อสิ่งพิมพ์ บิลบอร์ด แมกาซีนที่เกี่ยวกับแฟชั่น แต่จะไม่เลือกใช้การสื่อสารผ่านทางโทรทัศน์เป็นสื่อหลัก เพราะว่าแบรนด์ระดับหรูอย่าง Louis Vitton ต้องการให้คนที่เห็นการโปรโมทนั้นเฉพาะเจาะจงไปที่กลุ่มระดับไฮเอ็นที่แท้จริง

    ข้อสังเกตหนึ่งอย่างก็คือแบรนด์ระดับพรีเมี่ยมจะไม่ใช้กลยุทธ์การลดราคาใดๆเข้ามาเกี่ยวข้องกับส่วนผสมทางการตลาด เพราะเนื่องจากการลดราคาจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image)

Source: marketing91.com, mbaskool.com

Share to friends


Related Posts

รู้จักส่วนผสมทางการตลาด 4P

4Ps ของการตลาดนั้นเป็นแบบจำลองสำหรับส่วนผสมทางการตลาด เป็นวิธีที่จะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆออกสู่ตลาด ที่ช่วยให้เราสามารถกำหนดตัวเลือกทางการตลาดในด้าน ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ และการส่งเสริมการขาย


รู้ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้วย BCG Matrix

BCG Matrix คือ หนึ่งในเฟรมเวิร์คที่นำมาใช้ในการประเมินกลยุทธ์ในการวางตำแหน่งตราสินค้า และศักยภาพของผลิตภัณฑ์ ภาวะตลาด ส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งสร้างขึ้นโดย Boston Consulting Group เป็นเฟรมเวิร์คที่ง่ายในการนำไปใช้ และทำให้เรารู้ว่าสินค้าได้อยู่ในจุดไหนของตลาด เราควรจะเดินหน้าต่อด้วยกลยุทธ์ใหม่ๆ


Case Study : กลยุทธ์การตลาดของ Converse

Converse ก่อตั้งเมื่อปี 1908 ภายใต้ชื่อ Converse Rubber Shoe Company โดย Marquise Mills Converse ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 46 ปี ได้ก่อตั้งบริษัทผลิตรองเท้าชื่อว่า Converse Rubber Shoe Company ขึ้นที่ Malden, Massachusetts สหรัฐอเมริกา และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของตำนานรองเท้าที่ชื่อของเขาได้ถูกจารึกไว้มาตลอดจนถึงปัจจุบันที่ทุกคนรู้จักและคุ้นตากันเป็นอย่างดีในสัญลักษณ์รูปดาว 5 แฉก


Case Study : กลยุทธ์การตลาดของ Uniqlo

Uniqlo เป็นแบรนด์เสื้อผ้าซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท Fast Retailing สำหรับแบรนด์ Uniqlo นั้นเป็นแบรนด์ดังเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้ผลิตเสื้อผ้า ชุดลำลองคุณภาพสูง ในราคาที่ไม่แพง


Case Study : กลยุทธ์การตลาดของ Netflix

Netfilx ก่อตั้งขึนเมื่อปี 1997 โดย Reed Hastings และ Marc Randolph ซึ่งเป็นแบรนด์จากแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ณ ปัจจุบัน Netflix นั้นเปิดใช้งานกว่า 190 ประเทศทั่วโลกโดยมีผู้สมัครเป็นสมาชิกมากกว่า 80 ล้านคน และกลายเป็นผู้นำด้าน Streaming ที่ใหญ่ที่สุดโดยมีทั้งวีดิโอ หนังภาพยนต์ และทีวีซีรี่ย์อีกมากมาย



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *


copyright 2024@popticles.com
หากท่านต้องการนำเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ไปเผยเพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์